การขับเคลื่อนนโยบาย “ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้”


การขับเคลื่อนนโยบาย
“ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้”

ดร. ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นม.เขต 4

-------------

ตามที่ สพป.นครราชสีมา เขต 4 ประกาศนโยบายให้ “ปี 2558 เป็นปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้”ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการโดยแจ้งในที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาและรับชมรับฟังการถ่ายทอดสดทางวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์จากส่วนกลางพร้อมกันทั่วประเทศเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558 นั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จึงได้แต่งตั้งคณะทางานระดับเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว และได้รูปแบบการขับเคลื่อนตามนโยบาย

“การปลอดนักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้” 6 ขั้น คือ (รูปแบบแรกเริ่ม ปี 2558)

ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักร่วมกัน

ขั้นที่ 2 ให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน

ขั้นที่ 3 พากเพียรนำวิธีสอนสู่การปฏิบัติ

ขั้นที่ 4 เร่งรัด นิเทศติดตามอย่างกัลยาณมิตร

ขั้นที่ 5 ประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนา

ขั้นที่ 6 ชื่นชมความก้าวหน้าและให้ขวัญกำลังใจ

ทั้งนี้ในแต่ละขั้น จะมีขั้นตอนในการดาเนินการดังต่อไปนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความตระหนักร่วมกัน

1.1 สร้างความตระหนักให้กับผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ชุมชน ได้ทราบว่า ปี 2558 เป็นปีปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะการอ่านออกเขียนได้ เป็นบันไดที่จะทำให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีคุณภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เพราะฉะนั้น เราจึงมาร่วมกันขจัดปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนให้น้อยลงหรือหมดไปให้จงได้

1.2 เร่งรัดให้ครูและบุคลากรได้ตระหนักว่า การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็น วาระแห่งชาติที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกัน ครูไม่ว่าจะสอนกลุ่มสาระอะไรก็ตาม ต้องร่วมมือกัน ร่วมด้วยช่วยกันในการขจัดปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ของนักเรียนให้หมดไปโดยเร็ว หรือเมื่อสิ้นปีการศึกษา

ขั้นที่ 2 ให้ความสำคัญแก่ครูและนักเรียน

2.1 มอบหมายให้ครูสอนให้ตรงวิชาเอกหรือตามความชำนาญและประสบการณ์ ครูสอนภาษาไทย ต้องเขียนลายมือให้สวย หัวกลมตัวเหลี่ยมโดยเฉพาะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3

2.2 อบรมพัฒนาครูโดยเฉพาะครูชั้น ป. 1 และชั้น ป.3 หรือครูที่สนใจ ให้มีทักษะในการสอนแบบแจกลูกผสมคำอย่างถูกวิธี วิธีการออกเสียงและผันวรรณยุกต์ตามอักษรสามหมู่ คืออักษรกลาง อักษรสูง และอักษรต่ำ

2.3 คัดกรองนักเรียนที่ยังอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ทำเป็นข้อมูลสารสนเทศหรือ เป้าหมายของการพัฒนาอย่างเร่งด่วนต่อไป

2.4 ฝึกให้นักเรียนทำกิจกรรมพี่สอนน้อง และช่วยเหลือนักเรียนร่วมชั้น และระหว่างชั้น

ขั้นที่ 3 พากเพียรนำวิธีสอนสู่การปฏิบัติ

3.1 โรงเรียนส่งเสริมสนับสนุนให้ครูใช้วิธีการสอนเพื่อให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ เช่น

3.1.1 สอนให้นักเรียนรู้จักพยัญชนะ จำพยัญชนะให้ได้ทุกตัว

3.1.2 สอนให้นักเรียนรู้จักสระและจำสระได้ทุกตัว

3.1.3 สอนโดยการแจกลูกผสมคำในแม่ ก กา

3.1.4 สอนโดยให้นักเรียนฝึกผันวรรณยุกต์ตามอักษรสามหมู่และแม่ ก กา

3.1.5 สอนให้อ่านเขียนคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา และการอ่านทำนองเสนาะ

3.1.6 สอนให้นักเรียนฝึกผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

3.1.7 สอนให้นักเรียนฝึกเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา

3.1.8 สอนให้นักเรียนฝึกอ่านคำควบกล้า ปร ปล ตร ฯลฯ

3.1,9 สอนให้นักเรียนฝึกอ่านคำที่มีตัวอักษรนำ

3.1,10 สอนให้นักเรียนฝึกเขียนคำที่มีตัวการันต์ ฤ ฤา ฦ ฦา และคำที่มีลักษณะพิเศษ

3.2 โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอิสระตามความสมัครใจ เช่น ชมรมรักการอ่าน ชมรมนักเขียน ฯลฯ

ขั้นที่ 4 เร่งรัดนิเทศติดตามอย่างกัลยาณมิตร

4.1 นิเทศภายใน ผู้บริหารสถานศึกษา และครูนิเทศซึ่งกันและกัน ถ่ายทอดประสบการณ์ในลักษณะพูดเรื่องเล่าเร้าพลังเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาไทยที่ประสบผลสำเร็จ

4.2 นิเทศภายนอก โดย ผอ.เขต รอง ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างน้อยเดือนละครั้ง

4.3 ใช้วิธีการนิเทศหลากหลาย เช่น นิเทศแบบคลินิก นิเทศแบบคู่สัญญา นิเทศแบบร่วมมือร่วมใจหรือประสานใจนิเทศ นิเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นิเทศโดยวารสารและสิ่งพิมพ์ ฯลฯ

ขั้นที่ 5 วัดผลสัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนา

5.1 สอบก่อนเรียน เพื่อทราบพื้นฐานผู้เรียนรายคนก่อนสอน เช่นให้ทดสอบอ่าน ทดสอบเขียน เป็นต้น และทำบันทึกความก้าวนหน้าของนักเรียนแต่ละคนไว้

5.2 ทดสอบระหว่างเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าในการอ่านการเขียน หลังจากเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งจบก็สอบเพื่อดูความก้าวหน้า

5.3 ทดสอบหลังเรียน เพื่อตัดสินผลการเรียน หรือเพื่อเลื่อนชั้น

5.4 สอบ Pre-O-NET สอบ Pre- NT ทดสอบศักยภาพผู้เรียน ฯลฯ

5.5 เข้าประกวดแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนประจาปี

ขั้นที่ 6 ชื่นชมความก้าวหน้าและให้ขวัญกำลังใจ

6.1 ส่งเสริมความก้าวหน้า (จัดการแลกเปลี่ยน ถอดประสบการณ์ กิจกรรม การประกวด การเผยแพร่ผลงาน นิทรรศการทางวิชาการ ฯลฯ)

6.2 มอบขวัญ กำลังใจ ( มอบโล่ รางวัล เกียรติบัตร ให้บำเหน็จความดีความชอบ ตามสมควรแก่กรณี

---------------------------------

หมายเลขบันทึก: 639381เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2017 01:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2017 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท