ในปัจจุบันภาคเอกชนในประเทศต่างๆ ได้จ้างแรงงานนักโทษทำงานผลิตสินค้า / ผลิตภัณฑ์ ในคุก หลายประเทศ เช่น สหรัฐเมริกา เยอรมณี อังกฤษ จีน และ อินเดีย เป็นต้น สำหรับ การจ้างแรงงานนักโทษผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในคุกประเทศอินเดีย ข้อมูลโดยสังเขป จากหนังสือพิมพ์ THE TIME OF INDIA โดย Joeanna Rebello / TNN / ๒๔ เมษายน ๒๐๑๖ พบว่า ในปัจจุบันปริมาณนักโทษในคุกประเทศอินเดียได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในฐานะแรงงานภาคบังคับใหม่สำหรับภาคเอกชนของอินเดีย เป็นตลาดสำหรับคุกและภาคเอกชนในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นจุดเริ่มต้นของการจ้างแรงงานนักโทษผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และ สินค้าและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ฟุตบอล กระเบื้องปูพื้น แชมพู เป็นต้น อุตสาหกรรมการผลิตของภาคเอกชน ในคุกประเทศอินเดีย หรือ การผลิตสินค้าที่มีตราคุก เป็นที่สนใจในประเทศอินเดีย ทำให้ภาคเอกชนพากันเข้าคุก (Private sector goes to prison) เช่น บริษัท ยาหิมาลัย และ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ Spark Minda Corporation ได้เริ่มต้น เอาท์ซอร์ส งานให้นักโทษทำในคุก ให้กับผู้ผลิตรายย่อย ใน Meerut, Yamunanagar และ Haryana เป็นต้น
ในปี ๒๐๑๕ มีผู้ต้องขังจำนวน ๓๐ คน ในคุก Yerwada Central Jail ของ Pune ได้รับการคัดเลือก จาก บริษัท Spark Minda ซึ่งเริ่มดำเนินการผลิตชุดประกอบสายไฟสำหรับยานยนต์ หลังจากประสบความสำเร็จในเรือนจำ Tihar เมื่อปีที่แล้ว N K Taneja หัวหน้าฝ่ายการตลาดของกลุ่ม กล่าวว่า “เราขอยืมแนวคิดจากคู่หูของเราในประเทศเยอรมนีที่จ้างแรงงานนักโทษทำงานในคุก” ปัจจุบัน บริษัท มีแรงงานนักโทษ ๘๐ คน ที่ถูกคุมขังอยู่ในแดนประหารชีวิต และ เชื่อว่าจะแรงงานนักโทษอย่างน้อย ๒๐๐ คน โดยก่อนที่ ทาง บริษัท จะเข้าสู่ความร่วมมือในครั้งนี้ทางบริษัทได้ประสานงานด้านการตลาด กับ บริษัท Maruti Suzuki และ บริษัท Mahindra & Mahindra ผู้อนุมัติโครงการนี้แล้ว ด้านการดำเนินงานทางบริษัท Spark Minda จะมีการฝึกอบรมสองเดือน เมื่ออบรมเสร็จแล้ว ทางบริษัท Spark Minda จะว่าจ้างนักโทษในระยะยาว – ห้าปี หรือ มากกว่า และ นักโทษทั้งหมดยังได้รับประกาศนียบัตร / หนังสือรับรองการทำงาน โดยนักโทษในคุก Yerwada จะมีรายได้ ๒๐๐ รูปี (Rs) ต่อวัน ซึ่งส่วนหนึ่งจะนำเข้ากองทุนสวัสดิการของนักโทษ และ สถาบันคุกเอง ส่วนที่ คุก Tihar ก็ได้รับค่าจ้างมาตรฐาน ๑๑๐ รูปี (Rs) รวมตลอดทั้ง ยังได้รับค่าเช่ารายเดือนแยกต่างหาก ๑๒ รูปี (Rs) / ตารางฟุตจาก Spark Minda สำหรับใช้ในสถานที่ของนักโทษในคุก Tihar นอกจากนั้น คุก Tihar ยังได้กำหนดให้ ๒๕% ของรายได้ของนักโทษถูกส่งไปยังครอบครัวของเหยื่อ (Victim) อีกด้วย
โดยสรุป
การที่ภาคเอกชน (Private sector) ในประเทศอินเดีย ได้มีการจ้างแรงงานนักโทษในทำงานคุก ทำงานรับจ้าง ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ การทำงานรับจ้างในฟาร์ม การผลิตสินค้า และ ผลิตภัณฑ์ เช่น ฟุตบอล กระเบื้องปูพื้น แชมพู กล่องมิเตอร์ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์เหล็ก สมุนไพร เป็นต้น นับเป็นการใช้โอกาส การปฏิรูปทางอาญา (penal reform) ภายใต้กฎ Mandela (กฎระเบียบมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติฉบับแก้ไขใหม่) เช่นเดียวกันกับประเทศสหรัฐเมริกา เยอรมณี อังกฤษ จีน ในการเปิดโอกาสให้ อาชญากร / นักโทษ ได้มีโอกาสทำงานรับจ้าง หาเลี้ยงชีพด้วยตัวเอง เลี้ยงครอบครัว และ ช่วยเหลือชดเชยเหยื่อ ( Victim ) ทำให้พวกเขามีทัศนคติในเชิงบวก มีเป้าหมาย ศักดิ์ศรี และ มีความมั่นใจ ในการใช้ชีวิตในสังคมภายหลังพ้นโทษ
……………………..
วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์
๒ กันยายน ๒๕๖๐
อ้างอิง
Private sector goes to prison / Joeanna Rebello / TNN / Apr 24, 2016, 12.04 AM IST ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://timesofindia.indiatimes...51960286.cms และ ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์https://www.google.co.th/searc... และ เว็บไซต์ https://www.google.co.th/searc...
ไม่มีความเห็น