สงครามศาสนา War of Religions


สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13

สงครามศาสนา War of Religions

1.ปฐมเหตุแห่งศาสนาสงครามในเชิงประวัติศาสตร์

 

                ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาสาระสำคัญอันแท้จริงของเรื่องตามที่ได้ตั้งชื่อไว้ว่า  สงครามศาสนา  ควรจะคลี่คลายปัญหาสำคัญประการหนึ่งเสียก่อน คือ ปัญหาที่เป็นคราบติดใจอยู่ว่า  ทำไมศาสนาจึงกลายเป็นตัวการสำคัญที่ผลักหลังมนุษย์ให้ฆ่ากันใหญ่โตจนเกิดเป็นสงครามไม่รู้จบที่ถูกต้องแล้ว  ศาสนาน่าจะเป็นตัวช่วยยับยั้งสงครามมากกว่า การที่ศาสนากลายเป็นตัวก่อสงคราม  ดังนั้นเราควรจะศึกษาศาสนาเชิงประวัติศาสตร์เสียก่อนดังจะขอกล่าวถึง  พอเป็นหลักฐานยืนยัน ดังต่อไปนี้[1]

 

ศาสนาฮินดู

       ในส่วนที่เป็นตำนาน  ปรากฏว่า  ศาสนาฮินดูได้มีการทำสงครามที่ใหญ่โตถึง 2 ครั้ง  โดยเคารพนับถือกัน  ว่าการทำสงคราม 2 ครั้งนี้  คือประวัติอันสำคัญสูงสุดของการแสดงอภินิหารอันยิ่งใหญ่แห่งพระเป็นเจ้าของตนและบันทึกรายละเอียตเป็นคำประพันธ์  ซึ่งเคารพนับถือเป็นคำภีร์สำคัญ 2 คำภีร์ คือ มหากาพย์รามายณะ  และ  มหากาพย์มหาภารตะ  อันนี้คือข้อชี้ชัดว่า  ชาวฮินดูมีความสำนึกในความสำคัญของประวัติการณ์ 2 เรื่องนี้  มหากาพย์รามายณะ  มาแพร่กระจายในไทยเป็นวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์  ซึ่งแปลได้ว่า  เรื่องราวอันเป็นเกียรติ์ประวัติของพระราม  พระรามนั้นคือพระนารายณ์ซึ่งเป็นพระเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งของฮินดู  ได้ทรงอวตารลงมาปราบยักษ์ซึ่งมีประมุขชื่อว่าทศกัณฐ์  เรื่องราวทั้งหมดในมหากาพย์รามายณะที่ไทยเรารู้จักเรื่อง รามเกียรติ์นั้น ไม่มีอะไรอื่นนอกจากการทำสงครามฆ่าฟันกันโดยตลอด  ถึงขนาดเผาบ้าน เผาเมืองเผาปราสาท

                ในด้านประวัติศาสตร์  ก็ยอมรับกันว่า  ประวัติการณ์ในมหากาพณ์รามายณะนั้น  มีเค้าความเป็นจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ของชาวอารยันซึ่งอพยพมาจากใจกลางทวีปเอเชียเข้ามาในประเทศอินเดียในปัจจุบัน  แต่เป็นดินแดนที่มีพวกมิลักขะเป็นเจ้าของอยู่แล้ว  เปรียบเสมือนพวกยักษ์เป็นชนพื้นเมืองมิลักขะ  แล้วพระรามเปรียบเสมือนพวกอารยัน  ที่อพยพเข้ามารุกไล่ปราบปราม   จึงมีอำนาจเข้าครอบงำปกครองอินเดียทั้งหมด พวกมิลักขะต้องตกอยู่ในอำนาจของพวกอารยันโดยสิ้นเชิง

                อีกคำภีร์หนึ่งคือ มหากาพย์มหาภารตะ  คำภีร์สำคัญนี้เนื้อหาสาระตลอดเรื่องไม่มีอะไรอื่นนอกจากฆ่าฟันล้างผลาญกันของลูกพี่ลูกน้อง ปาณฑพ และ เการพ โดยบทบาทสำคัญของพระเป็นเจ้าเป็นผู้ปั่นป่วนยั่วยุให้ทำสงครามล้างโคตรกัน

                เป็นอันว่ามหากาพย์รามายณะ และ มหากาพย์มหาภารตะ เป็นคำภีร์สำคัญ 2 คำภีร์ของชาวฮินดู  ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า  พระเป็นเจ้าแห่งศาสนาของพวกเขานั้น  เป็นจอมทัพล้างผลาญผู้คนมาแล้วอย่างโชกโชน และมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำให้เกิดสงครามนั้น เป็นที่ยึดถือและเชิดชูว่า  การสงครามนั้น  คือ  กิจกรรมอันเป็นเกียรติประวัติซึ่งควรแก่การเคารพบูชา และเคารพนับถือว่าเป็นเยี่ยมยอดทางเชิงปัญญาและศักดิ์สิทธิ์มาจนถึงบัดนี้

                จึงจะน่าสรุปได้ว่า ชาวฮินดู ไม่ได้รังเกียจสงครามโดยแท้แล้วกลับจะสรรเสริญสงครามว่า

เป็นเกียรติศักดิ์ด้วยซ้ำ  จึงไม่เป็นการผิดว่า เป็นศาสนาหนึ่งที่ได้ชื่อว่า ศาสนาสงคราม[2]

ศาสนายิว

ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ดูเหมือนไม่มีชนชาติใดที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากแสนสาหัสเท่ากับชาวยิว (หรือชาวฮิบรูหรือชาวอิสราเอล) เริ่มตั้งแต่เป็นทาสอียิปต์เป็นเวลา 400 ปี มีชีวิตร่อนเร่ในทะเลทรายเป็นเวลา 40 ปีก่อนที่จะมีดินแดนอาระเบียอยู่เกือบตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดของชนชาวยิว[3]

                จากที่ชาวฮิบรูในอิยิปต์ต้องเดือนร้อนอย่างแสนสาหัสจากการเป็นทาสของอิยิปต์  โมเสสจึงตัดสินใจที่จะพาพวกของตนอพยพกลับคืนแผ่นดินเดิม  เมื่อขบวนอพยพมาถึงฝั่งทะเลแดงนั่นพระเป็นเจ้าท่านบัลดาลให้น้ำในทะเลแดงแห้งหายไปเป็นทางให้ขบวนอพยพผ่านไปได้  แต่พอกองทัพอียิปต์ติดตามลงไปถึงกลางทะเลแดง  พระเจ้าบัลดาลให้น้ำทะเลขึ้นมาท่วมกองทัพอียิปต์ตาย การอพยพอันแสนลำบาก โมเสสใช้บัญญัติ 10ประการ ขึ้นต้นด้วยข้อว่า อย่านับถือพระเจ้าอื่น และลงท้ายด้วยข้อห้ามไม่ให้โลภเอาของผู้อื่น หรือ เพื่อนบ้าน ช่วยนำพาขบวนอพยพเดินทางผ่านดินแดนที่ทุรกันดารไปได้จนประสบความสำเร็จ  จากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าโมเสสได้ให้พระเจ้าของพวกเขาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ให้ทำการณ์ที่ตั้งใจสำเร็จ

ประวัติศาสตร์ของชนชาติยิวหรือฮิบรูนั้นเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้มาตลอด ผู้นำของชาวฮิบรูได้นำเอาพระเจ้ามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการทำสงคราม เพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกรังแกของชนชาติ ชนเผ่า อื่นๆที่อยู่ล้อมกรอบ  หลักการสูงสุดนี้คือหลักการที่ว่า  ตาต่อตา ฟันต่อฟัน  คือ  ทำใครแขนเขาขาด  ก็ต้องถูกตัดแขน  ทำใครเขาบอด  ก็ต้องถูกควักลูกตา

จึงไม่มีข้อโต้แย่งมุมใดเลยที่จะบอกได้ว่า  ศาสนายิว ไม่ใช่ ศาสนาสงคราม[4]

ศาสนาคริสต์

          ผลสำเร็จทางการเมืองอันยิ่งใหญ่  เมื่อถึงรัชสมัยพระเจ้าคอนสแตนติน  พวกคริสเตียนได้มีส่วนเป็นฐานอำนาจให้พระองค์ได้ขึ้นครองบัลลังก์และกลายเป็นจักรพรรดิ์ผู้ยิ่งยงของโรมัน  ศาสนาคริสต์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นศาสนาประจำชาติ  จนกระทั่งแผ่อำนาจปกคลุมยุโรปได้ทั้งหมด[5]

นักวิชาการคริสต์ชื่อ กราเทียน  เดอวิเทอเรียนและซูอาเรส์ทำให้สามารถสร้างทฤษฎีเรื่องสงครามชอบธรรมในกรอบของศาสนาคริสต์ขึ้นมาชาวคริสเตียนเชื่อว่าสงครามป้องกันตัวเองและศาสนา ไม่ขัดกับคำสอนในศานาคริสต์ที่มีอยู่ในคัมภีร์ทั้งสองเพื่อชาวคริสเตียนจะได้ไม่รู้สึกบาปเมื่อเข้าร่วมในสงครามประเภทนี้ทฤษฎีของซูอาเรส์กำหนดว่าสงครามชอบธรรมจะต้องมีองค์ประกอบดังนี้คือ

1.ประกาศโดยผู้มีอำนาจทางกฎหมาย

2.เรามีสาเหตุที่สูงส่งเช่นเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมโลกหรือเพื่อคุ้มครองศาสนา

3.ผู้ทำสงครามมีเจตนาดีไม่ได้คิดแค้นหรือต้องการประโยชน์ส่วนตัว

4.ใช้อาวุธที่เหมาะสมทำสงครามไม่ใช่อาวุธที่มีอานุภาพการทำลายร้ายแรงมหาศาล

5.เป็นการทำสงครามต่อศัตรูโดยตรง

6.ไม่ทำอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ เช่นเด็กผู้หญิงคนชราและผู้ไม่เกี่ยวข้องกับสงครามด้วยการทำให้บุคคลเหล่านั้นสูญเสียสิ่งทดแทนไม่ได้เช่นชีวิต

7.เป็นวิธีสุดท้ายไม่มีทางเลือกอื่นและ

8.มีทางประสบความสำเร็จได้

ทฤษฎีนี้เป็นความพยายามของคริสจักรที่เกิดจากการยอมรับความจริงของโลกว่าสงครามเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ตลอดไปเงื่อนไขต่างๆที่กำหนดไว้เป็นวิธีป้องกันไม่ให้สงครามสร้างความหายนะให้แก่ผู้เกี่ยวข้องโดยความจำเป็นเหมือนการป้องกันไม่ให้ไฟที่มีอยู่แล้วรุกโชนที่มีมากเกินไปจนอันตรายตัวเราและผู้อื่น ทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับกันทั่วไปในบรรดานักวิชาการศาสนาคริสต์ ทั้งชาวคาทอลิค และโปรเตสแตนท์[6]

ศาสนาอิสลาม

          การทำสงครามกับผู้นับถือศาสนาอื่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามเท่านั้น  ไม่ได้เป็นคำสอนสำคัญของศาสนาอิสลามเหมือนกับเรื่องสันติภาพ   ศาสนาอิสลามไม่ได้สอนให้คนเราทำลายชีวิตผู้นับถือศาสนาอื่น  การสู้รบระหว่างชาวมุสลิมกับชาวเมกกะในสมัยพระมะหะหมัดยังมีชีวิตอยู่   หลักสำคัญของการต่อสู้นั้นคือเพื่อความอยู่รอด   เพื่อปกป้องชีวิตของชาวมุสลิมและศาสนาอิสลามไม่ให้ถูกทำลายไป[7]

                แต่จากข้อความนี้  “โดยสั่งการว่า  ถ้าประสงค์ให้พระมะหะหมัดไปอยู่ยังเมืองยาถริบแล้ว  ชาวเมืองยาถริบจะต้องเต็มใจร่วมมือกับพระมะหะหมัด  ทำสงครามศาสนา  เพื่อให้พระอ่าหล่า  เป็นเทพแต่องค์เดียว  ตลอดทั้งประเทศอาหรับ...”  เป็นข้อความที่พระมะหะหมัดส่งฑูตไปติดต่อเจรจากับเมืองยาถริบ  เพื่อร่วมมือทำสงครามศาสนากับเมืองเมกกะในตอนเริ่มต้นที่จะก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้นมาในโลก  เมื่อปักหลักได้แล้วด้วยการทำสงครามปราบปรปักษ์ผู้ขัดขวางได้ราบคาบ  การเผยแผ่ศาสนาก็เร่งรุดไปในแนวทางแห่งการทำสงคราม  เช่นกัน  ดังนี้  “พระมะหะหมัดก็เริ่มปราบปรามประเทศอาหรับทั้งหมด  ด้วย สงครามศาสนา  เพื่อให้ประชาชนมาเข้าอิสลาม”[8]

                จีฮัดหรือที่เข้าใจกันว่าเป็นศาสนาสงครามนั้น  เป็นคำที่ใช้ครั้งแรกในสมัยพระศาสนา  เป็นการสู้รบโดยมีศาสนาเป็นเหตุสำคัญ  พระศาสดากล่าวว่าคนที่ต้องการทำลายศาสนาอิสลามเป็นศัตรูของพระองค์และนักรบชาวมุสลิมที่เสียชีวิตในการรบนี้จะขึ้นสวรรค์  เพราะเป็นผู้เสียสละชีวิตให้ศาสนา  ศาสนาอิสลามแผ่ขยายไปทั่วดินแดนอาระเบีย  และดินแดนต่างๆของยุโรป  สงครามระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์เตียนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องการเผยแผ่ศาสนาของตนออกไปให้กว้างขวางที่สุดสาเหตุหนึ่งของสงครามครูเสดที่ยาวนาน  ชาวมุสลิมถือเป็นสงครามศาสนา  เพราะเป็นการทำสงครามเพื่อเผยแพร่ศาสนาอิสลาม

                เมื่อพูดถึงจีฮัดในศาสนาอิสลามเราจึงควรเข้าใจความหมายของคำนี้ใบบริบทต่างๆ  ไม่ควรศึกษาแต่คำสอนในบริบทที่เกี่ยวกับสงครามเท่านั้น  จีฮัดเป็นการต่อสู้เพื่อเป้าหมายสูงสุด  เช่นต่อสู้เพื่อเอาชนะความชั่วร้ายในจิตใจต่อสู้เพื่อให้สังคมมีความยุติธรรม  หรือ ต่อสู้เพื่อเผยแพ่ศาสนาอิสลาม  พระศาสดาถือว่าจีฮัดเป็นการต่อสู้กับศัตรูภายในจิตเพื่อกำจัดความชั่วร้ายในจิตใจที่กีดขวางไม่ให้เราเข้าไปใกล้ชิดกับพระเจ้ามีความสำคัญยิ่งใหญ่กว่าจีฮัดที่เป็นการสู้รบกับศัตรูภายนอก[9]

 

ศาสนาสิกข์

                ศาสนาซิกข์เป็นศาสนาเดียวในโลกเป็นศาสนาเดียวในโลกที่เกิดขึ้นเพราะถูกบีบบังคับทางการเมืองมากที่สุด   ศาสนาสิกข์เกิดจากการบังคับขู่เข็ญที่ชาวฮินดูได้รับจากคนศาสนาอื่น  สิกข์จึงเป็นศาสนาของผู้กล้าหาร เสียสละ เป็นศาสนาของนักรบ ชาวสิกข์ทุกคนเท่ากับเป็นทหาร  เป็นกำลังป้องกันชาติตระกูลของตน

                ผู้ประกาศศาสนาซิกข์ มุ่งรวมความแตกแยกระหว่างชาวชมพูทวีปในขณะนั้น ให้ผู้นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามรวมกันอยู่เป็นพวกเดียวกันมุ่งตัดความแตกสามัคคีในระหว่างลัทธิศาสนาทั้งสองนั้นเสีย แล้วตั้งลัทธิใหม่ขึ้นให้เหมาะแก่ชาติตระกูล ที่ประสบความยากเข็ญ เพราะความแตกสามัคคีของผู้นับถือศาสนาทั้งสองอันมีอยู่ในขณะนั้น[10]

          ยุคนี้เป็นยุคมืด  แห่งราชวงศ์มุฆัล  ในระยะแรกนั้นท่านคุรุนานัก และคุรุผู้สืบทายาทต่อมาอีกหลายท่าน  จึงก่อร่างสร้างตัวของการสะสมกำลังอย่างระมัดระวัง  การแผ่ขยายกำลังอำนาจได้เติบโตตามลำดับ  มีการจัดตั้ง  มัญชะ  หรือมณฑล ในเชิงเปรียบเทียบก็คือ ฐานทัพ เป็นแหล่งรวมพลังที่เป็นหลักฐานมั่งคง

                ครั้นต่อมาอีกไม่นาน  ท่านคุรุอรชุน ได้ประกาศอิสระภาพแยกตัวออกจากฮินดูและอิสลามอย่างชัดเจนและได้เข้าดำเนินการเรื่อง มัญชะ โดยหาเงินบำรุงอย่างแข็งขัน  ทำให้บทบาทการณ์เป็นศาสนาสงครามก็เริ่มปรากฎเค้าชัดขึ้น  แน่นอนที่สุดฝ่ายอิสลามซึ่งถืออำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดอยู่ในขณะนั้น  ในนามแห่งราชวงศ์มุฆัล  จึงตัดไฟแต่ต้นลงเสีย  ผลปรากฎว่า  ท่านคุรุอรชุนจบชีวิตเป็นนักโทษประหาร  ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชาวสิกข์กับชาวมุสลิม  คุรุต่อๆมาได้กลายเป็นผู้นำทั้งด้านการทหารและในด้านจิตใจ  มีการปะทะกับราชวงศ์ มุฆัลหลายครั้ง

                ในส่วนชาวสิกข์ปรากฎรูปลักษณ์ของนักรบนั้น  เป็นบทบัญญัติ  ก. 5 ประการ ที่ละเมิดไม่ได้

1.       เกส ไว้ผมและหนวดยาว  (ให้แปลกไปจากอิสลาม  เพื่อสังเกตกันได้ง่ายในสนามรบ)

2.       กุงฆะ  เหน็บหวีไว้ที่ผม  (เป็นธรรมดาของผู้ไว้ผมยาวต้องมีหวีเพื่อความเรียบร้อย)

3.       กุจฉา  นุ่งกางเกงสั้นชั้นใน  (สะดวกในการรบ)

4.       กร  สวมกำไลข้อมือเหล็ก  (เป็นเครื่องเตือนใจผูกมัดตนไว้กับลัทธิอย่างแน่นหนาดังข้อเหล็ก)

5.       กิรปาน  ถือดาบ  (เป็นธรรมดาของนักรบ)

จากร่องรอยลักษณะของชาวสิกข์  ย่อมเป็นที่ยืนยันแล้ว่าศาสนาสิกข์นั้นเกี่ยงข้องกับสงครามระหว่างศาสนาอยู่ในตัว  จนต้องเตรียมตัวพร้อมอยู่ในรูปของนักรบตลอดเวลา  จึงทำให้ถูกมองเป็นศาสนาสงคราม[11]

  

[1] ชำนิ มโนรม.สงครามศาสนา. กรุงเทพมหานคร:ศิวพร,2530  หน้า 17-21

[2] ชำนิ มโนรม.อ้างแล้วหน้า 24-45

[3] พินิจ รัตนกุล.สงครามศาสนามิตรหรือศัตรู.นครปฐม:เพชรรุ่ง,2544 หน้า 19-21

[4] ชำนิ มโนรม. อ้างแล้วหน้า46-68

[5] พินิจ รัตนกุล. อ้างแล้วหน้า100

[6] __________ .อ้างแล้วน้า 41-42

[7] พินิจ รัตนกุล. อ้างแล้ว  หน้า 53

[8] ชำนิ มโนรม.อ้างแล้ว  หน้า 107

[9] พินิจ รัตนกุล. อ้างแล้วหน้า 54-59

[10] ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียร พันธรังษี. ศาสนาเปรียบเทียบ.พิมพ์ครั้งที่9.กรุงเทพ:สุขภาพใจ,2546 หน้า 189-190

[11] ชำนิ มโนรม. อ้างแล้วหน้า 121-139

 

 

2.สงครามศาสนาที่สำคัญ

สงครามครูเสด

สงครามครูเสด คือ สงครามระหว่างศาสนา ซึ่งอาจหมายถึงสงครามระหว่างชาวคริสต์ต่างนิกายด้วยกันเอง หรือชาวคริสต์กับผู้นับถือศาสนาอื่นก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงสงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ ในช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 ส่วนมุสลิมเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามฟีสะบีลิ้ลลาฮ์ และดินแดนแห่งนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญของสามศาสนาได้แก่ อิสลาม ยูได และ คริสต์ ในปัจจุบันดินแดนแห่งนี้คือประเทศอิสราเอล หรือ ปาเลสไตน์

สงครามครูเสดในมุมมองคริสต์ สงครามครูเสด คือ สงครามไม้กางเขนเดิมมาจากคำว่า “ครอส” และเดิมทีดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (เยรูซาเลม) นั้นเป็นของชาวคริสต์อยู่แล้ว แต่ถูกชาวมุสลิมรุกราน  ฝ่ายคริสต์มีการประกาศความชอบธรรมในการทำสงคราม และยังยกหนี้สินให้กับคนที่เข้าร่วมสงคราม และผู้นำศาสนายังประกาศว่าผู้ใดที่ร่วมรบจะได้ขึ้นสวรรค์

สงครามครูเสดในมุมมองมุสลิม สงครามครูเสด คือ การรุกรานของชาวคริสต์ที่กระทำต่อมุสลิม สาเหตุสงครามเกิดจากการที่ชาวคริสต์ไม่พอใจชาวมุสลิมที่ไม่ต้อนรับพวกตนในการเข้าไปแสวงบุญที่ เยรู-ซาเลม เป็นต้น             

 “สงครามครูเสด” มีความหมายว่า เป็น การต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรม  เป็นความถูกต้องชอบธรรมตามหลักศรัทธาทางศาสนา เป็นสงครามที่ต่อสู้ความถูกต้องตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งชาวมุสลิมใช้คำว่า “จิฮัด”ในภายหลังคำว่า สงครามครูเสดถูกนำไปใช้ในทำนอง การรณรงค์ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมด้านต่างๆ เป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ตามพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า “ฆ่าคนนอกรีต-คนต่างศาสนา ไม่บาป แล้วยังได้ขึ้นสวรรค์”[1]

สาเหตุของสงครามครูเสด สรุปได้ดังนี้

1. สงครามครูเสดเป็นผลของความขัดแย้งกันเป็นเวลาช้านาน ระหว่างคริสตจักรทางภาคตะวันตกกับทางภาคตะวันออก ต่างฝ่ายต่างก็พยายามที่จะมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง โดยนำเสนอความเป็นผู้นำในการรบเพื่อทวงคืนดินแดนศักดิ์สิทธิ และหยุดยั้งการแพร่ขยายของศาสนาอิสลามที่เป็นไปอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดความหวาดกลัวขึ้นทั่วไปในหมู่ชาวคริสเตียนในยุโรป ด้วยเหตุดังกล่าว ในศตวรรษที่ 11 ชาวคริสเตียนจึงได้ส่งกองกำลังมาปะทะกับมุสลิม

2. ความกระตือรือร้นในการแสวงบุญของชาวคริสเตียนยังนครเยรูซาเล็มมีมากกว่าที่เคยเป็นมา ในช่วงนั้น เยรูซาเล็มตกอยู่ภายใต้การปกครองของมุสลิม ผู้แสวงบุญชาวคริสเตียนจึงมีความต้องการดินแดนเยรูซาเล็มเป็นของตนเอง เพื่อความสะดวกในการแสวงบุญมากยิ่งขึ้น

3. ช่วงเวลาระหว่างนั้น เป็นระยะเวลาที่ระส่ำระสายอยู่ทั่วไปในยุโรป พวกเจ้าเมืองต่างๆ ต่างก็ต่อสู้ทำสงครามซึ่งกันและกัน พระสันตะปาปา  มีความเห็นว่า ถ้าปล่อยให้อยู่ในสภาพเช่นนี้จะทำให้ชาวคริสเตียนในยุโรปต้องอ่อนแอลง เขาจึงยุยง ปลุกระดมให้ประชาชนหันมาต่อสู้กับชาวมุสลิมแทนโดยอ้างว่าจะได้รับกุศลผลบุญ และเพื่อเอานครอันศักดิ์สิทธิ์ เยรูซาเล็มกลับคืนมา

4. มุสลิมได้กลายเป็นมหาอำนาจทางการค้าแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา การค้าพาณิชย์ในทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนจึงตกอยู่ในความควบคุมของมุสลิมอย่างเต็มที่ ดังนั้นชาวคริสเตียนในยุโรปจึงต้องทำสงครามกับมุสลิมเพื่อหยุดยั้งความเจริญก้าวหน้าของมุสลิม

5. สันตะปาปา เออร์แบนที่ 2 ประสงค์จะรวมคริสต์จักรของกรีกมาไว้ใต้อิทธิพลของท่านด้วย จึงได้เรียกประชุมชาวคริสเตียนที่เมืองเลอมองค์ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 และรบเร้าให้ชาวคริสเตียน ทำสงครามกับชาวมุสลิม ท่านได้สัญญาว่าผู้ที่เข้าร่วมในการต่อสู่จะได้รับการยกเว้นจากบาปที่เคยทำมา และผู้ที่ตายในสงครามก็จะได้ขึ้นสวรรค์ ภายในเวลาไม่นานก็รวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน ส่วนมากเป็นชาวแฟรงค์  (Frank ) และนอร์แมน ( Norman ) คนเหล่านี้ได้มาชุมนุมกันที่เมืองเยรูซาเล็ม[2]

 

ประวัติสงครามครูเสดโดยย่อ

จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสดหลังจากที่พระเยซูคริสต์เสียชีวิตแล้ว แผ่นดินที่พระเยซูคริสต์มีชีวิตอยู่ ก็คือเมืองเบธเลเฮม เมืองนาซาเร็ธ และเมืองเยรูซาเล็มถูกเรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ชาวคริสเตียนจะเดินทางไปแสวงบุญที่เมืองเหล่านี้ อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วยเช่นกัน เมื่อพวกซัลจู๊ค(มุสลิม)เข้ามามีอำนาจ ได้ครอบครองซีเรียและเอเชียไมเนอร์ของไบแซนไทน์  ชัยชนะของซัลจู๊คในการยุทธที่มานซิเคอร์ทในปี ค.ศ.1071 นั้น เป็นการขับไล่อำนาจของไบแซนไทน์ออกจากเอเชียไมเนอร์ และอีกไม่กี่ปีต่อมาคือ ในปี ค.ศ. 1092 ซัลจู๊คก็ตีเมืองนิคาเอจากไบแซนไทน์ได้อีก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ตื่นตระหนัก เพราะอิสลามกำลังเข้าใกล้กรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเข้าไปทุกที จักรพรรดิอเล็กซิอุส คอนเนนุส แห่งไบแซนไทน์ ได้ขอความช่วยเหลือไปยังโป๊ปเกรกอรีที่ 7 แห่งกรุงโรม ให้ชาวคริสเตียนปราบเติร์ก ซึ่งสันตะปาปาก็ตอบรับการขอความช่วยเหลือ เพราะนั่นเท่ากับว่าจักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์เป็นผู้นำของศาสนาคริสต์นิกายออโธดอกซ์ยอมรับอำนาจของสันตะปาปา ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายโรมันคาทอลิกโดยสิ้นเชิง พระสันตะปาปาได้ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด

         หากเราพิจารณาในวงแคบลงมาแล้ว ในความรู้สึกของชาวยุโรปนั้น ตนถูกรุกรานจากพวกตะวันออกคือโลกมุสลิมมาโดยตลอด นับตั้งแต่ ค.ศ. 632 เป็นต้นมา อิสลามได้ขยายอำนาจของตนเข้าไปในเขตแดนที่ตะวันตกเคยมีอำนาจ เช่น ซีเรีย อียิปต์ แอฟริกาเหนือ ตลอดจนคาบสมุทรไอบีเรีย ( สเปน และโปรตุเกส ) ซ้ำยังคุกคามจักรวรรดินิยมที่ยิ่งใหญ่ในโลกตะวันตกคือไบแซนไทน์ และสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่สถาบันที่เป็นหัวใจของวัฒนธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา นั่นก็คือกรุงโรม โดยมุสลิมสามารถยึดครอบครองบางส่วนของอิตาลี ตลอดสมัยนี้การค้ากับตะวันออก ตกอยู่ในมือของอิสลาม สงครามครูเสดจึงเป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะล้มอำนาจของตะวันออกที่เป็นมุสลิมหลังจากที่แพ้มาโดยตลอด

         แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ชาวยุโรปเดินทางฝ่าอันตรายไปยังโลกอิสลาม คือ กษัตริย์ฝรั่งเศสและเยอรมันต้องการดินแดนเพิ่ม บรรดาอัศวินและขุนนางต้องการผจญภัยแสดงความกล้าหาญตามอุดมคติของอัศวินที่ดี พวกทาสต้องการเป็นอิสระ เสรีชนต้องการความร่ำรวยและแสดงความศรัทธาต่อศาสนารวมทั้งความพยายามของ พระสันตะปาปาในอันที่จะรวมคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์ให้เข้ากับนิกายโรมันคาทอลิก ภายใต้การบังคับบัญชาของตนแต่เพียงผู้เดียว ประกอบกับสมัยนั้นอำนาจของอิสลามเองก็ได้อ่อนแอลงเนื่องจากความแตกแยกภายใน คือ ภายหลังที่ซัลจู๊คเสื่อมอำนาจลง โลกอิสลามได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นแคว้นเล็กแคว้นน้อย ปราศจากศูนย์กลางอีกครั้ง คอลีฟะฮฺแห่งฟาฏีมียะฮฺเองก็ตกอยู่ในสภาพที่อ่อนแอและพยายามจำกัดอำนาจของตนอยู่เฉพาะในอียิปต์เท่านั้น

          พระสันตะปาปาได้ทำการเรียกร้องให้ทำสงครามครูเสด กล่าวถึงความจำเป็นที่จะต้องทำเพราะเป็นคำสั่งของพระเจ้า แต่ทว่าเกรกกอรีที่ 7 ได้เสียชีวิตลงเสียก่อนที่จะปฏิบัติตามสัญญาในปี ค.ศ.1095 จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์ได้ขอร้องทำนองเดียวไปยังพระสันตะปาปาคนใหม่ คือ เออร์บานที่ 2 ซึ่งพระสันตะปาปาคนนี้ก็ได้ตอบรับการเรียกร้องทันที พระสันตะปาปาได้จัดประชุมกันที่เคลมองต์ ( Clerment ) ในประเทศฝรั่งเศส เรียกร้องให้ประชาชนทำสงครามครูเสดเพื่อกอบกู้สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ คือ กรุงเยรูซาเล็มคืนจากอิสลาม..คำปราศรัยของพระสันตะปาปามีใจความว่า

          “ด้วยบัญชาของพระเจ้า ให้เจ้าหยุดยั้งการทำสงครามกันเอง และให้เขาเหล่านั้นหันมาถืออาวุธมุ่งหน้าไปทำลายผู้ปฏิเสธ ( มุสลิม )”

         ปรากฏว่าพระสันตะปาปารวบรวมคนได้ถึง 150,000 คน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสไปร่วมทำสงครามครูเสด จะเห็นว่าในบรรดาชายชาวยุโรปที่กระเหี้ยนกระหือรือในการทำสงครามครูเสดมากที่สุดก็เห็นจะได้แก่ ชาวฝรั่งเศส ดังนั้น การจัดตั้งรัฐต่างๆในตะวันออกกลางภายหลังที่พวกครูเสดสามารถปกครองดินแดนนี้จึงเป็นรัฐของฝรั่งเศส บาทหลวง บรรดาเจ้าชาย อัศวิน และนักรบล้วนแต่เป็นชาวฝรั่งเศสเสียส่วนใหญ่

         ในขณะที่ทัพครูเสดกำลังจะยกมารบกับอิสลาม ก็ได้มีกองทัพของประชาชนผู้มีศรัทธาแรงกล้าเดินทัพมาก่อนแล้วในปี ค.ศ.1094 ตามคำชักชวนของ ปีเตอร์ นักพรต ( Peter of Amines ) เขาผู้นี้ได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วยุโรป เพื่อป่าวประกาศเรื่องราวการกดขี่ของชาวเติร์กต่อชาวคริสเตียนในปาเลสไตน์ ซึ่งหาได้เป็นความจริงไม่   กล่าวได้ว่ากองทัพนี้เป็นกองทัพของประชาชนมากกว่ากองทัพของทหารที่จะไปทำสงคราม เพราะมีผู้นำที่เป็นบาทหลวงและสามัญชนธรรมดาปราศจากความรู้ในการรบ และมิได้มีอาวุธที่ครบครัน ปรากฏว่ากองทัพนี้ส่วนใหญ่มาถึงเพียงฮังการี เพราะเมื่อขาดอาหารลงก็จะทำการปล้นสะดม จึงถูกประชาชนแถบนั้นต่อต้าน และส่วนใหญ่จะตายเสียตามทาง ที่เหลือรอดมาซึ่งมีจำนวนเล็กน้อย เมื่อเผชิญกับพวกซัลจู๊คจึงถูกตีแตกพ่ายกลับไป สงครามครั้งนี้มิได้ก่อให้เกิดผลสะท้อนใดๆ นอกจากจะกระตุ้นให้ชาวยุโรปมีความเกลียดชังมุสลิมมากขึ้นไปอีก

สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ เกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.1096 โดยมีอัศวินประมาณ 50,000 คนเข้าร่วม ส่วนใหญ่มาจากฝรั่งเศส เส้นทางที่ทหารครูเสดจะต้องเดินทางมานั้นมีระยะทาง 2,000 ไมล์ ทหารครูเสดที่มาในครั้งนั้นอยู่ภายใต้การนำของ โรเบิร์ต แห่งนอร์มังดี ทหารบางคนเข้าร่วมสงครามครั้งนี้ด้วยเหตุผลทางศาสนา บางคนเข้าร่วมเพราะต้องการผจญภัยหรือแสวงโชค ใน ค.ศ.1099 ทหารครูเสดได้มาถึงด้านนอกกำแพงเมืองเยรูซาเล็ม ฝ่ายมุสลิม (ซึ่งพวกทหารครูเสดเรียกว่า ซาราเซ็น ) ได้ต่อสู้ป้องกันอย่างเข้มแข็ง ทหารครูเสดปิดล้อมเมืองอยู่เดือนกว่าจึงฝ่ากำแพงเข้าไปได้และเมื่อเข้าเมืองได้ ทหารคริสเตียนก็ฆ่ามุสลิมทุกคนที่พวกเขาพบ เพราะทหารคริสเตียนถือว่า ชาวมุสลิมทุกคนคือผู้ไม่ศรัทธาในเมืองศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า

ใน ค.ศ. 1144 มุสลิมยึดเมืองอีเดสซากลับคืนมาได้ สงครามครูเสดครั้งที่สองเกิดขึ้นเพราะพวกยุโรปต้องการที่จะยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมา แต่ต้องประสบความล้มเหลว ต่อมาใน ค.ศ.1187 ผู้นำมุสลิมคนใหม่คือ เศาะลาฮุดดีน (ซาลาดิน) ได้โจมตีอาณาจักรของคริสเตียนโดยเริ่มจากสงครามฮิตตินก่อน หลังจากนั้นก็เข้าไปยึดเมืองเยรูซาเล็มกลับคืนมาได้ ทหารมุสลิมต้องการที่จะประหารชาวคริสเตียนทั้งหมดที่อยู่ในเมือง แต่ซาลาดินไม่อนุญาต สงครามครูเสดครั้งที่สามเกิดขึ้น เพราะคริสต์จักรความต้องการที่จะขับไล่ซาลาดินออกจากแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์         หนึ่งในบรรดาแม่ทัพที่นำทหารครูเสดมาในครั้งนั้นคือ กษัตริย์ริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษหรือที่รู้จักกันดีว่า “ริชาร์ดใจสิงห์” ได้ทำสงครามกับซาลาดินสงครามนองเลือดจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ทหารของซาลาดินเข้มแข็งกว่า ดังนั้น สิ่งที่กษัตริย์ริชาร์ดทำได้ ก็คือการทำสัญญากับ ซาลาดินใน ค.ศ.1192 สัญญานี้ระบุว่าทำพวกคริสเตียนอาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ ได้ เช่น เมืองอัครา บนฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และไปเยี่ยมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ได้ หลังจากนั้นอีกหนึ่งศตวรรษ มุสลิมก็สามารถยึดเมืองคริสเตียนต่าง ๆ กลับคืนมาได้ กองทหารครูเสดได้ถูกส่งมาช่วยเมืองเหล่านี้หลายครั้ง แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ[3]

 

บทสรุปสงครามครูเสด     

                สงครามครูเสด มีการทำสงครามกัน 8 ครั้ง กินระยะเวลานานกว่า 200ปี มีผู้คนล้มตายกว่า 7,000,000คน และสุดท้ายดินแดนศักดิ์สิทธิตกเป็นของมุสลิม บทสรุปการทำสงครามแต่ละครั้งมีดังนี้

ครั้งที่ 1ตั้งแต่เมื่อ ค.ศ. 1092 ถึง ค.ศ. 1099 เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเติร์กเปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก

ครั้งที่ 2ตั้งแต่ ค.ศ. 1147 ถึง ค.ศ. 1149 พระเจ้าหลุยส์ที่ 7ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ 3ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ต้องแพ้ย่อยยับกลับมา

ครั้งที่ 3ตั้งแต่ ค.ศ. 1189 ถึง ค.ศ. 1192 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 1(เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ท (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย

ครั้งที่ 4ตั้งแต่ ค.ศ. 1202 ถึง ค.ศ. 1204 ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวก   เติร์กกลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง

ครั้งที่ 5ตั้งแต่ ค.ศ. 1217 ถึง ค.ศ. 1221 เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเติร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ

ครั้งที่ 6ตั้งแต่ ค.ศ. 1228 ถึง ค.ศ. 1229 พระเจ้าเฟรเดริกที่ 2(เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก

ครั้งที่ 7ตั้งแต่ ค.ศ. 1248 ถึง ค.ศ. 1249

ครั้งที่ 8ใน ค.ศ. 1270 นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเติร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 1270และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้ [4]

 

 

สงครามครูเสดทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอ้อมหลายประการด้วยกันคือ

หลังจากนั้น พวกคริสเตียนได้ครองแผ่นดินที่พวกตนยึดครองได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งเยรูซาเล็ม บางเมืองมีอายุยืนยาวกว่า 200 ปี การเข้ามาอยู่ในดินแดนที่มีมุสลิมอาศัยอยู่โดยรอบทำให้พวกคริสเตียนและมุสลิมเกิดการรวมวัฒนธรรมกัน พวกคริสต์-เตียนประทับใจในศิลปะการตกแต่งของมุสลิม เช่น พรม เครื่องใช้และกระเบื้องเคลือบ และพวกเขายังได้กินอาหารรสชาติใหม่ ๆ เช่น ผลแอปริคอท มะเดื่อ น้ำตาลและมะนาว ทางด้านเครื่องแต่งกายชาวคริสเตียนได้เรียนรู้การใช้ผ้าฝ้ายและผ้าไหมทำเสื้อผ้า ทางด้านสถาปัตยกรรม พวกคริสเตียนได้เรียนรู้เรื่องการใช้เสาและคานรูปโค้งแบกรับน้ำหนักจากสิ่งที่ปลูกสร้างของมุสลิม นอกจากนี้แล้ว พวกคริสเตียนยังได้เรียนรู้ถึงวิธีการป้องกันปราสาทโดยการใช้หอคอยทรงกลม และช่องทางเดินบนกำแพงที่ทำให้คนที่อยู่ข้างบนสามารถยิงธนูหรือโยนหินเข้าใส่ผู้เข้ามาโจมตีได้ ส่วนพวกมุสลิมนั้นไม่ได้อะไรจากพวกคริสเตียนมากนักนอกจากการค้าที่เพิ่มขึ้นกับอิตาลี อาวุธที่ดีขึ้น และการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสงคราม[5]

    

[1] ดานุภา.สงคราครูเสด.กรุงเทพ:มายิก,2548.หน้า 49-61

[2]http://www.panyathai.or.th/wik...

[3] ดานุภา. อ้างแล้ว.หน้า 61-80

[4] ชำนิ มโนรม.อ้างแล้ว  145-146

[5]http://nonlaw.7forum.net/forum-f2/topic-t77.htm

 

 

สงครามอินเดีย-ปากีสถาน

ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียใต้ต่างเคยเป็นดินแดนใน อาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษ ในช่วงปลาศตวรรษที่ 18 ซึ่งปกครองดินแดนอนุภูมิภาคอินเดียเป็นเวลายาวนานเกือบ 200 ปี ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในดินแดนแถบนี้นับถือศาสนาฮินดูหรืออิสลาม ฝ่ายสันนิบาตรมสลิม (Muslim League) นำโดย Jinnah เสนอ Two Nation Theory ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ว่า ดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของอนุ-ทวีปเป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมและพื้นเพความเป็นมาแทบจะ ไม่เหมือนกันเลย และจักรวรรดิอังกฤษของอินเดียควรแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ได้แก่ ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและ ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู ในที่สุด จักรวรรดิอินเดียของอังกฤษได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศอินเดียและปากีสถาน

ความขัดแย้งระหว่างอินเดีย - ปากีสถาน ที่มีรากฐานมาจากความแตกต่างทางศาสนา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต และข้อพิพาทที่เกิดขึ้นของทั้งสองประเทศเหนือดินแดนแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ หรือที่เรียกว่า แคว้นแคชเมียร์ ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947

เมื่อข้อตกลงการแบ่งแยกดินแดนดังกล่าวไม่ได้แบ่งแยกเอาแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ ซึ่งมีฐานะเป็น รัฐหรือแคว้นในอินเดีย ที่ปกครองโดยผู้ปกครองชาวอินเดียภายใต้ระบบจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ ถือเป็นการปกครองทางอ้อมโดยอังกฤษ และมีเสรีภาพที่จะเลือกว่าจะมีสถานะแบบใด ระหว่าง

1. เป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถาน หรือ อินเดีย

2. คงสถานะเป็นรัฐที่แยกตัวออกจากทั้งสองประเทศ โดยในขณะนั้น มหาราชา Hari Singh      

เลือกที่จะคงสถานะให้แคว้นชัมมูและแคชเมียร์เป็นรัฐอิสระ

 

สาเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน 

แคว้นชัมมูและแคชเมียร์นั้น เดิมเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวสิกข์ในช่วงต้นคริสศตวรรษที่ 19หลังจากที่อังกฤษรุกรานสิกข์และได้รับชัยชนะในปี ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) แทนที่อังกฤษจะปกครองดินแดนด้วยตนเองกลับให้อำนาจการปกครองกับชาวฮินดูในฐานะ "มหาราชา"

ในยุคจักรวรรดิอังกฤษ แคว้นชัมมูและแคชเมียร์เป็นหนึ่งใน 560รัฐที่ได้รับอนุญาตให้ปกครองตนเองภายใต้จักรวรรดิอังกฤษ ในการประกาศเอกราช ผู้ปกครองแคว้นต่างๆ เหล่านี้ ได้รับสิทธิเลือกที่จะอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ระหว่าง อินเดียและปากีสถาน โดยต้องคำนึงถึงลักษณะภูมิประเทศและศาสนาของประชากรที่อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น มหาราชา Hari Singh Dogra ผู้ครองแคว้นชัมมูและแคชเมียร์ขณะนั้นไม่สามารถตัดสินใจได้ เนื่องจากตัวพระองค์นับถือศาสนาฮินดู ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ดังนั้นมหาราชาจึงไม่ตัดสินใจที่จะรวมเข้ากับประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่กลับลงนามในข้อตกลงสงบศึกชั่วคราว กับปากีสถาน เพื่อที่ประชาชนในแคว้นยังสามารถทำการค้า การเดินทางท่องเที่ยวและการติดต่อสื่อสารกับประชาชนของปากีสถานได้ ขณะที่แคว้นชัมมูและแคชเมียร์ไม่ได้มีการลงนามข้อตกลงใดๆ       กับประเทศอินเดีย

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1947ชนเผ่า Pashtun จากชายแดนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานเข้ารุกรานแคว้นแคชเมียร์ นอกจากนั้น ยังเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในแคว้นเพื่อต่อต้านกลุ่มที่นับถือศาสนาอิสลามที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลปากีสถานในความพยายามจะรวมเข้ากับปากีสถาน จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทำให้มหาราชา Hari Singh ตัดสินใจนำแคว้นชัมมูและแคชเมียร์เข้าร่วมกับอินเดีย    โดยแลกกับความช่วยเหลือด้านกำลังพลและอาวุธจากอินเดีย

ภายหลังจากที่มหาราชา Hari Singh ลงนามในการส่งมอบสัตยาบันหรือภาคยานุวัติสาร (Instrument of Accession) กับ V P Menon ผู้แทนนายกรัฐมนตรี Jawaharlal Nehru เมื่อวันที่ 26ตุลาคม ในเช้าวันต่อมา (27ตุลาคม) กองกำลังอินเดียเคลื่อนพลทางอากาศเข้าสู่กรุง Srinagar หรือ ศรีนคร เมืองใหญ่ที่สุดในแคชเมียร์ นับตั้งแต่นั้นมาความขัดแย้งระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน  ได้ทวีความรุนแรงขึ้นและต่อเนื่องยาวนานจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 50ปี[1]

 

สรุป ประวัติการทำสงครามระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน

แคว้นชัมมูและแคชเมียร์ เป็นต้นตอขอข้อพิพาทในภูมิภาคเอเชียใต้ตลอดมานับตั้งแต่อังกฤษคืนเอกราชให้ดินแดนจักรวรรดิอินเดียของอังกฤษ และเป็นชนวนเหตุสงครามระหว่างอินเดีย - ปากีสถานถึง 4ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่    1   ระหว่างปี       ค.ศ. 1947  - 1949     หรือที่เรียกว่า    "The First Kashmir War"

เมื่อวันที่ 22ตุลาคม ค.ศ. 1947ปากีสถานให้การสนับสนุนวาร์ซิรี (Warxiri) และมาอูซุด (Mausud) นำทหารชาวเขาจากชายแดนภาคตะวันตกเฉียงเหนือ โดยอ้างว่ามาทำการปลดปล่อยชาวแคชเมียร์จากมหาราชา Hari Singh และสามารถยึดครองดินแดนได้ถึง 1ใน 3ของแคว้น ทำให้มหาราชาตัดสินใจขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลอินเดีย เยาหะราล เนห์รู นายยกรัฐมนตรีขณะนั้นตัดสินใจส่งทหารบกลำเลียงทางอากาศลงที่ศรีนคร (เมืองหลวงแคชเมียร์) เมื่อวันที่ 27ตุลาคม ค.ศ. 1947 เวลา 09.00ได้ทันก่อนที่ปากีสถานจะเข้ายึดสนามบิน เกิดการปะทะกันหลายครั้ง หลังจากนั้น รัฐบาลอินเดียยื่นประท้วงต่อคณะรัฐมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งองค์การสหประชาชาติมีมติให้ทั้ง 2ฝ่ายหยุดยิง เมื่อวันที่ 1มกราคม ค.ศ. 1949โดยกำหนดแนวหยุดยิง (Line of Control) แบ่งแคชเมียร์ตะวันออก ชัมมู และลาดัคห์ เป็นเขตยึดครองของอินเดีย ส่วนแคชเมียร์ตะวันตก (ปากีสถาน เรียกว่า "อาซัค" หมายถึงแคชเมียร์) เป็นเขตยึดครองของปากีสถาน

                        ครั้งที่     2  ระหว่างปี    ค.ศ.   1965  -  1966 หรือที่เรียกว่า    "The Second Kashmir War"

สงครามแคชเมียร์ครั้งที่ 2เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 9สิงหาคม ค.ศ. 1965เมื่อปากีสถานส่งกำลังทหารเข้าโจมตี Runn of Kachehh โดยอ้างว่าเป็น "วันปลดปล่อยแคชเมียร์" (Kashmir Revolt Day) ซึ่งตรงกับการฉลองครบรอบ 12ปีที่เชค อับดุลลาห์ ผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพชาวแคชเมียร์ถูกจับกุม ปากีสถานส่งหน่วยคอมมานโดพร้อมอาวุธทันสมัยรุกเข้ายึดศรีนคร ทำลายสถามบินปาธาน-กฏอดัมขปูร์ และฮัลวารา พร้อมทั้งส่งกำลังพลร่มเข้าสู่ปัญจาบ รัฐบาลอินเดียได้ยื่นประท้วงสหรัฐฯ กล่าวหาปากีสถานใช้อาวุธทันสมัยละเมิดแนวหยุดยิง รุกรานแคชเมียร์ในเขตยึดครองอินเดีย สหรัฐฯ จึงได้ระงับการขายอาวุธให้ปากีสถาน ในวันที่ 8กันยายน ค.ศ. 1965และประกาศวางตัวเป็นกลาง อินเดียส่งกำลังทหารตีโต้ สามารถยึดดินแดนกลับคืนมาได้ และรุกคืบหน้าใกล้ถึงเมืองละฮอร์ (Lahore) ของปากีสถาน จนทำให้ปากีสถานต้องยอมหยุดยิงและเจรจาสงบศึก (The Tashkent Declaration) เมื่อค.ศ. 1966ที่เมือง Tashkent

ครั้งที่ 3ในปี ค.ศ. 1971 เป็นสงครามที่ไม่มีความเกี่ยวพันกับแคชเมียร์ แต่เกี่ยวพันกับสงครามการแยกตัวของปากีสถานตะวันออก หรือ บังคลาเทศในปัจจุบัน (Bangladesh Liberation War) ดินแดนทางทิศตะวันออกของปากีสถานซึ่งประชากรส่วนใหญ่เชื้อสาย Bengali ต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากปากีสถาน ด้วยเหตุความรุนแรงในวงกว้างที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้อพยพชาว Bengali หลายล้านคนหนีตายมายังประเทศอินเดีย ในครั้งนั้น อินเดียร่วมกับกองกำลังต่อสู้เพื่ออิสรภาพของบังคลาเทศ (Mukti Bahini หรือที่รู้จักกันในนามของ "Freedom Fighter") สามารถเอาชนะกองกำลังปากีสถาน ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้เกิดประเทศบังคลาเทศ

                        ครั้งที่ 4สงครามคาร์กิล ระหว่างวันที่ 26พฤษภาคม - 26กรกฎาคม ค.ศ. 1999หรือที่เรียกว่า "Kargil War" ปากีสถานเปลี่ยนยุทธวิธีการรบจากการใช้กำลังเผชิญหน้ามาเป็นการใช้ยุทธวิธีในการทำให้อินเดีย Bleed through a thousand cuts เหมือนกับที่ปากีสถานได้ทำกับอดีตสหภาพโซเวียตในช่วงที่เข้ายึดครองอัฟกานิสถาน และในที่สุดโซเวียตก็พ่ายแพ้ ปากีสถานใช้นักรบศักดิ์สิทธ์ของพระผู้เป็นเจ้า หรือ "Jihad" ต่อสู้กับพวกนอกศาสนา คือ อินเดีย โดยเปิดค่ายผู้ก่อการร้ายในเขตแคชเมียร์ของปากีสถาน ในสงครามครั้งนี้ แม้อินเดียจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ แต่อินเดียพบกับความสูญเสียมหาศาล ทหารอินเดียหลายกองพันต้องสังเวยชีวิต ส่วนปากีสถานสามารถเรียกร้องให้นานาชาติหันมาสนใจปัญหาแคชเมียร์ได้ในระดับหนึ่ง[2]

ช่วงกลางศตวรรษที่ 20ได้มีสัญญาณแสดงว่าความสัมพันธ์ระหว่าง 2ประเทศมีวี่แววว่าจะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งสองประเทศต่างเปิดการเจรจาสันติภาพหลายครั้ง และได้มีการเปิดเส้นทางรถโดยสารระหว่าง 2ฝากฝั่งแคชเมียร์ในปี 2005ขณะที่ในปี 2006ได้มีการเปิดเส้นทางรถไฟและเส้นทางการค้าหลังจากปิดมา 60ปีตรงบริเวณรอยต่อแบ่งเขตการปกครองแคชเมียร์ของอินเดีย และ ปากีสถาน

ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์การก่อการร้ายที่กรุงมุมไบในเดือนพฤศจิกายนปี 2008ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเริ่มย่ำแย่ลงอีกครั้ง อินเดียได้ส่งหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการ 2ฉบับไปยังปากีสถาน เพื่อประท้วงที่ปากีสถานไม่อาจหยุดผู้ก่อการร้ายที่อาศัยอยู่ในประเทศตนได้ [3]

 

ศาสนาซิกข์กับสงคราม

คุรุนานักราชาแห่งฟากีร์ ต่อฮินดูท่านเป็นคุรุ ต่อมุสลิมเป็นปีร์ท่านคุรุนานักเองนั้นท่านเป็นฮินดู และศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้จากปราชญ์อิสลาม และในการสั่งสอนศาสนาไปทั่วอินเดียและนอกอินเดียนั้นท่านก็สอนทั้งฮินดูและอิสลามจนคนทั้งสองศาสนานั้นเคารพนับถือท่านอย่างมาก สมัยนั้นเกิดการรบราฆ่าฟันกันระหว่างชาวมุสลิม (ผู้ถือศาสนาอิสลาม) กับชาวฮินดู เป็นสงครามศาสนาที่ยืดเยื้อมานานแล้ว คุรุนานักจึงแสวงหาทางสันติแก่ทั้งสองฝ่าย ท่านเลือกเอาสาระสำคัญจากสองศาสนามาสอนประชาชน ให้ทั้งสองฝ่ายเลิกถือศาสนาอย่างมงาย ให้ทำตัวเป็น "ศิษย์" ที่ดีของศาสนาของตน ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนออกจากศาสนาเก่าทั้งสองมาสมัครเป็นศิษย์มากขึ้น และผลที่สุดก็กลายเป็นศาสนาซิกข์มาจนทุกวันนี้, บางทีเขียน ซิก หรือ สิกข์.

 

                สาวกใกล้ชิด2คนของท่านคนหนึ่งเป็นมุสลิมคนหนึ่งเป็นฮินดู จนกระทั่งเมื่อท่านสิ้นชีพ ทั้งคนมุสลิมและฮินดูต่างก็ปรารถนาจะเอาศพท่านไปประกอบพิธีกรรมตามลัทธิของตน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่านมิได้ประกาศตั้งศาสนาใหม่เป็นเอกเทศแต่อย่างใด

                ส่วนผู้ที่ประกาศแยกตัวออกจากอิสลามและฮินดูนั้นเป็นท่านคุรุในลำดับที่5คุรุอรชุน คำประกาศแยกตัวของท่านปรากฏเป็นหลักฐานดังนี้

                -ข้าพเจ้าไม่บำเพ็ญทุกกิริยาแบบฮินดู และถือบวชแบบอิสลาม

                -ข้าพเจ้ารับใช้พระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียวผู้เป็นสรณะของข้าพเจ้า

                -ข้าพเจ้ามีนายองค์เดียว ผู้ซึ่งเป็นพระอัลเลาะฮ์ด้วย

                -ข้าพเจ้าแยกตนจากฮินดูและอิสลาม

                -ข้าพเจ้าไม่ร่วมกระทำบูชากับฮินดู และไม่ไปเมกกะกับอิสลาม

                -ข้าพเจ้าจะรับใช้พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวไม่มีนายอื่น

                -ข้าพเจ้าจะไม่เคารพรูปเคารพ และจะไม่สวดอ้อนวอนแบบอิสลาม

                -ข้าพเจ้าจะมอบจิตของข้าพเจ้าไว้ที่ปรมาตมันองค์เดียว เพราะพวกเราไม่ใช่ทั้งฮินดูและอิสลาม

นี่คือหลักฐานที่เป็นทั้งคำปฎิญาณและคำประกาศที่แสดงถึงการแยกตัวออกจากศาฮินดูอย่างชัดเจน[4]

 

ความรุ่งโรจน์ของชาวซิกข์

              อิทธิพลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆของชาวซิกข์ได้ทำให้จาฮังกิรจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์มุกอล(โมกุล)ต้องสกัดกั้นการเจริญเติบโตของศาสนาใหม่นี้ จาฮังกิรได้ประหารคุรุอารยันเทพใน ค.ศ.1606 หลังจากนั้น ความเป็นผู้นำของคุรุคนที่เจ็ดและแปด (คุรุฮาร์รัย ระหว่าง ค.ศ.1644 – 1661 และคุรุฮาร์ กริชาน ระหว่าง ค.ศ.1661 - 1664) ก็ไม่มีอะไรโดดเด่นเพราะคุรุทั้งสองจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับผู้ปกครองแห่งราชวงศ์มุกอล แต่คุรุเทฆ บาฮาดูร์ซึ่งเป็นคุรุผู้สืบทอดต่อจากนั้นระหว่าง ค.ศ.1664 –1675 ได้ถูกฆ่าหลังจากตั้งตัวแทนไปยังจักรพรรดิ์โอรังเซบเพื่อต่อต้านการกดขี่ข่มเหงทางศาสนาต่อบัณฑิต (ครู)ที่แคชเมียร์เมื่ออาณาจักรแห่งราชวงศ์มุกอลล่มสลายและอิทธิพลของอาฟกันตกต่ำในแคว้นปัญจาบ ศตวรรษที่ 18 ก็เป็นช่วงเวลาแห่ความรุ่งโรจน์ทางการเมืองของชาวซิกข์ในแคว้นนั้น เพราะชาวซิกข์ซึ่งเคยเป็นชนกลุ่มน้อยได้ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองในแคว้นปัญจาบ

 

ปฏิบัติการดวงดาวสีฟ้า

               ในช่วงปี ค.ศ.1980 พวกคลั่งลัทธิและผู้ก่อการร้ายได้สร้างเรื่องที่นำความเสื่อมเสียมาให้ชุมชุนชาวซิกข์ กล่าวคือ นักรบชาวซิกข์ได้เข้าไปมีส่วนในการต่อสู้นองเลือดเพื่อแยกดินแดนเป็นชาติซิกข์อิสระ (คอลิสถาน) ในรัฐตอนเหนือของแคว้นปัญจาบซึ่งชาวซิกข์มีอิทธิพลอยู่

                 อย่างไรก็ตาม   เนื่องจากการรณรงค์    เพื่อความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาวซิกข์ไม่สามารถบรรลุถึงข้อตกลงทางการเมืองกับทางศูนย์กลางได้พวกที่เป็นนักรบอาสาสมัครซึ่งนำโดยสันติ์ จาร์เนล ซิงห์   พินทรันวาลี    ก็ได้เรียกร้องให้มีการปฏิบัติการโดยตรงซึ่งยังผลให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในปัญจาบ

                 ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1984 กองทัพอินเดียได้เริ่มปฏิบัติการภายใต้ชื่อ“ดาวดาวสีฟ้า”โดยเข้าไปในวิหารทองคำเพื่อที่จะขับไล่สันต์ จาร์เนล ซิงห์ พินทรันวาลีและพวกที่เข้าไปหลบอยู่ข้างในการปะทะกันครั้งนั้นได้ทำให้นักรบชาวซิกข์เสียชีวิตประมาณ 1,000 คน ดูเหมือนว่าบรรดาผู้ที่เข้าไปสร้างมลทินให้วิหารทองคำก็ต้องเสียชีวิตพวกตนไปเช่นกันไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นไหนก็ตาม ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1984 องค์รักษ์ชาวซิกข์สองคนของนางอินทิรา คานธี ได้ลอบสังหารนางเพราะนางเป็นคนที่สั่งให้ทหารเข้าไปเหยียบย่ำวิหารทองคำหลังการลอบสังหารนางอินทิรา พวกซิกข์ก็ถูกตอบโต้โดยการถูกตามสังหารหมู่ทันทีและได้มีความรุนแรงเกิดขึ้นในเดลฮีและส่วนอื่นๆของประเทศ ชาวซิกข์ประมาณ 3,000 คนได้ถูกฆ่าในการจราจลต่อต้านชาวซิกข์และกว่าแคว้นปัญจาบจะเกิดความสงบเหมือนเดิมได้ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

 

 

ความสัมพันธ์กับมุสลิม

             มัสญิดเก่าแก่อายุ 400 ปีแห่งหนึ่งในตำบลกูร์ดาสปูร์ในแคว้นปัญจาบได้ถูกพวกซิกข์ยึดไว้เป็นเวลา 55 ปี พวกซิกข์ยึดมัสญิดแห่งนี้ไว้หลังจากที่มุสลิมออกจากพื้นที่ไประหว่างสงครามกู้เอกราชของปากีสถานใน ค.ศ.1947 และพวกซิกข์ได้ใช้มัสญิดแห่งนี้เก็บคัมภีร์ทางศาสนาของตนไว้และใช้ทำพิธีเทศนาประจำวัน คณะกรรมการทรัพย์สินสาธารณกุศลแห่งแคว้นปัญจาบได้ติดต่อและขอร้องพวกซิกข์ให้คืนมัสญิดดังกล่าว หลังจากที่มีการพบปะและเจรจาต่อรองกันหลายครั้ง ในที่สุด พวกซิกข์ก็ตกลงที่จะส่งมัสญิดแห่งนั้นคืนให้แก่มุสลิมในเดือนมีนาคม ค.ศ.2002 มัสญิดทางประวัติศาสตร์แห่งนี้จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซมและจะต้องใช้เวลาในการรักษามันไว้ในรูปแบบเดิมเพื่อที่มุสลิมจะได้เข้าไปละมาด

 

ชาวซิกข์ในอินเดียและต่างประเทศ

             ในปัญจาบมีชาวซิกข์ประมาณ 12 ล้านคนและอีกกว่า 3 ล้านในรัฐและดินแดนที่ติดกับอินเดีย   ในเบงกอลตะวันตก ในมัธยประเทศและในมหารัชตระก็มีชุมชนชาวซิกข์เล็กๆหลายแห่ง ชาวซิกข์อีกส่วนหนึ่งประมาณ 1 ล้านคนได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานในอังกฤษ แคนาดาและสหรัฐ นอกจากนี้ก็มีชุมชนเล็กๆในประเทศยุโรปแทบทุกประเทศ ในตะวันออกกลาง เอเซียตะวันออก อาฟริกาและออสเตรเลีย[5]

ความพยายามสะสมกำลังและแผ่ขยายอำนาจให้เจริญขึ้นเริ่มชัดเจนขึ้นเมื่อล่วงมาถึงคุรุลำดับที่ ๓. คุรุอมาร์ ทาส(Amardas พ.ศ.๒๐๙๕ - ๒๑๑๗) เริ่มขยายตัวในลักษณะของการจัดตั้งทางการเมือง โดยอาศัยเงาของบทบาททางศาสนาเป็นเครื่องพราง คือได้มีการจัดตั้ง มัญชะ (Manjas)ขึ้น22แห่ง แต่ละมัญชะอยู่ภายใต้การปกครองของซิกข์ผู้ใจบุญ มัญชะเหล่านี้จะเป็นที่ที่พวกซิกข์มาชุมนุมกันเพื่อบูชาและเป็นที่ที่จะส่งพวกเผยแพร่ศาสนาออกไปปฎิบัติการ กล่าวได้ว่ามัญชะนี้ก็คือฐานปฎิบัติการ หรือฐานทัพนั่นเอง

                ซึ่งต่อมาเมื่อท่านคุรุอรชุนประกาศแยกตัวออกจากฮินดูและอิสลาม ฝ่ายอิสลามซึ่งถืออำนาจรัฐอย่างเด็ดขาดในตอนนั้นในนามแห่งราชวงศ์โมกุลซึ่งครองอำนาจเหนืออินเดียทั้งหมด จึงคิดจะตัดไฟตั้งแต่ต้นลมโดยการตั้งข้อหาคุรุอรชุนว่าร่วมเป็นกบฎกับเจ้าชายคุสเรา(Khusrau) ซึ่งมีผลให้ต้องโทษประหารชีวิต จึงเป็นที่มาของสงครามกลางเมือง ต่อมาในสมัยของคุรุ หริโควินทะท่านมีความเชื่อฟังคำสั่งสุดท้ายของท่านคุรุอรชุน จึงได้เรียกระดมกำลังทหาร ในระหว่างที่ท่านเป็นคุรุอยู่นั้น ได้มีการปะทะกับกองทัพโมกุลรายครั้งทั้งยังมีการปะทะกับราชาของเผ่าต่างๆที่เชิงเขาหิมาลัยอีกด้วย คุรุได้กลายเป็นผู้นำทั้งในด้านการทหารและจิตใจ

                ต่อจากคุรุหริโควินทะก็มีคุรุผู้สืบสันติเป็นลำดับที่๗ที่๘อีก๒ท่าน จนถึงคุรุลำดับที่๙คุรุ เทคพาหาทูร์ จักรพรรดิโอรังเซบแห่งราชวงศ์โมกุลมองเห็นท่านเป็นภัยร้ายกาจที่ต้องกำจัด จึงเกาะกุมตัวจากแคว้นอัสสัมไปสู่ราชสำนัก ยื่นคำขาดว่าจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามหรือจะตาย ปรากฏว่าท่านยอมตายดีกว่าเปลี่ยนศาสนา โอรังเซบจึงยื่นความตายให้แก่ท่าน              

                เมื่อคุรุถูกฆ่าโดยปราศจากความผิดใดๆแบบนี้คุรุ โควินทสิงห์ ซึ่งขึ้นครองตำแหน่งคุรุต่อจากบิดาจึง ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่าสงคราม จนกระทั่งชาวซิกข์ปรากฎรูปลักษณ์ของนักรบติดตัวเป็นประจำมาจนกระทั่งบัดนี้

                คุรุโควินทสิงห์  เป็นผู้ริเริ่มลัทธิศีลจุ่ม (Baptismal Rite)  ขึ้นในลัทธิซิกข์ เป็นผู้ริเริ่มประกอบพิธีให้ผู้มาเป็นสานุศิษย์ ด้วยวิธีประพรมน้ำมนต์ และวิธีให้ดื่มน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีดาบคมแช่ไว้ เป็นเครื่องหมายว่าผู้ดื่มน้ำต้องเป็นผู้กล้าหาญ  น้ำดังกล่าวนี้เรียกว่า "น้ำอมฤต" ผู้ได้ดื่มเท่ากับถึงความบริสุทธิ์ พร้อมที่จะออกรบเพื่อจรรโลงชาติศาสนา

 ประวัติประกอบเรื่องลัทธิพิธี "ศีลจุ่ม" มีอยู่ว่า กษัตริย์มุสลิมผู้เรืองอำนาจคือ โอรังเซฟ  ได้เข้ามาครอบครองอินเดีย ข่มขู่ชาติศาสนาอื่น ไม่มีนักรบอินเดียเหล่าใดจะปราบปรามโอรังเซฟได้  คุรุโควินทสิงห์ จึงฝึกศิษย์ขึ้นหมู่หนึ่ง ทำสัตย์ปฎิญาณจะต่อสู้กับศัตรู ซึ่งมีกำลังมากกว่า โดยให้ตักน้ำจากแม่น้ำหม้อหนึ่ง เทน้ำนั้นลงในภาชนะใหญ่ใบหนึ่ง แล้วเอาดาบประจำตัวของท่านคุรุมากวนน้ำ บริกรรมมนต์อันเป็นศาสโนวาทของคุรุ แต่เก่าก่อนเรียกน้ำนั้นว่า น้ำอมฤต แล้วรดน้ำอมฤตลงบนศีรษะของศิษย์ และให้จิบน้ำสามครั้ง นับเป็นการรับศีลอกาลี (ไม่มีกาล - เป็นนิรันดร อันเป็นสรรพนามของพระเจ้า) ที่บัญญัติขึ้นใหม่[6]

                มหาตมะคานธี คือผู้มองโลกอย่างเป็นกลางที่สุด...เขาเชื่อในพระเจ้าทุกพระองค์ และ อ่านคัมภีร์มาแล้วทุกศาสนาคานธีเคยกล่าวไว้ว่า ศาสนาทุกๆศาสนามีอยู่จริงพระเจ้าทุกๆพระองค์มีอยู่จริง...ทุกๆศาสนาล้วนแล้วแต่เป็นความจริงทั้งสิ้นผู้ใดจะนับถือศาสนาใด ก็ควรนำเอาหลักของศาสนานั้นๆมาปรับให้เข้ากับการดำเนินชีวิตควรหันหน้าเข้าหาพระเจ้า มีความสำนึกในพระเจ้าของตน และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนารวมถึงไม่จำเป็นต้องโน้มน้าวให้ใครมาอยู่ในศาสนาของตน เพราะแต่ละคนย่อมมีชะตาที่เข้ากับแต่ละศาสนาไม่เหมือนกันถ้าทำได้ดังนี้ ความสุขในแต่ละศาสนาก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน และสงครามทางศาสนาก็คงจะไม่อุบัติขึ้นแน่นอน..

เนื่องจากวันที่ 30 Jan. เป็นวันที่มหาตะมะ คานธีถูกยิงเสียชีวิต จากชาวฮินดู ขวาจัดที่เชื่อว่า คานธีเป็นคนที่สนับสนุนให้อังกฤษแบ่งอินเดียเป็น สองส่วนคือ อินเดีย และปากีสถาน โดยยึดจากจำนวนประชากรที่นับถือศาสนา ส่งผลให้ชาวอิสลามที่อยู่ในอินเดีย ต้องอพยพย้ายไปอยู่ที่ปากีสถาน เช่นเดียวกับชาวฮินดู หรือซิกห์ ก้อต้องย้ายไปอยู่ในอินเดีย แล้วทำให้เกิดสงครามกลางเมืองฆ่ากันเอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้นก้อยังร่วมกันเรียกร้องอิสระภาพเพื่อแผ่นดินตนเองจากอังกฤษ โดยไม่ต้องเกิดการตาย โดยวิธี อหิงสา เมื่อเรียกร้องอิสระภาพได้แล้ว กลายเป็นว่าต้องมาฆ่ากันเอง ซึ่งคานธี เคยเขียนบทความจากเหตุการ์ณครั้งนี้ว่า " ข้าพเจ้าเป็นทั้งชาวฮินดู คริสเตียน มุสลิม ยิว พุทธ และผู้นับถือขงจื้อ ศาสนาเป็นเพียงถนนต่างเส้นทาง ที่มุ่งไปยังจุดหมายเดียวกัน"

    

  

      [1] ธัญวีร์ ชวนชื่น.บทความภูมิหลัง อินเดีย-ปากีสถาน.กรุงเทพมหานคร:ศิวพร,2550 หน้า  1-5

  

      [2] http://media-2.web.britannica....

      

  

      [3] เรือรบ เมืองมั่น. มหาตมะคานธี กับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง.กรุงเทพมหานคร:อาศรมธรรมไทย-ภารตะ ,2536 หน้า 36-46

  

      [4] ชำนิ มโนรม. อ้างแล้ว หน้า  121-127

  

      [5] www.heritage.thaigov.net

  

      [6] ชำนิ มโนรม. อ้างแล้วหน้า132-136

 

 

  สงครามศาสนา ในประเทศเลบานอน

      สงครามเลบานอน คือสงครามระหว่าง คริสเตียน กับมุสลิม แต่มิได้เกิดขึ้นเมื่อ  10 – 20 ปี มานี้เท่านั้น แต่หากมีประวัติ สืบเชื้อสายมานับร้อย ๆ ปี เลยทีเดียว โดยสาเหตุบ่งชี้ก็มีอยู่ถึง2 อย่างซึ่งมีอยู่แต่ในเฉพาะประเทศเลบานอนเท่านั้น

      ประการแรก คือ เส้นสีเขียว(Greenline) เป็นเส้นที่แบ่งเขตกรุงเบรุต ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเลบานอนออกเป็น สองซีก คือ ซีก ตะวันออก เป็นของชาว คริสเตียน และ ซีกตะวันตก เป็นของชาวมุสลิม

      ประการที่สองคือ ระบบรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นตัวแทนของปวงชน ที่นับถือศาสนาเป็นหลัก จำนวน 66 คน เป็นผู้แทนจากนิกายศาสนาต่าง ๆ ดังนี้

      -คริสเตียนนิกาย มาโรไนท์ ซึ่งเป็นกลุ่มศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเลบานอน     20 ที่นั่ง

      -มุสลิม นิกายสุหนี่                                                                                                    14 ที่นั่ง

      -มุสลิม นิกาย ชิอ่ะห์                                                                                    12 ที่นั่ง

      -คริสเตียน นิกาน กรีกออร์โธดอกซ์                                                                                7ที่นั่ง

      -มุสลิม นิกายดรูสส์                                                                                                    4 ที่นั่ง

      -คริสเตียนนิกาย กรีกคาทอริก                                                                      4ที่นั่ง

      -คริสเตียน นิกายอาร์เมเนียน ออร์โธดอกซ์                                                  3 ที่นั่ง

      -คริสเตียน นิกายอาร์เมเนียน คาทอลิก                                                         1 ที่นั่ง

      -ชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ                                                                                        1ที่นั่ง

      โดยหลักเกณฑ์นี้เป็นตัวการให้เกิดความวิวาท บาดหมางระหว่างศาสนาโดยตรง เพราะว่าจำนวนโควตาที่กล่าวมานั้น ฝ่ายคริสเตียน มีเสียงในส4า ถึง 35 เสียง แต่ ฝ่ายมุสลิม มีอยู่พียง 30 เสียงเท่านั้น

      ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสงครามเลบานอน

      สงครามเลบานอน นั้น เป็นสงครามระหว่าง คริสเตียน นิกายมาโรไนท์ กับมุสลิม นิกายดรูส์โดยจุดเริ่มต้น  คือมีนักปราชญ์ใหญ่ทางกฏหมายชาวเลบานอนได้ไปแต่งงานกับสาวชาวซีเรีย และมีบุตรคนหนึ่งซึ่งภายหลังบุตรนั้นได้ครองราชบัลลังค์  และตั้งราชวงค์ขึ้น ซึ่งบุคคลผู้นี้เลื่อมใสศาสนาคริสต์อย่างมาก

      เมื่อพระเจ้าแผ่นดิน นับถือคริสต์ ก็เป็นธรรมดาที่ข้าแผ่นดินทั้งหลายก็ต้องเป็นคริสต์กันไปด้วย เป็นอันว่าชาวเลบานอน ตั้งแต่ คริสตศตวรรษ ที่4 นั้นได้อยู่ภายใต้ร่มเงาของศริสตศาสนาโดยทั่ว ส่วเรื่องที่เป็นสาเหตุให้มีสงครามจนถึงทุกวันนี้ มันเริ่มก่อตัวในศริสตศตวรรษ ที่7 คือ มนุษย์ได้พบเห็นศาสนาเกิดใหม่ อีกศาสนาหนึ่ง ซึ่งเป็นศาสนาที่มีความฉกาจฉกรรจ์อยู่ในเนื้อหาสาระ อย่างชัดเจน เป็นศาสนาที่ยึดอุดมการณ์ว่า ดาบคือกุญแจสวรรค์ นั่นได้แก่ ศาสนา อิสลาม ในช่วงระหว่าง คริสตศักราช 630  ถึง 640  กองทัพมุสลิม ได้ควงกุญแจอันคมกริบ เข้ายึด ซีเรีย และเลบานอน โดยยึดซีเรียไปเป็นดินแดนมุสลิม และสถาปนากรุงดามัสกัส เมืองหลวงของซีเรีย เป็นศูนย์กลางมุสลิม แต่มีชาวคริสเตียนในเลบานอนส่วนหนึ่งไม่ยอม โดยพวกเขาพากันอพยพขึ้นไปทางเหนือ ปักหลักสู้มาจนถึงทุกวันนี้ ชาวคริสต์กลุ่มนี้เป็นต้นตระกูลของนิกาย มาโรไนท์ โดยคำว่ามาโรไนท์ นั้นมาจากชื่อของหัวหน้าชาวคริตส์ที่เป็นผู้นำในการอพยพ ท่านผู้นั้นชื่อ จอห์น มารอน (John Maron) และท่านผู้นี้ก็อยู่ในฐานะเทพบิดรของชาวเลบานอน

      พวกมุสลิมที่เป็นคู่แค้นกับ คริสเตียนมาโรไนท์ คือ มุสลิม นิกาย ดรูสส์ โดยแยกมาจากนิกายมาอิลลี ซึ่งเป็นพวกที่นิยมความรุนแรง ตอนที่นิกายดรูสส์แตกหน่อออกมาเป็นนิกายมาอิลลี สาเหตุมาจาก พระเจ้า ฟาติมิด ที่ 6 พระนามว่า อัลฮากิม ได้ประกาศพระองค์ว่า ทรงเป็นองค์ อวตาร องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้าที่ทรงมาอุบัติในโลกมนุษย์นี้ และการประกาศเช่นนี้ก็หมายถึงการแย่งยึดอำนาจสูงสุด จากที่เคยประกาศมาก่อนซึ่งมีสาวกนับถืออยู่มากมายแล้วนั่นเอง

      มุสลิมนิกายนี้ไม่มีในเมืองไทย และไม่มีแพร่ไปในถิ่นต่าง ๆ ประมาณการผู้ที่นับถือนิกายนี้ คือ 320000 คน 88>#span### อยู่ในซีเรีย และลักษณะพิเศษของมุสลิมนิกายนี้ คือ มีบทบัญญัติประจำชีวิตของตนเอง 7 ประการ ซึ่งต่างจาก บทบัญญัติประจำวันของมุสลิมทั่วไปซึ่งมี 5 ประการ คือ

                                 “ 1 ยึดมั่นในทอฮิด คือศรัทธามั่นคงในลัทธิถือพระเจ้าองค์เดียว และเชื่อว่า อัล- ฮากิน    

         เป็นองค์อวตารสุดท้ายของพระเป็นเจ้า

      2ปฏิเสธคำสอนที่ไม่ใช่ของดรูสส์ ทั้งหมด

      3หลีกเว้นความชั่วทั้งหลาย

      4ไม่ว่าพระเป็นเจ้าจะให้คุณให้โทษอย่างไรยอมรับโดยไม่ปริปาก

      5ยอมมอบกายถวายชีวิตแด่ พระเจ้า

      6 เพียบพร้อมไปด้วยความสัตย์และความจริง

      7 ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และผนึกกำลังเป็นอันหนี่งอันเดียวกันระหว่างพวกดรูสส์ ”

      ที่กล่าวมาสารานุกรมบางฉบับเรียกพวกนี้ว่า มุสลิมนอกรีต คือมีความผิดแปลกไปในส่วนที่เป็นหัวใจของศาสนา รวมถึงระบบชีวิตในสังคม ในเรื่องการเผยแผ่ศาสนา ก็จะจำกัดอยู่ในวงของพวกดรูสส์ด้วยกันเท่านั้น กลายเป็นสังคมปิดคนในไม่ให้ออก คนนอกไม่ให้เข้า

      ดังนั้นการทำสงครามในเลบานอนจึงมิได้เป็นการผนึกกำลังของมุสลิมทั้งมวล แต่เป็นการทำสงครามแบบธุระใครธุระมัน เกิดการเข่นฆ่ากันเองเพื่อความเป็นใหญ่

      เหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดในสงครามเลบานอน เกิดในปี คริสตศักราช 1860  เกิดการสู้รบระว่าง คริสเตียน กับมุสลิม โดยมีเจ้าภาพหนุนหลัง ทั้งคู่ คือ ฝรั่งเศสหนุนหลังคริสเตียน และอังกฤษ กับตุรกี หนุนหลังมุสลิม ในสงครามครั้งนี้ชาวคริสเตียน เสียชีวิต ประมาณ 11,000 และอดตายอีก ราว  4,000 คน ส่วนพวกดรูสส์ ก็เสียชีวิตไปไม่น้อยเช่นกัน  ฝ่ายฝรั่งเศส เห็นมุสลิมโจมตีฝ่ายคริสเตียน อย่างหนัก จึงแสดงตัวอย่างเปิดเผย โดยเอากำลังรบจากประเทศของตนมาจากยุโรป

      ผลคือ ปราบมุสลิมนิกายดรูสส์ลงได้ในเวลาไม่นาน และกำจัดอิทธิพลของอังกฤษและตุรกี ออกไป ปิดท้ายด้วยการยึดครองประเทศเลบานอน ทำให้ เลบานอน ตกอยู่ใต้อำนาจการปกครองของโรมันคาทอลิกโดยมีสภาลวงตาเพื่อไม่ให้มีความเอนเอียงในการปกครอง  คือมีที่ปรึกษาแผ่นดิน12คน ซึ่งเลือกมาจากกลุ่มศาสนาต่างๆ

      จนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่2ฝรั่งเศสได้ปล่อยประเทศเลบานอนเป็นเอกราช แทนที่จะเป็นผลดี กลับเป็นผลร้าย คือความวุ่นวายทางศาสนาที่เป็นปัญหาเดิม กลับก่อตัวอีกครั้ง จนต้องตรารัฐธรรมนูญปกครองบ้านเมืองในแบบเก่า คือรัฐสภาประกอบไปด้วยสมาชิกที่เลือกตั้งมาจากกลุ่มศาสนา เหมือนที่เคยเป็นมา อันเป็นหลักเกณฑ์บ่งบอกเป้าหมาย ที่จะให้ชาวมุสลิม นั้นตกเป็นเบี้ยล่างจนทุกวันนี้ [1]

      

      สงครามสายเลือดในไอร์แลนด์เหนือ

      ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์และอยู่ทางฝั่งตะวันออกของอังกฤษ ในช่วงศตวรรษที่ 16 ชาวอังกฤษและสก็อตแลนด์ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์จำนวนมากเริ่มที่จะเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในตอนเหนือของเกาะไอร์แลนด์นี้ตามนโยบาย “Plantation of Ulster” ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวไอริชที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ทำให้ชุมชนเดิมในพื้นที่รู้สึกว่าตนเองถูกขโมยดินแดนไป ตั้งแต่นั้นมาการต่อต้านที่จะมีอิสระในการปกครองตนเอง (Home Rule) จากอังกฤษโดยชาวไอริชก็เริ่มทวีความเข้มข้นมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1921 อังกฤษและไอร์แลนด์ได้มีการลงนามในสนธิสัญญา Government of Ireland Act ที่ยินยอมให้ 26 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์แยกตัวเป็นรัฐอิสระไอร์แลนด์ ในขณะที่อีก 6 แคว้นทางตอนเหนือของเกาะจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรต่อไป แม้จะได้รับอนุญาตให้มีสภาเป็นของตนเองก็ตาม การแบ่งประเทศครั้งนี้ทำให้ไอร์แลนด์เหนือซึ่งมีประชากรที่เป็นโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 60 และอีกร้อยละ 40 เป็นคาทอลิก กลายเป็นพื้นที่แห่งความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่ม Unionist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนท์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษต่อไป กับกลุ่ม Nationalist ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระออกจากอังกฤษเพื่อผนวกเข้ากับสาธารณรัฐไอร์แลนด์

      

      สาเหตุการเกิดสงครามในไอร์แลนด์

      เหตุผลแรกเนื่องมาจากฝ่ายคาทอลิกต้องการให้ไอร์แลนด์เหนือได้รับเอกราชจากอังกฤษเพื่อกลับไปรวมกับเกาะไอร์แลนด์ทั้งหมด แต่ฝ่ายโปรเตสแตนท์ที่มีเชื้อสายอังกฤษไม่ยอม แต่เหตุผลนี้เป็นแค่เหตุผลทางด้านเชื้อชาติเพราะโปรเตสแตนท์ในไอร์แลนด์ส่วนมากเป็นเชื้อสายอังกฤษหากต้องจากไปรวมกับไอร์แลนด์แล้วตนเองจะขาดจากการปกครองของชนชาติเดียวกัน

      ส่วนเหตุผลทางด้านศาสนานั้นจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศไอร์แลนด์(ในที่นี้ไม่ขอกล่าวถึง) พบว่า หากไอร์แลนด์เหนือไปรวมกับไอร์แลนด์ทั้งหมดแล้ว พวกโปรเตสแตนท์จะต้องตกเป็นไปเป็นเบี้ยล่างอยู่ใต้การปกครองของพวกนิกายคาทอลิกทันที เพราะคนในไอร์แลนด็เกือบทั้งหมดเป็นพวกคาทอลิก และกลัวว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนจะถูกกลืนหายไป

      

      ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

      1.       การปะทะกันโดยกองกำลังของทั้งสองฝ่าย ทำให้ความรุนแรงขยายตัวเป็นวงกว้าง

      2.  ความแตกแยกรุนแรงระหว่างชุมชนชาวโปรเตสแตนท์และคาทอลิก วิถีชีวิตของชุมชนทั้งที่อยู่

      อาศัยและโรงเรียนถูกขีดแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

      3. การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่รัฐอันเกิดจากการสลายการชุมนุมและการตรวจค้นจับกุม ทำให้แนวร่วมของ IRA เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

      4.   ความไม่ไว้วางใจระหว่างนักการเมืองจากพรรคฝ่าย Unionist และ Nationalist ในไอร์แลนด์

      เหนือทำให้กระบวนการสร้างสันติภาพต้องหยุดชะงักลงบ่อยครั้ง[2]

      

      จุดเริ่มต้นของสันติภาพ

      ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2548 การพัฒนาสันติภาพครั้งสำคัญและในประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นในไอร์แลนด์เหนือ เมื่อกลุ่มทหารสาธารณรัฐไอริช (IRA) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการที่จะยุติความขัดแย้งทางการทหารที่มีมายาวนานถึง 3 ทศวรรษกับชาวอังกฤษในไอร์แลนด์เหนือ และปฏิญาณที่จะดำเนินตามเป้าหมายของการรวมไอร์แลนด์ด้วย “วิธีการที่สงบสุขเป็นพิเศษเฉพาะ” ผู้นำชาวอังกฤษและไอริชได้กล่าวว่า พวกเขาหวังว่าถ้อยแถลงเป็นการเจรจาระหว่างผู้แทนทางการเมืองของIRA และเจ้าหน้าที่ในลอนดอนและดับลินจะฟื้นฟูแนวทางสันติภาพ และนำมาซึ่งการยุติความรุนแรงเกี่ยวกับการแบ่งแยกนิกายที่มีมากว่า 30 ปี  ซึ่งได้ฆ่าชาวคาทอลิกและโปรเตสแตนท์ไปมากมายนับตั้งแต่ได้มีประกาศสันติภาพเป็นต้นมา ความเกลียดชังที่มีมาแต่เก่าก่อนระหว่างไอร์แลนด์เหนือและไอร์แลนด์ใต้ได้กลายเป็นเรื่องในอดีต เพื่อนบ้านซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยเป็นศัตรูกัน เนื่องจากความแตกแยกของการแบ่งฝ่ายทางการเมือง ในขณะนี้ได้พบว่าพวกเขาสามารถเป็นเพื่อนกันได้ ชาวคาทอลิกและชาวโปรแตสแตนท์ได้เอาธงลงมา และสัญลักษณ์อื่น ๆ ของความขัดแย้งทางศาสนา เพื่อจะไม่สร้างความขุ่นเคืองให้กับเพื่อนบ้านของเขา นอกจากนี้ในวันที่ 24 เมษายน 2549 ผู้นำการเมืองจากพรรค D.U.P.(Democratic Unionist Party) ในไอร์แลนด์เหนือได้มีส่วนร่วมในการเจรจาระหว่างรัฐบาลในดับลินเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทางแก้ไขให้เกิดความสงบสุขแก่ไอร์แลนด์เหนือ[3]

      

      3.หนทางสู่สันติสุข

      ศาสนาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์พ้นทุกข์และมีความสุข ดังนั้นจึงสอนให้มนุษย์มีความรัก ความเอื้ออาทรต่อกันเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันในโลกอย่างสันติ ไม่สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทงการเมืองหรือวัฒนธรรม อุดมคติของศาสนาคือร้อยรัดรวมมนุษย์เข้าด้วยกันให้มีความสัมพันธ์แน่นสนิทเป็นเอกภาพเดียวกัน บนพื้นฐานของภราดรภาพ เพื่อจะได้มีพลังสร้างสรรค์สำหรับทำประโยชน์แก่มวลมนุษย์และโลกมากที่สุด

                      การสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นระหว่างศานิกชนที่นับถือศาสนาเดียวกัน และ/หรือระหว่างศาสนิกชนต่างศาสนา คือส่งเสริมให้มีความเข้าใจคำสอนในศาสนาตนเองอย่างถ่องแท้และถูกต้องอีกทั้งต้องศึกษาคำสอนของศาสนาอื่น ๆ เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างจากของตนกับศาสนาอื่น พร้อมทั้งมีจิตใจเปิดกว้าง ไม่ยึดเอาแต่ทิฐิ หรือลัทธิของตนเป็นใหญ่ เป็นวิธีสำคัญที่จะสร้างสันติภาพให้เกิดในโลก นอกจากความเข้าใจที่ถูกต้องแล้ว ยังสามารถป้องกันไม่ให้ศาสนาต่าง ๆ ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มต่าง ๆ ในการแสวงหาผลประโยชน์ในขณะเดียวกัน ก็ต้องร่วมมือกันช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกไปพร้อมกันด้วย เพื่อให้พบความสุขจากการมีเสรีภาพและได้รับความยุติธรรม เพราะเสรีภาพ และ ความยุติธรรมเป็นรากฐานสำคัญของสันติภาพโลก

                      หนทางไปสู่สันติภาพนั้นเป็นหนทางที่ยาวไกลและเต็มไปด้วยอุปสรรคต่าง ๆ แต่ไม่มีผู้ใดที่จะรู้แน่นอนว่าสันติภาพของโลกจะเป็นไปได้หรือไม่เพราะยังไม่มีรูปร่างเป็นตัวตน ความรุนแรงและสงครามยังคงเกิดอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลกแต่เราไม่ควรท้อแท้ เราต้องเริ่มด้วยการมีจิตใจหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก ทำร่างกายและจิตใจให้สะอาดผ่องใส และมีพฤติกรรมทางกายวาจาที่ดีงาม ร่วมือกันขจัดความยากจน ความ อยุติธรรม สร้างระบบสังคมให้ตั้งอยู่บนเสรีภาพ เพื่อให้ทุกคนบนโลกใบนี้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข[4]

      

            [1]  ชำนิ มโนรม.อ้างแล้ว หน้า 225- 245

        

            [2]  ชำนิ มโนรม. อ้างแล้ว .หน้า  247-273

        

            [3]http://portal.in.th/kpipeace/p...

        

            [4] พินิจ รัตนกุล.อ้างแล้ว .หน้า 65-78

           

           

            คัดลอกจากการค้นข้อมูลอินเตอร์เน็ต

           

              

                  ปฐมเหตุแห่งศาสนาสงครามในเชิงประวัติศาสตร์

              

                  20 ม.ค. 2010 ... เมื่อพูดถึงจีฮัดในศาสนาอิสลามเราจึงควรเข้าใจความหมายของคำนี้ใบบริบทต่างๆ ....

                  ประวัติสงครามครูเสดโดยย่อ. จุดเริ่มต้นของสงครามครูเสด ...

              

                  http://www.buddhism.rilc.ku.ac.th/chachawarn/coursesyllabus/... - 32k - Similar pages

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 637444เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2017 12:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2017 12:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท