หลักการสร้างทีมงาน


บริหาร
  การสร้างทีมงาน (Team - Building

ความนำ (Introduction)

การนำงานเป็นทีมมักจะพบเห็นกันอยู่ทั่วไปที่เริ่มตั้งแต่ในครอบครัวหรือหน่วยงานของเอกชน รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ทีมงานที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นการสร้างทีม จึงจำเป็นสิ่งที่สมาชิกในทีมจะต้องเรียนรู้ถึงว่า ทำอย่างไรจะทำงานร่วมกันได้อย่างดีนั้น รวมทั้งนักบริการสามารถสร้างความพร้อมของการทำงานเป็นทีให้เกิดขึ้นหน่วยงานได้อย่างไร ซึ่งย่อมจะทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ความหมายและความสำคัญในการสร้างทีม ทีมงาน หมายถึง กลุ่มคนที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

A team may be simply definde as any group of people who mast significant by relte with each other the order to accomplish shared ofjectives ในเรื่องทีม Hall ให้ข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องกลุ่มว่า กลุ่มนั้นมีส่วนประกอบ 2 ทาง
  1. กลุ่มได้ช่วยเหลือสมาชิกกันเองในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  2. สมาชิกเองก็ช่วยเหลือกันและกัน ในการสร้างและรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างขององค์การ Edgar Schrin ให้ความหมายของกลุ่มหรือกลุ่มไว้ว่า จำนวนใด ๆ ของคนที่
  • เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น
  • มีความตระหนักทางด้านจิตใจถึงบุคคลอื่น
  • รับรู้เกี่ยวกับพวกเขาว่าเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่ง

อาจกล่าวโดยสรุป ทีม คือ กลุ่มของบุคคลทีมีการเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่แน่นอน
การสร้างทีมงานในหน่วยงาน หมายถึง การปรับความสัมพันธ์ต่าง ๆ ในการทำงานให้ดีขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้จะมีผลโดยตรงต่อการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ความสำคัญในการสร้างทีมมีดังนี้
  1. มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความไว้วางใจในหมู่สมาชิกของทีม
  2. คนเราจะทำงานร่วมกันได้ดีขึ้นเมื่อมีการเปิดเผยและจริงใจต่อการกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคที่จะต้อง แก้ไขร่วมกัน
  3. การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อสมาชิกได้ช่วยกันเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญให้เพิ่มพูนมากขึ้น ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ในทีมอย่างเต็มที่
  4. ประสิทธิภาพของการทำงานจะลดต่ำลง และความตึงเครียดจะเพิ่มสูงขึ้น หากหลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลย้อนกลับ และวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้นการแสดงความคิดเห็นในลักษณะข้อมูลป้อนกลับจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทีมงาน
  5. สนับสนุนการเรียนรู้ ที่จะรับฟังความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสารของผู้อื่นอย่างตั้งใจ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน
  6. เป็นการพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาร่วมกัน
  7. เป็นการลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล เนื่องจากสมาชิกทีมได้เรียนรู้ถึงทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลมากขึ้นมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันมากขึ้น
  8. ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในหมู่สมาชิกทีม

แนวความคิดและทักษะในการสร้างทีม (Skills and approach of the competent teambuilding)

ทีมงานที่มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของบุคคลในหน่วยงานดังนั้นการเตรียมบุคคล จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดความพร้อมในการสร้างทีม ซึ่งประกอบด้วยความรู้ ทักษะและแสดงออกถึงความสามารถของทีม
  1. ความรู้ทักษะในการสร้างทีม (The Knowledge and skills of the team building)
    • ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างทีม (Background reading ingteam buildint theory) จึงมีประโยชน์ในเรื่องเทคนิคการสร้างทีม การเรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นและเข้าใจถึงกระบวนการสร้างทีมมากขึ้น
    • ความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Theory of team )จะเป็นขั้นการพัฒนาทีมงาน ให้สามารถเตรียมการและการวางแผนการสร้างทีมได้ดีขึ้น
    • การอธิบายหรือสรุปสั้น ๆ (Repertorie of lecturettes ) เป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยในการสร้างทีมได้ด้วยการพูดคุยหรืออธิบายจุดที่สำคัญในการสร้างทีมจะช่วยแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการพูดคุยหรืออธิบายจุดที่สำคัญในการสร้างทีมจะช่วยทำให้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
    • ประสบการณ์ที่มีความหมาย (Availabilitu of structured experiences) การทำให้ฝึกฝนทำโครงการ กิจกรรมอยู่บ่อย ๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ สมาชิกในทีมที่ผ่านประสบการณ์มาแล้วจะมีบทบาทมาก ในการช่วยเหลือกลุ่มเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น+
    • ทักษะการป้อนข้อมูลย้อนกลับ (Skill in process feedback) เปรียบเสมือนกับกระจกที่คอยสะท้อนถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น การสังเกตและเก็บข้อมูลอย่างระมัดระวังจะช่วยทำให้การเสนอข้อมูลต่อเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมา
    • การยอมรับสภาพของบุคคล (Personal acceptability ) จะช่วยทำให้การสร้างทีมสำเร็จ เป็นการนับถือความสามารถและยอมรับซึ่งกันและกันจะก่อให้เกิดการไว้วางใจในกลุ่มทำงานขึ้น
    • การให้ความช่วยเหลือ (Co - facilitating experience) ทักษะที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการฝึกฝน ทำงานร่วมกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทีมที่มีความสามารถจะนำเอาสิ่งที่แปลกใหม่เข้าไปแนะนำในทีม จะทำให้เกิดทักษะการทำงาน เพื่อเป็นการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพมากขึ้น
    • การเปิดเผย (Persona Opennes) เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างทีมในบางครั้งสมาชิกในทีมจะต้องยอมรับข้อมูลย้อนกลับที่ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต้องมีการเผชิญหน้ากันระหว่างกันในสมาชิกทีมงาน เพื่อเป็นการพัฒนากลุ่มให้มีคุณภาพมากขึ้น
  1. การแสดงออกถึงความสามารถของทีม (The Approach of the Competent teambuilding) ลักษณะของทีมจะดูได้จาก
    • การยอมรับของหน่วยงาน (Organizational acceptance)ซึ่งจะดูจากหน่วยงานให้การสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ ในการทำงานของทีม
    • การยืดหยุ่นและการยอมรับอย่างเปิดเผย (Adopt a flexible and opem approach ) ยอมรับข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับทีม
    • เป้าหมายชัดเจน (Clarify goals carefully )
    • มีเหตุผลความเป็นจริง (Be realistic) ยอมรับความช่วยเหลือจากภายนอก
    • ได้รับอนุญาตให้ทำงาน (Get permission to work )ในการทำงานของผู้ผูกพันมาจากความเข้าใจ สมาชิกไม่ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ ไม่ถูกบังคับให้ต้องซื่อสัตย์สมาชิกยินดีทำด้วยความเต็มใจ
    • มองเห็นความสำคัญของงานประจำวัน (Make ralevant to everyday work) ตรวจสอบการแบ่งงานและการตัดสินใจ
    • การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับกลุ่มอื่น (Build good conduct with other teams)
    • ทบทวนความสามารถของกลุ่ม ( Regi;ar review you comptence) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ยอมรับเมื่อทำผิด

ทักษะความสามารถของการสร้างทีมจะถูกนำมาเชื่อมโยงกันในแผนภูมิสรุปได้ดังนี้

ลักษณะของทีมที่มีประสิทธิภาพ

ลักษณะของการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพตามทัศนะของ เสนอแนวความคิดว่า การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องประกอบคุณลักษณะดังต่อไปนี้
  1. ความกระจ่างชัดในวัตถุประสงค์ และเห็นด้วยกับเป้าหมาย (Clear Objectives and agreed goals) สมาชิกทุกคนของทีมจะต้องมีความเข้าใจในเป้าหมายอย่างเด่นชัด และเต็มใจที่จะผูกพัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้
  2. การเปิดเผยและการเผชิญหน้ากัน (Openess and confrontation) สมาชิกในทีมงานมีความสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา กล้าเผชิญหน้าเพื่อแก้ปัญหาการทำงานร่วมกัน
  3. การสนับสนุนและการจริงใจต่อกัน (Support and trust) สมาชิกในทีมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างงานของตนกับเองของผู้อื่น และพร้อมที่จะรับและให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจ
  4. ความร่วมมือและความขัดแย้ง (Co-operation and conflict) สมาชิกในทีมงานอุทิศตนในการปฏิบัติงานให้เสร็จไปด้วยดี จะมีการประสานประโยชน์ในเรื่องของความรู้ความสามารถ ตลอดจนความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้ได้ผลร่วมกันอย่างสูงสุด และเป็นลักษณะที่เปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการทำงาน ซึ่งอาจมีการขัดแย้งเกิดขึ้นภายในทีม ก็จะเป็นในทางสร้างสรรค์
  5. การปฏิบัติงานที่ชัดเจน (Sound procedure) สมาชิกในทีมจะอาศัยข้อเท็จจริงเป็นหลักและการตัดสินใจจากข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งมาจาการติดต่อสื่อสารที่ชัดเจน มีการพูด การเขียน และการทำงานในสิ่งที่ถูกต้องในการแก้ปัญหาจะทำให้ทีมงานมีประสิทธิภาพได้
  6. ภาวะที่เหมาะสม (Appropriate leadership) หัวหน้าทีมจะต้องมีบทบาทผู้นำที่ดี เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติทุกอย่าง ไม่ผูกขาดเป็นผู้นำคนเดียวของกลุ่ม แต่ภาวะผู้นำจะกระจายไปทั่วกลุ่ม ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
  7. ทบทวนการทำงานอย่างสมำเสมอ (Regular review) ทีมงานจะต้องใช้เวลาในการประเมินพฤติกรรม และเรียนรู้ถึงการผิดพลาดในการทำงาน ของกลุ่มซึ่งจะทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องในการทำงาน อาจทบทวนระหว่างการทำงานหรือหลังจากทำงานเสร็จแล้ว
  8. การพัฒนาบุคคล (Individual development) สมาชิกในกลุ่มจะได้รับการพัฒนาอย่างที่แผนตามความชำนาญของแต่ละบุคคล ซึ่งจะให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ดี (Sound intergroup ralations) นอกเหนือจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างกลุ่มแล้วจะต้องให้กลุ่มอื่นเข้าใจและยอมรับ ตลอดจนยื่นมือเข้าช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ด้วยความเข้าใจ และปราศจาการแข่งขัน
ลักษณะทีมงานที่มีประสิทธิภาพยังอาจจะมองเห็นได้จากลักษณะดังต่อไปนี้
  • ได้ผลงานสำเร็จตามเป้าหมาย
  • สามารถบริหารและจัดการเองได้ภายในทีม
  • มีการพัฒนประสิทธิภาพของกลุ่มอยู่เสมอ
  • ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม

5. ขั้นตอนการพัฒนาทีม (Stages of team development)

การพัฒนาทีม คือ ความพยายามอย่างมีแผน เพื่อเปลี่ยนแปลงทีมงานให้เป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ แบ่งออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้

ระยะปรับตัว (Ritual sniffing)

  • สมาชิกไม่ไว้วางใจตัวใครตัวมัน
  • การสื่อสารไม่ทั่วถึง
  • จุดประสงค์ในการทำงานไม่เด่นชัด
  • การบริหารอยู่ที่ส่วนกลาง
  • การปฏิบัติงานมีขั้นตอนมากมายยุ่งยาก
  • สมาชิกไม่มีโอกาสเเรียนรความผิดพลาดและปรับปรุงให้ดีขึ้น
  • ปฏิเสธหรือไม่สนใจความช่วยเหลือและวิทยาการใหม่ ๆ จากภายนอกฃ

ระยะประลองกำลัง (Infighting)
  • หัวหน้าทีมรู้จักประเมินและหาทางพัฒนา
  • ทบทวนการทำงานของทีมและปรับปรุงพัฒนา
  • สนใจบรรยากาศในการทำงาน
  • เห็นความสำคัญซึ่งกันและกัน
  • มีการประชุมมากขึ้น คิดมากขึ้น พูดน้อยลง
  • ระยะนี้เกิดความไม่สบายขึ้นในหมู่สมาชิกฃ

ระยะทดลอง
  • กฏเกณฑ์ต่าง ๆ จะถูกทบทวน
  • เข้าใจวัตถุประสงค์ของงานอย่างกระจ่าง
  • ภาคภูมิใจในความเป็นทีม
  • ห่วยใยความเป็นอยู่ของสมาชิก
  • การทำงานคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่

ระยะแสดงผลงาน
  • กฏเกณฑ์ต่าง ๆ จะถูกทบทวน
  • เข้าใจวัตถุประสงค์ของงานอย่างกระจ่าง
  • ภาคภูมิใจในความเป็นทีม
  • ห่วยใยควมเป็นอยู่ของสมาชิก
  • การทำงานคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู๋

ระยะสมบูรณ์ (Maturity)
  • ความสัมพันธ์ในหมู่สมาชิกดีเยี่ยม
  • เปิดเผยจริงใจซึ่งกันและกัน
  • รูปแบบของกลุ่มเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ
  • แต่สมาชิกนับถือความสามารถของกลุ่ม
  • ให้ขวัญและกำลังใจ
  • มีความสัมพันธ์ที่ในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม
  • มีความยืดหยุ่นเป็นกันเอง
  • ภาวะผู้นำเป็นไปตามสถานะการณ์
  • ภูมิใจและพึงพอใจในการทำงาน

สรุป

กระบวนการที่จำเป็นของการทำงานเป็นทีม คือ การเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา การป้อนข้อมูลย้อนกลับ ตลอดจนสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อมูลในการตัดสินใจร่วมกันเป็นผลดีในการสร้างความสามัคคี และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผูกพันและอนาคตของหน่วยงาน ซึ่งผลที่ได้รับจะเป็นผลสำเร็จและความภูมิใจของแต่ละคน ซึ่งจะนำไปถึงการบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งก็หมายถึง ความเจริญของหน่วยงานนั่นเอง

ต้นเรื่องจาก : www.kunkroo.com กราบขอบคุณข้อมูลลองไปดูเพิ่มเติมได้ครับ

บุญรักษาครับพี่น้อง

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร
หมายเลขบันทึก: 63382เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2006 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากทราบว่า ใครคือผู้คิดค้นทฤษฎีการสร้างทีมค่ะ? ช่วยตอบด้วย

ครูตุ๊ก สิงห์บุรี

ขอบคุณคะ ในความมเอื้อเฟื้อ ส่วนหนึ่งได้นำไปอ้างอิงใน thesis ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท