๕๘๖. บ้านเล็ก..ในป่าใหญ่.


ทำโรงเรียนให้เหมือน”บ้าน” แม้จะไม่เหมือนหมดทุกอย่าง ก็ไม่เป็นไร แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันมานานหลายปี นั่นคือ..”ต้นไม้” เติบโตไปพร้อมๆกันกับที่บ้าน ทำให้คุ้นตา มองเห็นพัฒนาการ ของต้นไม้..คล้ายมีจิตวิญญาณ ให้สัมผัสได้..

ผมเคยเขียนเรื่องนี้มาแล้ว..วันนี้..เห็นต้นไม้ในโรงเรียนสูงใหญ่ เขียวไสวใบสะพรั่ง รายล้อมอาคารเรียน ที่มีอยู่หลังเดียวและหลังเล็กอีกต่างหาก จึงดูเหมือน..บ้านเล็กในป่าใหญ่ ยังไงยังงั้น..

ผมพยายามทำโรงเรียนให้เหมือน”บ้าน” แม้จะไม่เหมือนหมดทุกอย่าง ก็ไม่เป็นไร แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันมานานหลายปี นั่นคือ..”ต้นไม้” เติบโตไปพร้อมๆกันกับที่บ้าน ทำให้คุ้นตา มองเห็นพัฒนาการ ของต้นไม้..คล้ายมีจิตวิญญาณ ให้สัมผัสได้..

ระยะหลังๆ ผมลดการปลูกลง เพราะพื้นที่เริ่มมีความจำกัด ใช้การ.”อนุรักษ์”เข้ามาแทนที่ คือ ไม่ปลูกแต่ก็ไม่ตัด..จะปลูกเฉพาะไม้ดอกไม้ประดับ พืชสวนครัว และพืชหมุนเวียนตามฤดูกาล..

ถึงแม้..ภาครัฐ..ยังจะมีนโยบายให้ปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากวันสำคัญของชาติและศาสนา..จะให้สถานที่ราชการปลูกและรายงานด้วยว่า..ปลูกต้นอะไร ปลูกกี่ต้น และมีผู้ร่วมกิจกรรมกี่คน....

จึงเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก..หากย้อนไปในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา ต้นไม้น่าจะเต็มบ้านเต็มเมืองไปแล้ว แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ภาครัฐ..ก็ยังคงได้รับรายงานเป็นตัวเลขที่สวยหรูต่อไป..ต้นไม้..ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ได้มากมายขนาดนั้น..

คงมิอาจโทษใครได้..เพราะความจริงในพื้นที่ ที่ไม่สามารถปลูกไม้ยืนต้นได้ทุกแห่ง ถ้ายังทำแบบเดิมๆ อันเนื่องมาจากผืนดินไม่เอื้อให้ปลูก ซึ่งมีความสำคัญมากกว่าแหล่งน้ำเสียอีก..เช่น เป็นดินลูกรัง เป็นดินดาน และเป็นดินทราย เป็นต้น

ผมคิดว่า..น่าจะเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ คือไม่เพียงแต่พูดเรื่องปลูกต้นไม้ แต่ต้องพูดถึงการอนุรักษ์ดิน ที่เป็นกระบวนการปรับปรุงดิน หรือ “แกล้งดิน” ไปด้วย..ทำให้เป็นวาระแห่งชาติไปเลย เพื่อปลูกฝังเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ วิถีเกษตรชีวภาพ แล้วนำไปใช้เป็นส่วนผสมในดิน..ก่อนลงทุนลงแรงปลูกต้นไม้ต่อไป..

ช่วยลดความสูญเปล่าด้านงบประมาณ และเวลา ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้แผ่นดินและสิ่งแวดล้อม เป็นสมบัติของสังคมและประเทศชาติ..ไปชั่วลูกชั่วหลาน..

ปัจจุบัน..ต้นไม้หลายชนิด เป็นไม้หายากราคาแพงมาก ถ้าหากปลูกพอเป็นพิธี โดยไม่มีการวางแผนตระเตรียมดิน และไม่มีการติดตาม บำรุงรักษา ก็ยากที่ต้นไม้ในพื้นที่นั้น..จะงอกงามแบบยั่งยืน..

ผมเคยเสนอความคิดในที่ประชุมคณะกรรมการฯอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายาก ของอำเภอฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริฯ ที่มีการบริหารจัดการภายในวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งภายในวัดมีเนื้อที่กว่า ๒๐ ไร่ มีพันธุ์ไม้หายากอยู่บ้างแล้ว และรอการปลูกเพิ่มเติม...

การปลูกเพิ่ม แบบไร้ระเบียบวินัย ก็ใช่ว่าจะดี แต่ที่สำคัญกว่านั้น ก็คือ เราต้องพูดและทำเรื่องปุ๋ยบำรุงต้นไม้ไปด้วย และเพิ่มเติมการเอาใจใส่อย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ในแต่ละฤดูกาล และตรวจติดตามการเจริญเติบโต ตลอดจนประเมินผลความก้าวหน้าด้วย..

ในท้ายที่สุด..ผมตั้งข้อสังเกต ให้ที่ประชุมที่ประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่นและภาคประชาชนได้คิดตาม..ก็คือ..เรามักใช้องค์กรสาธารณะเป็นต้นแบบ ใช้วัดและโรงเรียนเป็นที่พำนักพักพิงต้นไม้อยู่เสมอ แต่ในความเป็น”บ้านเรือน”ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นครอบครัวที่เป็นหัวใจของชุมชน  เราจะพูดและทำเรื่องเรื่องการอนุรักษ์ไม้หายาก หรือการปลูกไม้ยืนต้นนานาชนิด..น้อยที่สุด..

ยิ่งแต่ละบ้าน จะพบว่าปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น จึงพบอีกว่า หัวไร่ (ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง)และปลายนา(นาข้าว ข้าวโพด)  แทบไม่เหลือต้นไม้ใหญ่ให้เห็น ไม่เน้นร่มเงาให้คนและนกกา

ผมคิดว่า..วัดและโรงเรียนส่วนใหญ่ ต้นไม้เกือบจะพอเพียงแล้ว เหลือเพียงการทำเรื่องปุ๋ยหมักชีวภาพแบบง่ายๆ การใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มแร่ธาตุให้แก่ดิน ให้ต้นไม้ได้กินของดี ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง..ที่ช่วยให้ปลูกอะไรก็งอกงาม..

บ้าน..ก็เช่นเดียวกัน..น่าจะมีทุกอย่างพร้อมอยู่แล้ว ที่จะนำไปสู่เรื่องราวของการอนุรักษ์ดินและสิ่งแวดล้อม..ซึ่งเป็นเรื่องง่ายที่สุดถ้าจะเริ่มต้นที่บ้าน..อันเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมไทย..บ้านเล็ก..ในป่าใหญ่..สร้างให้เกิดขึ้นได้ จะช่วยให้สังคมไทยมั่นคงและแข็งแกร่ง ร่มเย็น และเป็นสุข..แน่นอน...

ชยันต์  เพชรศรีจันทร์

๖  สิงหาคม  ๒๕๖๐








หมายเลขบันทึก: 632720เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 สิงหาคม 2017 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"ต้นไม้"...คงจะเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว..หากต้นไม้..ถูกปลูก..ได้..ในทุกหย่อมหญ้า..มิใช่แต่ในบ้านหรือโรงเรียนหรือวัด..ดังที่กระทำกันมา..แม้แต่หัวไร่..ปลายนา..ที่ปราศจากต้นไม้..ยืนต้นที่มีคุณค่า..เห็นแต่ต้นไม้ที่แปรเปลี่ยน..ชื้อขายเพื่อให้ ได้ค่า่ยังชีพ..ตอบแทนมา...

การปลูก "ต้นไม้"..เพื่อ ประกัน..ชีวิต..ความอยู่รอด..ในโลก..แห่งความจริง..ยังไม่เกิดขึ้น...(ใช่ไหมเจ้าคะ..คุณชยันต์)..

หาก"ต้นไม้"ถูกปลูก.. ให้มีเป็นสัญญลักษณ์..ของการประกันชีวิตและ ความเป็นอยู่ ที่..มั่นคง..ของมวลชีวิต..ที่ดำรงอยู่..ในระดับมาตรการ..ที่เท่าเทียมกัน..เหมือน..ทอง..(ที่ไม่เงยงอก)..แต่ต้นไม้  นั้น..งอกเงย..




มาทักทายให้กำลังใจคนทำงานจ้าา

ต้นเดือน ตุลา พบกันจ้ะ

สุดยอดครับท่าน...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท