การวางแผนการสอนไวยากรณ์ (Planning a grammar lesson)


หากไม่มีไวยากรณ์เสียแล้ว คำที่ผสมรมรวมกันก็จะไม่มีความหมาย เพื่อที่จะพูดภาษาในระดับชำนาญ และต้องการที่จะสื่อสิ่งที่เราต้องการจริงๆ เราจำเป็นที่ต้องรู้ความรู้เรื่องไวยากรณ์

                ในการสอนไวยากรณ์ เราจะต้องให้วิธีการในการนำเสนอตัวของตัวเอง และเติมเต็มความคาดหวังของผู้เรียนในการเรียนภาษาต่างประเทศ โชคดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกวันนี้มีการเน้นในเรื่องของวิธีการสอนไวยากรณ์ และก็มีสื่อต่างๆที่กระตุ้นให้ผู้เรียนจำนวนมาก การสอนไวยากรณ์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การสอนการรวมกันของคำกริยา หรือการแปลไวยากรณ์เท่านั้น

วิธีการไหนที่หละ?

                ในการสอนไวยากรณ์จะมีวิธีการอยู่ 2 อย่าง ได้แก่ แบบนิรนัย (deductive) กับแบบอุปนัย (inductive)

1. วิธีการนิรนัย คือการให้กฎเกณฑ์ (rule) แล้วจึงสร้างภาษาตามกฎเกณฑ์อันนั้น

2. วิธีการอุปนัย คือ การให้เด็กๆได้สรุปกฎเกณฑ์ โดยดูจากภาษาที่ใช้ และมีการค้นพบที่ถูกควบคุม (guided discovery) โดยครูเป็นผู้ออกแบบ

                กล่าวในอีกแง่มุมหนึ่งก็คือ วิธีการนิรนัยก็คือการให้ครูเป็นศูนย์กลาง แต่ในวิธีการอุปนัยจะให้เด็กๆเป็นศูนย์กลาง ทั้งสองวิธีการจะมีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบ ในมุมมองของฉัน วิธีการนิรนัยก็คือการลดเวลาลงอย่างชะงัด และให้เวลากับครูในการฝึกภาษากับเด็กที่อ่อนๆอย่างมีประสิทธิภาพ  ในทางตรงกันข้ามวิธีการอุปนัย จะได้ผลสำหรับเด็กๆที่มีพื้นความรู้พื้นฐานอยู่แล้ว พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ วิธีการนี้กระตุ้นให้ผู้เรียนทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง โดยมีพื้นฐานจากความรู้ที่มีอยู่  

การนำเสนอ, การฝึกปฏิบัติ, และการผลิตภาษา (PPP)

                วิธีการแบบนิรนัยโดยมากจะอยู่ในโครงสร้างบทเรียนรู้จักกันในนาม PPP (Presentation, Practice, Production) ครูนำเสนอภาษาที่จะต้องสอน (target language) และให้โอกาสสำหรับเด็กๆในการฝึกปฏิบัติ ในลักษณะมีการควบคุม (controlled activities) ขั้นตอนสุดท้ายของงบทเรียนจะให้เด็กๆมีโอกาสในการฝึกภาษาที่สอนในลักษณะอิสระ (freer activities) โดยการใช้องค์ประกอบทางภาษาอื่นๆ

                ในชั้นเรียนที่มี 60 นาที ในแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลา 20 นาที โดยประมาณ วิธีการนี้จะทางานได้ดี โดยการฝึกภาษาเป็นส่วนๆ (isolated grammatical items) วิธีการนี้จะให้เวลากับครูในแต่ละขั้นตอนในการฝึกความถูกต้องของภาษา และคาดหวัง รวมทั้งเตรียมตัวสำหรับฝึกแก้ปัญหาที่เด็กๆมักจะมี อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ยังทำงานได้ไม่ดีนักสำหรับเด็กๆที่อยู่ในระดับสูง ในกรณีที่เด็กๆต้องการที่จะเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างในไวยากรณ์ในเวลาเดียวกัน และเมื่อความสามารถทางภาษาของพวกเขาอยู่ในขั้นพูดได้ฟังได้ (far less uniform)

การนำเสนอ (Presentation)

                ในขั้นตอนนี้ ครูจะนำเสนอภาษาใหม่ๆในบริบทที่มีความหมาย (meaningful context) (เช่นนำเสนอในบทสนทนา เป็นต้น) เท่าที่พบมาก็จะเป็นสร้างเรื่องราวบนกระดานดำ, ใช้สื่อจริงๆ หรือใช้แผ่นพับหรือบัตรคำศัพท์ (flashcards) และการทำท่าทำทางประกอบ (mining) เป็นต้น

                เช่นเมื่อฉันจะนำเสนอประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2  ฉันจะวาดรูปตัวฉันเองพร้อมกับวาดลูกโป่งเพื่อการพูด (bubles) กับเงินจำนวนมาก, รถสปอร์ต, บ้านหลังใหญ่, และแผนที่โลก

1. ฉันถามนักเรียนของฉันว่าฉันคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร (โดยดูจากภาพวาด) และต่อมาจะนำเสนอภาษาใหม่ๆ ก็เป็น “If I had a lot of money, I would buy a sports car and big house”

2. ฉันจะฝึกปฏิบัติและปฏิบัติกับประโยค (drill) โดยใช้การพูด ต่อจากนั้นก็จะเขียนบนกระดานดำ (ทั้งบอกเล่า, ปฏิเสธ, คำถาม, และการตอบแบบสั้น)

3. ต่อจากนั้นฉันจะเน้นไปที่รูปฟอร์มของประโยค โดยอาจตั้งคำถามให้เด็กๆได้ตอบ เช่น เราจำเป็นต้องใช้อะไรหลัง if และรวมถึงความหมาย โดยการถามนักเรียนเพื่อตรวจสอบดูว่าพวกเขาเข้าใจสังกัป (concept) นี้หรือไม่ เช่น “Do I have lots of money?” No. “What am I doing?” Imagining.

4. เมื่อฉันมั่นใจว่านักเรียนของฉันคล่องแคล่วเรื่องรูปฟอร์มและความหมายแล้ว ขั้นต่อไปจะไปสู่การฝึกหัด ในระหว่างขั้นตอนนี้ เราจำเป็นที่จะต้องฝึกเรื่องการออกเสียงและรูปแบบไวยากรณ์ให้ดี

การฝึกปฏิบัติ (Practice)

                จะมีกิจกรรมหลายอย่างในขั้นตอนนี้ เช่น แบบฝึกหัดการเติมคำในช่องว่าง (gap fill exercise), การฝึกการแทนที่ (substation drill), การเปลี่ยนจากประโยคหนึ่งเป็นอีกประโยคหนึ่ง (sentence transformation) , คำถามที่ถามทั้งห้อง (class questionnaires), การเรียงลำดับประโยค (reodering sentences) และ การจับคู่ประโยคกับภาพ (matching sentence to pictures) เป็นต้น

                ประเด็นที่ต้องจำก็คือว่ากิจกรรมในขั้นนี้ต้องอยู่ในการควบคุม เพราะนักเรียนเพิ่งจะพบภาษาใหม่ๆ หนังสือและแบบฝึกหัดของนักเรียนจำนวนมากมีกิจกรรมและแบบฝึกหัดในขั้นตอนนี้ ดังจะยกตัวอย่างให้ฟัง ดังนี้

                เมื่อฉันสอนประโยคแบบเงื่อนไขแบบที่ 2 ฉันจะใช้ประโยคแบ่งครึ่ง (split sentence) ซึ่งเป็นกิจกรรมแบบควบคุม (controlled practice activity) ฉันจะให้ตัวอย่างกับนักเรียนจำนวนมาก โดยที่แบ่งครึ่งไว้ให้ตอบ ในการฝึกนักเรียนต้องทำกันเป็นคู่ นักเรียนจะต้องจับคู่ระหว่างตอนต้นกับตอนท้ายให้ได้ เช่น If I won the lottery, “………..” I’d travel around the world. เป็นต้น

การผลิตภาษา (Production)

                ขั้นตอนนี้ก็มีกิจกรรมอันหลากหลาย แต่ข้อที่สำคัญก็คือคุณจะใช้กิจกรรมอะไรก็ต้องขึ้นกับภาษาที่คุณกำลังสอน และระดับของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการเติมข้อมูล (information gap), บทบาทสมมติ (role plays), การสัมภาษณ์ (interviews), การแสดงละครสั้น (simulations), การหาบุคคลที่ลักษณะที่กำหนดให้ (find someone who), การบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างภาพ 2 ภาพ (spot the difference between two pictures), การแก้ปัญหา (problem solving), กิจกรรมหาข้อมูลส่วนบุคคล (personalization activities) ฯลฯ เป็นกิจกรรมที่ทรงความหมาย และจะทำให้เด็กๆมีโอกาสที่จะฝึกภาษาอย่างเป็นอิสระ จะยกตัวอย่างให้ฟัง ดังนี้

                หลังจากที่สอนประโยคแบบเงื่อนไขแบบที่ 2 แล้ว ฉันจะให้เด็กๆถามข้อมุลส่วนตัวซึ่งกันและกัน โดยการให้คำถามที่สามารถตอบได้ทันที (question prompts) ในการถามนักเรียนในห้อง เช่น do/ if/ win the lottery?

                ถึงแม้ว่าคำถามในตอนนี้จะค่อยข้างควบคุม แต่นักเรียนส่วนใหญ่ก็มีโอกาสในการถามแบบทันท่วงที และสามารถใช้ภาษาที่มีอยู่ในการถามและตอบ และกิจกรรมนี้สามารถทำได้ง่ายด้วย

                ประเด็นสำคัญจะอยู่ที่ครูสามารถตรวจสอบ (monitor) และจดข้อผิดที่เกิดขึ้นในห้อง หรืออาจทำการวิเคราะห์ข้อผิด (error analysis) ตอนท้ายคาบก็ได้  

บทสรุป (Conclusion)

                เมื่อเราต้องสอนไวยากรณ์ จะมีปัจจัยอยู่หลายข้อที่เราจำเป็นต้องใส่ใจ ข้างล่างนี้คือคำถามที่เราต้องถามตนเอง

1. ภาษาที่สอนมีประโยชน์และเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใด?

2. ภาษาอะไรบ้างที่นักเรียนจำเป็นต้องรู้เพื่อที่จะเรียนภาษาใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ?

3. ปัญหาอะไรที่นักเรียนต้องพบขณะเรียนภาษาใหม่?

4. ฉันจะทำให้การสอนสนุก, ทรงความหมาย, และจำได้ง่ายได้อย่างไร

                ถึงแม้ว่าฉันจะใช้ภาษาอังกฤษในการสอนไวยากรณ์ แต่บางครั้งจะเป็นประโยชน์มากกว่าที่จะให้นักเรียนทำการเปรียบเทียบกับภาษาแม่ในขั้นนำเสนอภาษา และสิ่งนี้จะทรงความหมายมากยิ่งขึ้นหากต้องสอนโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งนักเรียนไม่สามารถเปรียบเทียบกับภาษาแม่ได้

                ประเด็นที่สำคัญก็คือการใช้การสอนแบบ PPP ก็สามารถสอนแบบอุปนัยได้ (inductive approach) การสอนแบบ PPP เป็นโมเดลในการวางแผนบทเรียนวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากนี้ก็มี TTT (สอบ (test), สอน (teach), สอบ (test)) และ ESA (ดึง (engage), สอน (study), นำภาษาไปใช้ (activate)) ทุกวิธีแต่มีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันทั้งนั้น และฉัน รวมทั้งครูคนอื่นด้วย ใช้โมเดลที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทเรียน, ห้องเรียน, ระดับความรู้, และสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน

แปลและเรียบเรียงจาก

Tanya Cotter. Planning a grammar lesson

  http://www.teachingenglish.org.uk/article/planning-a-grammar-lesson?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish

หมายเลขบันทึก: 631256เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2017 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2017 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you for this good article.

In a common form (or construct) we could say PPP is an 'algebra-like' approach (instead of x, y, z... we have 'subject, verb, object,... ' pre-arranged in certain 'patterns' (or equations) for substitution with 'words of the same type' (or numbers). The varaints of this are 'filling in the gaps', linking to another clause, replacing with correct words,...

BTW there is a typo in "การทำท่าทำทางประกอบ (mining)" - 1 n too many and 1 m too few ;-)

ขอบคุณมากสำหรับความคิดเห็นของคุณ sr มากนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท