ความร่วมมือระหว่าง สคส. และเนคเทค เพื่อมิติใหม่ของการ ลปรร. (ตอนที่ 2)


เนคเทค และ สคส. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ KM โดยใช้ Wiki และ Blog

 ตอนที่ 1

             Software  อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ คือ  ภาษิต  (http://suparsit.com/index1.php)   เหมาะสำหรับผู้ท่องเว็บทั่วโลกด้วยภาษาไทย  โดยผ่าน "ภาษิต"  ที่ให้บริการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทยด้วยคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ต  โดยข้อมูลข่าวสารภาษาอังกฤษบนอินเทอร์เน็ตจะถูกส่งมายังระบบที่อาศัยฐานความรู้ทางไวยากรณ์และความหมาย "ภาษิต"จะแปลเว็บเพจเป็นภาษาไทย
และส่งผลไปยังผู้ใช้ด้วยโครงสร้างเดิมของต้นฉบับ 
           

           "ภาษิต" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว ความหมายเป็นคติ มีส่วนคล้ายกับระบบแปลภาษาตรงที่ระบบแปลภาษานี้มีการพูดถึงกันมานานแล้วเช่นกัน และถึงวันนี้ความพยายามนั้นได้ประสบผลในระดับที่น่าพอใจ   นอกจากนี้ภาษิตยังพ้องเสียงกับ "parse it" ซึ่งหมายถึง "การวิเคราะห์หรือแจงโครงสร้างของประโยค" อันเป็นหลักการสำคัญในการพัฒนาระบบแปลภาษา  

          ภาษิต  พัฒนาโดยฝ่ายวิจัยและพัฒนาสาขาสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นผลงานความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) กับ บริษัท เอ็นอีซี ประเทศญี่ปุ่น ( NEC, JAPAN )   โดยได้ทดลองให้บริการ "ภาษิต" ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เนต ผู้ใช้สามารถกำหนดให้แปลได้ทั้งข้อความสั้นๆ และข้อความของเว็บเพจทั่วไปที่เป็นภาษาอังกฤษ  

           "ภาษิต" ทำงานโดยมีโปรแกรมทำการแยกข้อความออกจากรูปแบบของเว็บเพจ แล้วส่งเพียงข้อความอย่างเดียวไปแปลโดยอาศัยกฎทางไวยากรณ์และพจนานุกรม สุดท้าย "ภาษิต" จะนำข้อความที่แปลได้รวมเข้ากับรูปแบบของเว็บที่แยกไว้ตอนต้น ส่งกลับไปแสดงผล ผลที่ได้คือผู้ใช้จะสามารถเรียกดูเว็บเพจต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ โดยมีการแสดงผลเป็นภาษาไทยทั้งหมด และยังคงรูปแบบของต้นฉบับไว้ทุกประการโปรแกรมแปลภาษาอังกฤษ-ไทยนี้ สามารถทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง และคณะนักวิจัยยังคงปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมต่อไปอีกในอนาคต             

           เมื่อต่างฝ่ายต่างนำเสนอผลงานการพัฒนา Software  ต่างๆ  แล้ว ช่วงต่อไปจึงเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งในเรื่องของการพัฒนา Software  และเรื่องการจัดการความรู้  รวมไปถึง  KnowledgeVolution   ซึ่งผู้เขียนขอสรุปประเด็นการแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ  ดังนี้           

           สำหรับ  KnowledgeVolution   ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล  ได้ให้คำแนะนำที่น่าสนใจว่า  Gotoknow.org  น่าจะมีการติดตั้ง TrueHits   เพื่อเก็บสถิติการเข้าใช้บริการ Website  เนื่องจาก  Gotoknow.org  เป็น Website  ที่เป็นสาระความรู้  มีการแลกเปลี่ยนความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีพลังของไทย  หาก  Gotoknow.org  ติดตั้ง  TrueHits   การรวบรวมสถิติของไทยที่เกี่ยวข้องกับสาระความรู้ก็จะมีสถิติที่สูงขึ้นด้วยได้           

           ส่วน ดร.ธวัชชัย  ปิยะวัฒน์  ได้นำเสนอและเปรียบเทียบการจัดการความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของ  Gotoknow.org   กับ Wiki   ว่า 

           Wiki  เป็นการจัดการความรู้ที่เน้น  Explicit  Knowledge  ที่เป็นลักษณะลูกศรพุ่งเข้ามายังประเด็นนั้นๆ  คือ  ผู้เขียนหลายๆ  คนมุ่งเขียนหรือสร้างความรู้ร่วมกันในเรื่องเดียวกันหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง   

             แต่สำหรับ  Gotoknow.org   เป็นการจัดการความรู้ที่เน้น  Tacit  Knowledge  มีลักษณะลูกศรพุ่งกระจายออกไป  คือ  ผู้เขียนแต่ละคนจะเขียนหรือสร้างความรู้ของตนเองออกมาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นๆ  

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>            ซึ่งก็อยู่ที่ว่า  ผู้ใช้จะเลือกใช้เครื่องมือใดที่เหมาะสมกับความรู้ที่ตนเองต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือต้องการนำเสนอออกมา</p><p>            (ติดตามตอนต่อไป)</p>

หมายเลขบันทึก: 63858เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2006 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท