บทเรียน Refer เยอะไป รพ.มหาวิทยาลัย


อีกบทเรียนหนึ่งที่น่าสนใจ ต้องยอมรับความจริงเพื่อเปิดประะตูใจไปสู่การเรียนรู้

เมื่อยอด Refer สูงและส่งต่อไปโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย อีกทั้งต้นทุนของ รพช.ต่ำ มีช่องว่าง (Gap) ของการบริหารกองทุนและการหักหนี้

"ผลกระทบจาก UHOSNET และการตัดเงินที่ไม่มีการบอกกล่าวว่าจะตัดหนี้เมื่อไหร่ ทำงาน IP จนสายตัวแทบขาด อัตราการครองเตียง 150% โดนยอด OPD refer ไป รพ.มหาวิทยาลัย ทบยอดตั้งแต่ ตุลาจนถึงมีนาตัดทีเดียว"

A1 : คุยกันยาวเลยค่ะ เพราะต้องเข้าใจการบริหารกองทุนก่อนคะโรงพยาบาลที่ส่งมาให้ดู คงไม่ได้วางแผนในการกันเงินตามจ่าย กรณี ส่งต่อผู้ป่วยคะ

Q: ใครทำหน้าที่บริหารกองทุนคะ

A1: ระดับโรงพยาบาล ผอก และกรรมการบริหารต้องเข้าใจเวลาที่เราได้งบ opd มา โรงพยาบาลต้องตระหนักเลยว่าที่เราได้มาจะต้องไปตามจ่ายที่ส่งต่อคะ OP Refer คือ ผู้ป่วย opd ที่โรงพยาบาล รักษาไม่ได้ เลยส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ทำได้ เราต้องตามจ่ายโรงพยาบาลที่ได้รับส่งต่อ เมื่อให้บริการแล้วจะบันทึกข้อมูลเบิก

Q: แต่ถ้า รพ.ไม่มีเงินจ่ายล่ะคะเช่น ผู้ป่วยไม่มีเลขสิบสามหลัก พื้นที่ชายขอบ

A1: อาจารย์ ผู้ป่วยที่อาจารย์ว่า เขาไม่สามารถ เรียกเก็บ ได้เขาจะเรียกเก็บเฉพาะบัตรทองตามสิทธิ ของโรงพยาบาลที่ส่งตัวเลขของ รพ.ที่โดนหักนั้น เป็นคนของ รพ.ค่ะ มีสิบสามหลักทุกราย และขึ้นบัตรทองที่ รพ.นั้นค่ะ

A1: ปัญหาคือ ค่าใช้จ่าย OP refer ที่ถูกตัด เขาตัดจากรายรับที่เป็นผลงานของ IPD และตัดโดยไม่บอกกล่าว ทำให้เงิน IPD ไม่เหลือ

Q: แล้วทำไมถึงได้ไปตัด IPD ล่ะคะ

A1: เงิน งบ OPD เขาโอนให้ล่วงหน้าหมดแล้ว คุณหมอได้งบไปแล้วพี่ถึงบอกไงว่าได้เงินมาล่วงหน้าต้องเข้าใจ อีกอย่างข้อมูลการเรียกเก็บ มันช้าแต่จะบอกว่าคนที่อนุมัติให้เขาเรียกเก็บ คือ คน ของ รพ.นั้นแหละ อนุมัติราย case ด้วย อนุมัติ ออนไลน์ เห็นด้วยว่าเขารักษาอะไร เมื่อตรวจสอบข้อมูลถูกต้องก็จะกดอนุมัติถ้าไม่ใช่บัตรทอง รพ.ก็ปฏิเสธไป

Q: หมายถึงคนของ รพ....?ถ้าไม่มีการอนุมัติก็ตัดไม่ได้อย่างนี้ใช่ไหมคะ

A1: ใช่ในระบบ E claim 

A2: ถูกครับ การกดยืนยันจ่ายเป็นเรา ถ้าเราไม่กดอนุมัติ มันมีเวลาของมันอัตโนมัติครับ

A2: ใช่ๆครับ OP refer. เยอะแล้ว รพ ต้องตามจ่ายด้วยบางครั้งผมคิดว่าการ refer. นั้นเรารักษาไม่ได้ ส่วนกลางน่าจะตามจ่ายให้ทั้งหมดรพ. มหาวิทยาลัย รับ REFER อย่างเดียวเพราะ RW เขาแยะทำให้ รพ.รัฐ ตามจ่ายให้

A2: การ refer. เยอะเราก็ตามจ่ายเยอะยิ่งออกไป รพ มหาลัย ยิ่งแพงครับจุดอ่อนของ เชียงใหม่ รพศ.ไปอยู่ อ.แม่ริม ไม่มี รพศ. ในเขตอำเภอเมือง รพ.สวนดอก รับ REFER หมด...ตามจ่ายกันเพียบเลย สปสช. เลยหักออก ไป OP Refer

A3: UC เชียงใหม่ ซับซ้อน UC ให้เอกชน รับไปหมด แต่งานส่งเสริม. รพ.นครพิงค์ รับหน้าเสื่อ ทั้งๆที่มี UC ในมือแค่ 1 แสน มองเห็นภาพการขาดทุนถ้าไม่รีบหาเงินช่วยถ้าใครไม่เข้าใจ ขาดทุนหมด แต่ทำไมไม่ทุกแห่งทั้งประเทศ จริงๆมีคำตอบบ้างแล้ว

A3: หน่วยงานบริหาร ใช้เงินแยะ หน่วยงานหาเงิน หาเงินเสริมไม่ตรงจุด และ รพ มหาลัย มีการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ดังนั้นเราก็ต้องระบุในใบส่งตัวว่าไม่รับผิดชอบยานอกบัญชียา

Q: สะท้อนถึงว่าไม่เข้าใจระบบ refer สามารถระบุได้ใช่ไหมคะ

A2: ตัวนี้ก็มีส่วนสำคัญครับ ได้ครับ จะได้เน้นให้ รพ ที่เราส่งตัวไปให้ใช้ยาราคากลางแต่ถ้าเราไม่ระบุ เขาก็จ่ายได้ อยู่กับนโยบายของ ผู้บริหารด้วยครับตัวนี้จะช่วยลดการจ่ายยาที่แพง เพราะส่วนเกินจาก สปสช เขาจะหักจากเงินของเราที่เราทำเบิกไปเหมือนที่อาจารย์เอามาให้ดู

A3: ใช่ครับระบบ Refer เขตต้องเข้ามาช่วยบริหารเพราะ CFO จะหาเงินภาพรวมหมด

Q: มุมมองส่วนตัวที่ว่า รพ ขาดทุนสรุปแล้วน่าจะมาจากสาเหตุอะไรสำคัญที่สุดคะ

A2: ประเด็นที่ 1 เรียกเก็บครบยัง

ประเด็นที่ 2. รายจ่ายของ รพ เกิดจากส่วนใด OT. หรือเปล่า หรือรายจ่ายด้านยา หรือ การก่อสร้าง หรือ ซื้อสิ่งของที่ไม่จำเป็น

ประเด็นที่3. ขอกลับไปข้อ 1. เบิกครบ แต่ได้เงินครบตามที่เรียกเก็บหรือไม่ ถ้าไม่ต้องกลับไปดูเรื่องรายละเอียดของข้อมูลในโปรแกรม

A2: ตอนนี้ผมมองเห็นเฉพาะส่วนของงานประกันครับที่ผมเชื่อว่าเบิกครบ แล้วยังติดวิกฤติอยู่ ต้องดูอย่างอื่น แต่ตอนนี้ยังพิสูจน์ยังไม่ได้ครับ

A3: UC OPPP Pre-Paid ได้มากน้อย...Refer มาก ใช้จ่ายเกินตัวอีกได้มาน้อย....ปัญหานี้ก็ต้องช่วยกันทั้ง CUP


#KMUC

#หลักประกันสุขภาพ

#Noteความคิด



หมายเลขบันทึก: 630597เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กรกฎาคม 2017 13:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท