แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต จะปรับตัวอย่างไรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง กศน บางขุนเทียน


กิจกรรมพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21

วันที่ 22 กันยายน 2560 ผู้เขียนมาจัดกิจกรรมที่วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี ที่บางบอนแต่เป็นกิจกรรม แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต จะปรับตัวอย่างไรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง ของ กศน. บางขุนเทียน มีนักศึกษาประมาณ 250 คน  เอกสารการอบรมครับ ครูสุธี เอื้อวีระวัฒน์ ครู กศน บางขุนเทียนเป็นผู้ประสานงาน  ผู้เขียนไม่เคยเดินทางไปที่วิทยาลัยเทคโนโลยีฐานเทคโนโลยี ผู้เขียนนั่งแท๊กซี่ไป เจ้า GPS ของเทคซี่พาอ้อมไปไกลมาก  แต่ในที่สุดก็ถึงสถานที่จัดงาน มีนักศึกษารออยู่แล้ว ผู้เขียนได้จัดกิจกรรมเวลา 13.00-16.00 น.แค่ครึ่งวัน แต่กิจกรรมมีหลากหลายมาก 

ผู้เขียนใช้เวลาในการบรรยายในเอกสารนี้  เอกสารการอบรมครับ  ไม่ถึง 30 นาที ก็ให้นักศึกษาทำกิจกรรมการแก้ปัญหาซึ่งเป็นทักษะที่ในอนาคตหรือเรียกว่า ทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเป็นแนวทางที่จะทำให้นักศึกษาจะปรับตัวอย่างไรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

กิจกรรมนี้เรียกว่าปมมุษษย์ อ่านขั้นตอนและจุดประสงค์พร้อมการประเมินผล ได้ที่นี่ครับ หรือสนใจกิจกรรมแนวนี้อ่านได้ที่นี่ครับ

ตอนทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่ยังหาสาเหตุไม่พบ พอแยกทำกิจกรรมกลุ่มผู้หญิงและผู้ชายพบว่า ผู้ชายคุยกันได้ดีกว่าผู้หญิง ผู้หญิงพูดเกือบทุกคนไม่มีใครฟังใคร 555 แต่กิจกรรมก็ผ่านไปได้ด้วยดี  หลังจากนั้นก็สรุปกิจกรรมและทำกิจกรรมกลุ่ม 

ผู้เขียนให้แต่ละกลุ่มทำแผนที่ความคิด( Mind mapping) เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรุปว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง โดยให้ดู video ของ Jack ?ฟ ด้วย โดยใน video ได้แบ่งขั้นตอนการทำงานของช่วงชีวิตคน 

นักศึกษาสนใจดู video ของ Jack Ma มาก ก่อนอายุ 20 ปีให้ตั้งใจเรียน ก่อนอายุ 30 ปี พยายามติดตามผู้ที่คิดว่าดีทำธุรกิจเล็กๆไป ถ้าทำธุรกิจเล็กจะทำให้มีความตั้งใจมีความหลงใหล ความฝันในการทำงาน ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการทำงาน  อายุเกิน 30 ปีไปแล้วไม่ต้องทำธุรกิจในบริษัทใหญ่ๆแต่คอยดำเนินการตามหัวหน้าที่เราชอบ เราจะได้เรียนรู้จากหัวหน้าดีๆ อายุ 30-40 ปีต้องคิดว่าเราทำงานให้ตัวเองแล้ว อายุ 40-50 ปี ให้โฟกัสในเรื่องที่เราทำได้ดีที่สุด อย่าพยายามเปลี่ยนงานไปทำอย่างอื่นที่เราไม่ถนัด เพราะมันสายไปแล้ว พยายามหาให้ได้ว่าอะไรที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่นๆในอายุช่วงนี้  อายุ 50-60 ปี สอนคนรุ่นใหม่ให้ทำงาน อายุเกิน 60 ปีไปแล้วจงทำให้ตัวเองบ้าง ไปนอนชายหาดพักผ่อน  ผู้เขียนชอบใจแนวคิดนี้ นักศึกษาสะท้อนว่าชอบแนวคิดนี้ด้วย

กลุ่มนี้นำเสนอเป็นภาษาอีสานสำเนียงจากลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ครับ 

กลุ่มนี้นำเสนอเป็นภาษาใต้สำเนียงนคศรีธรรมราชครับ 

กลุ่มนี้นำเสนอเป็นภาษาเหนือ

กลุ่มสุดท้ายนำเสนอเป็สำเนียงสุพรรณบุรี 

ตอนสุดท้ายผู้เขียนให้แต่ละทีมนำเสนอว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง สิ่งที่พิเศษ คือ นักศึกษานำเสนอเป็นภาษาถิ่น (ถ้าคนอื่นไม่เข้าใจสามารถถามได้) ทำให้นักศึกษามีความภูมิใจในภาษาถิ่นของตนเองเป็นการเรียนรู้ที่จะเป็นประชากรโลกได้ดีข้อหนึ่งเลย  ขอบคุณทุกๆท่านที่ติดตามอ่านครับ...



ความเห็น (9)

ขอบคุณอาจารย์ wasawat มากครับ

ใช่แล้วครับ

ผมเขียนต่อแล้วครับ

ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ Mind mapping ที่นักศึกษาเรียนรู้ ภาพที่นำเสนอไม่ชัด ขอบคะณครับที่สร้างการรับรู้

ขอบคุณมากครับหัวหน้าปรีชา

ถ่ายไกลมาก

ในห้องมืดๆครับ

เก่งมากเลยนะคะ  แค่ครึ่งวัน  บ่ายด้วย

อ.ขจิต คัดแต่คนหน้าตาดี  สวย หล่อ ผ่านกล้องแน่เลย  ^_,^

  • กิจกรรมต่างๆน่าสนใจ และสนุกสนานเสมอ ไม่ว่าจะเป็นวัยใด 
  • นำเสนอเป็นภาษาถิ่นของแต่ละภาคด้วย ยิ่งน่าสนใจ เยี่ยมเลยครับ!

ขอบคุณคุณหมอธิ

ผมเพิ่งสังเกต จริงด้วยครับ

555

ขอบคุณพี่ครูธนิตย์

ใช้พลังเยอะมากครับ

เพราะจำนวนคนมาก

ขอบคุณพี่ครูธนิตย์

ใช้พลังเยอะมากครับ

เพราะจำนวนคนมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท