สามัคคี กตัญญู พลังความสามัคคีทำงานร่วมกันในองค์กรเคล็ดลับการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จ


ปสก จากผู้ใหญ่ที่มองภาพกว้าง จะสร้างน้ำหนักความเชื่อมั่น มีความแม่นยำ ย่อมทำให้ผู้ที่จะคิดจะกลั่นแกล้งบิดเบือนความจริง ในที่สุดย่อมจะแพ้ มูลเหตุจากความเป็นจริงเพราะความเข้าใจบทบาทหน้าที่และวิธีบริหารแก้ไขปัญหา ทั้งเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยะยาวได้ตรงจุด จากผู้มี ปสก.

ความรู้รักสามัคคี....

ระบบคัดเลือกจาก อาวุโสและสมรรถนะ ตามลำดับความสำคัญ ก็ต้องคำนึงถึง ผู้อาวุโสอาจมีศักยภาพด้านใดๆที่เรามองเขาไม่ออก ต้องเรียนรู้และเดินไปด้วยกันให้ได้ จะดีกว่า ถึงวันหนึ่งผู้อาวุโสจะได้เกษียนอายุไปด้วยความสุข คนเก่งคอยsupportรุ่นพี่ ไม่ยากเท่าที่จะทำได้ เป็นความกตัญญูต่อผู้มี ปสก.มากกว่า จะเกิดความสามัคคีในองค์กร หากไม่มีพี่ๆที่เหนื่อยมาทำงานมาก่อนเรา องค์กรเราก็อยู่ไม่ได้จนวันนี้ เราก็ไม่มีวันนี้เหมือนกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีที่ไปที่มา ต้องช่วยกันผลักดันได้แน่หากทุกคนร่วมด้วยช่วยกันจริงๆจังๆมุ่งประโยชน์แก่องค์กร หลายองค์กรมองผู้อาวุโสเป็นผู้ไม่มีศักยภาพพอ แล้ววางเขาไม่ถูกที่ จริงๆแล้วเขามีสมรรถนะ (สมรรถนะในหน้าที่ ทั้งหมด 24สมรรถนะ) เพียงแต่ต้องมีผู้ร่วมทำงานที่ถูกเวลาถูกงาน คนรุ่นใหม่ที่เก่งทำงานเร็วต้องหมั่นเข้าหาข้อแนะนำ ปรึกษาความเสี่ยงความเป็นไปได้กับผู้มาก ปสก. นำสิ่งที่เคยปฏิบัติแล้วเวิร์คมาใช้ในทุกๆงาน ผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณคนเคารพผู้ใหญ่ เท่านั้นที่จะประสบแต่ความสำเร็จ เดินตามผู้ใหญ่สุนัขไม่กัดแลเห็นจะจริง เพราะ ปสก จากผู้ใหญ่ที่มองภาพกว้าง จะสร้างน้ำหนักความเชื่อมั่น มีความแม่นยำ ย่อมทำให้ผู้ที่จะคิดจะกลั่นแกล้งบิดเบือนความจริง ในที่สุดย่อมจะแพ้ มูลเหตุจากความเป็นจริงเพราะความเข้าใจบทบาทหน้าที่และวิธีบริหารแก้ไขปัญหา ทั้งเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยะยาวได้ตรงจุด จากผู้มี ปสก. #mackyandflute


ตำแหน่งบริหาร สำคัญคือ การรับรู้ของสังคมต่อการบริหารงาน ที่มีความโดดเด่น คนที่จะมาบริหารงานต่อต้องทำงานอย่างหนักเพียงเพื่อรักษามาตรฐานไว้ระดับหนึ่ง ชื่อเสียงและทุนทรัพย์ทั้งตัวเงิน สิ่งปลูกสร้าง และแนวคิดล้ำสมัยจำนวนมากมายที่ต้องใช้วิธีในการบริหารจัดการเข้าช่วย หากขาดซึ่งความสามัคคีคงบริหารจัดการสิ่งเหล่านี้ได้ไม่ดีพอ ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับหลายสิ่งมาก เช่น สภาวะการหดตัวของสังคม การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลก (Industry 4.0) และการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยผู้คน (People Generation)

1. สภาวะการหดตัวของผู้คนวัยทำงาน โดยประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอีกสองสามปีที่จะถึง นั่นหมายความว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี จะมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ ผู้สูงอายุที่มีสามารถปรับตัวในการมีอาชีพหลังวัยเกษียณ

2. การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโลกตามการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ที่เกิดขึ้นมาแล้วระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่กระแสอะไรทั้งสิ้น ไม่ว่าเราจะตามหรือไม่ตามการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็วิวัฒนาการไปอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้หลายคนอาจจะยังสับสนกับปรากฏการณ์ 4.0 ที่เกิดขึ้นเยอะแยะไปหมดในสังคมไทย แต่หากว่าเราเข้าใจถึงแก่นแท้ของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเราก็จะสามารถเข้าใจปรากฏการณ์ได้ไม่ยากเท่าใด บทบาทแท้จริงแล้วต้องเป็นผู้นำอุตสาหกรรม

3. สุดท้ายการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยของผู้คนที่ทำให้คนยุค Baby Bloom Gen X Gen Y และ Gen Z มาอยู่ร่วมกันในทุกวงการซึ่งคนยุค Gen Z เพิ่งเข้ามาสู่มหาวิทยาลัยและจะจบออกไปทำงานในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า การบริหารจัดการจะเผชิญกับความคิดที่แตกต่างกันของคนแต่ละยุคสมัย ซึ่งทุกความคิดล้วนถูกต้องตามความคิดของคนแต่ละรุ่นแต่มักจะไม่ถูกใจซึ่งกันและกันหากต่างรุ่นกัน


เหตุผลหนึ่งคือต้องการรักษาไว้ซึ่งความรักความสามัคคีในองค์กร บ่อยครั้งเราจะพบว่า การออกตัว นำไปสู่การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างคู่แข่ง จนนำไปสู่ความขัดแย้งทางความคิดและความแตกแยกในองค์กรในบั้นปลาย และหากถึงวันนั้นคงไม่มีประโยชน์อันใดในการได้ดำรงตำแหน่ง - ครูพี่โมทย์ฯ


นายเชี่ยวชาญแจ้งเจ้านายว่าจะขอลาออกจากงานที่ทำมาสิบปี บริษัทใหม่ให้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงกว่า เจ้านายบอก “อย่าไปเลย ได้โปรด คุณมีค่าต่อบริษัท คุณเป็นทรัพยากรมีค่าของเรา ถ้าคุณไป บริษัทจะล้มแน่ อยู่ต่อก็แล้วกัน เดี๋ยวผมให้เงินเดือนขึ้น พลีส พลีส พลีส!”

นายเชี่ยวชาญอยู่ต่ออีกสองปี เจ้านายก็เรียกนายเชี่ยวชาญไปพบ แจ้งว่าบริษัทจะเลิกจ้างเขา

ทันใดนั้นนายเชี่ยวชาญพบว่าเขาไม่ได้เป็น ‘ทรัพยากรมีค่า’ สำหรับบริษัทนี้อีกต่อไป

เขาถูกแทนที่ได้

ความจริงคือนายเชี่ยวชาญไม่ได้โง่ลง หรือขี้เกียจขึ้น เขายังเก่งเหมือนเดิม แต่เกมเปลี่ยนไปแล้ว มีปัจจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง บางทีเงินเดือนของเขาสูงเกินไปแล้ว บางทีโลกทัศน์ของเขาไม่ขยายตามยุค บางทีภาษาอังกฤษที่เขารู้อาจไม่พอแล้ว บางทีประธานบริษัทคนใหม่แค่ไม่ชอบหน้าเขา ฯลฯ

และเมื่อถึงเวลาตัดสินใจขององค์กร บริษัทแทบทั้งหมดจะถือประโยชน์ขององค์กรหรือผู้มีอำนาจตัดสินเป็นที่ตั้ง

หลายคนทำงานอยู่ที่เดิมตลอดชีวิต บริษัทอื่นมาล่าตัวไปทำงานด้วย ก็ไม่ยอมไป เพราะจงรักภักดีต่อองค์กรอย่างมั่นคง

ผมรู้จักคนที่จงรักภักดีต่อองค์กร ไม่ย้ายไปที่อื่นทั้งที่ได้รับข้อเสนอดีกว่า แต่เมื่อถึงจุดจุดหนึ่ง เช่น วัยเริ่มอ่อนล้า ความคิดอ่านเริ่มอ่อนแรง ความจงรักภักดีก็ไม่สามารถทำให้เขารักษาตำแหน่งและงานได้ เพราะแม้ความจงรักภักดีต่อองค์กรเป็นข้อดี แต่เมื่อถึงจุดตัดสินใจ บริษัทไม่ได้ดูที่ความจงรักภักดีเป็นหลัก

ถึงทำงานมานานปี ก็อย่ามีอีโก้ เก่งแค่ไหนก็ถูกไล่ออกได้

อย่าคิดว่าตนเองสุดยอด ไม่มีใครแทนเราได้

มีตัวอย่างมากมายนับไม่ถ้วน ‘คนเก่ง’ และ ‘ทรัพยากรมีค่า’ ถูกแทนที่ได้เสมอ

หากคุณเป็นที่ต้องการขององค์กร เวลาไปลาออก เจ้านายจะพูดว่าบริษัทขาดคุณไม่ได้ ล่มแน่ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเขาขี้เกียจหาคนใหม่ แต่หากจำเป็นก็หาได้เสมอ

ไม่เชื่อลองตายดู รับรองว่าเขาหาคนใหม่มาจนได้ เพราะธุรกิจต้องดำเนินต่อไป

แม้ในระดับของผู้บริหารและผู้นำองค์กร ไม่มีใครในโลกที่เป็นทรัพยากรมีค่าจนปลดออกไม่ได้ บริษัทหาคนมาแทนได้เสมอ

ผู้นำคนไหนคิดว่าตัวเองเก่งกาจสุดยอด อาจประเมินตัวเองสูงเกินไป

ในโลกธุรกิจ ไม่มีเทวดา

.………………..

หลักของพุทธสอนเรื่องใช้ชีวิตโดยไม่ประมาท แต่หลายคนเมื่ออยู่ที่สูงนานๆ สมองมักขาดออกซิเจน เห็นภาพลวงตาเป็นภาพจริง

มนุษย์เงินเดือนพึงคิดเสมอว่าเราทุกคนเป็น ‘expendible’ แปลอย่างไม่สุภาพว่า ถูกขับออกจากสำนักได้ทุกเมื่อ

ผู้ที่อยากอยู่จนเกษียณควรสร้างอำนาจต่อรอง ถ้าเราเก่ง มีวิสัยทัศน์ และหาเงินเข้าบริษัทได้ ก็ยังสามารถดำรงตำแหน่ง ‘ทรัพยากรมีค่า’ ขององค์กรต่อไป

พึงวิเคราะห์และประเมินตัวเองเป็นระยะ ควรรู้ว่าตนเองยืนอยู่ตรงไหน คุณภาพและคุณสมบัติของตนเองเป็นอย่างไร ยังใช้งานได้ดีหรือไม่ ต้องอัพเกรดแล้วยัง อย่ารอจนเบื้องบนเรียกไปบอกว่า “คุณเป็นทรัพยากรมีค่าของเรา แต่...”

การรู้เขารู้เราจะทำให้เราพบจุดแข็งของตนเอง และมันจะเป็นอำนาจต่อรองโดยเราไม่ต้องพูดสักคำ

และที่สำคัญ ในชีวิตการทำงาน ควรรู้ว่าเมื่อไรควรอยู่ต่อ เมื่อไรควรลาออก บางครั้งแม้ในเวลาที่กำลังมั่นคงที่สุด ก็ควรไป

มองที่เป้าหมาย แล้วก้าวเดินไปหาเป้านั้นโดยไม่วอกแวก ปรับแผนและจังหวะช้าเร็วตามความเหมาะสม แต่อย่าให้เป้าหมายหลุดจากสายตา

.………………..

วินทร์ เลียววาริณ
เฟซบุ๊ค

มดน้อยโดนไล่ออกจากงาน》
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว..

มดตัวน้อยมาทำงานแต่เช้า และลงมือทำงานทันที
มดน้อยสร้างผลงานมากมาย และก็มีความสุขกับการทำงานดี

สิงโตที่เป็นหัวหน้า
ก็รู้สึกแปลกใจที่มดน้อยทำงานได้ดีโดยไม่ต้องมีการควบคุม
สิงโตเลย"คิดใหม่ทำใหม่" โดยใช้แนวคิดว่า ขนาดไม่มีหัวหน้าดูแลยังทำงานดีเช่นนี้
แล้วถ้ามีหัวหน้า มดน้อยต้องทำงานดีขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

สิงโตจึงจ้าง แมลงสาบมาเป็นหัวหน้ามดน้อย
และแมลงสาบมีความสามารถมากในเรื่อง "การเขียนรายงาน"

แมลงสาบ เริ่มด้วยการตั้งระบบลงเวลาทำงาน
โดยการตั้งเครื่องตอกบัตร

แมลงสาบต้องการเลขานุการมาช่วยเขียน&พิมพ์รายงาน
ชงกาแฟ เดินเอกสาร ส่งจดหมาย และคอยจับผิดมดน้อย
แมลงสาบจึงจ้าง ควายมาเป็นเลขานุการส่วนตัว

สิงโตปลื้มกับการทำงานของแมลงสาบมาก
ที่มีการรายงาน และพิจารณาแนวโน้มต่างๆ ทำให้แมลงสาบได้หน้า !

เพื่อการนี้ แมลงสาบจึงขอซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์
ติดอินเตอร์เนต และเครื่องพิมพ์เพื่อการทำงานให้สิงโต

แน่นอนว่า.. ต้องมีแผนก IT ตามมา
เขาจึงจ้างตัวเห็บมาเป็น IT Manager
ตัวเห็บก็ของบประมาณเพื่อจ้างลูกมือ และอุปกรณ์ซ่อม

แต่มดเริ่มเบื่อกับระบบงานแบบใหม่มาก
เพราะมัวแต่เขียนรายงาน ทำให้เพิ่มภาระงานเอกสาร ซึ่งเดิมก็มีมากมายอยู่แล้ว
และการประชุมต่างๆ ก็เสียเวลาทำงานไปไม่ใช่น้อย

แมลงสาบเห็นมดน้อยทำงานช้าลง เพราะต้องเขียนรายงาน
จึงคัดเลือกหัวหน้าแผนก มาคอยกำกับดูแล และจดรายงาน
ตำแหน่งนี้ตกเป็นของ ตัวทาก

ตัวทากเป็นบุคลากรที่ทำงานได้อย่าง"เชื่องช้า"มาก
จึงดูเป็นผู้ที่รอบคอบ และได้รับตำแหน่งหัวหน้าแผนกไป

และแล้ว.. แผนกที่มดน้อยทำงานก็กลายเป็นแผนกที่ซึมเศร้า ไร้เสียงหัวเราะ ทุกคนในแผนกก็หัวเสียง่าย

ตัวทากจึงของบทำการสำรวจ ศึกษา สภาพการทำงานที่เหมาะสม
แล้วสรุปว่า.. แผนกมดน้อยทำงานได้แย่ลง

สิงโตก็พลอยเห็นด้วยว่าแผนกมดทำงานได้แย่ลง จึงจ้างตัวเหี้ย (ตัวเงินตัวทอง) เข้ามาเป็นที่ปรึกษา
เพื่อศึกษาพัฒนาวิธีบริหารจัดการ

ตัวเหี้ยสรุปว่า.. ที่แผนกของมดน้อย
มีการจ้างคนมากเกินไปเลยทำให้ผลผลิต Out put ไม่ดี

เดากันนะ ว่าใครจะถูกปลดออกเป็นคนแรก
..มดน้อยนั่นเอง..
เพราะตัวเหี้ยบอกว่า มดน้อยเป็นคนที่ไร้แรงจูงใจ และทัศนคติไม่ดี !!!
ลาก่อน มดน้อย
ขอถามว่า ผู้เขียนเรื่องนี้คือใคร
1. มดน้อยผู้ต่ำต้อย
2. ตัวเหี้ยที่ปรึกษา
3. ทากหัวหน้าแผนก
4. เห็บ IT Manager
5. ควายเลขานุการ
6. แมลงสาบ ผู้จัดการ
หรือ
7. สิงโตนายใหญ่
หรือกบที่อยู่ในกะลา

สภาวะองค์กรส่วนใหญ่เป็นแบบนี้กันหมด แต่ปีนี้รุนแรงกว่าทุกปี เพราะ สภาวะเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยกับการเอาตัวรอด!


หมายเลขบันทึก: 629968เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2017 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2017 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท