ทฤษฎีและหลักกฎหมายราชทัณฑ์


ทฤษฎีการลงโทษและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ เป็นกรอบ หรือ แนวทาง ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ และ / หรือ เจ้าพนักงานเรือนจำ.........................

                               

               ทฤษฎีการลงโทษ เป็นรูปแบบการลงโทษ หรือ วิธีการปฎิบัติต่อนักโทษ / ผู้ต้องขัง ที่ประเทศต่างๆ ใช้เป็นกรอบ หรือ แนวทาง ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ และ เจ้าพนักงานเรือนจำ โดยในกรณีของกฎหมายราชทัณฑ์ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ  เยอรมัน จีน รัสเซีย และ ญี่ปุ่น  เรามักจะพบทฤษฎีการลงโทษ แนวคิดในการลงโทษ และ วัตถุประสงค์ของการลงโทษปรากฏอยู่ในกฎหมายราชทัณฑ์ของแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในอารัมภบท หรือ บททั่วไป หรือ สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาสาระของกฎหมายบทมาตราต่างๆ ของกฎหมายราชทัณฑ์ของแต่ละประเทศ โดยจะเป็นการกล่าวถึงทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักในการลงโทษ เช่น ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้ง ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู ทฤษฎีปกป้องคุ้มครองสังคม ทฤษฎีการลงโทษเพื่อซ่อมแซมชดใช้หนี้ และ ทฤษฎีลดค่าใช้จ่ายคุก เป็นต้น

            หลักกฎหมายราชทัณฑ์ เป็นหลักทฤษฎี ต่างๆ ที่ได้นำมาใช้ ในการจัดทำ / ยกร่าง / ตรา กฎหมายราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบ หรือ แนวทาง ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ และ เจ้าพนักงานเรือนจำ ในกรณีของกฎหมายราชทัณฑ์ในต่างประเทศ ดังกล่าวข้างต้น เรามักจะพบหลักทฤษฎีการลงโทษ แนวคิดในการลงโทษ  วัตถุประสงค์ของการลงโทษ และ หลักการปฏิบัติต่อนักโทษ รวมตลอดถึง วิสัยทัศน์ ในการปฏิบัติงานของกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น ปรากฏอยู่ในกฎหมายราชทัณฑ์ของแต่ละประเทศ โดยส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในอารัมภบท หรือ บททั่วไป ของกฎหมายราชทัณฑ์ของแต่ละประเทศ เช่นเดียวกันกับทฤษฎีการลงโทษ โดยจะเป็นการกล่าวถึงทฤษฎีการลงโทษและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ในเรื่องต่างที่สำคัญ โดยสังเขป ดังนี้ 

        ๑. ทฤษฎีการลงโทษ (Theories of punishment)

        เนื้อหาสาระ เรื่อง ทฤษฎีการลงโทษ อาจแบ่งได้เป็น ๓ เรื่อง ใหญ่ๆ คือ แนวคิดวิวัฒนาการการลงโทษ / อาชญาวิทยา ในยุคต่างๆ สำนักความคิดทางทฤษฎีการลงโทษ/ อาชญาวิทยา และ ประเภทของทฤษฎีการลงโทษ ดังนี้

        ๑.๑ แนวคิดวิวัฒนาการการลงโทษ / อาชญาวิทยา ในยุคต่างๆ อาจแบ่งระยะเวลาวิวัฒนาการทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยา ออกได้เป็น  ๖ ยุค ดังนี้ 

       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / ความดีและความชั่วร้า

       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาดั้งเดิม  

       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาแนววิทยาศาสตร์     
                                                                                                                    
       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาเชิงสังคมศาสตร์    
                                                                                                                                                 
       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาแนวขัดแย้ง   
       - ยุคทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาปัจจุบัน

       ๑.๒ สำนักความคิดทางทฤษฎีการลงโทษ /อาชญาวิทยา สำนักต่างๆ อาจแบ่ง ออกได้เป็น  ๔ สำนัก ดังนี้

        - สำนักทฤษฎีการลงโทษ /อาชญาวิทยาดั้งเดิม
                                                                                                                                                                 
        - สำนักทฤษฎีการลงโทษ /  อาชญาวิทยากึ่งดั้งเดิม

        - สำนักทฤษฎีการลงโทษ /  อาชญาวิทยาปฏิฐานนิยม และ

        - สำนักทฤษฎีการลงโทษ / อาชญาวิทยาสังคมสมัยใหม่
                                                                                                                                       
        ๑.๓ ประเภททฤษฎีการลงโทษ อาจแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท ขึ้นอยู่กับการแบ่งโดยอาศัยหลักอะไร ถ้าแบ่งโดยอาศัยหลักนโยบายเน้นหนักด้านการลดค่าใช้จ่ายคุก  การชดเชยเหยื่อ และ การใช้แรงงานนักโทษให้เป็นประโยชน์ ก็อาจแบ่งได้เป็น ๖ ทฤษฎี ดังนี้

        - ทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive Theory)

        - ทฤษฎีข่มขู่ยับยั้ง (Deterrence Theory)

        - ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitative Theory)

        - ทฤษฎีปกป้องคุ้มครองสังคม (Social Protection Theory)

        - ทฤษฎีการลงโทษเพื่อซ่อมแซมชดใช้หนี้ (Restitution or repayment Theory)

        - ทฤษฎีการลงโทษเพื่อลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) เป็นต้น

            ในปัจจุบันประเทศต่างๆ  ได้มีการนำทฤษฎีการลงโทษ ดังกล่าว ไปใช้ในรูปแบบผสมผสาน เรียกว่า ทฤษฎีการลงโทษแบบผสม (Mixed Theories of Punishment)

        ๒. หลักกฎหมายราชทัณฑ์ เป็นกฎหมายที่ประกอบด้วยเนื้อหาสาระที่สำคัญหลายประการ เช่น หลักทฤษฎีการลงโทษ หลักทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรม (Crime Control Model) หลักทฤษฎีความชอบด้วยกระบวนการทางกฎหมาย(Due Process Model) หลักอาชญาวิทยา  หลักทัณฑวิทยา หลักกฎหมายระหว่างประเทศ หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม หลักกฎหมายมหาชน และ หลักการมีส่วนร่วม เป็นต้น โดยเนื้อหาสาระ ดังกล่าว จะปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ และ กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงกฎบัตรสหประชาชาติ กฎ กติกา  ข้อกำหนด ข้อตกลง อนุสัญญา / สนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ฯลฯ

        โดยในที่นี้จะเป็นการกล่าวถึงหลักกฎหมายราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ และ กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงกฎบัตรสหประชาชาติ กฎ กติกา  ข้อกำหนด ข้อตกลง อนุสัญญา / สนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ฯลฯ  โดยสังเขป ดังนี้

        ๒.๑ หลักกฎหมายราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และ กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงมาตรฐานสหประชาชาติ กฎ กติกา  ข้อกำหนด ข้อตกลง อนุสัญญา / สนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ฯลฯ ประกอบด้วยเนื้อหา สาระ ต่างๆ เช่น

         - พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ และ กฎกระทรวงมหาดไทย ๑ ออกตามความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙

         - พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักขังตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๐๖

กฎกระทรวง และระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องกักขัง

         - พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกักกันตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ๒๕๑๐

และกฎกระทรวงฯ

         - พระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๘๒ และประมวลจริยธรรมข้าราชการกรมราชทัณฑ์

         - พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศในการดำเนินการตามคำพิพากษาคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๒๗

         - พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕

         - พระราชกฤษฎีกาแก้ไขบทบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ

ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕  

         - พระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕

         - กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๔๕

         - กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ ๘๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติ

เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘

         - ระเบียบที่เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์

         - ข้อบังคับที่เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์

         - ประกาศที่เกี่ยวกับงานราชทัณฑ์

         - กฎบัตรสหประชาชาติ  กฎ กติกา ข้อกำหนด ข้อตกลง อนุสัญญา / สนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิก เป็นต้น

        ๒.๒ หลักกฎหมายราชทัณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐  ประกอบด้วยเนื้อหา สาระ สำคัญ โดยสังเขป ดังนี้

        -  ทฤษฎีการลงโทษที่ปรากฏในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ เน้นทฤษฎีการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู

        - โครงสร้างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบด้วย

        หมวด ๑ คณะกรรมการราชทัณฑ์

        หมวด ๒ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานเรือนจำ

        หมวด ๓ การจำแนก เขตความรับผิดชอบ และมาตรฐานเรือนจำ

        หมวด ๔ ผู้ต้องขัง         

        ส่วนที่ ๑ การรับตัวผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๒ การจำแนกและการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง

        หมวด ๕ สิทธิ หน้าที่ ประโยชน์ และกิจการอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๑ สิทธิของผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๒ หน้าที่และการงานของผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๓ ประโยชน์ของผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๔ สุขอนามัยของผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๕ การติดต่อผู้ต้องขัง

        ส่วนที่ ๖ ทรัพย์สินของผู้ต้องขัง

        หมวด ๖ การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยและการพ้นจากเรือนจำ

        หมวด ๗ วินัยและบทลงโทษ

        หมวด ๘ ความผิดเกี่ยวกับเรือนจำ และ

         กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมตลอดถึงกฎบัตรสหประชาชาติ กฎ กติกา ข้อกำหนด ข้อตกลง อนุสัญญา /สนธิสัญญา ระหว่างประเทศ ฯลฯ


         สาระสำคัญ / แนวทางการดำเนินงาน ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบด้วยเรื่องต่าง เช่น

       - วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ ๒๕๖๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และ

       - วันที่มีผลบังคับใช้ มีผลบังคับใช้ผลตั้งแต่วันที่  ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐     

       - กำหนดเวลาออกกฎหมายลำดับรอง / กฎหมายลูก ภายในวันที่  ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐ (ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ตามมาตรา ๗๖ วรรค ๒)       

       - ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา ๗)    

       - ให้มีคณะกรรมการราชทัณฑ์โดยตำแหน่ง ภายในระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (มาตรา ๗๘)               

       - กรณีไม่สามารถออกกฎหมายลำดับรอง / กฎหมายลูกได้ทันภายในกำหนด ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ตามมาตรา ๗๖ วรรค ๒

       - ให้ใช้กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ต่อไป จนกว่าจะมีการออกกฎหมายลำดับรอง / กฎหมายลูก ตาม บทเฉพาะกาลมาตรา ๗                

บรรยาย  ทฤษฎีและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ แก่ข้าราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สังกัด เรือนจำกลางบางขวาง ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ (บางส่วน) 

 บรรยาย ทฤษฎีและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ แก่ข้าราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สังกัด เรือนจำกลางบางขวาง ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ (บางส่วน) 

บรรยาย ทฤษฎีและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ แก่ข้าราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สังกัด เรือนจำกลางบางขวาง ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐ (บางส่วน) 

โดยสรุป  

        ทฤษฎีการลงโทษและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ เป็นกรอบ หรือ แนวทาง ในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานราชทัณฑ์ และ เจ้าพนักงานเรือนจำ โดยใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน จีน รัสเซีย และ ญี่ปุ่น  ได้เน้นหนักในการให้นักโทษทำงาน เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือชดเชยเหยื่อ / ผู้เสียหาย หรือ นำรายได้มาช่วยลดค่าใช้จ่ายคุกซึ่งเป็นงบประมาณที่มาจากมาจากภาษีอากรของประชาชน ตามทฤษฎีการลงโทษเพื่อซ่อมแซมชดใช้หนี้ / ทฤษฎีการลงโทษเพื่อลดค่าใช้จ่ายคุก (ดูบทความ เรื่อง ทฤษฎีการลงโทษเพื่อซ่อมแซมชดใช้หนี้ วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ในอินเตอร์เน็ต และ ดูบทความ เรื่อง กฎหมายราชทัณฑ์ ตอน กฎหมายคุ้มครองเหยื่ออาชญากรรม วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ในอินเตอร์เน็ต) สำหรับทฤษฎีการลงโทษที่ปรากฏในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ ของไทยยังคงเน้นหนักไปที่ทฤษฎีแก้ไขฟื้นฟู เพื่อการคืนคนดีสู่สังคม (ดูบทความ เรื่อง ตรรกะแห่งคุก วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ในอินเตอร์เน็ต)โดยไม่ได้เน้นการให้นักโทษทำงาน เพื่อนำรายได้มาช่วยเหลือชดเชยเหยื่อ / ผู้เสียหาย หรือ นำรายได้มาช่วยลดค่าใช้จ่ายคุกซึ่งเป็นงบประมาณที่มาจากภาษีอากรของประชาชน (ดูบทความ เรื่อง นักโทษไทยแรงงานที่สูญเปล่า วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ ในอินเตอร์เน็ต) ดังนั้น การได้มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีการลงโทษ ว่ามีองค์ประกอบ แนวคิด วัตถุประสงค์ ในการลงโทษอย่างไร และ การได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักกฎหมายราชทัณฑ์ ว่าประกอบด้วยโครงสร้าง เนื้อหาสาระ อย่างไรบ้าง รวมตลอดถึงบริบทว่าด้วยการดำเนินงานตามทฤษฎีการลงโทษในต่างประเทศ ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานราชทัณฑ์ / พัฒนาระบบงานราชทัณฑ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมาย คือ ความพอใจของประชาชน ต่อการปฏิบัติงานช่วยปกป้องและคุ้มครองสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมของกรมราชทัณฑ์ สำหรับหลักกฎหมายราชทัณฑ์ของไทยที่ใช้ในปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๖ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติ  และ ได้กำหนดให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และ มติคณะรัฐมนตรีที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวงระเบียบข้อบังคับ ประกาศ หรือ คำสั่ง ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับ (ภายในวันที่  ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๐) ตามบทเฉพาะกาลมาตรา ๗๖ นั่นเอง

                 ……………………..


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

ประธานนักศึกษาปริญญาเอกนิติศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี ๒๕๖๐

๔  กรกฎาคม ๒๕๖๐


อ้างอิง

ภาพประกอบจากเว็บไซต์ http://lad.correct.go.th/main/…

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง ทฤษฎีและหลักกฎหมายราชทัณฑ์ แก่ข้าราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ สังกัด เรือนจำกลางบางขวาง ประจำปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๐

หมายเลขบันทึก: 630699เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017 19:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2017 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตามมาเรียนรู้ด้วยคนครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณอาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ Chaiwud Boonwiwattanakarn (คนใต้โดยภรรยา) มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท