๕๗๐. การศึกษาไทย..เหมือนพายเรือในอ่าง..


ผมยอมรับเลยว่า..เป็นแนวคิดที่แยบยล ไร้ขีดจำกัดจริงๆ ที่ใช้การศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ..แต่จะอยู่บนรากฐานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า..ผมไม่แน่ใจ..

ครูบาอาจารย์ นักการศึกษาและหลายท่าน..รับทราบกันดีอยู่แล้วว่า..การศึกษาไทยวนไปวนมา คิดใหม่ ทำใหม่รายปี..พอมีผู้นำคนใหม่ก็เลิกรา ว่ากันใหม่..แล้วก็วนมาหาที่เดิม..

นวัตกรรม..การสอนและสื่อ ตลอดจนวิธีปฏิบัติที่ดี..มีมากมาย ทำท่าจะไปได้สวยสมคำร่ำลือ ไม่ทันจะได้ประเมินผล..ก็อ้างปัญหาใหม่..เอาเข้ามาแทรกแซง และก็นำเสนอวิธีการใหม่ต่อไป..

จนครูตามไม่ทัน..และเบื่อหน่ายกับการรับรู้รับทราบนโยบาย เบื่อหน่ายกับการอบรมสัมมนา..แบบซ้ำไปซ้ำมา.. เพราะจริงๆปัญหาที่ห้องเรียน..ไม่ตรงกับปัญหาที่ผู้นำการศึกษา..คิดว่ามันเป็นปัญหา..

ยกตัวอย่าง..ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (เด็ก) เฟื่องฟูอยู่พักใหญ่ ทำไปทำมาก็เหมือนจะบอกว่า..เด็กยังไม่รู้อะไรในสิ่งที่ “ต้องรู้” เลยหันมาสนใจ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (ครู).....

คิดนโยบายใหญ่โต..พัฒนาครูครบวงจร จัดสรรงบประมาณให้ครูคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อไปเข้ารับการอบรมสัมมนาในบริษัทจัดอบรม หรือในองค์กรต่างๆ เลือกหลักสูตรตามแต่ใจปรารถนา...

ผมแปลกใจว่าก่อนหน้านี้ก็พูดถึง..PLC ..ที่แนะนำครู ถ้ามีปัญหาการเรียนการสอนอะไร ให้มารวมกลุ่มคุยกัน ค่อยๆหาวิธีการแก้กันไป..ด้วยวิธีการและเครื่องมือที่เรียบง่าย ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม..ตามบริบทของโรงเรียน..ถามว่า..ต้องใช้เงินคนละเป็นหมื่น..เพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเชียวหรือ..

ปีที่แล้ว..บอกว่า..เด็กควรรู้หลากหลาย..ครูไม่ถนัด..โรงเรียนไม่มีเงิน ก็ไปเชิญปราชญ์ชาวบ้าน เชิญครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาช่วย..แต่ปีนี้รัฐบาลเดียวกัน..ไม่พูดเรื่องนี้ แต่มีเงินให้ครูไปหาความรู้เอง..โดยเชื่อว่า..ครูจะพัฒนาตนเอง..พัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาวิทยฐานะ..มันคนละเรื่องเลย

โดยหารู้ไม่ว่า..บริษัทจัดอบรมพัฒนาครูนั้น..บางหลักสูตรก็เป็นเรื่องไกลตัว ไม่ตรงกับปัญหา และเป็นสิ่งที่ครูและผู้บริหารเรียนรู้มาแล้วใน..มหาวิทยาลัย..

อย่าลืมนะครับ..ครูและผู้บริหารสมัยนี้ ซี ๘ จบ ป.โท ป.เอก เต็มบ้านเต็มเมือง..บุคลากรเหล่านี้ จะไม่มีความรู้ความสามารถเลยหรือ..จะคิดไม่เป็นทำไม่เป็นเชียวหรือ..

ผู้นำการศึกษาลืมอะไรไปหรือเปล่า..รัฐบาลทุ่มงบประมาณให้โครงการพระราชดำริ กับงานพระราชมรดกทางการศึกษา..DLTV..หลายพันล้าน..เป็นนวัตกรรมที่ล้ำค่า..ครูใช้เป็นวิธีสอน มีสื่อและใบงานให้สืบค้น..มีวิธีปฏิบัติที่สามารถใช้ DLTV ได้อย่างมีประสิทธิภาพ..ยังมีอะไรที่ดีกว่านี้อีกหรือ..แค่นี้..ครูก็มีความสุขแล้ว

วันดีคืนดี..รัฐก็ทุ่มเงินหลายร้อยล้าน ไปดึงครูเก่งๆจากทั่วประเทศ  ให้ครูเหล่านี้ทำแผนฯสอนให้ดู คิดสื่อนวัตกรรม ทำแบบฝึก..จนเกิดเป็น DLIT ที่สุดยอดมาก..ครูได้ใช้พัฒนาผู้เรียนทุกสาระวิชา..ครูสามารถใช้พัฒนาตนเองทางวิชาการ ตามระบบPLC..ก็ย่อมได้

เรื่องนี้..ยังไปไม่ถึงไหนเลย..จะให้ครูออกนอกห้องเรียน ทิ้งเด็กทิ้งโรงเรียน..ไปหาความรู้นอกระบบอีกแล้ว..

ผมเพิ่งจะเห็นด้วยกับวิทยากร..ที่เขตพื้นที่เชิญมาพูดเมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านบอกว่า..ครูสมัยนี้ไม่ต้องอะไรมาก..ขอให้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ขยันสักนิด คิดอะไรไม่ออกบอกกูเกิล ใช้ยูทูปเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนการสอน..เท่านี้เด็กก็ตื่นตาตื่นใจแล้ว....

ถามว่า..แล้วจะมาแจกเงินให้ครูทำไมตั้งมากมาย..ครูก็มีคอมพิวเตอร์และมีโทรศัพท์กันทุกคน..

ครับ..ที่ผมพูดมาทั้งหมด ขอให้ลืมไปซะ..นั่นคือการ “คิดลบ” ที่มันจบไปแล้ว คราวนี้ลองมามองในมุม “คิดบวก” ของผมกันบ้าง..

ผมคิดว่ารัฐบาล ในยุคที่ค้าขายไม่เป็น คิดแบบนี้น่ะถูกต้องแล้ว เป็นการกระจายรายได้ไปทุกหย่อมหญ้าอย่างทันตาเห็น..เพราะรัฐบาลมีเงินงบประมาณมากมาย..แต่เงินมันจมอยู่ในคลัง..

ถ้าให้ครูคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท..ครูเป็นแสน..จิ๊บจ๊อยมาก..ข้อดีก็คือ..บริษัทจัดอบรมสัมมนา ที่กำลังซบเซา..ฟื้นตัวได้แน่..โรงแรมได้ตังค์ ครูไปอบรมต้องจับจ่าย ตลาดสินค้าจะคึกคัก ครูขับรถไปต้องเติมน้ำมันเข้าอเมซอน พักผ่อนต่อยังสถานที่ท่องเทียวในจังหวัดนั้นๆ..เงินสะพัดเท่าไหร่..

ผมยอมรับเลยว่า..เป็นแนวคิดที่แยบยล ไร้ขีดจำกัดจริงๆ ที่ใช้การศึกษาเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ..แต่จะอยู่บนรากฐานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงหรือเปล่า..ผมไม่แน่ใจ..

แต่ที่แน่ๆ..ครุเริ่มจะไม่ค่อยได้สอนกันแล้ว..ว้าวุ่นกับการติดตาม ลงทะเบียน ตรวจสอบกำหนดการ เรียนรู้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณและศึกษาหลักสูตรที่จะต้องไปพัฒนาตามเงื่อนไข..

ดังนั้น..ปีนี้..ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (เด็ก) คงไม่ใช่แล้ว..กว่าเด็กจะได้ตั้งหลักเรียนรู้อย่างแท้จริง ก็คงเทอม ๒ ปลายๆ..ผมจึงบอกว่า..การศึกษาทำไปทำมา ก็วนมาหาที่เดิม..สงสารเด็กไทยและครูไทยจริงๆ

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๖  กรกฎาคม  ๒๕๖๐ 

หน้าห้องสมุด... 

เห็ดนางฟ้า..

บ่อปลาบ่อกบ

บ่อปลาดุก..

ปุ๋ยหมัก...

เลี้ยงไก่...

เลี้ยงเป็ด

เลี้ยงกระต่าย

เลี้ยงแพะ

ปลูกผักปลอดสารพิษ

หมายเลขบันทึก: 630782เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2017 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2017 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน อาจารย์

       ขอเป็นกำลังใจให้อาจารย์ค่ะ โครงการฯที่อาจารย์ทำในโรงเรียน สืบสานจากโครงการพระราชดำริฯ         อย่างน้อยอาจารย์ได้ลงมือกระทำแล้ว และยังถ่ายทอด เพื่อให้สติ กับคนที่พึงเกี่ยวข้องในวงการศึกษาด้วย ภายใต้หมวกที่สวมอยู่ ภายใต้โลกทุนนิยมอันบ้าคลั่งที่กำลังจะปิดฉากลง อาจารย์ทำได้ดีที่สุดในความคิดเห็นค่ะ


ขอแสดงความนับถือ

คุณลิขิต

เรียน คุณลิขิต

ขอบคุณครับ..ที่ให้กำลังใจ..ก็แค่สงสัย..นโยบายการศึกษาไทย หลงลืมอะไรไปหรือเปล่า เยาวชนลูกหลานไทย หลายล้านคน ในระดับรากหญ้า..จากโรงเรียนชายขอบหลายหมื่นโรง..เรียนอะไรกันอยู่ เรียนแล้วไปไหน..เราอัดหลักสูตรอะไรมากมาย.. ใส่สมองเขา..

ยิ่งเรียน..ยิ่งออกห่างจากความเป็นจริง..พึ่งตนเองไม่ได้ ไร้ทักษะชีวิต คิดทำมาหากินได้ไหม..เรียนแล้วจะประกอบอาชีพอะไร..เหมือนไร้จินตนาการ..

ผมลงมือทำแหล่งเรียนรู้..ในโรงเรียนขนาดเล็ก ทำแล้วแบ่งปัน..ไม่เคยคิดเพิ่มพูนวิทยฐานะ เริ่มต้น..หลายคนมองว่าสร้างภาพ..๑๑ ปีผ่านไป..ผมมีความสุขกับเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่ประยุกต์ใช้แนวคิดจาก..ศาสตร์พระราชา..เพราะผมคิดว่า..เทิดทูนแล้วปฏิบัติ..จะช่วยให้ชีวิตและงาน มั่นคงและยั่งยืนครับ..

มาแล้ว...ก็ไป
หัวใจการศึกษาไทยอยู่ตรงไหนก็ไม่่รู้
แว่บ ๆ นั่งแอบดู
เบื่อหน้าครูที่หัวกระทรวง ;)...

ปล.คนในย่อมรู้ดีที่สุดนะครับ
ว่าวิธีคิดเหล่านั้นเป็นอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท