การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา “กลุ่มนโยบายและแผน”


การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา “กลุ่มนโยบายและแผน”

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๔

แนวคิด

กลุ่มนโยบายและแผน เป็นกลุ่มที่ส่งเสริม สนับสนุนและประสานงานในเชิงนโยบาย ให้สถานศึกษาจัดการศึกษาเป็นไปตามนโยบายและมาตรฐานการศึกษาชาติ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานตามยุทธศาสตร์เป็นสำคัญ ( Strategic Results-Based Management : SRBM ) ใช้ระบบงบประมาณแบบ มุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting : SPBB ) โดยเน้นความโปร่งใส ทันสมัย ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยึดหลักการมีส่วนร่วม (Participation) การบริหารที่สนับสนุนที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management) โดยมีกระบวนการวางแผน การดำเนินการตามแผน การกำกับ ติดตามผลอย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษาเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสามารถสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษา

๒. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถพัฒนายุทธศาสตร์ในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

ขอบข่าย/ภารกิจ

๑. งานธุรการ

๒. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศ

๒.๑ งานข้อมูลสารสนเทศ

๒.๒ งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒.๓ งานประสานเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

๓. กลุ่มงานนโยบายและแผน

๓.๑ งานวิเคราะห์ และพัฒนานโยบายทางการศึกษา

๓.๒ งานแผนและพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓.๓ งานจัดตั้ง ยุบรวม เลิกและโอนสถานศึกษา

๓.๔ งานแผนการจัดที่เรียนให้นักเรียน นักศึกษา

๔. กลุ่มงานวิเคราะห์งบประมาณ

๔.๑ งานวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย

๔.๒ งานจัดทำและจัดสรรงบประมาณ

๔.๓ งานบริหารงบประมาณ

๕. กลุ่มงานติดตาม ประเมินผลและรายงาน

๕.๑ งานติดตามการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

๕.๒ งานประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

๕.๓ งานรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

๖. กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

. งานธุรการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ศึกษา วิเคราะห์ วางแผนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศและการบริหารงานของ กลุ่มนโยบายและแผน ให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. ศึกษาวิเคราะห์สภาพของกลุ่มนโยบายและแผน และออกแบบระบบงานสารบรรณให้เหมาะสม และสอดคล้องกับระบบงานสารบรรณของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๓. ดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมภายในกลุ่มนโยบายและแผน

๔. ประสานงานกับกลุ่มอื่นในสำนักงาน และกลุ่มงานในกลุ่มนโยบายและแผน หน่วยงานและสถานศึกษาในงานธุรการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของกลุ่มงาน

๕. ประสานการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสารและผลงานของกลุ่มนโยบายและแผน ให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไปทราบ

๖. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของกลุ่มนโยบายและแผน

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

การปฏิบัติงานของบุคลากรในกลุ่มนโยบายและแผนเป็นระบบ คล่องตัวรวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๒. ระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗

๓. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐

. งานข้อมูลสารสนเทศ

.. การจัดทำข้อมูลตามฐานข้อมูลกลาง

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

ประสานการดำเนินงานกับสถานศึกษาในเรื่องต่อไปนี้

๑. ศึกษาทำความเข้าใจโปรแกรมระบบข้อมูลพื้นฐานของส่วนกลางให้ ชัดเจน เช่น โปรแกรมข้อมูลนักเรียนรายบุคคล โปรแกรมข้อมูลโรงเรียน โปรแกรมข้อมูลบุคลากร โปรแกรมข้อมูลครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง ฯลฯ

๒. วางแผนและจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามเวลาและเงื่อนไขโดยมีการสอบทาน ความถูกต้องของข้อมูล

.. การจัดทำข้อมูลตามความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. วางแผนการเก็บข้อมูล โดยการศึกษาวัตถุประสงค์และนโยบายของ รัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัด และเขตพื้นที่ ตลอดจนกำหนดรายการข้อมูลสารสนเทศ ที่จัดเก็บตามความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา

๒. จัดทำและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้จัดทำข้อมูลสารสนเทศให้ครอบคลุม รายการข้อมูลสารสนเทศที่วางแผนไว้

๓. ดำเนินการรวบรวม ตรวจสอบ และประมวลผล จัดกระทำเป็นสารสนเทศ

๒.๑.๓ การทำสำมะโนประชากรวัยเรียน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. กำหนดเขตบริการของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยการจัดทำแผนที่การศึกษา (Education Mapping) ร่วมกับสถานศึกษา

๒. กำหนดกลุ่มเป้าหมายประชากร ขั้นตอน วิธีการจัดทำสำมะโนประชากรวัยเรียน

๓. จัดทำเครื่องมือสำมะโนประชากรวัยเรียน

๔. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาสำรวจและจัดกระทำสำมะโนประชากร วัยเรียนในเขตบริการของสถานศึกษา

๕. จัดกระทำข้อมูลจากสำมะโนประชากรวัยเรียนของสถานศึกษาในเขต พื้นที่การศึกษา

๒.๑.๔ การนำเสนอ เผยแพร่ และให้บริการ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. กำหนดวัตถุประสงค์การใช้งานตามความต้องการ

๒. ออกแบบวิธีการนำเสนอทั้งแบบเอกสาร บนเครือข่ายและอื่น ๆ ตาม ศักยภาพและข้อจำกัดของทรัพยากรของเขตพื้นที่การศึกษา

๓. นำเสนอและให้บริการข้อมูลสารสนเทศแก่สถานศึกษาและหน่วยงานใน เขตพื้นที่การศึกษา

๔. ติดตาม ประเมินผล เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค สำหรับการปรับปรุงพัฒนารูปแบบการนำเสนอและพัฒนาระบบต่อไป

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. มีข้อมูลสารสนเทศเพียงพอในการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๒. ให้บริการการศึกษาแก่ประชากรวัยเรียนได้ครอบคลุมและทั่วถึง

กฎหมาย ระเบียบ เอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

๒. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๒

๓. โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา (Educational Information Systems : EIS) และโปรแกรมอื่น ๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาขึ้น

๒.๒ งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒.๒.๑ การจัดระบบฐานข้อมูล

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ศึกษาความต้องการ ความจำเป็น และประเภทข้อมูลของเขตพื้นที่ การศึกษา และสถานศึกษา เพื่อตัดสินใจและกำหนดรูปแบบแนวทางการจัดระบบฐานข้อมูล

๒. ออกแบบระบบฐานข้อมูล เช่น ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูล นักเรียนฐานข้อมูลสื่อการเรียนรู้ ฐานข้อมูลคุรุภัณฑ์ อาคารสถานที่ ฐานข้อมูลชุมชน ฯลฯ

๒.๒.๒ การพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

๑. พัฒนาโปรแกรมตามความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๒. จัดทำคู่มือการใช้โปรแกรม

๓. ทดลองใช้โปรแกรม และประเมินผลการใช้เพื่อปรับปรุงพัฒนา

๔. ประสานให้มีการจัดพัฒนาบุคลากรผู้ใช้โปรแกรม

๒.๒.๓ การจัดทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

๑. วิเคราะห์ความต้องการทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Computer Printer Scanner ฯลฯ

๒. กำหนดคุณลักษณะเฉพาะของทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ

๓. ประสานการจัดหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๔. จัดให้มีการใช้และบำรุงรักษา

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. มีโปรแกรมข้อมูลสารสนเทศที่สอดคล้องกับระบบฐานข้อมูลกลาง

๒. มีข้อมูลสารสนเทศที่ถูกต้อง ทันสมัย ของสถานศึกษา และสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา (Educational Information Systems : EIS) พัฒนาโดยกระทรวงศึกษาธิการ

๒. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. ๒๕๔๒

๒.๓ งานประสานเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT)

๒.๓.๑ การติดตั้งพัฒนา และดูแลระบบ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ศึกษาสภาพการดำเนินการด้านการจัดระบบเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่มีอยู่เดิม

๒. ออกแบบ การพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

๓. ติดตั้งระบบและจัดทำคู่มือการใช้ระบบ

๔. ทดสอบ ประเมิน และปรับปรุงระบบ

๕. ประสานให้มีการจัดพัฒนาบุคลากรผู้ใช้ระบบ

๖. ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และแก้ไขปัญหา ตลอดจนพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

๒.๓.๒ การสนับสนุนการใช้เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) เพื่อการเรียนรู้

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. กำหนดกรอบสารสนเทศที่ควรนำเสนอรูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

๒. วิเคราะห์ศักยภาพของวัสดุ ครุภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเขตพื้นที่การศึกษาในด้านความเพียงพอ คุ้มค่า สมประโยชน์

๓. ออกแบบการนำเสนอตามศักยภาพของเขตพื้นที่การศึกษา เช่น Homepage Web Page CD-ROM Diskettes ฯลฯ

๔. ประสานกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา กลุ่มส่งเสริมการศึกษาและสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนา Software

๕. นำเสนอสารสนเทศของเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น Internet LAN โปรแกรมนำเสนอต่าง ๆ ฯลฯ

๖. ให้บริการและสนับสนุนให้สถานศึกษามีการใช้เครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) รูปแบบต่างๆ บนเครือข่าย

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. มีการเชื่อมต่อระบบข้อมูลสารเทศกับศูนย์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. มีการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เพื่อการบริหารจัดการการสื่อสาร และการเรียนรู้กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)

๒. แผนเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ICT) แห่งชาติ

. งานวิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. วิเคราะห์ทิศทางและยุทธศาสตร์ของหน่วยงานเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานและศึกษาผลการวิจัย ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเขตพื้นที่การศึกษา

๒. ศึกษาข้อตกลงผลการปฏิบัติงานและเป้าหมายการให้บริการสาธารณะทุกระดับ ได้แก่ เป้าหมายการให้บริการสาธารณะ (Public Service Agreement : PSA) ข้อตกลง การจัดทำผลผลิต (Service Delivery Agreement : SDA) ข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษา และผลการดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุข้อตกลงที่เขตพื้นที่ทำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๓. วิเคราะห์ผลการจัดการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๔. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การจัดและพัฒนาการศึกษาในภาพรวมของเขตพื้นที่ การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและแผนการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

๕. จัดทำข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นต้องใช้ ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มี ผลกระทบต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของเขตพื้นที่การศึกษา

๖. เผยแพร่และสนับสนุนให้หน่วยงานในเขตพื้นที่การศึกษา นำข้อมูลสารสนเทศ ไปใช้ในการจัดการศึกษา ตลอดจนเผยแพร่สู่สาธารณชนรับทราบ

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

มีข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้กำหนดทิศทางและกลยุทธ์จัดการศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๖

๒. เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ

๓. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

๔. แผนการศึกษาแห่งชาติ

๕. แผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ

๖. แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน

. งานจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

.. การจัดทำแผนกลยุทธ์

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ทบทวนภารกิจการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และศึกษา รายงานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

๒. วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของ เขตพื้นที่การศึกษา (SWOT) และประเมินสถานภาพของเขตพื้นที่การศึกษา

๓. กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และเป้าประสงค์ (Goal) ของเขตพื้นที่การศึกษา

๔. กำหนดกลยุทธ์จัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

๕. กำหนดผลผลิต (Outputs) ผลลัพธ์ (Outcomes) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators : KPIs)

๖. กำหนดเป้าหมายระยะปานกลางของผลผลิตในเชิงปริมาณและคุณภาพ และผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาที่ทำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๗. จัดทำรายละเอียดโครงสร้างแผนงาน งาน/โครงการ กิจกรรม

๘. จัดให้รับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

๙. นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๑๐. เผยแพร่ประกาศต่อสาธารณชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ

๑๑. สนับสนุน ช่วยเหลือให้สถานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

มีแผนกลยุทธ์จัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๒. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

.. การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ศึกษารายละเอียดงบประมาณที่จะได้รับจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒. วิเคราะห์เป้าหมายผลการปฏิบัติงานและศักยภาพของเขตพื้นที่การศึกษา

๓. ทบทวนกลยุทธ์ เพื่อปรับแผนงาน/งาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับ เป้าหมายผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษา ตามที่ได้ทำร่างข้อตกลงไว้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๔. ปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF)

๕. จัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ซึ่งระบุ แผนงาน/งาน/โครงการที่สอดคล้องวงเงินงบประมาณที่จะได้รับ และเงินนอกงบประมาณที่ ทำแผนระดมทรัพยากรไว้

๖. นำเสนอแผนปฏิบัติการขอความเห็นชอบคณะกรรมการเขตพื้นที่ การศึกษา

๗. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน และสถานศึกษารับทราบ

๘. สนับสนุน ช่วยเหลือให้สถานศึกษาจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. มีแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๒. มีปฏิทินการปฏิบัติงานเพื่อวางแผนการบริหารงานของเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕

๒. ข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของเขตพื้นที่การศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา

. งานจัดตั้ง ยุบรวม เลิกและโอนสถานศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิกและโอนสถานศึกษา

๒. นำหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๓. จัดทำแผนจัดตั้ง ยุบ รวม เลิกและโอนสถานศึกษา

๔. ดำเนินการจัดตั้ง ยุบ รวม เลิกและโอนสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่เกี่ยวข้อง

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

มีจำนวนและขนาดของสถานศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพของเขตพื้นที่การศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๔

๒. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการรวม และเลิกล้มโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๔

๓. แนวปฏิบัติและเกณฑ์การพิจารณาขอขยายหรือจัดตั้งสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

. งานแผนการจัดที่เรียนให้นักเรียน นักศึกษา

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. สำรวจประชากรวัยเรียน จากข้อมูลสำมะโนประชากรวัยเรียน ข้อมูลนักเรียนที่จะจบการศึกษาของแต่ละระดับชั้น รวมทั้งผู้เรียนจากการศึกษานอกระบบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูล ในการกำหนดเป้าหมายการรับนักเรียนของแต่ละระดับชั้น

๒. จัดทำแผนและเป้าหมายการรับนักเรียน นักศึกษาร่วมกับสถานศึกษา

๓. ประสานการจัดที่เรียนของนักเรียน นักศึกษาร่วมกับสถานศึกษา

๔. รายงานผลการจัดที่เรียนของนักเรียน นักศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาให้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. ประชากรวัยเรียนเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึง

๒. ประชาชนมีโอกาสศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๒. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕

. งานวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย

.. การคำนวณต้นทุนผลผลิต

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. วิเคราะห์แผนงาน/งาน/โครงการ ที่ส่งผลต่อผลผลิตหลักขององค์กร

๒. วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายแผนงาน/งาน/โครงการที่ส่งผลต่อผลผลิตหลัก

๓. คำนวณต้นทุนผลผลิตหลัก

.. การจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง : (Medium Term Expenditure Framework : MTEF)

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. วิเคราะห์นโยบายหน่วยเหนือที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยเฉพาะเกณฑ์การจัดสรรของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่องบบุคลากร งบเงินอุดหนุน งบลงทุน งบดำเนินงาน (งบเพื่อนักเรียนกลุ่มพิเศษ งบเพื่อนโยบายพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี) และงบรายจ่ายอื่น

๒. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานปีงบประมาณที่ผ่านมาของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อร่วมกับสถานศึกษาปรับเป้าหมายผลผลิตที่ต้องดำเนินการใน 3 ปีข้างหน้า

๓. ประมาณการรายได้ของเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ

๔. วิเคราะห์ประมาณการรายได้ของสถานศึกษา ทั้งจากเงินงบประมาณ และเงินนอกงบประมาณ

๕. ปรับปรุงกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางปีถัดไปอีก 1 ปี ในลักษณะต่อเนื่อง โดยใช้ฐานวงเงินงบประมาณที่ใช้ในปีปัจจุบัน

๖. เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาปรับแผนงาน/งาน/โครงการ/กิจกรรม ให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง

๗. สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือให้สถานศึกษาจัดทำกรอบวงเงิน งบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF)

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

มีกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (MTEF) ที่เป็นปัจจุบันของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕

๒. ชุดปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ล่วงหน้าระยะปานกลาง : กองแผนงาน กรมสามัญศึกษา

๓. แนวทางการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ด้าน : กองแผนงาน กรมสามัญศึกษา

๔.๒ งานจัดทำและเสนอของบประมาณ

๔.๒.๑ การวิเคราะห์ความเหมาะสมการจัดตั้งงบประมาณ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. แจ้งนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอนและวิธีการจัดตั้งงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการ

๒. สถานศึกษาจัดทำคำของบประมาณและกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เสนอเขตพื้นที่การศึกษา

๓. วิเคราะห์ความเหมาะสมการจัดตั้งงบประมาณของสถานศึกษาและ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๔. เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาร่วมกันกำหนดเป้าหมายผลผลิตทั้ง เชิงปริมาณและคุณภาพ

๕. จัดทำคำของบประมาณและกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง เสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่ศึกษา

๔.๒.๒ การจัดทำข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ร่วมกับสถานศึกษา ศึกษารายละเอียดงบประมาณที่จะได้รับจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๒. ประสานกับกลุ่มงานนโยบายและแผน จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งระบุแผนงาน/งาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับวงเงินที่จะได้รับจัดสรร

๓. สนับสนุน ช่วยเหลือสถานศึกษาให้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำ ปีงบประมาณซึ่งระบุแผนงาน/งาน/โครงการ ให้สอดคล้องกับวงเงินที่จะได้รับจัดสรร

๔. จัดทำร่างข้อตกลงผลการปฏิบัติงานระหว่างเขตพื้นที่การศึกษากับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษากับเขตพื้นที่การศึกษาขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงผลการปฏิบัติงานจากคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามลำดับ เพื่อจัดทำข้อตกลงผลการปฏิบัติงานต่อไป

๕. รับแจ้งการจัดสรรงบประมาณตามข้อตกลงผลการปฏิบัติงานจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

๖. แจ้งให้สถานศึกษาทราบผลการจัดสรรงบประมาณตามข้อตกลง ผลการปฏิบัติงานเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาได้รับการจัดสรรงบประมาณตามข้อตกลง ผลการปฏิบัติงาน

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕

. การบริหารงบประมาณ

การโอนและเปลี่ยนแปลงงบประมาณ

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. วิเคราะห์ผลการติดตามประเมินผลต่อเงื่อนไขความสำเร็จของงาน/โครงการ ภายในแผนงานและต่างแผนงานกัน หรือต่างประเภทงบประมาณ (งบบุคลากร งบเงินอุดหนุน งบลงทุน งบดำเนินงาน และงบรายจ่ายอื่น) เสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา เห็นชอบให้โอนเปลี่ยนแปลงไปใช้ในแผนงาน/งาน/โครงการที่เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนตามนโยบาย เร่งด่วน

๒. กำหนดเกณฑ์และแนวทางการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณที่เป็นอำนาจของ เขตพื้นที่การศึกษาที่สอดคล้องกับระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.๒๕๔๕

๓. กำหนดเกณฑ์และแนวทางการใช้เงินเหลือจ่ายที่เป็นอำนาจของเขตพื้นที่การศึกษาที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ

๔. ส่งเสริมให้ความรู้แก่สถานศึกษาสามารถดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณตามอำนาจของสถานศึกษาหรือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาบริหารงบประมาณได้เป็นไปตามภารกิจที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการและเป็นไปตามความจำเป็นเร่งด่วน

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕

๕.๑ การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ศึกษารายละเอียดแผนปฏิบัติการของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๒. จัดทำแผนกำกับติดตามตามแผนการปฏิบัติประจำปี เพื่อเร่งจัดให้มีการดำเนินการตามที่ได้กำหนดไว้ในแผน

๓. จัดทำแผนการติดตามการดำเนินการตามข้อตกลงผลการปฏิบัติงานของ สถานศึกษา

๔. ประสานแผนการติดตาม กำกับ การนิเทศ และการตรวจราชการของเขตพื้นที่ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. งาน/โครงการที่กำหนดไว้ในแผนได้มีการนำไปสู่การปฏิบัติ

๒. ทราบผลการดำเนินงานระหว่างและเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจบริหารจัดการ

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

๒. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

๕.๒ การประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. ประเมินแผนกลยุทธ์ของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๒. ประเมินงาน/โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

๓. ร่วมกับสถานศึกษากำหนดปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จ (Critical Success Factors : CSFs) และตัวชี้วัดความสำเร็จ (Key Performance Indicators : KPIs) ของเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา

๔. เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจัดทำตัวชี้วัดผลผลิตที่กำหนดตามข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน

๕. ประเมินผลผลิตตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ตามข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

การดำเนินงานตามแผนงาน/งาน/โครงการ ตามตัวชี้วัดบรรลุผลสำเร็จเกิด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๔๕

๒. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖

๕.๓ การรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผน

ขั้นตอนและแนวการปฏิบัติ

๑. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานกำหนดและจัดส่งตามเวลาที่กำหนด

๒. จัดทำรายงานผลการประเมินเป้าหมายผลผลิตตาม ข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน

๓. จัดทำรายงานผลการดำเนินงานประจำปีของเขตพื้นที่การศึกษา เสนอ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเผยแพร่สาธารณชน

๔. วิเคราะห์รายงานผลการดำเนินงานประจำปีของสถานศึกษา และจัดทำข้อสรุปเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. มีรายงานผลการดำเนินงานที่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับปรับปรุงแผนกลยุทธและพัฒนาแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

๒. สาธารณชนรับทราบผลการดำเนินงานของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓

๒. ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

๖. กลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

ขั้นตอนและแนวปฏิบัติ

๑. รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ กลั่นกรอง ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๒. จัดประชุม และจัดทำรายงานการประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๓. ประสานงานกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๔. แจ้งมติการประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง รับทราบและดำเนินการ

๕. ติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับมติที่ประชุมคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา

๖. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของกลุ่ม/กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ผลสำเร็จที่คาดหวัง

๑. การดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๒. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพตามนโยบายและมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ

กฎหมาย ระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

๑. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๕ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๕๓

๒. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖

๓. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖และแก้ไขเพิ่มเติม


หมายเหตุ

ภาพตรวจเยี่ยมการแข่งขันศิลปหัตถรรมนักเรียนระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี ๒๕๖๐เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๖๐ ณ สนามแข่งขันโรงเรียนบ้านโนนกุ่มมิตรภาพ ๒๑๐ อำเภอสีคิ้ว


หมายเลขบันทึก: 638672เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2017 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2017 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท