AAR ตอนที่2: ก้าวย่างสู่การเรียนรู้เรื่อง Reflection สู่การปฏิบัติ


AAR ตอนที่2:

เมื่อได้โจทย์ให้มาบรรยายเรื่องการสะท้อนคิด หรือ Reflection กระบวนการทางปัญญาภายในที่เกิดขึ้นก็หมุนติ้วๆ ออกเป็นภาพสายธารแห่งการเรียนรู้ มากกว่าจะออกมาเป็นเนื้อหาที่จะบรรยาย

ตั้งคำถามกับตนเองว่า : การเชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติควรเป็นอย่างไร และจะออกแบบกระบวนการเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้อาจารย์ที่เข้าร่วมได้ซึมซับและเรียนรู้อยู่ในสถานการณ์ของการสะท้อนคิด

แบบฝึกการเรียนรู้เริ่มต้นด้วยการใช้ Meditation กำหนดจิตให้เกิดการเจริญสติโดยมีเสียงเพลงอันเป็นบทเพลงภาวนาเป็นตัวนำและกระตุ้นให้เข้าสู่สภาวะตื่นรู้และพร้อมเรียนรู้ จบแต่ละครั้งให้เขียน reflection ตนเอง ซึ่งครั้งสองจะลุ่มลึกกว่าครั้งแรก และครั้งที่สามฝึกให้ค้นเข้าไปภายในลึกซึ้งขึ้น (feeling about feeling)

ซึ่งจากกระบวนการดังกล่าวได้ร่วมกันทำ Reflection อยู่สามรอบ

รอบแรก โดยรวมเมื่อจะสภาวะที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน
- สบาย สงบเย็น และผ่อนคลาย
- ได้เกิดการทบทวนตนเอง
- จิตไม่ค่อยสงบ มีความตื่นเต้น มีความกังวล
- เห็นความคิดวกวนไปมา
รอบที่สอง หลังจากได้นั่งเจริญสติภาวนากันอีกครั้ง
- กำหนดในตัวเองได้ดีขึ้น
- มีสติมากขึ้น
- เกิดการทบทวนตนเองมากขึ้น
- เกิดการสะท้อนคิดในตนเองว่า "ใจควรได้รับการพักบ้าง"
- ความคิดลดลงกว่าครั้งแรก
- จิตว่างก็พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ

รอบที่สาม สิ่งที่น่าสนใจมากขึ้นคือ การสังเกตเห็นการแปรเปลี่ยนในตนเองชัดเจนขึ้น เกิดสภาวะ Transformation แบบเล็กๆ ที่น่าจะงดงามยิ่งนัก
- เห็นการเปลี่ยนแปลงในตนเอง
- สงบ เกิดสมาธิ
- มีการรับรู้ต่อตนเองมากขึ้น
- เห็นความลึกซึ้งในตนเองมากขึ้น
- ทำให้เกิดการสะท้อนคิดในตนเองว่า อารมณ์เป็นตัว block ความคิด
- เห็นสมาธิที่เกิดยังไม่น่าใช่สมาธิที่แท้จริง

จากการทำ Reflection ทั้งสามรอบทำให้มองเห็นการตื่นรู้และเบิกบานของอาจารย์ที่เข้าร่วม หากใคร่ครวญดูแล้วจะพบว่า กระบวนการฝึกฝนในรอบแรกนี้เป็นเพียงการเตรียมความพร้อม เพื่อก้าวผ่านจากความไม่รู้ไปสู่ความตระหนักที่จะรู้มากขึ้น

การแปรเปลี่ยนนอกจากจะสื่อผ่านใบหน้า แววตา และท่าทางที่ดูผ่อนคล่ายขึ้น ความเป็นกัลยาณมิตรที่มีท่าทีไว้วางใจก็เพิ่มตามมากขึ้น สภาวะนี้ส่วนตัวมักเรียกว่า "ประตูใจแห่งการเรียนรู้ได้เปิดออก" และพร้อมเปิดรับสิ่งต่างๆมากมายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ต่อกันในเชิงลึกซึ้งยิ่งขึ้น

เมื่อความพร้อมเกิดขึ้น ความเชื่อมโยงอันลึกซึ่งจากการเรียนรู้ก็สามารถขยับเพิ่มขึ้นไปได้
"VTR สามเรื่องราวที่สะท้อนถึงบทบาทของความเป็นครูที่แตกต่างกัน เรื่องแรกเป็นเรื่องไอติดสัปรด เรื่องที่สองเป็นเรื่องลองดู และเรื่องที่สามเป็นเรื่องของเชาว์เด็กนักเรียนออทิสติค"
ซึ่งหลังจากดูจบแต่ละเรื่องก็ให้แต่ละท่านลองค้นเข้าไปหาความในใจของตนเองและอธิบายออกมาได้ว่า "คิดหรือรู้สึกอย่างไร"

เมื่อจบเรื่องแรก เป็นเรื่องที่แม่ให้โจทย์แก่ลูกก้าวเข้าไปสู่การคิดและค้นคว้าที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง เมื่อดูจบกระบวนกรให้คำถามที่ใช้จะเปิดออกแบบกว่างๆ ไม่บีบคั้นและไม่กระตุ้นเร่งปฏิกิริยาผู้เรียนมากเกินไป หลายท่านสะท้อนออกมาว่า
- เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง
- มีการให้กำลังใจ
- ให้มีการลองผิดลองถูก
- ครูมีหน้าที่ในการจัดประสบการณ์
- มอบความรักเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้

เรื่องที่สองเป็นเรื่องที่แม่ลงมือปฏิบัติการเรียนรู้และแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กับลูก คำถามที่ใช้ในการสะท้อนคิดเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถแยกแยะมองเห็นความแตกต่างระหว่างเรื่องทั้งสองอย่างไร บทสรุปคือ
- ให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูเป็นผู้เฝ้าดูอยู่ห่างๆ
- ส่วนเรื่องที่สองแม่เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับลูก เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน

เรื่องที่สาม หลักจากดูเรื่องของเชาว์ที่เป็นเด็กออทิศติคจบ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างมีความลึกซึ้งและซับซ้อนทั้งความคิดและความรู้สึก จากนั้นก็ให้ฝึกฝนในการทำ self-reflection เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ในการเกิดการแปรเปลี่ยนในตนเอง (Transformation) 
 "เกิดความเบิกบานใจอิ่มเอิมใจ"
 "เกิดการตั้งคำถามในตนเองว่า "เราเป็นครูที่ดีหรือยัง"
 "การเป็นครูไม่ใช่แค่สอน ควรเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนและสามารถเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้"
 "ต้องมีความเข้าใจผู้อื่น และจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน"
 "ฟังและช่วยเหลือ กล้าก้าวผ่านความกลัวและข้ามพ้นปัญหาและอุปสรรค ด้วยความอดทน"
 "ครูต้องมีจิตวิญญาณ"

ในฐานะผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ค่อนข้างมีความยินดีที่เห็นปรากฏการณ์การแปรเปลี่ยนและความลึกซึ้งทีเกิดขึ้นภายในของผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ ปิติและเบิกบานใจยิ่งนัก

#ReflectionInTransformativeLearning
#Reflection
#R2RinEducation


หมายเลขบันทึก: 631380เขียนเมื่อ 21 กรกฎาคม 2017 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2017 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท