เส้นทางสายประวัติศาสตร์ ภูมิใจรักษ์ท้องถิ่น



ความสำคัญ จุดหมาย ขอบเขต

 ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วต่อสถาบันทุกระดับ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเข้าสู่มิติของการพัฒนาในแบบทุนนิยมและวัตถุนิยมสมัยใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาเยาวชนขาดความรู้ เข้าใจประวัติศาสตร์ชุมชนซึ่งมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อการอนุรักษ์ให้คงอยู่ชั่วลูกหลาน

อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหลายอย่างที่ควรให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ การปลูกกะหล่ำปี ห้วยสายบาตร ป่าโคกข่าว และหลวงปู่หิน ซึ่งอยู่ในคำขวัญของอำเภอชื่นชมที่ว่า ชื่นชมถิ่นคนดี กะหล่ำปีเงินล้าน ลำธารห้วยสายบาตร ธรรมชาติป่าโคกข่าว กราบเจ้าหลวงปู่หิน

สภาเด็กและเยาวชนอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อต้องการกระตุ้นให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิดของตนเองมากยิ่งขึ้น ด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอำเภอตนเอง ซึ่งจะเป็นพลังเยาวชนที่มีภูมิรู้ ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของตนเองต่อไปในอนาคต

โดยมีจุดประสงค์ ได้แก่

1)เพื่อส่งเสริมเด็กและเยาวชนอำเภอชื่นชมมีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอำเภอของตนเอง

2)เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนและคนในชุมชนด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม

3)เพื่อสร้างชุดข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่น อำเภอชื่นชมอย่างเป็นรูปธรรม

โดยมีพื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่

         - บ้านผือ ต.หนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม

         - บ้านหลุบแซง ต.หนองกุง อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม

         - บ้านหนองว้า ต.ชื่นชม อ.ชื่นชม จ.มหาสารคาม                                                             

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

- เด็กและเยาวชนในพื้นที่อำเภอชื่นชม                จำนวน 40     คน ได้แก่

โรงเรียนบ้านผือ โรงเรียนบ้านหนองกุง โรงเรียนบ้านกุดจอก และโรงเรียนเทศบาลหลุบแซง

- คณะวิทยากร เจ้าหน้าที่ ผู้ร่วมสังเกตการณ์        จำนวน 10     คน

รวมทั้งสิ้น  50   คน

ความสำคัญของประวัติศาสตร์อำเภอตามคำขวัญ

ชื่นชมถิ่นคนดี = เป็นคนมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ แบ่งปันคนอื่น

กะหล่ำปลีและอ้อยหวาน = แต่ก่อนปลูกกะหล่ำส่งออกขึ้นชื่อ

ลำธารห้วยสายบาตร = ลำห้วยที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตพอเพียง

ธรรมชาติป่าโคกข่าว = ผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในจังหวัด

กราบเจ้าหลวงปู่หิน = พระพุทธรูปคู่อำเภอชื่นชม

โดยมีรายละเอียดย่อย ดังนี้

กะหล่ำปลีและอ้อยหวาน

  • เป็นสินค้าส่งออกของอำเภอชื่นชมที่เคยทำเงินได้มากกว่า 30 ล้าน
  • เป็นกะหล่ำปลีคุณภาพดี ตลาดจึงต้องการมาก
  • ปลูกมากในพื้นที่ ต.ชื่นชม และ ต.กุดปลาดุก
  • มีประเพณีประจำอำเภอ “งานกะหล่ำปลีเงินล้าน”
  • ปลูกอ้อยทำเงินได้มากกว่ากะหล่ำปลี ทำให้คนสนใจไปปลูกอ้อยมากยิ่งขึ้น
  • กะหล่ำปลีภูทับเบิกมีตลาดและคุณภาพที่ดีกว่าทำให้กะหล่ำชื่นชมลดความต้องการลง
  • ปลูกเฉพาะในพื้นที่ ต.ชื่นชม และ ต.กุดปลาดุก ซึ่งเพียง ๒ ตำบลเท่านั้น

ลำธารห้วยสายบาตร

  • เป็นแหล่งน้ำอุปโภค บริโภค
  • เป็นแหล่งน้ำใช้ในการทำเกษตรกรรม
  • เป็นแหล่งน้ำปล่อยผี ตามคติชนโบราณ
  • เป็นแหล่งอาหารของชุมชน

ธรรมชาติป่าโคกข่าว

  • เป็นแหล่งอาศัยและหล่อเลี้ยงชีวิตของสัตว์มากมายหลายชนิดทั้งที่อาศัยทั้งในและนอกพื้นป่า
  • เป็นแหล่งต้นน้ำไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยโสกไร่
  • เป็นแหล่งอาหารธัญญาหารอันอุดมสมบูรณ์
  • เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้วิจัยทางธรรมชาติ
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
  • เป็นแหล่งรวมสมุนไพรพื้นบ้าน

กราบเจ้าหลวงปู่หิน

  • เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม โดยถูกบรรจุไว้ในคำขวัญของอำเภอ
  • เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในอำเภอ ทั้งในอำเภอและนอกอำเภอ
  • มีประเพณีประจำอำเภอ คือ ประเพณีกราบเจ้าหลวงปู่หิน ซึ่งจัดขึ้นทุกๆปี
  • เป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ทางโบราณคดี เพราะสร้างด้วยหินศิลาแลง

ตารางกิจกรรม

กิจกรรมนี้จัดขึ้น วันที่ 1-2 กรกฎาคม 2560 โดยสภาเด็กและเยาวชนอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม โดยมีกิจกรรมย่อย ดังนี้

1 กรกฎาคม 2560

08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและแจกป้ายชื่อกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน พี่เลี้ยง 10 คน

09.00-09.30 น. กิจกรรมสันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์ทำความรู้จักกัน ได้แก่ ปรบแกะ แตะกันเร็ว สัตว์บกสัตว์น้ำ ผึ้งแตกรังและกิจกรรมดอกไม้ 5 กลีบทำความรู้จักกันและอธิบายโครงการ วิทยากรโดยคุณธีระวุฒิ ศรีมังคละ และคุณพีรพัฒน์ บุญพิม

10.00-10.30 น.พิธีเปิดโดย นางสุภานัน เทียนทอง รักษาราชการแทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมหาสารคาม

10.30-11.30 น.กิจกรรมฐานการเรียนรู้ประวัติศาสตร์หลวงปู่หิน วิทยากรโดย คุณกุหลาบ แข็งฤทธิ์

11.30-12.00 น.เดินทางไปเรียนรู้ฐานป่าชุมชนและฐานอื่นๆโดย Bus rally ตามอัตลักษณ์อำเภอ

12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น.กิจกรรมฐานการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ป่าโคกข่าว วิทยากรโดย คุณสนธยา ธสา

14.00-14.10 น.เดินทางไปเรียนรู้ฐานเศรษฐกิจอำเภอและฐานอื่นๆโดย Bus rally และพักทานอาหารว่าง

14.10-15.10 น.กิจกรรมฐานเรียนรู้ประวัติศาสตร์กะหล่ำปีและเศรษฐกิจอำเภอ วิทยากรโดย คุณวีระพงศ์ แก้วนพรัตน์ เกษตรอำเภอชื่นชม

15.10-15.20 น.เดินทางไปเรียนรู้ฐานลำธารห้วยสายบาตรโดย Bus rally

15.20-16.20 น.กิจกรรมฐานเรียนรู้ประวัติศาสตร์ลำธารห้วยสายบาตร วิทยากรโดยคุณอภิชาติ

16.20-17.00 น.สรุปกิจกรรม สะท้อนผลการเรียนรู้ด้วยเครื่องมือ KPA Out side 

17.00 น.เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

2 กรกฎาคม 2560

08.00-08.30 น.ลงทะเบียน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน พี่เลี้ยง 10 คน

08.30-09.00 น.กิจกรรมสันทนาการและกลุ่มสัมพันธ์ ได้แก่ ปรบสัตว์ เลขปริศนา ลาไปตลาด ดราก้อนไฟซ์วิทยากรโดยคุณธีระวุฒิ ศรีมังคละ

09.00-10.00 น.กิจกรรม Mind History Local เขียนนิทานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 5 ภาพ แบ่งเป็น 4 ประเด็นได้แก่ กะหล่ำปลี ห้วยสายบาตร ป่าโคกข่าว และหลวงปู่หิน วิทยากรโดย คุณธีระวุฒิ ศรีมังคละ

 10.00-12.00 น.กิจกรรมเล่านิทานหน้าชั้นเรียนในประเด็นหลักข้างต้น วิทยากรโดย คุณธีระวุฒิ ศรีมังคละ

12.00-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.00 น.กิจกรรมถอดบทเรียนการเรียนรู้ ด้วยเครื่องมือ "5 นิ้วบทเรียน" วิทยากรโดย คุณธีระวุฒิ ศรีมังคละ

14.00 น.เลิกกิจกรรมและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

สิ่งที่เด็กๆประทับใจ

1) ประทับใจกิจกรรม เกม ที่พี่ๆพาเล่น มันแปลกใหม่ สนุก มากๆ โดยเฉพาะกิจกรรมประกอบร่าง ลมเพลมพัด ได้จับกลุ่มกับเพื่อนใหม่หลายๆคน

2) ประทับใจฐานหลวงปู่หิน เพราะได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของหลวงปู่หิน จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน ครั้งนี้ได้มาเรียนรู้จึงชอบมาก

3) ประทับใจฐานห้วยสายบาตร เพราะมีความสบายใจ สบายกาย เมื่อได้เห็นธรรมชาติ และได้รู้ในสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

4) ประทับใจที่ได้สนุก กับโรงเรียนอื่นๆ มีเพื่อน ได้รู้จักเพื่อนๆ ได้เล่นกับเพื่อนอย่างสนุกสนาน

5) ประทับใจฐานป่าโคกข่าว เพราะได้ผจญภัยเข้าไปในป่า เส้นทางฝนปรอยๆ ประกอบกับทางเป็นตม "สนุกมาก"

6) รู้สึกสนุก สนาน มีกิจกรรมให้ได้รู้จักกัน รู้จักเพื่อนต่างโรงเรียน

7) รู้สึกดีใจ มีความสุขที่ได้มาเรียนนอกสถานที่ รู้สึกพอใจที่ได้รับความรู้เยอะมาก

8) รู้สึกมีความสุขและได้รับความรู้ไปพร้อมกัน ทำให้อยากมาอีกครั้งนึงในค่ายแบบนี้

9) รู้สึกชอบ ที่ได้เพื่อนต่างโรงเรียน ได้เรียนรู้บ้านตนเอง เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน

สิ่งที่เด็กๆได้เรียนรู้

1) ได้เรียนรู้เรื่องหลวงปู่หิน และประวัติหมู่บ้านตนเอง ซึ่งเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน โดยได้รู้ว่า บ้านตนเองมีความเป็นมาอย่างไร ใครเป็คนนำพาชาวบ้านมา หลวงปู่หินเกิดขึ้นมาในช่วงไหน เกิดขึ้นอย่างไร และงานประเพณีของหลวงปู่หินมีความสำคัญยังไง

2) ได้เรียนรู้เรื่องป่าโคกข่าว ได้รู้ว่าป่าโคกข่าวมีคุณค่าอย่างไรต่อคนรอบผืนป่า ต่อสัตว์ทั้งในป่า นอกป่า และพันธ์ุไม้ในป่า ซึ่งสิ่งเล่านี้มีประโยชน์มากต่อการให้ชีวิตของคนเราได้หายใจ มีอาหารที่หลากหลาย ทำให้คนรอบป่าอยู่ดี

3) ได้เรียนรู้เรื่องการเฝ้าระวังไฟป่า และระวังการตัดไม้ทำลายป่า โดยมีหอดูไฟ มีจุดสำคัญต่างๆที่เฝ้าระวัง และกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังปัญหาป่าไม้

4) ได้เรียนรู้เรื่องกะหล่ำปลี ที่ปลูกมากใน 2 ตำบลเท่านั้น ได้แก่ ตำบลชื่นชม และตำบลกุดปลาดุก ปลูกมาแล้วก่อนตั้งอำเภอเสียอีก คือ ปลูกมาแล้วกว่า 60 ปี ซึ่งอำเภอชื่นชม พึ่งตั้งมาได้เพียง 20 ปี เท่านั้น

5) ได้เรียนรู้เรื่องห้วยสายบาตรที่เป็นความรู้ที่ลึกขึ้น ได้รู้ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่ไหลผ่าน 3 จังหวัด 8 อำเภอ และข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่มีประเพณีเกี่ยวกับผี ว่าสมัยโบราณเขาจะเอาผีใส่หม้อมาปล่อย เพื่อออกผีเข้าพุทธในทางศาสนา

6) ได้เรียนรู้ความหมายของคำขวัญอำเภอ ว่าแต่ละส่วนมีความหมายว่าอย่างไร โดยเฉพาะคำว่า "ชื่นชมถิ่นคนดี" หมายความว่า สมัยก่อนที่มีการมาขอบริจาคข้าว(แผ่ข้าว) คนชื่นชมมักจะมีน้ำใจแบ่งปัน ให้เยอะ ใจดี จึงเป็นที่มาของคำว่าชื่นชมถิ่นคนดี เป็นต้น

7) ได้เรียนรู้เรืองการทำมายด์แมป ซึ่งน่าสนใจ ก่อนที่เราจะทำแมป เราต้องร่วมกันถอดประเด็นออกมาเป็นข้อๆ จากนั้นให้วาดภาพและใส่ประเด็นลงไปตามที่ได้เขียนไว้ก่อนหน้านั้น ลงบนกระดาษปรู๊ฟ จากนั้นก็ตกแต่งระบายสีช่วยกัน

8) ได้เรียนรู้การอยู่ค่าย อยู่ร่วมกันกับเพื่อน ที่ต้องสนใจทำกิจกรรม ไม่เล่นโทรศัพท์ ไม่หยอกล้อกันระหว่างทำกิจกรรม เริ่มเข้าใจบรรยายกาศและการอยู่ในค่ายอย่างพึ่งพากัน

9) ได้เรียนรู้เรื่องการจดบันทึกจากการฟัง ที่ต้องสรุปใจความสำคัญ ไม่ต้องเขียนมาก แต่ให้เขียนรู้เรื่อง อธิบายได้ประเด็นชัดเจน

ทักษะที่เด็กๆทำได้

1) ได้ฝึกการจับประเด็นจากการไปเรียนรู้ฐานต่างๆ ดดยมีวิทยากรชุมชนมาให้ความรู้ เด็กจะมีบทบาทของการเป็นผู้เรียนรู้โดยการจับประเด็นจากการฟัง "ฟังไปด้วย เขียนไปด้วย"

2) ได้ฝึกใช้ฝึกสมาธิในการทำกิจกรรมบางกิจกรรม โดยจดจ่ออยู่กับกิจกรรม ไม่หยอกล้อ พูดคุยกัน ทำให้รู้สึกว่า มีสมาธิเพิ่มมากขึ้นท่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

3) ได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการถอดข้อมูลต่างๆออกมาเป็นประเด็น และได้ฝึกสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการทำมายด์แมป "ได้ใช้ฝึกความคิดในการแยกแยะประเด็น"

4) ได้ฝึกทักษะการสื่อสารในที่ชุมชน โดยขั้นแรกต้องแนะนำตัว แนะนำกลุ่ม บอกหัวข้อ อธิบายรายละเอียดต่างๆแล้ว จึงพูดสรุปไม่ยาวให้ได้ประเด็น

5) ได้ฝึกความกล้าแสดงออกมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองเพิ่มมากขึ้น โดยพูดผ่านกิจกรรม ในคู่ ในกลุ่ม และในพื้นที่ชุมชน

สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชน

1) เกิดกระแสที่ดีขึ้นในชุมชน ว่าลูกหลานมาเรียนรู้ชุมชนของตนเอง ซึ่งมีการเล่าต่อไปเรื่อยๆในชุมชน เป็นสัญญะว่า "ชุมชนเกิดกระแสที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลงนี้"

2) เป็นครั้งแรกของหมู่บ้านผือที่มีกิจกรรมอบรมเด็กแนว Active Learning ลงมาในพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านหลายคนให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ความสนใจเหล่านี้จะถูกเล่าต่อด้วยความเป็นวิถีประชา ทำให้กิจกรรม วิทยากร พี่เลี้ยง ถูกเล่าต่ออีกครั้ง จึงเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของหมู่บ้านเลยทีเดียว

3) อำเภอชื่นชม อบต.หนองกุง โรงเรียนเป้าหมาย และปราชญ์ชุมชนมีส่วนร่วม ในการเสริมกระแสการเปลี่ยนแปลงการศึกษาในเชิงพื้นที่ ในชุมชนแห่งนี้เป็นครั้งแรก

ปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจกรรม

1) เป็นครั้งแรกที่พี่สตาฟได้มาเป็นพี่ค่าย และอายุ ม.1 ทำให้ต้องเรียนรู้ใหม่ทั้งหมด นับ 1 ใหม่ ทำให้การดำเนินกิจกรรมค่อนข้างเดินไปลำบาก ค่ายหน้าจึงจะเน้นความกล้าแสดงออกและความเป็นผู้นำของสตาฟมากยิ่งขึ้นโดยจะให้เปลี่ยนเป็นน้องแทน

2) พี่สตาฟไม่ค่อยสนใจน้อง เล่นโทนศัพท์ เด็ก Gen Z จะสมาธิสั้น ทำให้วิทยากรกระบวนการลำบากมาก ประเด็นนี้หลังจากสะท้อนผลค่าย ต้องปรับปรุงตัวเองต่อไปในค่ายหน้าให้ใส่ใจน้องและคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น

3) เด็ก Gen Z มีสมาธิสั้น มักจะฟังได้ไม่ค่อยนาน สนใจเพื่อนมากกว่าฟังครูชุมชน จึงเน้นสันทนาการคั่นเวลา และการสรุปประเด็นให้เขียนไปทีละประเด็น เพราะธรรมชาติของเด็กฝึกทักษะการจับประเด็นมาน้อย จึงต้องพยายามสรุปประเด็นให้เรื่อยๆ

4) เด็กขาดมากในวันที่ 2 เพราะส่วนหนึ่งไปคัดนักฟุตบอล ส่วนนึงเป็นไข้หวัด และส่วนนึงไม่ทราบสาเหตุ แต่กระบวนการก็ดำเนินได้เพราะเฉลี่ยแล้วแต่ละกลุ่มขาดน้อย

5) ตอนจะเลิกกิจกรรม พี่ดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้เด็กเกิดอุบัติเหตุ ค่ายต่อไปต้องเข้มงวดมากที่สุด เรื่อง การขี่รถ พี่ต้องระวังภัยให้มากที่สุด

สิ่งที่พี่ๆได้เรียนรู้

1) ต้องจัดระบบการดูแลเด็กๆให้ดีกว่า โดยแบ่งหน้าที่หลักชัดเจน โดยการจัดคน ดูแลเด็กต้องเป็นระบบที่ปลอดภัยมากที่สุด

2) ได้ฝึกความกล้าแสดงออกเพิ่มมากขึ้น โดยมีบทบาทเป็นตัวอย่างให้น้องๆ

3) ได้เรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก คุมเด็ก คนละช่วงวัย ว่าต้องวางตัวให้เหมาะสมกับความเป็นพี่

ขอขอบพระคุณ

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดมหาสารคาม

สภาเด็กและเยาวชนอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม

อำเภอชื่นชม และสำนักงานเกษตรอำเภอชื่นชม

โรงเรียนบ้านผือ โรงเรียนบ้านหนองกุง โรงเรียนเทศบาลหลุบแซง และโรงเรียนบ้านกุดจอก

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง และผู้นำชุมชน

"ที่ทุกๆท่านร่วมอภิวัฒน์การศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 อย่างมีส่วนร่วม และเยาวชนในพื้นที่เกิดพลังแห่งการเปลี่ยนแปลง"




หมายเลขบันทึก: 630671เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2017 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท