โครงงาน_สารเสพติด_ #สุขภาพดี #ปลอดสารเสพติด


สวัสดีค่ะ 

วันนี้เราจะมาให้ความรู้เรื่อง ประโยชน์และโทษของสารเสพติด และสารเสพติดบางชนิดนะค่ะ

การจัดประเภทของยาเสพติดให้โทษ ได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ประเภท1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง ไม่มีใช้ในทางการแพทย์ เช่น เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษที่ใช้ในทางการแพทย์ เช่น มอร์ฟีน โคเคน ประเภท 3 ยาเตรียมที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่นยาแก้ไอผสมไอโอดีน ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภท 1 หรือ 2 เช่นสารที่ใช้ในการผลิตเฮโรอีน และประเภท 5 ยาเสพติดที่ไม่จัดอยู่ในประเภท 1-4 เป็นพืช ได้แก่ กัญชา พืชฝิ่น พืชกระท่อม พืชเห็ด ขี้ควาย

        

สำหรับยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์นั้นจัดอยู่ในประเภทที่ 2 อันประกอบด้วย กลุ่มมอร์ฟีนและโคเคน ซึ่งจะใช้เป็นยาระงับอาการปวดและใช้ในการผ่าตัด โดยปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่ายาเสพติดให้โทษบางชนิด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีในทางการแพทย์ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาและบรรเทาอาการเจ็บปวดของคนไข้

        

ยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์จะมีคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. กำกับดูแลอย่างเข้มงวด โดยจะคอยควบคุมการรับ การจ่าย การเก็บรักษาตัวยา การกระจายยาเสพติดที่ใช้รักษาไปยังสถานพยาบาลต่างๆ โดยจะจำหน่ายยาให้แก่ผู้ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเท่านั้น ส่วนร้านขายยาทั่วไปจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ครอบครอง แต่หากมีการจำหน่ายต้องมีใบสั่งแพทย์จากทาง อย. อย่างถูกต้อง

        

ปัจจุบันการใช้ยาเสพติดในการรักษาของประเทศไทย กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา และมีข้อกำหนดทางการแพทย์เกี่ยวกับปริมาณการใช้สารเสพติดอย่างเพียงพอ เพื่อความเหมาะสมต่อผู้ป่วย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ป่วยเป็นหลัก และระมัดระวังการใช้เป็นพิเศษ โดยในอนาคตจะมีการคิดค้นและเพิ่มตัวยาเสพติดใหม่ๆ นำมาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อใช้ทำการรักษาผู้ป่วยต่อไป  ( จาก สำนักข่าวแห่งชาติ )

ค่ะ ประโยชน์ของมันก้มีบ้างนะค่ะ. แต่ถ้าเเลกกับโทษที่ได้รับผลตามมาจะรับไหวหรือค่ะ ? 

เช่น หากคุณเสพสารที่ทำให้ึคุณคลายเคลียดในวันที่นี้ที่คุณเหนื่อยมากๆ หากคุณติดล่ะค่ะ? ผลที่ตามมาคือเสียสุขภาพจิต สุขภาพร่างกาย  สังคมรอบข้างรังเกียจ  แบบนี้ไหวหรือค่ะ  ทนอยู่ไหวหรือค่ะ 


ฝากกับน้อง ๆ เยาวชนนะค่ะ คิดดีหรือยังค่ะ ที่จะยังเกี่ยวกับสารเสพติด.  ใส่ใจในอนาคตของเรากันดีกว่าไหมค่ะ. 


จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๕ ประเภท    

 ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา  ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง  อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย

 ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น  

๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น โรคจิต    

 ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้

  ๕  ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้า อยู่ในประเภท 1-4 มี 4 รายการ คือ กัญชา พืชกระท่อม  พืชฝิ่น  ทุกส่วนของพืชกัญชา  ทุกส่วนของพืชกระท่อม  และพืชเห็ดขี้ควาย

 ๒. แบ่งตามแหล่งที่มา

แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

 ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น

 ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น 

 ๓. แบ่งตามกฎหมาย           แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 

๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่

 ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้ การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่

 ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย  มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่  ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่

 ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ 

๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 635753เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2017 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2017 13:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท