ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๓๑. ใช้ความขัดแย้งแบบกัลยาณมิตร


บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๓๑ ใช้ความขัดแย้งแบบกัลยาณมิตร  ตีความจาก Element 29 : Using Friendly Controversy


ความไม่เห็นพ้อง หรือความขัดแย้ง ย่อมกระตุ้นความสนใจเสมอ   ยุทธศาสตร์นี้เป็นการใช้ธรรมชาติของมนุษย์ ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้    แต่การใช้ความขัดแย้งก็เป็นดาบสองคม คือมีทั้งด้านดีและด้านเสีย    จะเกิดผลร้ายหากในการใช้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นทะเลาะกัน โกรธกัน    ครูจึงต้องระมัดระวังการใช้ยุทธศาสตร์นี้ ให้ใช้อย่างกัลยาณมิตร    


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการใช้ความขัดแย้งแบบกัลยาณมิตร    คือ    “ครูจะให้นักเรียนเข้าร่วมในความขัดแย้งแบบกัลยาณมิตรได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูใช้ความขัดแย้งแบบกัลยาณมิตร   มีดังต่อไปนี้




อ่านเทคนิคในตอนนี้แล้ว ผมมีความเห็นว่านอกจากได้ผลสร้างความสนใจต่อบทเรียน ช่วยการเรียนวิชาแล้ว  ยังเป็นการฝึกทักษะชีวิตและทักษะภาวะผู้นำด้วย


วิธีการตามที่เสนอในตารางข้างบน บางเทคนิคครูนำมาใช้ได้โดยไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้า     และใช้เวลาน้อยมาก  เช่นเทคนิค “โหวตในชั้น”  ครูสรุปประเด็นเป็นสองฝ่าย    แล้วให้โหวต    ให้ฝ่ายที่หนึ่งยืนขึ้น เดินไปที่มุมห้องหนึ่ง    ให้ฝ่ายที่สองยืนขึ้นและเดินไปที่อีกมุมหนึ่ง    แล้วให้แต่ละฝ่ายกล่าวปกป้องจุดยืนของตน 


ส่วนวิธีโต้วาทีต้องเตรียมตัวมาก    แต่นักเรียนในทีมก็จะได้เรียนรู้เทคนิคการโต้วาทีเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งประกอบด้วยการกล่าวนำเพื่อทำให้ประเด็นชัดเจน  ตรวจสอบเหตุผลของฝ่ายตรงกันข้าม  และการให้เหตุผลหักล้าง  


เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมโต้แย้งด้วยไมตรีจิต
  • นักเรียนบอกว่ากิจกรรมโต้แย้งแบบกัลยาณมิตรให้ความสนุก น่าสนใจ และได้ความรู้
  • นักเรียนอธิบายได้ว่ากิจกรรมขัดแย้งอย่างกัลยาณมิตรช่วยให้ตนเข้าใจสาระความรู้ดีขึ้นอย่างไร



วิจารณ์ พานิช

๑๐ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 630910เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท