จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๙๔: Professionalism conference: Duty of Candor "หมอเสียใจด้วยครับ..."


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๙๔: Professionalism conference: Duty of Candor "หมอเสียใจด้วยครับ..."

Professor Stephenson ประธานแพทยสภาสหราชอาณาจักรได้พูดถึงเรื่องหลายเรื่องเกี่ยวกับความประพฤติของแพทย์ในแง่ professionalism แต่มีคำอยู่คำนึงที่มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง คือ "เมื่อแพทย์พูดว่าเสียใจ หรือขอโทษ"
ปกติเวลาฝรั่งขอโทษก็จะพูดว่า I am sorry หรือเพราะกว่านั้นก็คือ I apologize (ซึ่งคำแปลของคำนี้ก็คือ expression of regret) ไม่ได้เป็นการแสดงความ "สำนึกผิด (guilt)" แต่อย่างใด และที่ทำเช่นนั้นเพราะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นต่อคนที่เรากำลังพูดด้วย มีการศึกษามากมายรวมทั้งที่กลายเป็น recommendation ว่าการพูด I am sorry สามารถที่จะผ่อนหนักเป็นเบา หรือเปลี่ยนปัญหาเป็นการร่วมแก้ปัญหาได้ดีที่้สุด
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม และเราสามารถรับรู้ความรู้สึกของคนอื่นและในทำนองกลับกันคนอื่นก็รับรู้ความรู้สึกของเรา คือเรา connect เชื่อมโยงถึงกันได้ ไม่เพียงแค่ความคิดความเข้าใจ และยังผ่านความเห็นอกเห็นใจ ความรักและเมตตา นี่คือธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์

ในหัวข้อ Duty of Candour

คำว่า "candour หรือ candor" มีความหมายที่น่าสนใจ คือ "ความสามารถในการแสดงออกอย่างจริงใจ เปิดเผย ตรงไปตรงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นและทำให่้บุคคลมีความทุกข์"
Guideline ของแพทยสภากำหนดไว้ชัดเจนว่า "All healthcare professionals have a duty of candour – a professional responsibility to be honest with patients* when things go wrong. This is described in The professional duty of candour, which introduces this guidance and forms part of a joint statement from eight regulators of healthcare professionals in the UK. ผู้มีอาชีพให้บริการสุขภาพทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องเปิดเผย ซื่อตรง ต่อผู้ป่วยเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น เป็น "หน้าที่" ไม่ใช่แค่ "แนวทางปฎิบัติ" ดังนั้นหากมีเหตุผิดพลาด
@ พูด "หมอเสียใจ" ด้วยตนเอง (say sorry personally)
@ โดยเร็วที่สุด (as soon as possible)
@ การแสดงความเสียใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นการแสดงความสำนึกผิด (sorry is NOT the same as guilty)
@ อธิบายเกิดอะไรขึ้น
@ อธิบายว่าเราจะช่วยอะไรบ้างถ้าหากมีความทุกข์เกิดขึ้น
@ อธิบายว่าเราจะพยายามทำอย่างไรที่จะป้องกันมิให้มีใครเดือดร้อนแบบเดียวกันอีก


ซึ่งมีคนอภิปรายกันเยอะ บางคนก็กลัวว่าเมื่อไรที่เราพูดว่าเราเสียใจ ก็แปลว่าเราเป็นคนทำความผิด และแปลว่าเราต้องรับผิดชอบ ดังนั้นทางที่ดีห้ามพูดคำๆนี้ดีกว่า ก็มีนักกฎหมายลุกขึ้นมาแสดงความเห็น เธอไม่เห็นด้วยว่าคำๆนี้ ไม่ว่าจะเป็น I am sorry หรือ I apologize จะเหมือนกับแสดงว่าเรา guilt แต่เป็นการ empathy ซึ่งมีประโยชน์มาก หลายๆครั้งเมื่อแพทย์พูดคำนี้ออกมาจะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ลง และไปจนถึงบ่อยครั้งที่สถานการณ์เลวร้ายลงไปเรื่อยๆเพราะ "แพทย์ไม่เคย ไม่ยอม และปฎิเสธที่จะพูดคำๆนี้ออกมา ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร"
หลักการเรื่องนี้ไม่ยาก อันที่จริงถ้าเรา assume หรืออนุมานว่าเราไม่เคนตั้งใจจะทำร้ายคนไข้อยู่แล้ว เมื่อเรารับรู้ว่าเขากำลังทุกข์เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์นั้นๆ สิ่งที่คนไข้ต้องการคือความเห็นอกเห็นใจจากคนรอบๆข้าง การนิ่งเฉย หรือหัวเด็ดตีนขาดก็จะไม่แสดงความเห็นอกเห็นใจนั้น ส่งพลังงานที่ต่อต้านออกไปอย่างชัดเจน เป็นการปกป้องกันตัวเอง และทำให้การที่จะมาพูดจาช่วยเหลือ หรืออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น จะเกิดขึ้นอีกไหม จะป้องกันอย่างไร ทำได้ด้วยความยากลำบาก


อาจจะเป็น trend หรือเป็นอะไรสักอย่างที่พวก risk management หรือ rule-lawyer จะมีความหวาดกลัวว่าเราไปชิงสารภาพผิดเสียแต่แรก แต่ผมเชื่อว่าหากเรามี mentality เป็นแบบ defensive medicine แบบนั้น จะยิ่งทำให้สถานการณ์มันแย่ลง และเท่าที่มีการแลกเปลี่ยนกัน เกือบจะเป็น consensus ว่าการแสดงความเห็นอกเห็นใจ จะเป็นการเยียวยาเบื้องต้นที่ควรทำให้เร็วที่สุด ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี ยิ่งจริงใจเท่าไหร่ยิ่งดี


ประธานแพทยสภาฯได้กล่าวว่าในคดีต่างๆที่แพทยสภาสอบสวนนั้น ไม่ได้มีปัญหาเรื่อง mistakes ที่เกิดขึ้น เพราะความผิดพลาดใครๆก็ทำกัน แต่การแก้ไข และการตระหนัก การมองเห็น victim ผู้รับเคราะห์ต่างหาก ที่จะเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนา ดังนั้นคนที่จะโดนแพทยสภา reprimand มักจะเป็นพวกที่แถ ไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมมองเห็นว่าตนเองมีส่วนในความผิดพลาด ทุกอย่างเป็นเรื่องของคนอื่นทั้งหมด แบบนี้ที่จะโดนแพทยสภาตักเตือน ซ่อม พักใบอนุญาต หรือรุนแรงกว่านั้น

หมายเลขบันทึก: 631102เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท