โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 3: ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล๊อก

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงที่ 3: ระหว่างวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2560)

ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ไว้วางใจพวกเรา และทุกท่านสามารถติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

ผมขอฝาก Blog นี้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้พวกเราแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

#PSUfutureleaders3

#โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่3


สรุปการเรียนรู้

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 

 ห้องแคทลียา ชั้น 3 สยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์ หาดใหญ่

วันพฤหัสที่ 13 กรกฎาคม 2560


Learning Forum

หัวข้อ    เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน AEC 2015 และเศรษฐกิจไทย..ผลกระทบ การปรับตัว

และกลยุทธ์ของ ม.อ.         

และ

หัวข้อ    การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ

และการคิดเชิงกลยุทธ์

โดย         รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

               

การคิดวิเคราะห์จะอธิบายการเปลี่ยนแปลง เพราะการอธิบายการเปลี่ยนแปลงต้องปรับวิธีคิด แล้วจะเห็นอนาคต อย่างเก่งที่สุดก็คือเห็นอนาคตที่ใกล้กับปัจจุบัน

การมีระบบคิดที่ดีต้องถามว่า คนเรามีระบบคิดไปเพื่ออะไร คนที่บอกจะปฏิรูปการศึกษาต้องสามารถอธิบายว่า จะปฏิรูปเพื่ออะไร มีปัจจัยความสำเร็จการบริหารประเทศในระยะยาวคืออะไร

คำถาม Mindset ที่ทำให้ประเทศและองค์กรเจริญเป็นแบบใด

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

1.คิดที่จะปรับปรุง

2.มองนอกกรอบ ต้องมีการเปรียบเทียบกรอบเก่ากับกรอบใหม่ก่อนว่า อะไรดีกว่า แต่ก็มีข้อยกเว้น บางคนก็ยึดอุดมการณ์จึงอยู่ภายในกรอบเดิม

คำตอบจากวิทยากร

ถ้ากรอบเก่าดีอยู่แล้ว แต่กรอบใหม่ดีกว่ากรอบเก่า ต้องมีการพิสูจน์ก่อนว่าดีแล้วจึงค่อยไป ถ้าอยู่ในกรอบเก่าที่ดีที่สุด ก็ไม่จำเป็นต้องศึกษากรอบใหม่

คำถาม มาครงกับมาการองแตกต่างกันอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

มาครงคือประธานาธิบดี ส่วนมาการองเป็นขนมหวาน

เนื้อหา (ต่อ)

มาครงเป็นคนอัจฉริยะ มีภรรยาเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสและสอนเรื่องการละคร มาครงเรียนอักษรศาสตร์ ชอบปรัชญา มาครงเรียนรัฐศาสตร์แล้วต่อเศรษฐศาสตร์ แสดงให้เห็นว่า ไม่มีเส้นแบ่งเขตสำหรับวิชาที่เรียน มาครงเป็นลูกศิษย์ของ Paul Ricoeur ที่เขียนหนังสือ Oneself as Another ที่เน้นด้านการสร้างเอกลักษณ์ของตัวเองผ่านสัญลักษณ์  มาครงใช้ปรัชญาในรัฐศาสตร์ โดยมีการสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ดังนี้

1.ไปประชุมกับ Angela Merkel ในเรื่องความร่วมมือกับเยอรมนีเพื่อปรับปรุงฝรั่งเศส แสดงถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในฝรั่งเศสในอนาคต

2.ตั้งพรรค En Marche แปลว่า Move on

3.เขียนหนังสือ Révolution ออกมาเพื่อสร้าง

4.ไปพบผู้นำในการประชุมนาโต้

5.เชิญปูตินมาพบที่แวร์ซาย เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เมื่อ 200 ปีที่แล้ว ฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจและพันธมิตรกับรัสเซีย

ภาพที่ออกมาคือ ชาวฝรั่งเศสเชื่อมั่นว่า มาครงสามารถจะเป็นผู้นำฝรั่งเศสได้ แม้ว่าอายุ 39 ปี ก็ไม่มีปัญหา

เป็นครั้งแรกที่มาครงใช้อักษรศาสตร์และปรัชญาทำให้คะแนนเสียงพุ่งมาอย่างไม่เคยมีมาก่อน

จุดมุ่งหมายความสำเร็จของทุกองค์กรคือ ฉลาด รู้เขา รู้เรา และทันเหตุการณ์

ในการปฏิรูปการศึกษา ต้องถามว่า ปฏิรูปทำไม เพื่อให้ฉลาดดิจิตอล ทันโลกทันเหตุการณ์ ต้องรู้เขา รู้เรา ทำให้เขารู้จักเราด้วย แล้วจะทันโลกทันเหตุการณ์ การศึกษาที่ทำให้รู้เขา รู้เรา ต้องรู้ลึกซึ้ง ไม่ใช่เข้าใจแต่ไม่รู้สึกเชื่อมโยง

การปฏิรูปการศึกษา ต้องเน้น

1.คำนวณ

2.ภาษา ทำให้เข้าสู่องค์ความรู้ได้

3.ปรัชญา ทำให้ลึก เกิดนวัตกรรมใหม่

4.วิทยาศาสตร์

5.Reading อ่านและตีความ สำคัญที่สุด

อักษรศาสตร์ช่วยในการวิเคราะห์ เช่น ถ้าเป็นกรอบเก่าที่ดีที่สุด คำว่าดีที่สุดเป็นสัญลักษณ์ทำให้ไม่จำเป็นต้องหากรอบใหม่ แต่ไม่ได้กล่าวถึงอนาคต ซึ่งอาจจะดีกว่ากรอบเก่าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปหาในสิ่งที่เกี่ยวกับกรอบเดิม

Mindset ที่น่ากลัวที่สุด คือกับดักประสบการณ์ที่นำไปสู่ความหายนะเพราะทำให้ไม่พบสิ่งใหม่ที่ดีกว่า โลกมีการเปลี่ยนแปลงเพราะมีดิจิตอล โกดักต้องปิดกิจการเพราะคิดว่าสินค้าของตนนั้นดีที่สุด

Thailand 4.0 เป็นยุทธศาสตร์ที่ทำให้ประเทศหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง แต่ความสำเร็จเกิดจากคุณภาพการศึกษา

หัวใจสำคัญของการบรรยาย

1.การพัฒนา Mindset ให้เกิดความเข้าใจคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนา

2.ไม่มองอะไรแบบ Mechanics (เหมือนเครื่องจักร ไม่มีชีวิต) เมื่อลับสมองด้วยวิธีแบบนี้จะทำให้สมองเล็กลง

การศึกษาต้องสร้างให้เกิด Lifetime Learning มองเห็นความงดงามของปรัชญาแล้วจะมีความสนใจในการเรียนรู้

วิธีการทำนายอนาคตแบบ Organic Tree Approach

ตัวอย่างที่ 1

มีคนอยู่ 3 คน

คนที่ 1 เห็นต้นไม้ กิ่งไม้และใบไม้ บอกได้ว่า คือต้นมะละกอ

คนที่ 2 เห็นเฉพาะลำต้นบอกได้ว่า คือต้นมะละกอ แต่บอกชี้ให้เห็นว่าจะมีเมล็ด พร้อมอธิบายว่า ในอนาคตจะมีกิ่งและมีลูก

คนที่ 3 เห็นเมล็ดพันธุ์ แต่บอกได้ว่า โตขึ้นจะเป็นต้นมะละกอ มีลำต้น กิ่ง ใบ

วิเคราะห์ได้ว่า คนที่ 1 ใช้ตาดู คิดทำนายได้แค่อนาคตอันใกล้ คนที่ 2 สามารถใช้สมองในขณะที่ตายังไม่เห็น เพียงแค่มีข้อมูลเล็กน้อย ทุกเรื่องใช้วิธีนี้ได้ เพราะ Change เปรียบเสมือนเมล็ดพันธุ์ ทำให้ต้องคิดว่า จะมีอะไรงอกมาอีก ทำให้ทำนายได้ล่วงหน้า เป็นการใช้ปรัชญามาช่วยตัดสินใจ ส่วนคนที่ 3 มีข้อมูลน้อยที่สุด แต่ก็สามารถทำนายอนาคตได้

ตัวอย่างที่ 2

มีอาจารย์อยู่ 3 คน

คนที่ 1 บรรยายเนื้อหาทุกอย่างใช้เวลา 4 ชั่วโมง

คนที่ 2 มีการแยกแยะเรื่องสำคัญและไม่สำคัญ

คนที่ 3 แยกแยะเรื่องสำคัญและไม่สำคัญเป็น แต่ตัดเรื่องไม่สำคัญออก

วิธีคิดคือ สอนเรื่องอะไรอย่าจบที่เรื่องนั้น แต่ต้องพยายามอธิบายว่าเรื่องนั้นได้มาได้อย่างไร

เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง เก็บเฉพาะเรื่องสำคัญ บางเรื่องสำคัญมาก เพราะฉะนั้น ในชีวิตจริง มนุษย์สามารถบริหารข้อมูลความรู้ได้ เก็บเฉพาะสิ่งที่สมองรับได้ เก็บเฉพาะเรื่องที่สำคัญมาก

สรุปขั้นตอน

1.ต้อง Think forward and speak backward คิดก่อนแล้วค่อยพูด เป็นการเชื่อมโยงแบบ System Thinking เหมือน SWOT Analysis วางแผนสำหรับอนาคต เป็นแบบ Strategic Thinking

2.ต้องรู้จักแยกสิ่งสำคัญและไม่สำคัญ ตัดสิ่งไม่สำคัญ เก็บเรื่องที่สำคัญ บางเรื่องสำคัญมากและเป็นเรื่องที่ควรจะทำ สามารถนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลความรู้สามารถนำมาบริหารการประชุมได้ โดยเปลี่ยนจากการบริหารข้อมูลมาเป็นวาระการประชุม นำเรื่องที่ไม่สำคัญออกไป  นอกจากนี้อาจจะนำมาใช้บริหารลูกค้า วิเคราะห์ว่าเรื่องใดสำคัญ

3.หาสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง แล้วจะสามารถนำไปจำสิ่งต่างๆได้

4.ตั้งคำถามว่า ทำไม เป็นการฝึกใช้สมองคิด

Organic thinking แสดงให้เห็นว่า ทุกอย่างมีสัญญาณ ทำให้สามารถทำนายอนาคตได้

การเปลี่ยนแปลงมีเมล็ดพันธุ์ สมองทำงานต่อคิดว่าจะงอกไปที่ใด แล้วเห็นความเปลี่ยนแปลง ทำนายได้ล่วงหน้า เป็น Organic

โลกในช่วง 30 ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงมากมาย

มนุษย์ Homo Sapiens เกิดขึ้นเมื่อ 350,000 ปีที่แล้ว

ตั้งแต่เกิดมนุษย์ Homo Sapiens ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ 3 ครั้ง เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ต่างไป

เมล็ดพันธุ์ที่ 3 เกิดช่วง 20-30 ปีที่แล้ว เปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ได้แก่

เรื่องไอที การก่อการร้าย ISIS คนเปลี่ยนจากดื่มโอเลี้ยงมาดื่มกาแฟ Starbucks, Amazon ซึ่งมีขายอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ในกรุงเทพในอดีตมีตึกสูง 2 ตึกคือ ดุสิตธานีกับโชคชัย แต่ปัจจุบันนี้มีตึกสูงเต็มไปหมด

สมัยก่อนคนไทยกินอาหารไทย อาหารจีน  ที่กรุงเทพคนกินอาหารญี่ปุ่น อาหารอิตาเลียน  นอกจากนี้มีอาหารที่ไม่เคยมีมาก่อนคือ สปาเก็ตตี้ใส่ใบโหระพาและปลาเค็ม  ในด้านการเมือง มีกลุ่มคนเสื้อเหลืองและกลุ่มคนเสื้อแดง ทุกอย่างในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงกัน

Thailand 4.0 มาจาก 2 คนคือ

1. Philip Kotler เจ้าพ่อการตลาด เขียนเรื่อง Marketing 3.0  คนที่ทำ Thailand 4.0 คือ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์และดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ Philip Kotler เรื่อง Thailand 4.0 จึงเกิดขึ้นเมื่อประมาณปี 2559

2. Klaus Schwab ผู้ก่อตั้ง World Economic Forum ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงมาก โลกกำลังพัฒนาจากดิจิตอลไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิตอล+ไบโอเทค+Cyber Physical System และจะมี Clusters ต่างๆทั้งหมดรวมอยู่

โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย จาก

1.การกำเนิดของการเกษตร

2.การเข้าสู่โลกการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งแรก เมื่อ 200 ปีที่แล้ว มีการค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 เมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ได้มีการใช้ไฟฟ้า

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เป็นเรื่องคอมพิวเตอร์

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการพบกันระหว่างดิจิตอลกับ Physical

สะท้อนให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมกำหนดมนุษย์  เมื่อเกิดเครื่องจักร ด้วย Organic Thinking ก็สามารถทำนายได้ว่า จะทำให้เกิดรถไฟ เรือ เรือกลไฟ การพัฒนาอาวุธ

มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐมีหลักฐานคือ

1. เมื่อ 5 ล้านปีที่แล้วมนุษย์มี DNA ตรงกับลิงชิมแปนซี 98###/span#< แสดงว่า มนุษย์เป็นสัตว์

2. ทฤษฎี Sigmund Freud นักจิตวิทยา มนุษย์มี EGO คำว่า EGO ในภาษาละตินแปลว่า ฉัน ID คือสัญชาตญาณมนุษย์ก็เหมือนสัญชาตญาณสัตว์

3. จากไวยากรณ์ ในสมัยกรีกและโรมันไม่มีคำคุณศัพท์เพราะคุณศัพท์เป็นส่วนหนึ่งของคำนาม   แต่คำคุณศัพท์เกิดขึ้นในสมัยยุคกลาง คำนามจึงสำคัญกว่าคำคุณศัพท์  คำว่า สัตว์ประเสริฐ เมื่อวิเคราะห์แล้ว สัตว์เป็นคำนาม ประเสริฐเป็นคำคุณศัพท์ เพราะฉะนั้นมนุษย์เป็นสัตว์มากกว่าประเสริฐ การวิเคราะห์แบบนี้เป็นการนำภาษามาใช้ในการวิเคราะห์

เมื่อมนุษย์เป็นสัตว์และมีการสร้างปืน  สามารถทำนายได้ว่า มีการล่าอาณานิคม และมีการแผ่ขยายค่านิยม ทำให้คนในปัจจุบันแต่งกายแบบตะวันตก แสดงให้เห็นว่า ทุกเรื่องเกี่ยวเนื่องกันหมด

ปรัชญาทั้งหมดที่ทำให้โลกตะวันตกเจริญมาจากเรื่องเดียวกันคือ Humanism จาก Renaissance จนกระทั่งมาเป็น Enlightenment ระบบการสอนจึงสอนระบบคิด

เมล็ดพันธุ์ดิจิตอลคือคลื่นลูกที่ 3 เป็นการผสมกันระหว่างการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เทเลคอม สร้าง 4 มิติของการแข่งขันคือ

                1.คอมพิวเตอร์สร้างมิติใหม่ในการแข่งขัน คือ ความลึก ถ้าไม่มีดิจิตอล คอมพิวเตอร์ ก็ต้องใช้เนื้อที่มากในการเก็บข้อมูล เมื่อมีคอมพิวเตอร์ ก็บริหารความจุข้อมูลได้ ร้านหนังสือดวงกมลเคยมีสาขา 300 แห่ง จุหนังสือได้ 60,000 เล่ม แต่ตอนนี้มี Amazon.com จุหนังสือได้เป็น 10 ล้านเล่ม ทำให้ร้านแมงป่องขาดทุน

                2.คอมพิวเตอร์ทำให้เกิดความรวดเร็ว เมื่อ 4-5 เดือนที่แล้ว มาครงประกาศลงสมัครแข่งขันเลือกตั้ง เมื่อทราบมาครงเป็นลูกศิษย์ของ Paul Ricoeur รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์จึงสั่งหนังสือจาก .com เป็นหนังสือภาษาฝรั่งเศส และอีก 3 เล่มเป็นหนังสือแปล ทำให้เห็นนโยบายมาครงล่วงหน้า 4 เดือน แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบัน คนชนะกันด้วยความเร็ว รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ได้รับข่าวเร็วกว่าหนังสือพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง รัฐบาลอยากให้คน Smart ไม่ใช่แค่มีไอแพดแล้วทำได้ ต้องมีทักษะทางภาษาด้วย ปัญหาคือ บางคนก็รับข้อมูลแต่จากทาง Line บางคนรู้ภาษาแต่ไม่มีจิตที่จะหาความรู้ ก็ไม่ Smart แต่แค่ขายของได้

                3.มัลติมีเดียดึงข้อมูลตัวเลข และตัวหนังสือ โต้ตอบได้ด้วย

                4.Connectivity มีทั้ง Intranet และ Extranet รวมถึง Internet

ผลที่เกิดขึ้น

                1.ไปรษณีย์ได้รับผลกระทบจากโทรศัพท์มือถือ ไลน์ เพราะฉะนั้นไปรษณีย์ต้องเปลี่ยนแปลง ตอนนี้ทีโอทีกำลังแย่

                2.ร้านโชว์ห่วยกำลังจะตาย เพราะแพ้เซเว่นอีเลฟเว่นที่บังคับให้ Suppliers ต้องบริหารสินค้าคงคลังเพื่อบริหาร Just-in-time ทำให้ Suppliers ต้องปรับตัวลดต้นทุน Suppliers ที่รวยก็อาจจะร่วมมือ ถ้าไม่ร่วมมือ เซเว่นอีเลฟเว่นจะผลิตสินค้าชิ้นเดียวกับ Suppliers นั้นมาขายแข่ง ทำให้เกิด 108Shop ระบบการบริหารจัดการจึงเปลี่ยนไป

                3.การแข่งขันนำไปสู่ KPIs ทำให้บริการต้องรวดเร็ว เกิดการขยายตัวของการบริหารจัดการ

4.การเงินทำให้เกิดขยายตัวของโลกาภิวัตน์ด้านข้อมูล โลกาภิวัตน์เป็นศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาโลกาภิวัตน์ แปลว่า เชื่อมโยงขยายไปสู่ทุกภูมิภาคของโลก เป็นต้นกำเนิดของ Connectivity

                สังคมก่อน 30 ปีที่แล้วแบ่งเป็นช่วงดังนี้

                ปี 1945-1989  ประเทศต่างๆมีการแบ่งเป็นกลุ่ม

                กลุ่มที่สหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ

                กลุ่มที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ

                โลกาภิวัตน์แผ่ขยายข้อมูลและความรู้จากกลุ่มประเทศที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ  สามารถอธิบายได้โดยระบบจะทำให้สังคมฉลาดหรือโง่ได้ ระบบคอมมิวนิสต์ทำให้สังคมโง่ใช่หรือไม่ มีประเทศคอมมิวนิสต์ใดที่สามารถยิ่งใหญ่ได้โดยไม่ต้องสร้างอาวุธปรมาณู คอมมิวนิสต์มีทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง ถ้าจีนไม่เป็นทุนนิยม ก็ยังจะเป็นสังคมโง่อยู่ ทุกวันนี้จีนฉลาดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ เกาหลีใต้เจริญกว่า มี GDP ต่อหัวมากกว่าเกาหลีเหนือเป็นสิบๆเท่า เกาหลีเหนือนำเงินไปทำได้อย่างเดียวคืออาวุธปรมาณู ตัวอย่างดังกล่าวเป็นชัยชนะของทุนนิยม คอมมิวนิสต์หลอกประชาชนว่าจะกระจายรายได้ แต่ในความเป็นจริงคือกระจายความยากจน กอร์บาชอฟก็ยอมรับเองว่า ระบบคอมมิวนิสต์ล่มสลายแล้ว

                ตั้งแต่ปี 1989 มีการเปลี่ยนแปลงมากมายจากกลุ่มประเทศ 2 ค่าย กลายเป็นสงครามเย็น หลังสงครามเย็น คอมมิวนิสต์เปลี่ยนเป็นทุนนิยม แล้วนำมาสู่การเลือกตั้ง ปัจจุบันนี้มีประเทศคอมมิวนิสต์เต็มรูปแบบ 2 ประเทศคือ คิวบาและเกาหลีเหนือ แสดงว่า โลกเปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า ประเทศต่างๆจะต้องมีเอกชนเป็นผู้นำ ทหารจะค่อยๆหมดพลัง

                ปี 1990 คอมมิวนิสต์ล่มสลาย มีความหมาย  3 ประการ

                1.เปลี่ยนจากคอมมิวนิสต์ทางการเมืองมาสู่ระบบการเลือกตั้ง

                2.เปลี่ยนจากระบบสังคมนิยมคือมีรัฐเป็นเจ้าของกิจการมาสู่เอกชนเป็นเจ้าของกิจการ

                3.สหภาพโซเวียตแตกออกเป็น 15 ประเทศ ได้แก่ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิจสถาน เติร์กเมนิสถาน ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย ยูเครน จอร์เจีย เบลารุส อาร์มีเนีย มอลโดวา อาเซอร์ไบจาน รัสเซีย ส่วนยูโกสลาเวีย (แตกเป็น 7 ประเทศคือ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โครเอเชีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกร สโลวีเนีย มาซิโดเนีย โคโซโว) ส่วนเชคโกสโลวาเกีย (แตกเป็น 2 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเช็กและประเทศสโลวาเกีย)

                วิธีการจำชื่อประเทศ ทำโดยใช้การเชื่อมโยง

                1.เริ่มต้นด้วยประเทศที่ลงท้ายด้วยคำว่า “สถาน” ก่อน คือ อุซเบกิสถาน คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิจสถาน เติร์กเมนิสถาน

                2.ประเทศที่เป็นสมาชิกอียู คือ ลัตเวีย เอสโตเนีย ลิทัวเนีย

                3.ประเทศกลุ่มพลังงานคือ ยูเครน จอร์เจีย

                4.จำแค่ 4 ประเทศที่เหลือคือ เบลารุส อาร์มีเนีย มอลโดวา อาเซอร์ไบจาน

                การจำแบบนี้ถือเป็นการคิดเป็นระบบ System Thinking

                การเกิดประเทศเหล่านี้นำไปสู่ความล่มสลายของประเทศไทย สมัยก่อนไทยไม่ต้องแข่งกับใคร มีประเทศต่างๆมาลงทุนเพราะค่าแรงถูก เมื่อมีประเทศเกิดใหม่ ก็ต้องมาแข่งกับประเทศเหล่านี้ซึ่งมีค่าแรงที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังมีประเทศในแอฟริกาและละตินอเมริกาซึ่งเคยมีปัญหาทางการเมือง ก็เข้ามาแข่งในยุคโลกาภิวัตน์ ในช่วงวิกฤติปี 1997 ส่งออกครั้งแรกของไทยติดลบในรอบ 14 ปี

                เมื่อกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ล่มสลาย เกิดการขยายตัวของสินค้า

                โลกาภิวัตน์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก

                1.โลกาภิวัตน์ในทางการเมือง เช่น ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาเกิดการขยายตัวของระบบการเลือกตั้ง ประเทศที่มีการเลือกตั้งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม

                กลุ่มที่ 1 ประชาชนฉลาด จึงเกิดการถ่วงดุล รัฐบาลโกง ก็ไล่ออกได้

                กลุ่มที่ 2 ประเทศที่รัฐบาลถูกไล่แต่ไม่ออกจากตำแหน่ง จึงทำให้เกิดการยึดอำนาจ

                กลุ่มที่ 3 มีกองทัพประชาชน เกิดสงครามกลางเมือง

                ในอีก 30 ปี จะเกิดการขยายตัวของเรื่อง สิทธิมนุษยชน

                ในอีก 10 ปี ประเทศจีน เกาหลีเหนือ คิวบา เวียดนาม ลาว ต้องเปลี่ยน

                2.โลกาภิวัตน์ในทางเศรษฐกิจ ทำให้อาหารไทยไปสู่ทั่วโลก ทำให้คนมาลงทุนมาก เกิดตึกสูงจำนวนมาก เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง คนไทยรวยขึ้น รถติด คนจึงคิดซื้อตึกทำคอนโดมีเนียม มีชาวต่างชาติมามากขึ้น ทำให้เกิดการบริโภคอาหารต่างชาติมากขึ้น ชาวต่างชาติมาอยู่ประเทศไทยนานๆก็แต่งงานกับคนไทย เกิดการบริโภคอาหารลูกผสม ทำให้ร้านอาหารไทยดั้งเดิมมีปัญหา ร้านอาหารลูกผสมสมัยใหม่ขายดี

                เมื่อเกิดการแข่งขัน สามารถทำนายได้ว่า จะเกิดการเปิดเสรี

ในขณะที่มีโลกาภิวัตน์แผ่ขยาย ความทันสมัย ก็มีการแผ่ขยายของของโบราณ เช่น กาแฟโบราณ

สินค้าใหม่มาจากทั่วโลก เข้ามาแข่งขัน โลกการศึกษาเปลี่ยนไป ต้องมีวิชาใหม่ เช่น Feminism, Human Right, Peace บางครั้งบางคณะเปลี่ยนไป บรรณารักษ์หายไป

                จากเรื่องโลกาภิวัตน์ สามารถทำนายเรื่อง European Economic Community (EEC) ได้ ซึ่งเกิดที่ฝรั่งเศสเมื่อปี 1957 ในเมืองไทย ธุรกิจต่างๆก็มีการ Take over และ Merger ทำให้ธุรกิจต่างๆ มีการขยายตัว

ในปี 1989 มหาเธร์ โมฮัมหมัดมองเห็นแนวโน้มการรวมกลุ่มประเทศ จึงได้ทำแผนยุทธศาสตร์มาเลเซีย  30ปี ประเทศไทยก็ได้แรงบันดาลใจนี้ทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี หนึ่งในมาตรการของแผนยุทธศาสตร์มาเลเซีย  30 ปีคือส่งเสริมการรวมกลุ่มซึ่งมีระดับคือ การเปิดการค้าเสรี สหภาพศุลกากร ตลาดร่วม เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจ ในปี 1989 มหาเธร์ โมฮัมหมัดรู้ว่า อาเซียนต้องไปสู่สถานะที่คล้ายกับ EFTA จึงไปพบนายอานันท์ ปันยารชุนและนายลีกวนยู  เกิดเป็น AFTA เมื่อประเทศต่างๆ ในอาเซียนเป็นเขตการค้าเสรี AFTA กำแพงภาษีสินค้านำเข้าระหว่างประเทศสมาชิกจะเป็น 0 ปัญหาคือ คนไทยไม่ทราบว่า AEC คืออะไรจำได้แต่คำจำกัดความ

เมื่อมีการเปิด AEC จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานใน 8 สาขาอาชีพ ประกอบด้วย กลุ่มสุขภาพ (แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (สถาปนิก วิศวกร นักสำรวจ) กลุ่มอื่น (บัญชี ท่องเที่ยว) หลักการคือ การใช้ภาษาเป็นสัญลักษณ์ในการเชื่อมโยงจะทำให้อ่านหนังสือแล้วจำได้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยหาตัวเชื่อมระหว่างอาชีพ แบ่งเป็นกลุ่มอาชีพแล้วจำ จะทำให้จำได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เวลาอ่านหนังสือควรถามตนเองว่า มีความเกี่ยวข้องกับเล่มอื่นอย่างไร ได้บทเรียนอะไรจากหนังสือ สรุปเป็นประโยคสั้นๆสองบรรทัด เวลาจำไวยากรณ์ของฝรั่งเศสได้ก็จะสามารถนำไปเชื่อมโยงกับไวยากรณ์สเปน ภาษากับปรัชญาก็มีความสัมพันธ์กัน การละครก็นำมาใช้ในการสื่อสาร

                GATT เป็นผู้นำในการเปิดเสรี การเปิดการค้าเสรีทำให้เหมือนอยู่ในประเทศเดียวกัน สินค้าต่างๆไม่มีการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี ก่อนที่จะมี AFTA สินค้าต่างๆ มีการเก็บภาษีนำเข้า แต่เมื่อมี AFTA สินค้าต่างๆต้องมีการระบุแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin) ใน AFTA ใช้ 40% หมายถึง สินค้าสามารถแปลงสัญชาติได้เมื่อมาตั้งฐานการผลิตในกลุ่มประเทศอาเซียน การค้าระหว่างประเทศกลุ่มอาเซียนจึงขยายตัว และการค้าในกลุ่มอาเซียนจะพุ่งเป็นพันๆเปอร์เซ็นต์ การค้านอกกลุ่มลดลง

                AEC ทำให้เกิดฐานการผลิตร่วม

ตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปัจจุบัน อัตราการเจริญเติบโตของไทยอยู่ที่ 3.8% ทุกประเทศในอาเซียนมีอัตราเติบโตมากกว่าไทย

อาเซียนตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1967 แต่มารวมกันเป็น AFTA ในปี 1993 เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทำให้ได้เปรียบเชิง Economy of Scale เมื่อประเทศต่างๆต้องติดต่อใกล้ชิดกัน เกิด E-ASEAN ต้องมีการปรับกฎหมายให้สามารถช่วยกันได้ ลดความเหลื่อมล้ำกันในกลุ่มอาเซียน

                ต่อมาเกิดเขตการค้าเสรี อาเซียนบวกจีน อาเซียนบวกสาม ซึ่งเพิ่มญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มาด้วย อาเซียนบวกหก ซึ่งเพิ่มออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย

                 เมื่อประเทศต่างๆเป็นเขตการค้าเสรี ก็สามารถทำนายได้ว่า ประเทศเหล่านี้ต้องร่วมมือกันด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น สินค้าไทยส่งไปที่ลาว แม้ภาษีนำเข้าเหลือ 0 แต่ถนนของลาวแย่ ส่งสินค้าไปกัมพูชา รถไฟคนละราง ก็ต้องร่วมมือกันเป็นสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เมื่อเกิด AFTA ก็เกิด IMT-TG ซึ่งประกอบด้วย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ในปี 1994-1995 ไทยร่วมมือกับมาเลเซียสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

แต่ก่อนมี GMS คือ 5 ประเทศในอาเซียนบวกยูนนาน แล้วมีระเบียงเศรษฐกิจ (Economic Corridors)

1. แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) หรือเส้นทาง R9 มีเส้นทางตั้งแต่ ดานัง เว้ สะหวันนะเขต มุกดาหาร ขอนแก่น พิษณุโลก แม่สอด เมียวดี ไปมะละแหม่ง ออกทะเล

2.แนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ มี 3 เส้น เกี่ยวข้องกับไทย 1 เส้นคือ จากยูนนาน ผ่านเชียงรุ้ง ลงมาไทยที่เชียงของ เชียงราย ลงมากรุงเทพแล้วไปมาเลเซีย

                ในอนาคต รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดก็ต้องสร้างรถไฟความเร็วสูง

                แนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ มีการเชื่อมโยง One Belt One Road ของจีน

                2 เส้นแรก เป็น Silk Road เก่า

เส้นที่ 1 จากปักกิ่งไปมอสโคว ผ่านไปยุโรปตะวันออก ไปอังกฤษ

เส้นที่ 2 จากปักกิ่งไปตะวันออกกลาง

เส้นใหม่ 2 เส้นคือ

เส้นทางใต้ ไปทางเอเชียใต้ ออกทะเลเมดิเตอเรเนียน

อีกเส้น ไปจากทะเลจีนใต้ ออกไปทวีปแอฟริกา

ทำให้สามารถทำนายอนาคตได้ว่า

1. การค้าชายแดนจะพุ่งขึ้นเป็นพันๆ เปอร์เซ็นต์

2.ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

3.เส้นทางคมนาคมในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา รวมเรียกว่า ระเบียงตะวันออก

4. อีก 20 ปีข้างหน้า จะสามารถเดินทางจากสิงคโปร์ มาที่มาเลเซีย ผ่านไทย ไปเมียนมา ลาว ยูนนาน

5.มหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนแปลงไปมาก มีชาวต่างชาติมาเรียนมากมาย เนื้อหาวิชาต้องเน้นความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ต้องมีเรื่องกฎหมายมาเกี่ยวข้อง

6.ประเทศเกิดใหม่จะเข้ามาแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น ทำให้มีการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น เกิดภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำท่วมโลก ที่ดินจึงน้อยลง เกิดปัญหาสังคม คนมีที่ดินทำกินน้อยลง คนกับสัตว์อยู่ใกล้กันมาก เกิดการบุกรุกป่า

                เมื่อโลกเข้ายุค 4.0 ผสมผสานดิจิตอล กับไบโอเทค  นาโนเทคโนโลยี Physical

                Internet of Everything นำไปสู่ยานพาหนะที่ไม่มีคนขับ ทำให้คนขับแท็กซี่และอูเบอร์ตกงาน รถจะขายได้น้อยลงเพราะจะเปลี่ยนจาก Ownership เป็นเช่ารถ คนไม่จำเป็นต้องขับรถ รถจึงว่างมากขึ้น จึงเป็นการเช่ารถ

                ในเรื่อง Robotics ประเทศไทยทำ Robot ได้แค่ชิพ แต่ Robot มีหลายประเภท  ประเทศไทยยังทำระบบแอนดรอยด์ไม่ได้ จึงมีปัญหา เมื่อมี Robot จะทำให้คนตกงานจำนวนมาก เช่น พนักงานแคชเชียร์ พนักงานเสิร์ฟ คนงานในโรงงาน

                อีก 20-30 ปีข้างหน้า โรงไฟฟ้ากับปั๊มน้ำมันจะแย่ เพราะคนจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทุกคนเห็นความจำเป็นในการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ประเทศผู้ค้าน้ำมันจะลำบาก

                Material Science จะทำให้เกิดสินค้าบางเหมือนแพรแต่แข็งเหมือนเหล็ก ถ้าสินค้าอื่นไม่มีการปรับตัว ก็จะขายไม่ได้

                ระบบการแพทย์เปลี่ยนจากการรักษามาเป็นการป้องกัน

                เมื่อมี E-commerce ก็สามารถจะทำนายได้ว่า ร้านค้าอาจจะต้องปิดกิจการ ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทที่ผลิตสินค้า Organic ทุกอย่าง ซึ่งมีลูกค้าสั่งซื้อทาง E-commerce แล้วทางบริษัทก็มาส่งสินค้า

                สิ่งที่จะเกิดกับ E-banking คือ หลังจากนี้ไป 3-5 ปี จะมีการลดจำนวนพนักงานในธุรกิจการเงิน การธนาคารและประกันภัย ตึกต่างๆที่เคยเป็นสำนักงานของธุรกิจเหล่านี้จะมีปัญหา ธุรกิจการเงิน การธนาคาร ประกันภัยจะเปลี่ยนไป เกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการ One-stop Service บรรดาธนาคารจึงไม่ Stand alone แต่ต้องเข้าไปอยู่ในห้างสรรพสินค้า นอกจากนี้ความต้องการธนาคารมีน้อยลงเพราะลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่างๆได้เอง Artificial Intelligence จะทำให้ระบบการเงินเปลี่ยน มี FinTech เข้ามา ตอนนี้มีการทำ Application แนะนำการลงทุน ในอนาคต ที่ปรึกษาการลงทุนจะตกงาน  ผู้เชี่ยวชาญไอทีจะหันมาเรียนด้านการเงินมากขึ้น

                Blockchain เป็น Public Ledger ที่คน 7,200 ล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าได้ ใน Blockchain ทุกคนมีกุญแจดอกหนึ่งเรียกว่า Public Key Infrastructure (PKI) สามารถเปิดและปิดได้ กรณีที่มีคนขอกู้เงิน ผู้ให้กู้ก็สามารถตรวจสอบ Block ของผู้กู้ได้ และผู้ให้กู้แต่ละรายก็อาจจะให้เงินจำนวนหนึ่งรวมกันจำนวนมากพอเท่ากับที่ผู้กู้ต้องการได้ ปรากฏการณ์นี้ข้ามธนาคารและตลาดหลักทรัพย์กลายเป็น Cloud Funding ถือเป็น Financial Blockchain ต้นทุนทางการเงินจะต่ำมาก ในอีก 10 ปีข้างหน้า ธนาคารและตลาดหลักทรัพย์จะเปลี่ยนโฉมอย่างมหาศาล  

                 ในอนาคตจะมี Non-financial Blockchain คือเวลาที่ชาวต่างชาติมาลงทุนไม่ต้องนำเงินมาแต่สามารถซื้อของได้ ตอนนี้ร้าน Starbucks กำลังแข่งกับธนาคารอยู่ ลูกค้าสามารถซื้อกาแฟโดยไม่ต้องจ่ายเงินสด แต่หักจากเงินที่ฝากไว้ร้านก่อนหน้านี้ได้ ส่วนเงินที่เหลือก็เก็บไว้เป็นค่ากาแฟครั้งต่อไป

                มีหลายคนกังวลว่า จะมีการรบกันระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนและรัสเซีย เมื่อวิเคราะห์แล้ว ไม่น่าจะเป็นสงครามโลก แต่อาจจะเป็นสงครามจำกัดขอบเขต  จากทฤษฎีเกม คนฉลาด (มี Logic) เลี่ยงทฤษฎีเกมศูนย์ที่มีผลแพ้ชนะ ยกเว้นแต่ว่า สามารถเอาชนะได้หรือไม่มีทางเลือกจึงต้องสู้  ทั้งสามประเทศนี้อาจจะแข่งขันด้านอื่นแทน เช่น การค้า หรืออาจจะแต่เผชิญหน้ากันแต่ไม่รบ

                เรื่องที่บรรยายเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ประเทศไทยแพ้เวียดนามเรื่องการอ่านหนังสือ ถ้าใช้สมองอ่านหนังสือ จะสามารถเห็นชีวิตได้ ถ้าเห็นร้านสุกี้ในห้าง ก็มองเห็นว่า ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องเป็น One-stop Service สามารถขายกลางคืนและเสาร์อาทิตย์ได้  โรงหนังก็กลายเป็น Entertainment Complex ลูกค้าชอบกินอาหารบุฟเฟต์ สะท้อนถึงความหลากหลาย ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรมีหลักสูตรหลากหลาย ดิจิตอลทำให้ลูกค้ามีอำนาจและมีทางเลือกที่หลากหลายในด้านสินค้าและบริการ

                สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นแล้วและกำลังจะเกิดต่อไป ทุกเรื่องควรตั้งคำถาม Why? หลักการคิด Organic Thinking คือ ทุกอย่างมีสัญญาณ บ่งบอกประกอบการวิเคราะห์และหาคำตอบ ซึ่งสามารถช่วยจำสิ่งต่างๆได้มากมาย

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2560

Learning Forum หัวข้อ Creative & Innovative Thinking กับ การพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: วิเคราะห์สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นและการมองเป้าหมายร่วมกัน

โดย     อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

CLO (Chief Learning Officer)

บริษัท กบเหลาดินสอ จำกัด

 กิจกรรม

1.คิดคำถามว่า ต้องการถามอะไรวิทยากร

2.แต่ละกลุ่มหารือกันในกลุ่มเพื่อเลือกคำถาม

คำถาม

กลุ่ม 4

ทำอย่างไรดูอายุเยาว์วัย

ตอบ

1.อารมณ์ดี ทำให้สดใส

2.ออกกำลังกาย

เป็นคำถามที่ดี มีประโยชน์

วิทยากรถามกลับ

กลุ่ม 4

ออกกำลังกาย

กลุ่ม 3

ทำไมเป็นวิทยากรด้านนี้

ตอบ

มีปมจากการทำงานกับชาวต่างชาติ พบว่า เขาสบประมาทว่าคนไทยคิดไม่เป็น เพราะไม่แสดงความคิดเห็น

แต่มาจากระบบการสอนไทยที่เน้นให้ท่องจำ ไม่แสดงความคิดเห็น ไม่ส่งเสริมให้ถาม

ตั้งใจว่า ต้องการแก้ปมนี้ จึงศึกษาเรื่องความคิดสร้างสรรค์ บางคนมี บางคนไม่มี คิดได้บางวัน จึงค้นคว้าห้องสมุด จึงไปเรียนที่อเมริกา จึงพบว่ามี CEF สกัดกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ แล้วนำมาใช้ที่ไทย เกิดหลักสูตรคิดคร่อมกรอบ แล้วเริ่มถ่ายทอด แก้ปมทีละนิดทำให้คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น ตอนหลังสอนออนไลน์ เป็นหลักสูตรภาวะผู้นำสร้างสรรค์

วิทยากรถามกลับ

กลุ่ม 3

เทคนิคการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่ช่วยวงการสาธารณสุข ต้องเรียนให้ได้ดี อยากจะทำวิชาชีพนี้ให้ดี

กลุ่ม 2

อะไรเป็น innovation ดีสุดและแย่สุด

ตอบ

แบบดี วันหนึ่ง เวลาที่สอน ผู้ร่วมสัมมนามักมีอีโก้ โดยเฉพาะ แพทย์ อาจารย์ จึงมีโจทย์ที่จะเปิดฝาตุ่มได้ คนมีอีโก้มากเหมือนฝาตุ่มปิด จึงคิดหาความคิดใหม่ในการลดอีโก้ ดูตัวอย่างโรงหนัง ก็มีการยืนตรง ตอนมีเพลงสรรเสริญพระบารมี อัญเชิญพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ส่งเสริมให้ไม่หยุดยั้งการศึกษาหาความรู้ ทำให้ได้บทเรียนว่า ความคิดสร้างสรรค์สามารถเกิดได้ทุกเวลา งานยุ่งไม่ใช่อุปสรรคในการคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดใหม่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา ทำให้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าช่วงที่งานไม่ยุ่ง ความคิดสร้างสรรค์เกิดจากเชื่อมโยงสิ่งในใจและสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น

แบบแย่

เคยคิดอยากให้คนเรียนนำความรู้กลับไปใช้ ก็ต้องมีการสรุปจบแบบสะกิดใจ ในตอนที่วิ่งตอนเช้า พบพระบิณฑบาต มีคนใส่บาตร ได้รับพรจากพระ แล้วกลับมาที่สัมมนาการขาย คนเรียนบอกว่า เก่งแล้ว แต่ยังไม่รู้สึกเฮง จึงนิมนต์มาให้พร พรมน้ำมนต์ พระให้ศีล แล้วเทศน์เรื่องการดื่มปัสสาวะ คนไม่เข้าใจ จึงแก้ปัญหาให้มาพรมเฉยๆ

บทเรียน ความคิดใหม่เกิดในใจ การนำความคิดมาปฏิบัติครั้งแรกอาจไม่ได้ผล แต่ครหาทางปรับเปลี่ยน

กลุ่ม 1

ประสบการณ์ที่เรียนที่อเมริกาเป็นอย่างไร

ตอบ

ภาษาไม่ดีมาก เมื่อไปด้วยวีซ่านักเรียน เรียนภาษา 3 เดือน เพื่อสอบโทเฟลใหม่ แล้วสอบใหม่ก็ยังได้คะแนนไม่ถึง มหาวิทยาลัยไม่สามารถรับเข้าเรียนได้ จึงไปขอจดหมายรับรองจากลูกค้าที่เป็นดร.ไปส่งที่คณบดีเพื่อขอโอกาสเรียน เมื่อเรียนปริญญาโทที่อเมริกา ต้องมีการนำเสนอ จึงกล่าวเปิดตัวว่า ขออภัยที่ภาษาไม่ดีแต่จะพยายามนำเสนอให้ดีที่สุด จึงได้รับเสียงตบมือ

วิทยากรถามกลับ

1.ประทับใจที่ได้ทุนเรียน

2.ได้ไปทำงานที่ต่างประเทศ

 

วิทยากรสรุปบทเรียนจากคำถาม

การตามล่าจากลูกค้าอเมริกันเป็นความคิดสร้างสรรค์ เกิดขึ้นเมื่อพบปัญหา อย่าหยุดคิด

 

กลุ่ม 5

ทำไมทำงานเอกชน ไม่ทำงานราชการ

ตอบ

รักอิสระ คิดนอกกรอบ เคยคิดว่า ทำงานเอกชนได้เงินมากกว่า

แต่ตอนอายุมาก อยากเป็นข้าราชการ เพราะชีวิตมั่นคงดี

วิทยากรถามกลับ

ตอนเรียนจบ ก็ทำงานเอกชน อยากเรียนจบปริญญาเอก จึงมาเป็นอาจารย์ จะมีโอกาสสูงกว่า

 

กิจกรรม

1.เขียนคำถามที่ต้องการทราบเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ แล้วลงท้ายด้วยชื่อที่ไม่ใช่ชื่อจริงและไม่ใช่ชื่อเล่น พร้อมทั้งเลขรหัส 4 ตัว

2.แลกคำถามกับคนต่างกลุ่ม เมื่อได้คำถามใหม่ พยายามคิดหาคำตอบ

3.จับคู่กับอีกคน เปรียบเทียบคำถาม แล้วให้คะแนนแต่ละคำถาม ทั้งสองคำถามจะมีคะแนนรวมกัน 7 คะแนน โดยบางคะแนนมากกว่าให้กับคำถามที่ดี คะแนนที่เหลือจะเป็นของคำถามที่ไม่ดี เขียนหลังกระดาษเป็นคะแนนครั้งที่ 1

4.หาคู่ใหม่ แล้วแบ่งคะแนนจาก 7 คะแนนให้แต่ละคำถาม เขียนหลังกระดาษเป็นคะแนนครั้งที่ 2

5.หาคู่ใหม่ แล้วแบ่งคะแนนจาก 7 คะแนนให้แต่ละคำถาม เขียนหลังกระดาษเป็นคะแนนครั้งที่ 3

6.นำคะแนนทั้งสามครั้งมารวมกัน เพื่อเลือกให้วิทยากรตอบตามอันดับคะแนนจากมากไปน้อย

 

 

คำถาม 15 คะแนน

มีวิธีการอย่างไรให้ความคิดสร้างสรรค์โดนใจคนอื่นด้วย

ตอบ

ต้องทำให้เจ้านายเห็นด้วย

สิ่งที่พบคือ เจ้านายถามว่า ใช้งบเท่าไร ทำได้จริงหรือ คิดได้อย่างไร ทำแล้วได้อะไร เป็นไปได้หรือ บางครั้งให้ทำทันที

มีทั้งอัศวินและเพชฌฆาตความคิด

 

วิทยากรถาม

ทำไมเวลาเสนอความคิดใหม่จึงเจอเพชฌฆาตความคิด

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่ม 2

1.กลัวการเปลี่ยนแปลง

2.ไม่อยากทำ

3.มีกรอบตนเอง

4.มีประสบการณ์มาก่อน

กลุ่ม 3

กลัวทำไม่สำเร็จ

กลุ่ม 1

ไม่อยากออกจาก comfort zone

ไม่มีหลักฐานว่าจะสำเร็จได้อย่างไร

กลุ่ม 4

กลัวการเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 5

กลัวเสียหน้า

บทเรียน

เหตุผลที่สำคัญสุดคือกลัวเสียหน้า แต่ภาครัฐมีปัญหานี้มากกว่า เพราะเน้นระบบอาวุโส

ข้อเสนอแนะ

เสนอความคิดใหม่ที่ไม่ทำให้เสียหน้า แต่เป็นการสนองความพึงพอใจให้หัวหน้า

 

กิจกรรม แสดงบทบาทสมมติหัวหน้าและลูกน้อง

สถานการณ์ ลูกน้องเสนอขอใส่เสื้อยืดสอนหนังสือ

การพบกันครั้งที่ 1

1.ลูกน้องกล่าวว่า สัมมนาดี แต่บรรยากาศไม่สดใส จึงอ้างอิงความต้องการที่หัวหน้าต้องการให้สร้างบรรยากาศการเรียนที่ไม่เครียด

2.หัวหน้าถามเกี่ยวกับรายละเอียดคนเรียน

การพบกันครั้งที่ 2

ลูกน้องรายงานว่าตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมาเสนอ ขอให้วิทยากรใส่เสื้อยืดสอนหนังสือ

หัวหน้าแนะนำให้ดูความเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่รู้สึกสบายด้วย

ลูกน้องสรุปว่า ต้องการให้แต่งกายสบายแต่มีเหตุผล

หัวหน้าบอกให้ไปถามเพื่อนๆมานำเสนอผล

การพบกันครั้งที่ 3

ลูกน้องรายงานผลการสำรวจความคิดเห็น แล้วเสนอว่า ใส่เสื้อยืดในเบรกที่สอง เพื่อให้มีที่มา จะใช้เสื้อยืดเป็นสื่อการสอน มีการสกรีนชื่อวิชาที่เสื้อ

หัวหน้าถามชื่อเรื่องที่บรรยาย

ลูกน้องตอบว่า เรื่องความคิดสร้างสรรค์ และ presentation

หัวหน้าถามวัตถุประสงค์การอบรม

ลูกน้อง ตอบว่า ให้มีความคิดสร้างสรรค์ และpresent เก่งขึ้น

หัวหน้าถามว่า คนเรียนมาจากไหน

ลูกน้องตอบว่า มีจากในและนอกองค์กร

หัวหน้าถามว่า ได้ข้อมูลจากแบบสอบถามใช่ไหม

ลูกน้องตอบว่า ได้สอบถามคนเรียน

อาจจะเริ่มจากคนในองค์กรเป็นกลุ่มเล็กๆ

หัวหน้าเสนอให้ลองทดลองทำกับหลากหลายกลุ่มคน ค่อยๆทำ  แล้วดูว่า แต่ละ Generation มีความคิดเห็นอย่างไร

บทเรียน

          ทำให้หัวหน้ามีความภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วมใช้ประสบการณ์แนะนำให้ลูกน้องมีความคิดสร้างสรรค์ และหัวหน้ามีความรู้สึกที่ดีต่อลูกน้องว่า ตั้งใจทำงาน

สรุป 5 ขั้นตอนในการนำเสนอความคิดใหม่ๆ ต่อหัวหน้า

1.ทำให้หัวหน้าสั่งให้ลูกน้องคิด แล้วเว้นระยะไป

2.ลูกน้องกลับมานำเสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่ง มีความถ่อมตัวว่า ความคิดอาจจะไม่ดี จึงขอให้แนะนำ

3.ลูกน้องถามหัวหน้าถึงข้อดีของความคิดนั้น

4.ลูกน้องขอให้หัวหน้าสอนเพิ่มเติม แล้วเว้นระยะไป

5.ลูกน้องกลับมานำเสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่งและสอน

ถ้ามีนักศึกษาหรือลูกน้องมาเสนอความคิด ผู้ใหญ่จะต้องใช้หลัก 3 ช.

1.ชื่นชมว่า มีความคิดสร้างสรรค์ดี หรือกล้าเสนอความคิด

2.เชิงบวก บอกว่า ถ้านำความคิดไปปฏิบัติแล้วมีข้อดีอย่างไร

3.ชวนคิดต่อ (ในทางตรงกันข้าม)

วิธีการเหล่านี้เป็นวิธี momentum ซึ่งมีเป็น 1 ใน 4M ความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรม

แต่ละกลุ่มระดมสมองภายในกลุ่ม ถ้าจะมี Creative Ideas ต้องถีบอะไรออกไปบ้าง

 

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่ม 1

EGO

กลุ่ม 2

กรอบความคิด

กลุ่ม 3

ขี้หู เพื่อฟังคนอื่นมากขึ้น

กลุ่ม 4

ความกลัว

กลุ่ม 5

ความคิดว่าทำไม่ได้

สถานการณ์

ลูกน้องรายงานหัวหน้าความคืบหน้าในการดำเนินการตามความคิดสร้างสรรค์ ว่า ผู้เรียนชอบและจำได้ แล้วเสนอว่า จะรายงานเป็นเอกสารต่างๆ

หัวหน้าเห็นชอบว่า ต้องมีเอกสารประกอบการนำเสนอ ต้องดูว่า วิทยากรท่านใดสนใจวิธีนี้บ้าง

ลูกน้องบอกว่า โชคดีที่มีหัวหน้าสั่งให้คิดอะไรใหม่ๆ

 

คำถาม 15 คะแนน

คนที่จะมีความคิดสร้างสรรค์จะต้องมีพรสวรรค์หรือไม่ หรือใช้พรแสวงได้

ตอบ Perception ว่าตนมีพรสวรรค์หรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ คนที่คิดว่าตนมีพรสวรรค์จะทำให้เชื่อมั่นในตนเองและทำได้ดี เวลาที่ให้ยกตัวอย่างนักคิดสร้างสรรค์ คนเรามักคิดถึงคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องและสามารถเป็นได้ในแบบต่างๆดังนี้

นักผจญภัย ESTP, ESFP

ผู้นำทาง ISTJ, ISFJ

ผู้มีวิสัยทัศน์ INTJ, INFJ รหัสนี้หายากที่สุด

นักสำรวจ ENTP, ENFP

นักประดิษฐ์ ISTP, INTP มีความอึดในการคิดมากว่าคนอื่น ไม่ยอมเลิกคิด

นักบิน ESTJ, ENTJ

นักประสานเสียง ESFJ, ENFJ

นักประพันธ์ ISFP, INFP

 

การค้นพบว่าตนเป็นนักคิดสร้างสรรค์ แบบใด วัดจาก MBTI เพื่อค้นพบรหัส 4 หลักดังนี้

Extrovert (E)/Introvert (I)

Sensation (S)/Intuition (N)

Thinking (T)/Feeling (F)

Judging (J)/Perceiving (P)

 

ทุกคนมีพรสวรรค์ในการคิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว แต่ต่างรูปแบบ

 

ปัญหาการคิดสร้างสรรค์

ทุกคนมีความคิดใหม่ แต่ถูกขังด้วยกรอบความคิด เช่น ความกลัว

บางคนคิดทะลุกรอบความคิดแต่ติดกรอบองค์กร

บางคนคิดทะลุองค์กรแต่ติดกรอบสังคม

 

ทางแก้ปัญหา

1.คิดนอกกรอบ ต้องคิดแบบไม่ติดกรอบ โดยข้ามกรอบออกมาก่อน (Divergent Thinking) ซึ่งอาจจะยังนำไปใช้จริงไม่ได้

2.บ่มความคิด (Convergent Thinking) ดึงความคิดให้เข้ามาอยู่ในกรอบสังคมและกรอบองค์กร

          ขั้นตอนการบ่มความคิดให้เป็นความคิดคร่อมกรอบ เป็นพรแสวงในความคิดสร้างสรรค์ เรียกว่า PPCO

          1.Pluses คิดถึงข้อดีของความคิดที่ประหลาด (ความคิดนอกกรอบ) มีตัวอย่างคือ อาจารย์ศรัณย์เห็นเก้าอี้ริมสระน้ำวางอยู่ อยากนำเก้าอี้ริมสระไปไว้ในห้องสัมมนา โดยคิดข้อดีคือ แปลกใหม่ น่าสนใจ นั่งเรียนสบาย

          2.Potentials คิดถึงข้อดีในอนาคต เช่น มีการนำไปใช้ต่อ เป็นภาพที่จดจำ มีการบอกต่อ มีคนสนใจมาเรียนเพิ่ม

          3.Concerns ติด..แต่ว่า..กังวล เช่น งบประมาณ เจ้านาย การขนส่ง ขนาดห้อง ความเหมาะสมกับหลักสูตร

          4.Opportunities หลบ เลี่ยง ทะลุ เช่น เปลี่ยนเป็นเก้าอี้เป่าลม มีร่มสนามกาง ทำเฉพาะหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์และหลักสูตรที่มีคนเรียนน้อย

สรุปแล้ว ทุกคนมีพรสวรรค์ทำให้คิดนอกกรอบได้ แล้วมีการบ่มความคิดให้คร่อมกรอบด้วย PPCO

คำถาม 14 คะแนน

มีการประเมินความคิดสร้างสรรค์อย่างไร

ตอบ

1.เปรียบเทียบข้อบวก ลบความคิดใหม่

2.เปรียบเทียบความคิดเดิม ความคิดใหม่

3.ทำ Pilot test ประเมินผล มีการทำแบบสอบถาม ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 385 ตัวอย่าง มีนัยยะสำคัญ 95% ในขนาดประชากรไม่จำกัด ตามตารางยามาเน่ อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

4.มูลค่า ต้นทุน ค่าเสียโอกาส

คำถาม 13 คะแนน

คนส่วนใหญ่มีความคิดสร้างสรรค์จากการเห็นงานของคนอื่น ทำอย่างไรให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในตน

ตอบ

ความคิดใหม่ๆที่เกิดขึ้นมักเป็นความคิดต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว มาปรับเชื่อมโยงให้ตอบโจทย์ เช่น เรื่องการจัดห้องเรียนสร้างสรรค์ ได้ความคิดมาจากเก้าอี้ริมสระ ไอแพดได้ความคิดมาจากกระดานชนวน อินเตอร์เน็ตได้ความคิดมาจากใยแมงมุม มีน้อยมากที่คิดจากตนเองได้

คำถาม 13 คะแนน

วิธีการคิดสร้างสรรค์มีการคิดอย่างไร

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

          ทำตามหลัก PPCO

1.สลายกรอบความกลัว

2.คิดถึงข้อดี

3.คิดถึงข้อดี

4.คิดถึง Concerns

5.ปรับแปลงความคิดแก้ความกังวล

เมื่อได้ความคิด นำไปเสนอหัวหน้า คล้ายกับการทำ PPCO

1.ทำให้หัวหน้าสั่งให้คิด แล้วเว้นระยะไป

2กลับมานำเสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่ง มีความถ่อมตัวว่า ความคิดอาจจะไม่ดี จึงขอให้แนะนำ

3.ลูกน้องถามหัวหน้าถึงข้อดีของความคิดนั้น

4.ลูกน้องขอให้หัวหน้าสอนเพิ่มเติม แล้วเว้นระยะไป

5.ลูกน้องกลับมานำเสนอความคิดตามที่หัวหน้าสั่งและสอน

ถ้ามีนักศึกษาหรือลูกน้องมาเสนอความคิด ผู้ใหญ่จะต้องใช้หลัก 3 ช. คล้ายกับการทำ PPCO

1.ชื่นชมว่า มีความคิดสร้างสรรค์ดี หรือกล้าเสนอความคิด

2.เชิงบวก บอกว่า ถ้านำความคิดไปปฏิบัติแล้วมีข้อดีอย่างไร

3.ชวนคิดต่อ (ในทางตรงกันข้าม)

คำถาม 13 คะแนน

จำเป็นต้องใช้ทฤษฎีรองรับทุกๆการคิดสร้างสรรค์

ตอบ

ทฤษฎีเกิดจากการทำแล้วสำเร็จ เกิดการทำต่อแล้วไปเผยแพร่เป็นทฤษฎี น่าจะตั้งเป็นทฤษฎีได้

 

 

คำถามสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ

1.ความประทับใจ

2.คำแนะนำในการปรับปรุงให้ดีขึ้น

 

Learning Forum หัวข้อ Effective Presentation & Communication

โดย     อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

 

สถานการณ์ 1 นำเสนอแบบเดิม (Before)

          อาจารย์ศรัณย์แสดงบทบาทสมมตินำเสนอข้อมูลประวัติตัวเองเพื่อสมัครเป็นอาจารย์พิเศษในรูปแบบเดิม ที่ประกอบด้วย ประวัติตอนเด็ก การศึกษา ประสบการณ์การทำงาน ความสำเร็จ เกียรติประวัติ จบด้วยการถามว่ามีคำถามหรือไม่ ถ้าไม่มีก็จบการนำเสนอ

บทเรียนจากการนำเสนอแบบเดิม (Before)

1.เป็นการนำเสนอข้อมูลทุกอย่างที่มี

2.เริ่มต้นและจบแบบด้วน

3.เล่าเรื่องแบบเรียงลำดับเวลาก่อนหลัง

4.เล่าเรื่องแบบเน้นให้ความรู้ไม่ได้สัมผัสลึกลงไปถึงความรู้สึกของผู้ฟัง

5.เป็นการนำเสนอที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่น่าประทับใจ

6.นำเสนอข้อมูลเดียวกันทุกแห่ง

          ต่อมาอาจารย์ศรัณย์ทดลองการนำเสนอแบบใหม่ (After) ดังนี้

          ขั้นวางแผน

          1.มีการวิเคราะห์หัวข้อ และผู้ฟัง

          2.วิเคราะห์ช่วงหลังการนำเสนอ After หมายความว่า หลังจากนำเสนอจบแล้ว คิดว่า ต้องการให้ผู้ฟังทำอะไร และถ้าผู้ฟังจะทำสิ่งนั้น เขาต้องคิด รู้สึกและเชื่อว่าอะไร เพราะ 3 ปัจจัยนี้เป็นเหตุของพฤติกรรม

          3.วิเคราะห์ช่วงก่อนการนำเสนอ Before คือการวิเคราะห์ว่า ก่อนการนำเสนอ ผู้ฟังมีสภาวะทั้ง 4 อย่างไร

3.1 คิดว่าอะไร

3.2 รู้สึกอะไร

3.3 เชื่อว่าอะไร

3.4 ทำอะไร

          4.นำผลวิเคราะห์ช่วงก่อนและหลังการนำเสนอมาเปรียบเทียบหาความแตกต่าง ก็คือ ช่องว่าง

          5.นำช่องว่างมาเติมเต็มเพื่อให้เกิดสภาวะที่ต้องการให้เกิดขึ้นหลังการนำเสนอ After โดยนำเฉพาะหัวข้อ (Main Message) ขึ้นมา

          6.วิเคราะห์ช่วงระหว่างการนำเสนอ During ดังนี้

                   6.1 Main Message ประเด็นหลัก

                    6.2 Supporting Point ประเด็นสนับสนุน เรียงตามลำดับ

                   6.3 Q&A เปิดโอกาสให้ถาม

                   6.4 สรุป

          7.ประเมิน Ending ว่า จะจบอย่างไร

          ขั้นเริ่มต้นนำเสนอโดยทำตามหลัก RAMP ประกอบด้วย

1. Rapport ทำความคุ้นเคย

2. Attention ทำเรื่องที่นำเสนอให้น่าสนใจ

3. Main Message

4. Plan

สถานการณ์ 2 นำเสนอแบบใหม่ (After)

อาจารย์ศรัณย์นำเสนอโดยเริ่มจากคิดว่า ต้องการผลอย่างไร หลังจากนำเสนอ (After) เช่น ต้องการให้มีการนัดหมายทดสอบการสอน ทำโดยต้องทำให้อาจารย์ผู้เป็นกรรมการคัดเลือกอาจารย์พิเศษ

1.คิดว่า คุณภาพดี

2.รู้สึกว่า ประทับใจ

3.เชื่อว่า สอนได้ดี

ต่อมา อาจารย์ศรัณย์คิดว่า ก่อนนำเสนอ (Before) อีกฝ่ายหนึ่งคืออาจารย์ผู้เป็นกรรมการคัดเลือกอาจารย์พิเศษคิดอย่างไร เช่น

1.คิดว่า คุณภาพไม่ดี

2.รู้สึก เฉยๆ

3.เชื่อว่า ไปได้กี่น้ำ

4.ทำ ทราบว่ามีประสบการณ์การสอนหรือไม่

แล้วอาจารย์ศรัณย์นำ Before และ After มาเปรียบเทียบ ทำให้ทราบช่องว่างที่ต้องการเติมในการนำเสนอ ซึ่งต้องเน้น

1.เปลี่ยนคุณภาพให้ดี ทำได้โดย ใช้เทคนิคการสอนดี

2.สร้างความรู้สึกประทับใจโดยใช้ประสบการณ์ ความดีจากการเป็นลูกครูและเคยบวช บุคลิกดี

3.เปลี่ยนให้เชื่อว่า ทำได้ดี อาจจะนำ Feedback ที่เคยได้รับมาอ้างอิง

 กำหนด Main Message พร้อมด้วยประเด็นสนับสนุนดังนี้

 

Main Message

ประเด็นสนับสนุน

เทคนิคการสอนดี

1.บุคลิกดี

2.เรียนมาจาก ASTD

3.ลีลา

ความเป็นคนดี

1.การเป็นลูกครู

2.เคยบวช

Feedback (ความคิดเห็นจากบุคคลอ้างอิง)

1.จากศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

2.จากผู้เรียน

3.จากอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ในตอนจบ (Ending) ทำให้มีการนัดวันทดสอบการสอน อาจจะมีการดูตารางเวลา

นำเสนอโดยทำตามหลัก RAMP ประกอบด้วย

1. Rapport ทำความคุ้นเคย เป็นกันเอง สร้างความไว้วางใจและรู้จักกัน

2. Attention ทำเรื่องที่นำเสนอให้น่าสนใจ บอกว่าครูคือแม่พิมพ์ของชาติ อาจารย์ต้องเลือกอย่างละเอียด สิ่งที่จะพูดต่อไปเกี่ยวกับคุณภาพนักศึกษา ถือเป็นการเรียกความสนใจ

3. Main Message เช่น เทคนิคการสอน ความเป็นคนดี Feedback ที่เคยได้รับ

4. Plan เช่น ช่วงเวลา และแจกเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง ให้เวลานัดหมาย

 

กิจกรรม เปรียบเทียบการนำเสนอ 2 รูปแบบ พร้อมระบุข้อดีข้อเสีย

 กลุ่ม 1

 

Before

After

ไม่วางแผน

เห็นภาพมิติเดียว

มีการวางแผนชัดเจน

เห็นมิติต่างๆของวิทยากร สามารถตัดสินใจเลือกเป็นอาจารย์ได้

 

กลุ่ม 2

 

Before

After

ใส่ข้อมูลทุกอย่าง

 

เลือกนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เติมเต็มความต้องการผู้ฟัง

ใช้เวลา สั้นกระชับ มีเอกสารแนบให้ดูเพิ่มเติม

 

กลุ่ม 3

 

Before

After

นำเสนอทุกอย่าง

นำเสนอแบบ Show off มากไป ไม่ตรงความต้องการผู้ฟัง

ผู้ฟังได้ประเด็นชัดเจน จับประเด็นได้เร็ว

เนื้อหามีการสร้างคุณค่าให้ตนเองทำให้น่าสนใจ

 

กลุ่ม 4

 

Before

After

สนใจแต่สิ่งที่ตนต้องการนำเสนอ

สนใจผู้ฟัง

มีการเชื้อเชิญในสิ่งที่อยากจะให้จบลง

มุ่งให้เกิดการกระทำหลังจากจบการนำเสนอ (Action-oriented)

 

กลุ่ม 5

 

Before

After

ผู้พูดใช้เทคนิคการพูดฝ่ายเดียว

มีการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ทำให้คนฟังเลือกรับข้อมูล

มีบุคคลอ้างอิงทำให้ผู้ฟังคล้อยตาม

 

          บทเรียนที่ได้จากการนำเสนอแบบ After

ถ้าต้องการให้ผู้ฟังทำอะไร ต้องเน้นสิ่งนั้นเป็นสิ่งสุดท้าย

          มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟังเพราะวางแผนเน้นผู้ฟัง 

การนำเสนอที่ดีต้องใช้เทคโนโลยีได้เหมาะสม มีวีดิโอคลิปรับรองจากบุคคลอ้างอิง

ต้องมีการวางแผนว่า หลังจากการนำเสนอจบ ผู้ฟังจะต้องทำอะไรต่อ ต้องมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในผู้ฟังดำเนินการต่อ

เอกสารต้องให้รายละเอียดมากกว่า การนำเสนอไปสัมผัสความรู้สึก ควรเริ่มด้วยสัมผัสความรู้สึกแล้วหาเหตุผลมาสนับสนุน ช่วยให้ผู้ฟังคล้อยตามแล้วทำตาม

สรุป

After สะกิดความรู้สึกให้ผู้ฟังหาเหตุผลมาสนับสนุนความรู้สึกนั้นแล้วจะทำตามที่ผู้พูดต้องการ

Before เป็นแค่ความคิดจากสมอง

          การสื่อสารตามสถานการณ์

สถานการณ์ที่ผู้ฟังไม่อยากฟัง

สาเหตุ

ไม่สนใจ

ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์อะไร

สถานการณ์จากผู้เข้าร่วมโครงการ

          Before บอกว่า เห็นอีเมลค้านมติที่ตกลงไว้ แต่ผู้ฟังเดินหนี

คำถามผู้ฟังได้ประโยชน์อะไร

ได้เพื่อนร่วมงาน ทำงานเป็นทีม

คำแนะนำ

เริ่มจากประโยชน์ของผู้ฟัง

แล้วพูดในสิ่งที่เราต้องการให้เขาฟังโดยสามารถเป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังด้วย

          แบบ After บอกผู้ฟังว่า ที่คณะไม่ค่อยได้คุยกัน เกิดอะไรขึ้น เราฟังน้อยลงใช่หรือไม่

คำแนะนำ

อาจเริ่มที่สัมพันธภาพ แล้วแนะนำเรื่องอีเมลทำให้เสียสัมพันธภาพ

สถานการณ์ที่มีผู้ฟังมีหลากหลายกลุ่ม

คำแนะนำ

          ส่งเสริมให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนความเห็นกัน

สถานการณ์ที่ลูกน้องทะเลาะกันในที่ประชุม ประธานควรทำอย่างไร

คำแนะนำ

          ประธานต้องให้ต่างฝ่ายต่างคิดถึงความผิดของตนเอง และคิดถึงความดีของคนอื่น

สถานการณ์ที่มีผู้นำเสนองานวิจัยทะเลาะกับผู้ฟัง ด้วยมีมุมมองต่างกัน ซึ่งต่างฝ่ายไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ผู้ดำเนินรายการต้องทำอย่างไร

          Before ตอนนั้น การนำเสนอไปพาดพิงบางมหาวิทยาลัย โดยบอกว่า บางแห่งปริญญาตรีไม่มีคุณภาพแล้วมาเปิดปริญญาโทและเอก

คำแนะนำ

          ผู้ดำเนินรายการต้องบอกว่า มุมหนึ่งเป็นมุมวิจัย อีกมุมคือสังเกตการณ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งสามารถจะมองจากคนละมุมได้

สถานการณ์ คณะมีความขัดแย้งสูง เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ก็มีการสรรหาคณบดี ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลของคณะ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยไม่ได้เลือกใครเป็นคณบดี รักษาการรองคณบดีพยายามดึงทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน แต่แต่ละฝ่ายก็ยังขัดแย้งอยู่ ควรสื่อสารอย่างไรให้ทั้งสองฝ่ายมาทำงานร่วมกัน

คำแนะนำ

          ต้องให้ต่างฝ่ายต่างคิดถึงความผิดของฝ่ายตนเอง และคิดถึงความดีของอีกฝ่าย แล้วจะเชื่อมโยงกันได้

สถานการณ์ที่มีคนอื่นมาพูดเรื่องที่เราไม่อยากฟัง

คำแนะนำ

          บอกว่า ถ้าต้องการให้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ ขอให้เล่าเรื่องราวที่อยู่ในขอบข่ายที่เป็นประโยชน์

สถานการณ์ที่มีปฏิเสธคนขอยืมเงิน

คำแนะนำ

          ขอความช่วยเหลือที่อีกฝ่ายไม่สามารถช่วยเหลือได้เป็นการตอบแทน

สถานการณ์ที่ต้องขอโทษอีกฝ่าย

คำแนะนำ

1.แสดงให้เห็นว่าได้รับรู้ความทุกข์ของอีกฝ่ายอย่างมาก

2.ทำให้ตนเองเจ็บปวดมากกว่าที่อีกฝ่ายมี

3.แสดงให้เห็นว่า สำนึกผิดแล้ว ก็ได้พยายามทำให้ดีที่สุดแล้วแต่สุดความสามารถจริงๆ

4.ขอโทษ

Learning Forum หัวข้อ เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดย     รศ.ดร.ยืน ภู่วรวรรณ

Sundar Pichai ซึ่งเป็น CEO ของ Google ได้มากล่าวในงาน Google I/O ซึ่งเป็นงานใหญ่งานหนึ่งที่ Google ได้นำเสนองานของ Google และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

1. เป็นการเปลี่ยนแปลงจาก Mobile First ไปสู่ AI First เช่น Apple เป็นผู้เริ่มต้นโดยการมองว่า Mobile จะเข้าไปอยู่กับทุกคน แต่ปัจจุบันนี้ Google กล่าวว่า จะเปลี่ยนแปลงจาก Mobile First ไปสู่ AI (Artificial Intelligence) First

สิ่งที่เกิดขึ้นเร็วในขณะนี้ Machine Interaction เปลี่ยนแปลงหมดแล้ว มีการพิสูจน์แล้วในปี 2017เครื่องจักรทำงานเชิง AI ได้ดีกว่ามนุษย์ คนสามารถคุยกับเครื่องจักรได้

ในงาน Google I/O ได้นำเสนอ Google Home เป็นส่วนที่ Personal Assistant สามารถนำมาไว้ในบ้าน สามารถจำเสียงคนได้ 7 เสียง เวลาที่มีการสนทนากันหลายๆ คน Google Home รู้ชื่อของแต่ละคน และสามารถวิเคราะห์เสียงได้ว่า ใครพูดอะไร ซึ่งทำได้โดยมีไมโครโฟน 8 ตัวแล้วส่งเสียงมาจากมุมต่างๆของห้อง แล้วมีลำโพงต่อออกมา อาจจะนำมาใช้เปิดเพลง โดยผู้ใช้เสียงออกคำสั่ง ตอนนี้ยังไม่มีรุ่นที่ใช้ภาษาไทย

นอกจากนี้ มีการนำเสนอ Google Lens

แสดงให้เห็นว่า การทำงานเปลี่ยนแปลงไป เช่น ถ้าใช้ Word Processor นั้น User Interface จะเปลี่ยนจากตัวอักษรเป็นเสียง ส่วนโฆษณาก็สามารถเปลี่ยนจากเสียงเป็นตัวอักษรได้ เวลาพิมพ์งาน ก็ใช้ออกคำสั่งด้วยเสียงโดยไม่ต้องใช้มือพิมพ์ก็ได้

ตอนนี้มหาวิทยาลัยพบปัญหาคือ เด็กไม่อยากเรียนเพราะหาความรู้ได้จาก Google นักศึกษาไม่จดบรรยาย ความเปลี่ยนแปลงใหญ่คือ ความรู้ไม่ได้อยู่ที่อาจารย์ แต่ความรู้อยู่รอบตัว หาได้เอง กระบวนการการเรียนการสอนก็เปลี่ยนแปลง ก็ต้องทำให้ความรู้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องมานั่งจด

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Disruptive Technology หมายถึง เทคโนโลยีใหม่ทำให้ของเดิมหายไป แล้วมีของใหม่มาแทนที่ เช่น หลอดไฟในอนาคตจะเปิดปิดเองได้ Google Home มี AI เปิดปิดไฟบ้านได้เอง เพราะฉะนั้นหลอดไฟแบบเดิมอยู่ไม่ได้ ทำให้ชีวิตและกระบวนการทำงานเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต้องช่วยกันคิดว่า มหาวิทยาลัยจะหายไปหรือไม่ ถ้า Google คิดจะเปิดมหาวิทยาลัยเหมือน Service Platform ของ Uber ซึ่งทั้งมหาวิทยาลัยและ Google ก็เป็น Service Platform ทำให้คนหาความรู้เองได้

ชีวิตคนกำลังอยู่ในยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ในปี 2007 โลกเปลี่ยนแปลงครั้งแรกเมื่อปี 1990 หลังจากมี World Wide Web เศรษฐกิจสังคมเปลี่ยนทั้งหมด โซเวียตล่มสลาย เยอรมนีรวมประเทศ ยุโรปมี EU ส่วนในปี 2007 Steve Jobs เสนอไอโฟน มีบริการออนไลน์แบบใหม่ มี Social Network ตามมา ทำให้โลกมีการเปลี่ยนแปลงมากทั้งทางสังคมและด้านต่างๆ  คนเปลี่ยนวิธีการรับข่าวสาร สภาพการค้าขายเปลี่ยน คนไปเดินดูของที่ห้าง แต่สั่งซื้อออนไลน์

ในปี 2017 Google ประกาศเป็น AI First ทำ Google Lens มีการพิสูจน์ว่า เมื่อมีการเก็บรูปหลายร้อยล้านรูป แล้วนำ Learning Machine เข้าไปวิเคราะห์รูปต่างๆ โปรแกรมทาง AI วิเคราะห์รูปได้ดีกว่ามนุษย์แม้กระทั่งอารมณ์คนที่ละเอียดอ่อน AI แข่งด้านต่างๆกับคน ก็ชนะคน Google ฝากความหวังไว้กับก้อนเมฆ มี Google Map ซึ่งมี Street View ใช้ Google Lens เก็บรูปภาพ ดูว่าแต่ละตึกอยู่ที่ใด ขายของอะไร Google ทำได้เพราะทุกคนที่ใช้ส่ง data ให้ Google จึงวิเคราะห์ได้ จึงต้องพัฒนา Cloud Computing

Google พัฒนา PPU แล้วส่งไปที่ Cloud จึงต้องทำ Cloud Computing ให้มี Performance สูง

ทำไม Google และ Facebook จึงให้แต่ละหน่วยใช้งานแบบไม่จำกัด เป็นเพราะว่า เมื่อมีข้อมูลมาก เครื่องมือก็จะพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น

กิจกรรม ตอบคำถามผ่าน Smartphone

1. ใช้ Smartphone Download “Kahoot” ใน Play Store

2. Get install

3. ใส่ Pin Code

4. กดตอบคำถามแต่ละข้อภายใน 30 วินาที

5. คนที่ตอบถูกต้องได้เร็วที่สุดได้คะแนนมากที่สุด

บทเรียนจากกิจกรรม

1.ใช้เป็นสื่อการสอนให้นักศึกษามีส่วนร่วม เพราะเด็กรุ่นใหม่ชอบเล่นโทรศัพท์มือถือ

2.เป็นโอกาสที่ Cyber พบกับ Physical

คำถาม

การพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการศึกษาของโลกต้องตอบโจทย์ข้อใด

ตอบ

อุตสาหกรรมเปลี่ยนกระบวนการทั้งหมด น้ำมันก็มีพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทน กฟผ.จะเก็บเงินจากผู้ใช้ Solar Roof เพิ่มเพราะไม่เป็นธรรมกับคนที่ไม่ใช้ Solar เวลาที่คนใช้ Solar Roof เพิ่มขึ้น ค่า FT จะสูงขึ้น ถ้าคนที่ใช้ Solar Roof ออกจากระบบไฟฟ้าปกติทันที ก็ไม่มีปัญหา แต่ในความเป็นจริง Solar ใช้ได้แค่เวลากลางวัน ตอนกลางคืนต้องใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ทำให้การไฟฟ้าต้องผลิตไฟฟ้า ตั้งโรงไฟฟ้าซึ่งมีต้นทุนสูง และค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปอยู่ในค่า F.T.

ในอนาคต ประเทศไทยต้องการไป Thailand 4.0 การพัฒนาประเทศไทยต้องเป็นอย่างไร

ตอบ

ประเทศไทยต้องเน้นจุดเด่นคือ เกษตรและอาหารมาทำแบบ Smart และส่วน Automation Robot มีดิจิตอลและการแพทย์สมัยใหม่ต้องใช้เทคโนโลยี การท่องเที่ยวต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม

จุดเด่นของประเทศไทยในขณะนี้คือ Biodiversity และ Cultural Diversity หมายความว่า ม.อ.มีความสามารถในการสนับสนุน Thailand 4.0 อยู่แล้วแต่ต้องมี Innovation ที่ต้องสร้างคุณค่าด้วยตนเอง

ประเทศไทยต้องใช้ความรู้ความสามารถมากขึ้น เพราะโอกาสต่างๆยากขึ้น

ถ้าเน้นวัฒนธรรม ก็ต้องนำไปทำเป็นธุรกิจสร้างสรรค์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้งานบริการ นำมาเป็นจุดเด่นของประเทศ นโยบายประเทศที่เขียนไว้ว่า ต้องหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางให้ได้ คือ 5,000 ดอลล่าร์สหรัฐ

ตอนนี้ประเทศไทยมีอัตราการเกิดต่ำและลดลงเรื่อยๆ แต่ผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆเพราะระบบสาธารณสุขดีทำให้คนอายุยืน คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ย 75 ปี รัฐบาลจึงให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบเพราะต้องการลดภาระในการเลี้ยงคน ปัจจุบันนี้ หน่วยราชการมีการปรับลดอัตรากำลังมาก

นอกจากนี้ ยุคปัจจุบันเป็นยุค Data Overload และมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยงกันได้

อุตสาหกรรมเปลี่ยนทิศทาง การศึกษาก็เปลี่ยนมาก อุตสาหกรรมเปลี่ยนวิธีผลิต ใช้เครื่องจักร (Automate) ผลิตเป็น Industry 4.0 และไม่ต้องการแรงงานคน การผลิตสินค้าไม่ใช่ Mass Production แต่ผลิตแบบเฉพาะเจาะจง (Niche) มีปริมาณน้อยลง ดังนั้น ระบบการศึกษาไทยต้อง Personalize มากกว่านี้

ในอนาคต ควรปล่อยให้ผู้เรียนเรียนตามใจชอบ แล้วค่อยมาดูว่า จะได้ปริญญาสาขาใด หลักสูตรต้องมององค์รวมแล้วข้างในหลักสูตรยืดหยุ่นได้

ระบบที่มีตัวกลางจะมีปัญหา เช่น ระบบการเงินมีธนาคารเป็นตัวกลางรับ Transaction ต่อไปเงินเป็น Digital Money ถ้าทุกคนในโลกยอมรับระบบนี้ได้ โลกการเงินจะเปลี่ยน รัฐบาลพยายามผลักดันเรื่องพร้อมเพย์ ในปีหน้า จะใช้ใบกำกับภาษีอิเลคทรอนิกส์ แต่กรมสรรพากรต้องหาวิธีการรับรองให้ได้

ในอนาคต การเรียนหนังสือไม่มีกระดาษ เพราะมี Platform และเน้น Peer to Peer มากขึ้น มหาวิทยาลัยไม่ควรทำหน้าที่เป็นตัวกลาง เพราะจะประสบปัญหา

IOT เข้ามาแน่นอน คนสามารถใช้โทรศัพท์มือถือสั่งให้ไฟเปิดได้ อาจารย์ต้องสร้างนักศึกษามีแนวคิดนวัตกรรม ต้องคิดถึงอนาคตให้มาก เพราะอนาคตจะกระทบการเรียนการสอนและชีวิตมาก งานที่ใช้คนเริ่มเปลี่ยนแปลงไป Machine ทำบางเรื่อง ได้ดีไม่แพ้คน เช่น งาน Call Center

ตอนนี้ Product กำลังจะเปลี่ยนเป็น Service Platform เช่น Uber เป็น Service Platform ไม่ใช่แท็กซี่ Operation การทำงานของม.อ.ก็เป็น Service Platform การเรียนหนังสือในปัจจุบันเป็น Cyber-Physical Model มีการทำงานทั้งในโลกจริงและโลกไซเบอร์

ชีวิตยุคใหม่เป็นโลกออนไลน์ โลกใหม่มีรูปแบบเป็นอย่างไร

ตอบ

คนมองโลกผ่านจอ โจทย์คำถามที่ใช้ในการบรรยายก็อยู่บน Cloud ไม่ได้อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์  การทำงานในปัจจุบันเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโลก Cyber และ Physical เช่น นักศึกษามาลงทะเบียนเข้าเรียนในห้องเรียนจริงกับอาจารย์ในโลก Physical นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมากมายที่ทำบนโลก Cyber

หมายความว่า Operation จากนี้ไป ผสมผสาน Cyber-Physical Model เช่น มีการสั่งซื้อของออนไลน์แต่คนขายส่งของมาจริงแบบ Physical มหาวิทยาลัยจะต้องผสมผสาน 2 โลกนี้เข้าด้วยกัน ในความเป็นจริง คนต้องพบปะกัน มีสังคม มีความเป็นมนุษย์ที่ต้องพบตัวตนจริง ในขณะเดียวกัน บทบาทโลก Cyber ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ หนังสือและวารสารต้องปิดไปเพราะเผยแพร่ทาง Cyber แทน อาจารย์ไม่จำเป็นต้องสอนสิ่งที่อยู่ออนไลน์ อาจจะปรับเปลี่ยนการเรียนในห้องให้ต่างไปจากเดิม

ลักษณะคนรุ่นใหม่ภายใต้เทคโนโลยีมีลักษณะอย่างไร

ตอบ

ร้านกาแฟจะเป็นคู่แข่งห้องสมุดเพราะเด็กไปอ่านหนังสือและใช้ Wifi ฟรี ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องเข้าใจลูกค้าคือเด็กรุ่นใหม่ว่า ต้องการอะไร แล้วนำเสนอสิ่งที่แตกต่างตอบสนองความต้องการของลูกค้าStarbucks ขายกาแฟแก้วละร้อยกว่าบาทแต่มีลูกค้า สินค้าอื่นก็ขายในราคาแพงเพราะถือเป็นสินค้าพรีเมี่ยม สินค้าต้องแตกต่างกับที่อื่นและไม่มีใครแข่งได้

ทำไมโรงเรียนนานาชาติประสบความสำเร็จมาก แต่โรงเรียนมากมายของกระทรวงศึกษาธิการไม่ประสบความสำเร็จ ม.อ.ควรจัดค่ายเยาวชนให้โรงเรียนนานาชาติถือเป็นการสร้างความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่น ม.อ.ไม่ควรกังวลว่า ลูกคนจนจะเรียนไม่ได้ แต่ต้องมีวิธีการสร้างความแตกต่างในการบริการการศึกษา

ใน Mass Customers ก็มี Niche บางอย่างก็ต้องทำให้ดีเพราะถือว่าเป็นสินค้าพรีเมี่ยม ในโลกปัจจุบัน ต้องทำน้อยคือลดต้นทุนลง ให้ได้ผลผลิตมาก เช่น เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรต่อไร่ให้สูงโดยลดต้นทุนให้ต่ำลง อาจจะต้องคิดค้นวิธีทำนาแบบใหม่ให้ดีกว่าเดิม ต้องพยายามหาวิธีการใหม่ซึ่งได้จากเทคโนโลยี ม.อ.ใช้เทคโนโลยีอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความรู้มีมากมาย แต่ต้องหาวิธีให้นักศึกษารู้มากๆ แม้จะสอนในห้องเรียนน้อยลง

ปัญหาการศึกษาไทยคืออะไร

ตอบ

เด็กไทยเรียนในห้องเรียนมากกว่าประเทศอื่น แต่ประเทศอื่นมีคะแนน Pisa มากกว่าไทย ปัญหาคือการศึกษาไทยเน้นแต่สอนเนื้อหา ใช้หลักสูตรเดียวกันทั้งประเทศโดยกำหนดมาจากส่วนกลาง ควรจะกำหนดกระบวนการให้เด็กเรียนรู้เอง ทำสิ่งต่างๆได้เอง ต้องทำให้เด็กมีทักษะที่จะไปเรียนสิ่งใหม่ๆได้ มี learning curve ที่ดี

ปัจจุบัน มีข้อมูลใน cloud มาก เมื่อเข้าไปแล้วเอาออกไม่ได้ ไม่มีการแยกแยะความคิดเห็นกับข้อเท็จจริง ควรจะทำให้เด็กรู้เท่าทันสื่อ มีความสามารถวิเคราะห์แยกแยะข้อมูล

ต้องหาวิธีพัฒนาห้องเรียนให้ Active คือ ต้องเอื้อให้คุยกัน

รัฐบาลมีกฎหมาย Open Data แล้วก็มีความโปร่งใสมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่าย แล้วก็ปิดบังยาก ควรทำสิ่งที่ถูกต้องเป็นความดี เพื่อไม่ต้องกังวลในเรื่องการปิดข้อมูล

วิกิพีเดียกล่าวถึงจริยธรรมโดยกำหนดไม่ให้บุคคลที่มีชีวิตเขียนชีวิตตนลงวิกิพีเดีย มิฉะนั้นคนก็จะเข้าไปเขียนชมตัวเอง ข้อมูลที่จะเขียน ควรเป็นความจริง ถ้าเขียนโดยไม่มีการอ้างอิง จะถูก Robot เตือนไม่ให้เผยแพร่

ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร

ตอบ

ในการคิดสร้างสรรค์ ไม่ควรยึดติดกับคำตอบเดียว ความคิดสร้างสรรค์มักถูกจำกัดด้วยกรอบความคิดเดิม ต้องเปลี่ยนเรื่องนี้ให้ได้

ในการทำงาน คนทำงานเมื่อมีความสุข ซึ่งเกิดจากอะไร

ตอบ

ต้องมีการ Engagement มีความผูกพัน แล้วจะทำงานสำเร็จ นอกจากนี้ต้องมีปัจจัยความสุขคือ บรรยากาศการเรียนรู้ ความท้าทาย การทำงานแบบ active

การที่อาจารย์ใช้ Smartphone ส่งคำถามแล้วให้นักศึกษามีส่วนร่วมตอบคำถามเป็นวิธีแบบ Socratic

เนื้อหา (ต่อ)

เด็กที่เกิดหลังปี 1994 จะใช้ดิจิตอลเป็นโดยกำเนิด เรียกว่า เป็น Digital Native ส่วนคนที่เกิดก่อนปี 1994 เป็น Digital Immigrants ต้องเรียนรู้ดิจิตอลในภายหลัง

ปัจจุบันนี้ Disruptive Technology ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตคนมากมาย เช่น Mobile Internet ทำให้ทุกอย่างอยู่กับตัว เป็น Analytic Knowledge คือเป็น Knowledge Compiler ปัจจุบันนี้ ในการเรียนวิทยาศาสตร์หรือสิ่งต่างๆ ก็เปลี่ยนวิธีคิดทั้งหมด เป็นเครื่องมือทำเรื่องยากให้ง่าย ต้องพยายามหาเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ 

จากการที่ไปประชุมกยศ. มีคนที่มาจากเครดิตบูโรค้นหา Data Scientist ให้เงินเดือน 180,000 บาทเพื่อดูแลข้อมูลที่ไหลเข้ามามากมาย ในอนาคต จะนำคนที่ไม่ยอมชำระหนี้กยศ.ไปอยู่ในฐานข้อมูลเครดิตบูโร

ดิจิตอลมีผลต่อการทำงานในอนาคต ภายในไม่เกิน 10 ปี กระดาษจะเหลือ 10% ที่เหลือเป็นดิจิตอล

ต้องเพิ่มประสิทธิภาพกับการใช้ดิจิตอล ตั้งแต่ปีหน้า จะมีการทำสัญญาเป็นอิเลคทรอนิกส์ ดิจิตอลทำให้ห้องเรียนลดความสำคัญลง เพราะการเรียนเกิดได้ทุกที่ ในอนาคต จะไม่มี Sound Lab คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะจะหายไป จะไม่มีรอยต่อระหว่างบ้านและมหาวิทยาลัยเพราะเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ในอนาคต การคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย จะถูกแทนที่ด้วย Digital Portfolio เวลาที่อาจารย์เขียนจดหมายรับรองนักศึกษาไปสหรัฐอเมริกา จดหมายรับรองทุกฉบับก็กระจายไปทั่วสหรัฐอเมริกา มีการเก็บเป็นฐานข้อมูลเชื่อมโยง  ควรมองระบบเป็น Critical Thinking ให้มาก

ฟูจิอยู่รอดเพราะไปเน้นเครื่องมือแพทย์ คือ เครื่องสแกน MRI อุปกรณ์เอกซเรย์ฟัน ตอนนี้พานาโซนิคไปทำด้านผลิตภัณฑ์การเกษตรแล้ว

Disruptive Technology เช่น ในปี 1981 ห้องเรียนเด็กเต็มไปด้วยสิ่งของ แต่ปี 2014 ทุกอย่างเป็นดิจิตอล ของที่เคยเป็นชิ้นย่อลงมาทำงานบนดิจิตอล

Google มี Product มากมาย แต่คนทำความรู้จักไม่ทัน และไม่ทั่วถึง แต่ละอย่างก็อยู่บน Service Platform

การศึกษาต้องการความคิดใหม่ Disruptive Thinking ความรู้อยู่ทั่วไป ทุกคนมีความรู้พื้นฐาน แต่วัดที่การต่อยอดความรู้  และการนำมาใช้ประโยชน์ ต่อไปต้องคิดแบบองค์รวมทั้งภาควิชาหรือทั้งมหาวิทยาลัยต้องหารือกันมากๆ ทำงานเป็นทีม

ในอนาคต การทำงานต้องใช้เทคโนโลยีทุ่นแรง เพื่อจะได้นำไปใช้จัดการความรู้  

ในยุคดิจิตอล ค่า Real Product (Physical) จะลดลง แต่ Real Service รวมถึงสิ่งที่อยู่รอบๆจะเติบโตขึ้น ดังนั้น ต้องทำอะไรเร็ว ใช้ความรู้มากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานเป็นแบบ Automate ทำงานออนไลน์

Operation บน Cyber จะมาทดแทนทุกสิ่งถ้าไม่มีการปรับตัว

ม.อ.อาจจะต้องมี Digital Transformation มีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มการทำงาน

 

วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2560

Learning Forum หัวข้อ โมเดลประเทศไทย 4.0 - แนวคิดทางการตลาด สู่การสร้างคุณค่าใหม่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดย     ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

 ปีนี้ มหาวิทยาลัยรับนักศึกษา 150,000 คน แต่มีนักศึกษามาเรียน 120,000 คน

มหาวิทยาลัยไม่ค่อยเห็นคุณค่าอาจารย์ที่สอนเท่ากับอาจารย์วิจัย ซึ่งถือเป็นปัญหาทั่วโลก

จากการสอนที่ปัญญาภิวัตน์ มีนักศึกษาปริญญาโท 70-80 คน อาจารย์ไกรฤทธิ์สอนเรื่องนิวซีแลนด์มีประชาการแกะมากกว่า คน มีเนยตราสมอ แล้วนักศึกษาไต้หวันลุกขึ้นโต้แย้งว่า อาจารย์สอนผิดเพราะกำลังคุยสายกับประชาสัมพันธ์เนยตราสมอ แสดงว่าลูกศิษย์มีมาจากประเทศต่างๆแล้วก็ไม่เชื่อที่อาจารย์สอนทั้งหมด

อาเซียนเป็นดินแดน Learning University อย่าคิดว่าผู้เรียนรู้น้อยกว่าอาจารย์

 มหาวิทยาลัยทำการตลาดได้หรือไม่

ม.อ.เคยมองว่า ที่สยามนครินทร์ขายไม่ค่อยได้ ตอนนี้เป็นสถานที่กวดวิชา มีเด็กมาเรียน ควรมีกิจกรรมบันเทิงดึงดูดให้มากขึ้นด้วย

ตอนนี้ห้องสมุดก็มีคู่แข่งแล้ว

ปัญหาคือมหาวิทยาลัยไม่คิดจะแข่งกับใคร

 

มหาวิทยาลัยต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็เป็นทั้งโอกาสและภาวะคุกคาม

สมัยก่อน หาดใหญ่เป็น Sin City เมืองคนบาป ตอนนี้เป็น Saint City เมืองนักบุญ คนมาขอพร

มีเจ้าสัวคนหนึ่งไปบนบานเจ้าแม่กวนอิมบนเขาแล้วขายที่ในมาเลเซียได้

นี่คือแบรนด์หาดใหญ่

แบรนด์ม.อ.เป็นอย่างไรในแต่ละวิทยาเขต ตอนนี้เปลี่ยนโฉมหน้า Positioning มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

มหาวิทยาลัยต้องรู้จักท้าทายสิ่งที่ได้ฟัง

 

ถ้าแต่ละท่านเป็นรองอธิการแล้วจะตั้งผู้ช่วยอธิการ ก็มีโอกาสที่จะเพื่อนมาช่วยงาน เป็นการคิด Succession Plan ว่าใครจะมาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง

ตอนนี้ มหาวิทยาลัยไม่ได้ขาดยุทธศาสตร์ แต่ขาดคนที่มาทำงาน ผู้นำควรมีผู้ช่วย 2-3 คนมาช่วยงานแล้วจะทำงานสำเร็จ

ปัญหาคือคนชอบซุกปัญหา เพื่อจะได้ไม่ทำงานต่อ ดังนั้น นายควรล้วงลูก

 

มหาวิทยาลัยมีสิ่งแวดล้อม (Ecosystem) เหมือนรถ ต้องทำงานกับองค์ประกอบ 5 อย่าง (ล้อ) คือ

1.การตลาด ต้องถามว่า End product คืออะไร อย่างหนึ่งคือ บัณฑิต

หาดใหญ่ สงขลามีโรงเรียนมากมาย แต่นักเรียนในท้องถิ่นไม่ได้เลือกม.อ.เป็นอันดับแรก  ต้องเลือกคนเก่งเข้ามาเพื่อที่จะผลิตคนเก่งออกมา

อาจารย์จบมหาวิทยาลัยระดับโลกเลือกที่จะมาสอนที่ม.อ.อันดับแรกหรือไม่

บางครั้งนักเรียนทุนก็ไปเรียนในสิ่งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับประเทศไทย เพราะอาจารย์ที่ปรึกษาในไทยไม่ได้แนะนำว่าควรจะเรียนอะไร

อย่างไรก็ตาม นักเรียนทุนที่ไม่ได้เป็นที่ต้องการของมหาวิทยาลัยหนึ่งอาจเป็นที่ต้องการของอีกแห่ง

ควรจะเปลี่ยนเป็น Demand Focus โดยถามคำถาม เช่น

1.ต้องการบัณฑิตที่จบมาเป็นอย่างไร

2.คุณสมบัติคนที่จะทำงานในมหาวิทยาลัยในอนาคต

3.สังคมหาดใหญ่ต้องการให้ม.อ.เป็นอย่างไรใน 10-20 ปีข้างหน้า และต้องการพึ่งม.อ.ด้านใด

 

การตลาดคือ ตอบว่า ม.อ.มีอะไรจะไปขายชาวบ้าน

ม.อ.ไม่มีที่จอดรถผู้ปกครองและศิษย์เก่าทั้งๆที่เป็นแหล่งรายได้ของมหาวิทยาลัย

เคยเสนอให้ไปสำรวจความคิดคนต่อม.อ.อย่างไร คนตอบว่าไม่รู้จัก เพราะเป็นเขตราชการห้ามเข้า

จึงเสนอว่า ให้นำป้ายเขตราชการห้ามเข้าออกไป ต้องเปลี่ยน Mindset ทำให้คนท้องถิ่นรู้สึกว่า เป็นมหาวิทยาลัยของตนเอง

ดาราก็เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจเลือกเรียนมหาวิทยาลัยแห่งนั้น

 

ในเรื่องการสอน อาจารย์ยังสอนเหมือนในอดีต ยังตอบตำรา แต่ในโลกปัจจุบันมีคำตอบที่ถูกต้องเกิน 1 คำตอบหรือไม่มีคำตอบที่ถูกต้องชัดเจน

 

เนยตราสมอไม่ได้แก้ปัญหาตามนักเรียนที่เก่งตอบ แต่แก้ตามที่แมคโดนัลด์บอก เพราะแมคโดนัลด์มีโรงเรียนสอน School of Hamburger ที่ทำทุกอย่างได้มาตรฐาน

 

เด็กมาเรียนม.อ.เพราะพ่อแม่บอกให้มาเรียน เคยถามผู้ปกครองเด็กพบว่า ชาวต่างชาติมาเรียนที่วิทยาลัยนานาชาติเพื่อมาหาคู่แล้วแต่งงานเพื่อย้ายมาอยู่ที่ไทย

 

ต้องพยายามทำให้มหาวิทยาลัยอื่นมา Benchmark กับม.อ.

เวลาที่ม.อ.ส่งคนเข้าไปที่สกอ. ควรจะส่งคนรุ่นใหม่ไปอยู่ในฐานผู้แทนประชาคมม.อ.

 

2.การผลิต ของมหาวิทยาลัยเป็น Supply Focus คิดหลักสูตรแล้วผ่านสภามหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยเอกชนต้องเสนอหลักสูตรให้สกอ.พิจารณาใช้เวลานากว่าจะเปิดหลักสูตรได้

ในแผนยุทธศาสตร์ กล่าวถึงลูกค้าคือ นักศึกษาน้อยมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยผลิตมาก

ปัญหาคือ มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยแล็บ เพาะเห็ดสำเร็จ ต่อมามีบริษัทมาติดต่อให้ทำโรงเพาะเห็ดให้ แต่มีความเสียหายเพราะไม่ได้ทำ Prototype สภาพแวดล้อมในแล็บกับโรงเพาะเห็ดจริงไม่เหมือนกัน

การผลิตเป็นเครื่องมือ

3.การเงิน

          มี KPIs แต่ไม่ควรเกิน 5 อย่าง

4.การบุคคล

          ในยุคต่อไป ต้องให้โอกาสคนทำผิดเพราะเป็นจุดกำเนิดของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

          การบุคคล 4.0 มีลักษณะดังนี้

          1.Ability to forget คือ Unlearn ฝึกลืมบางสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ถือเป็นคุณสมบัติของคนเก่ง

          2. Ability to Relearn ฝึกเด็กให้มีทักษะ แต่อาจารย์ไม่ Relearn อาจารย์ต้อง relearn สิ่งใหม่ด้วย ต้องสนใจอ่านและเรียนเรื่องที่ตนไม่สนใจแล้วจะพบสิ่งใหม่ๆ มหาวิทยาลัยต้องสนใจ Unknown Customers คือผู้ปกครองด้วย รองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีควรหาวิธีให้อาจารย์ไปฝึกสหกิจกับเด็ก ควรให้เด็กประเมินอาจารย์แล้วแสดงผลบนกระดานทันที

          3. Team Learn เรียนไปด้วยกันกับคนในทีม อาจารย์ต้องเป็นโค้ชสอนลูกศิษย์ให้ทำงานเป็นทีมเป็น

5.Back-up system ประกอบด้วย Information and Infrastructure

          ถ้าต้องทำงานที่มีลูกน้องเกิน 100 คน และมีงบเกิน 100 ล้าน ต้องสนใจ Back-up system

          1. Information เกิดจาก KM คนนำประสบการณ์มาแบ่งปันกัน เก็บรวบรวมให้คนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ ต้องถามคำว่า อะไรผิด เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา คณะแพทย์มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน มีพี่สอนน้อง Team Learning การใช้ KM ทำให้ความรู้ในคน (Tacit Knowledge) มาแบ่งปันกันเป็น Explicit Knowledge

          2.Infrastructure ปัจจุบันนี้หมอรุ่นใหม่ต้องผ่าตัดผ่านเกม เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้จากการเล่นเกมคอมพิวเตอร์

การตลาด มหาวิทยาลัยมีลูกค้า 7 กลุ่ม (Stakeholders)

1.Government รัฐบาล ตอนนี้เป็นเจ้าภาพ แต่จะจ่ายน้อยลงให้กับมหาวิทยาลัยในอนาคต

มหาวิทยาลัยควรได้กำไรจากวิจัย 25>#/p###

2.General Public ลูกค้ารายใหม่ ควรจะได้มาจากคนภายในก่อน

ต้องใส่ใจศิษย์เก่า ศิษย์เก่าม.อ.ถือเป็นขุมทรัพย์ของมหาวิทยาลัย ควรให้ศิษย์เก่าอยู่หอใน แล้วอาจารย์ไปดูแลใกล้ชิด จนรู้ลึกซึ้งเกี่ยวกับลูกศิษย์ เมื่อเรียนจบพวกศิษย์เก่า ก็จะกลับมาบริจาคให้ม.อ.

ต้องสำรวจความคิดคนภายนอกว่า คิดอย่างไรกับมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยควรจะทำอะไรให้กับสังคมเพิ่มเติม

3. Media สื่อในหาดใหญ่มีมากแต่ไม่ค่อยมาทำงานร่วมกับม.อ. ควรจะทำให้สื่อต่างๆลงข่าวดีของม.อ.ได้แบบฟรี

4.Finance, FINTECH แหล่งเงินนอกงบ ควรจะได้มาเป็นแหล่งงบใหม่

5.NGOs เป็นคนเก่งไม่มีเส้น แต่เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ต้องรู้จัก NGOs อาจารย์ควรเป็นที่ปรึกษา NGOs จะเข้าใจคนที่มีความคิดแล้วหางบทีหลัง เป็นการแจ้งเกิดและเป็นการเรียนรู้ในการเริ่มโครงการที่มีความคิดก่อนแล้วเงินตามมา

6.Peer เพื่อนที่เป็นมหาวิทยาลัย อยากเห็นลูกจ้างมหาวิทยาลัยไปเป็น Peer กับมหาวิทยาลัยอื่นแล้วไปร่วมโครงการแลกเปลี่ยนไปศึกษาการบริหารมหาวิทยาลัยอื่น ประเทศไทยควรมีข้อบังคับให้อาจารย์ที่จะขึ้นไปตำแหน่งบริหารต้องผ่านการเป็น Visiting Professor ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศก่อนรับตำแหน่ง เพื่อให้เป็นที่รู้จักในระดับสากลและเป็นการเปิดโลกทัศน์อาจารย์

7.Internal คนใน

ควรสนใจรัฐบาลแค่ 17% 

Learning Forum & Workshop หัวข้อ  PSU Positioning in Thailand and ASEAN+6 

โดย     ศาสตราภิชาน ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ร่วมด้วย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาเซียนเกิดมาเมื่อปี 2510 รวมตัวกันเพื่อความมั่นคง ตอนหลังเปลี่ยนเป็นความปลอดภัย แล้วจึงมาเน้นร่วมมือด้านวัฒนธรรมประกอบด้วย กีฬา ดนตรี ศิลปะและการศึกษา มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน ยังไม่มี AEC

ล่าสุดมี ASEAN Economic Community (AEC)  แต่ European Economic Council (EEC) กำลังล่ม ก่อนที่อังกฤษจะออกจาก EEC ถูก EEC ขอให้ทำ 3 อย่างคือ

1.ใช้ธนบัตรรูปอื่นแทนธนบัตรเดิม

2.จ่ายค่าสมาชิกโดยคิดจาก GDPxจำนวนประชากร

3.รับผู้อพยพ

มหาวิทยาลัยสังกัดอยู่ในด้านวัฒนธรรมของอาเซียน Association of University Network (AUN) 

การวิเคราะห์ PSU Positioning

คณะสายวิทยาศาสตร์ เช่น หลักสูตรคณะพยาบาล

ปัจจุบัน

2.0

ใหม่

3.0

นวัตกรรม

4.0

ปรับปรุง

อาชีวอนามัย

อาเซียน

 

พัฒนา

การพูด

การบริการหมอและคนไข้ระดับพรีเมี่ยมให้ประทับใจ

ลูกค้า

Curative Healthcare รักษา

Preventative Healthcare ป้องกัน

Promotive Healthcare ทำให้สุขอนามัยอยู่ในมือแต่ละคน ไม่ได้อยู่ในมือแพทย์

 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

Palliative Care

 

จะเป็นแนวโน้ม Healthcare ในอนาคต

 

คณะสายศิลปศาสตร์ เช่น หลักสูตรดนตรี กีฬา การแสดง (Performing Arts)

         

ปัจจุบัน

2.0

ใหม่

3.0

นวัตกรรม

4.0

ปรับปรุง

ม.อ.เน้น orchestra

 

Jazz

Choreographer

Jazz dance

 

 

คณะสายสังคมศาสตร์ เช่น สหกิจ

 

ปัจจุบัน

2.0

ใหม่

3.0

นวัตกรรม

4.0

ปรับปรุง

สหกิจ ทำให้บัณฑิตเป็นนักปฏิบัติ

ทำโดย

1.อาจารย์ต้องไม่อายที่จะไปฝึกงาน

2.อาจารย์ที่ไม่ใช่สายปฏิบัติควรไปเป็นกรรมการสมาคมสายวิชาชีพ จะได้เป็นสมาชิกสัมพันธ์และได้เพื่อนมาสอนที่มหาวิทยาลัย ซึ่งกรรมการสภาผ่านแล้วว่าให้เบิกค่าเครื่องบินได้

 

เวลาทำอะไรต้องตอบ

1.Strategy ความคิดนั้นดีหรือไม่

2.หัวหน้า Operation

3.แหล่งเงินยั่งยืนหรือไม่

 

ถ้าไม่มี Strategy ก็ต้องมี complexity คือบริหารและหารายได้โดยศิลปิน บางครั้งต้องเกี่ยวโยงกับคนจำนวนมาก ต้องมีการข้ามศาสตร์กัน

 

แต่สิ่งที่หายากคือ ผู้จัดการโครงการและ Operation Team  3 คน

 

Digital

AI

Cloud Funding

Blockchain

 

 อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่อาจารย์ไกรฤทธิ์บรรยายคือ Marketing 4.0 แม้จะเป็นประเทศไทย 4.0 ก็ยังมียุคต่างๆคือ 2.0, 3.0

Marketing 4.0 เป็นการตลาดวิวัฒน์มวลชน คือ การตลาดที่สอนคนให้ใช้สิ่งของต่างๆ เพราะเป็นเรื่องเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้อง เช่น เวลาซื้อหนังสือ คนก็เข้าไปอ่านเรื่องย่อในเว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ ถ้ามหาวิทยาลัยไปวิวัฒน์ลูกค้าได้ ก็จะชนะ

เรื่องที่อาจารย์ไกรฤทธิ์สอน

1.การตลาดวิวัฒน์มวลชน

2.Reality มีการนำแนวคิดการตลาดสมัยใหม่มาปรับใช้กับมหาวิทยาลัย

Product คือ ม.อ.ต้องรู้จักตัวเอง คู่แข่ง ส่งเสริม peer ซึ่งกันและกัน มีการนำเสนอมุมมองแนวโน้มใหม่ มีการเพิ่มมูลค่า หาพื้นที่โดดเด่นของม.อ.ให้ได้

แนวโน้มใหม่ของลูกค้า คือ Socialnomic of Nation มีการพูดปากต่อปาก

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ในปัจจุบันนี้ ลูกค้าร่วมเป็น co-producer ด้วยในการผลิตสินค้า ดังนั้นอาจารย์ต้องฟังลูกศิษย์ให้มากขึ้น เพราะลูกศิษย์ไม่ใช่แค่ผู้รับความรู้เท่านั้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เมื่อลูกศิษย์มี Lifestyle ที่เปลี่ยนไป เพราะฉะนั้นต้องตามให้ทัน ต่อมาอาจารย์ไกรฤทธิ์กล่าวถึง เรื่อง Price ราคาทางวิชาการ ม.อ.ถูกสอนว่า ต้องคิดไม่แพง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ถ้าพึ่งตนเองไม่ได้ จะนำเงินที่ใดไปคิดราคาถูกให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ควรจะมองเป็น Niche สิ่งใดสามารถคิดราคาถูกได้ก็ควรทำ บางหลักสูตรก็คิดราคาแพงได้โดยเฉพาะเรื่องที่ม.อ.มีความโดดเด่น เพราะคนที่มาเรียนจะไปเพิ่มมูลค่าของคนที่มาเรียนได้ การหารายได้จากบริการวิชาการจะทำให้สามารถคิดค่าธรรมเนียมด้านอื่นๆ ถูกลง

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

คณะแพทยศาสตร์ควรหารือกับคณะเภสัชศาสตร์ตั้งโรงพยาบาล 3 ประเภท คือ โรงพยาบาลฝึกลูกศิษย์ โรงพยาบาลรักษาคนไข้ 30 บาท โรงพยาบาลที่สามารถคิดราคาแพงได้เพราะรักษาอาการเจ็บป่วยที่ร้ายแรง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เวลานำงบมาทำวิจัย ขอให้มองในแง่การนำมาช่วยพัฒนาวิชาการคือ Product

เรื่อง Place ภูมิศาสตร์ไม่สำคัญเพราะมีดิจิตอล

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ม.อ.อยู่ใจกลางเมือง แต่ยังไม่อยู่กลางใจคน คนเดินถนนก็เกือบลืมว่า มีม.อ.อยู่ คนหาดใหญ่ยังไม่คิดถึงม.อ.เป็นอันดับต้นเมื่อต้องการพึ่งพาอาศัย ควรตั้งเภสัชชุมชนในเมือง ม.อ.ควรรีบเข้าไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีเหตุด่วนเหตุร้าย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สุดท้ายคือ People Communication เป็นการอธิบายการตลาดสมัยใหม่ด้วยการตลาดแบบเดิม

เพราะยังคงจำเป็นต้องเรียนรู้แนวคิดเดิมและพัฒนาการใหม่

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ม.อ.ควรทำ roadshow ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมา เช่น ไปให้ความรู้ระบบสุขอนามัยผู้หญิงที่โรงเรียนมัธยมศึกษา

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/30163

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 หน้า 5

http://www.naewna.com/politic/columnist/30450

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม 2560 หน้า 5

http://www.thinkingradio.net/view/594621eae3f8e4d032374644

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.thinkingradio.net/view/5958c0fbe3f8e4d0323755ce

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.thinkingradio.net/view/596b4560e3f8e40af5bdaf7d

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2560 เวลา 6.00-6.30 น. ทาง FM 96.5 MHz.


หมายเลขบันทึก: 630824เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2017 10:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2017 19:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

Summary of what has been learned and what will be applied to the work

13-July-17

Subject 15:

  • Energy  =  the number and the nature of exchanges among team members
  • Engagement = the distribution of energy among team members
  • Exploration = the energy between a team and the other teams it interacts with
  • Working group has a sole leader but team shares leadership. 
  • Together + Everyone + Achieves + More  = TEAM

Subject 16:

  • Organic thinking is one form of strategic thinking. Seeds can tell the future consequences
  • In zero sum game, one side will be completely lost
  • Post-Cold War initiated globalization which affected economic, politics and culture.

Subject 17:

  • IMT-GT = Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle
  • ASEAN+3 = ASEAN + China, Japan, South Korea
  • ASEAN+6 = ASEAN+3 + Australia + New Zealand + India
  • RCEP = regional Comprehensive Economic Partnership (more than ASEAN+3, ASEAN+6)

14-July-17

Subject 18:

  • How to communicate creative ideas to your boss in 5 steps:

1) Get the boss to instruct. Then, pause.

2) Propose ideas humbly according to the given instruction.

3) Ask the boss to compliment good points

4) As the boss to teach more. Then, pause.

5) Propose more ideas according to his instruction and his teaching.

  • How to react when a person proposed ideas:

     Praising Ideas + Positive Thinking + Problem Analysis

  • INTJ (the visionary)  = Introverted + iNtuition + Thinking + Judging
  • PPCO = Pluses + Potentials + Concerns + Opportunities

Subject 19:

Effective presentation has the following keys:

  • Do not throw everything at audiences. 
  • Systematic planning
  • Relevance, clear and short

Subject 20:

  • Kahoot is an application for interactive game that can be applied to the classroom
  • Disruptive technology is the new technology that has replaced the old one
  • In the near future, education should apply Cyber Physical Model

15-July-17

Subject 21:

  • Model for university management : Marketing + Product (graduates) + Finance + HR + Backup (information and infrastructure or tools) and a driver who drives this model
  • Garbage in,  Garbage out / Challenge in,  Challenge out
  • Marketing is a communication of products and organizational managements
  • Asset for PSU is a strong alumni

Subject 22:

  • Seven groups of customers / stakeholders are 1. Government 2. General Public (Alumni) 3. Media 4. Alternative Finance Source 5. NGOs 6. Peers 7. Internal Staffs
  • Peers should compliment one another 
  • Project manager must have project strategy / complexity, operational team and finance strategy / burning rate

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมอบรมโครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 (ช่วงวันที่ 13-15 กรกฎาคม 2560)

 วันที่ 13 กรกฎาคม 60

            ในช่วงแรกเป็นการนำเสนอบทเรียนจากหนังสือ Harvard Business Review: HBR'S 10 MUST READS On Teams โดยเป็นเรื่องของการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งโดยปกติแล้ว นิยามของการทำงานเป็นทีมอย่างแท้จริงจะมีความแตกต่างจากกลุ่มที่ทำงาน  เพราะในการทำงานเป็นทีมที่แท้จริง สมาชิกทุกคนจะมีความรับผิดชอบในส่วนของงานที่ทำร่วมกัน และผลที่ได้จากการทำงานเป็นทีมมักจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่การรวมกันเป็นทีมที่แท้จริงอาจเกิดได้ยาก และในบางสถานการณ์อาจต้องเลือกการทำงานแบบกลุ่มเพื่อให้งานสามารถดำเนินต่อไปได้มากกว่า ดังนั้นการบริหารจัดการเกี่ยวกับการทำงานไม่ว่าจะเป็นทีมหรือเป็นกลุ่มจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยและองค์ประกอบอื่น เช่น จำนวนสมาชิกและลักษณะงานเช่นกัน

            ในช่วงที่สองเป็นการบรรยายจาก รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  โดยสิ่งที่ได้รับจากการบรรยายจะเป็นในส่วนของหลักความคิดในเชิงระบบและความคิดในเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำไปสู่การปฏิรูปได้ และต้องระวังในส่วนของกับดักประสบการณ์ที่มักจะทำให้ตัวเราติดอยู่กับอดีตและปัจจุบัน แต่ไม่ได้คำนึงถึงอนาคต  การรู้จักพัฒนาความคิดแบบต่อยอดหรือ organic thinking ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ strategic thinking   ในส่วนถัดมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เศรษฐกิจโลก ประชาคมอาเซียน และเศรษฐกิจไทย ผลกระทบ การปรับตัว และกลยุทธ์ของ ม.อ. ซึ่งท่านได้อธิบายถึงเรื่องของ globalization ตลอดจนถึงเรื่องของ financial transformation ที่ได้อิทธิพลจากยุค digital  ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในองค์กรต้องศึกษาและพึงระวัง เพื่อจะได้รู้เท่าทันถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

วันที่ 14 กรกฎาคม 60

            ในช่วงแรกเป็นการบรรยายจาก อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ ในหัวข้อ Creative & Innovative Thinking กับ การพัฒนางานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำถึงเทคนิค 5 ขั้นตอนในการนำเสนอ idea ใหม่เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา และสิ่งที่ควรทำเมื่อผู้ใต้บังคับบัญชามานำเสนองานด้วยเทคนิค 3 ช  ซึ่งทั้ง 2 ขั้นตอนถือเป็นศาสตร์และศิลป์ของการสื่อสารที่ไม่เป็นการ “ฆ่า” ความคิดสร้างสรรค์ แต่จะทำให้เกิด momentum ในการพัฒนาและต่อยอดของความคิดสร้างสรรค์ต่อไป  นอกจากนี้ท่านอาจารย์ยังได้แนะนำถึงเทคนิคขั้นตอนของการคิดแบบคร่อมกรอบโดยคำนึงถึง pluses, potentials, concerns และ opportunities หรือ PPCO ที่มีส่วนช่วยในการฝึกการคิดอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

            ในช่วงต่อมาอาจารย์ศรัณย์ได้แนะแนวทางของการนำเสนอที่ดีและไม่น่าเบื่อ โดยมีหลักสำคัญคือต้องมีการวางแผนการนำเสนอที่ดี มีประเด็นที่จะนำเสนอชัดเจน และเลือกเฉพาะประเด็นที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องพูดทุกเรื่อง  โดยประเด็นต่างๆที่จะนำมาพูดนั้นต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นหลัก ไม่ใช่คำนึงถึงแต่ตัวผู้พูด

            ในช่วงสุดท้ายของวันเป็นการบรรยายโดย รศ.ดร.ยืน ภู่วรวรรณ ในเรื่องของการใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่างๆ ซึ่งท่านได้มีการใช้ application Kahoot มาประกอบในการทำกิจกรรมถามตอบในชั้นเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในการสอนจริงได้  สิ่งที่อาจารย์ควรต้องระวังคือเรื่องของ disruptive technology โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของยุค digital ซึ่งเราก็ควรจะต้องมีการปรับตัวและใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มายกระดับการสอนให้ทันสมัยและไม่น่าเบื่อ และในอนาคตมหาวิทยาลัยจะไม่ใช่ศูนย์กลางของความรู้อีกต่อไป เพราะความรู้ทุกอย่างสามารถหาได้จาก internet หรือโลก digital ดังนั้นทิศทางของมหาวิทยาลัยควรปรับให้สอดคล้องกับ cyber physical model โดยการเพิ่ม activity ประกอบการเรียนการสอนให้มากขึ้น และไม่ได้เน้นแต่การเรียน lecture เพียงอย่างเดียว

วันที่ 15 กรกฎาคม 60

            ท่านศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ได้มาบรรยายเกี่ยวกับ โมเดลประเทศไทย 4.0 - แนวคิดทางการตลาด สู่การสร้างคุณค่าใหม่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งท่านได้ยกตัวอย่างเกี่ยวกับการบริหารจัดการในมหาวิทยาลัยที่เปรียบเสมือนรถ ซึ่งประกอบไปด้วยล้อทั้ง 4 คือ การตลาด การผลิต การเงิน การบุคคล และมียางสำรองเป็นเรื่องของ information และ infrastructure   ในส่วนของการตลาดนั้น มหาวิทยาลัยจะมีกลุ่มลูกค้าอยู่ 7 กลุ่มหลักๆ  ซึ่งหนึ่งในกลุ่มที่สำคัญนั้นคือกลุ่มของศิษย์เก่า เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีกำลังในการสนับสนุนในด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัย ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรมีการจัดการเริ่มต้นในเรื่องนี้ตั้งแต่การดูแลศิษย์ในปัจจุบันให้ใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน

พรสถิตย์ สุขชู

คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่

โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รุ่นที่ 3

ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 13–15 กรกฎาคม2560  ห้องแคทลียา ชั้น 3 สยามนครินทร์ คอมเพล็กซ์

 สรรวภัทร พัฒโร

หัวข้อ การนำเสนอบทเรียนจากหนังสือ HarvardBusiness Review: HBR'S 10 MUST READS On Teams ข้อคิดที่ได้คือ 3E (Exploration) => + Team + Discipline + Thepower of small win + Teamwork = PSU Team การสื่อสารเป็นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักทำงานเป็นทีมและเชื่อมประสานกับทีมงานอื่น รู้จักยึดหลักการของการทำงานเป็นทีมขยับการทำงานด้วยเป้าหมายแบบชัยชนะเล็ก ๆ และบรรลุเป้าหมายด้วยการทำงานเป็นทีม

หัวข้อ การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและการคิดเชิงกลยุทธ์ของรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ข้อคิดที่นำไปใช้ได้คือการรู้จักคิดในกรอบนอกกรอบและประเมินกรอบ เช่น “ของเก่าบางอย่างดีที่สุดแล้ว จะต้องหาของใหม่อีกไหม”บางครั้งการอยู่ในกรอบก็ดีกว่าอยู่นอกกรอบ เป็นต้นการรู้จักมองเป้าหมายและตัดสิ่งที่ไม่สำคัญออก การทำนายอนาคตด้วยวิธีการมองหาเมล็ดพันธุ์และการมองเห็นภาพสืบเนื่องได้ และหลักการจัดเรียงความคิดของเราเป็นระบบมากขึ้น    

          หัวข้อCreative& Innovative Thinking ของอาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์ ข้อคิดที่จะนำไปใช้ได้คือประโยชน์จากการเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เทคนิคการแยกความสำคัญของคำถามคำตอบที่ต้องตั้งอยู่บนหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และประสบการณ์ และบทบาทสมมุติหัวหน้าลูกน้องวิธีบริหารจัดการความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถนำไปใช้จริงโดยไม่โดนฆาตกรรมทางความคิด

          หัวข้อEffectivePresentation & Communication วิทยากรสอนให้เห็นถึงเทคนิคการพัฒนาตนเองในการนำเสนอและสื่อสารด้วยการเปรียบเทียบBefore และ After จะทำให้เรารู้จักพัฒนาการนำเสนอและสื่อสารในแต่ละครั้งให้มีคุณภาพและดีขึ้น

          หัวข้อเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในงานด้านต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของรศ.ดร.ยืน ภู่วรวรรณ ข้อคิดที่ได้โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสูงมากเช่น Google ประเทศไทยจะพัฒนาไปตามแนวคิด Thailand4.0 ได้อย่างไร ทำให้เห็นทิศทางของ digital age ขณะที่ม.อ.ก็ต้องปรับตัวเป็น Digital Transformation เปลี่ยนแปลงการทำงานในอนาคต

หัวข้อ แนวคิดทางการตลาดสู่การสร้างคุณค่าใหม่ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของศาสตราภิชานไกรฤทธิ์บุณยเกียรติ ข้อคิดที่ได้คือการคิดเชิงระบบมองเห็นภาพรถยนต์ 4 ล้อ หนึ่ง การตลาด มองหา Demand สอง การผลิตดูหลักสูตร R+D Service Conservative สาม การเงิน สี่การบุคคล ห้า สิ่งสนับสนุน และรู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร รัฐบาล ศิษย์เก่าสื่อมวลชน การเงิน NGO Peer Internal

จิรยุทธ์ จันทนพันธ์

ข้อคิดที่ได้จากการเรียนรู้จากการอบรม ได้บันทึกไว้ใน share.psu.ac.th ซึ่งเป็น plateform ในการแบ่งปันความรู้ร่วมกันของบุคลากรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งสามารถเข้าไปติดตามได้ตาม links ด้านล่าง ตามหัวข้อเลยครับ

การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ โดย อ.ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

ข้อคิดจากการเรียนรู้กับ รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การตลาดมหาวิทยาลัย โดย ศาสตราภิชาญไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

สุดท้าย ขอทิ้งท้ายวลีสำคัญ ไว้ว่า "เราต้องทำให้ชุมชนพูดได้ว่า ม.อ. คือ มหาวิทยาลัยของเขา"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท