เบาหวานขณะตั้งควรรภ์


โรคเบาหวาน คือ โรคที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรืออาจเป็นจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินร่วมด้วย

เบาหวานขณะตั้งควรรภ์ (Gestational Diabetes)

คือโรคเบาหวานที่เกิดเฉพาะในคนตั้งครรภ์เท่านั้น เพราะว่าในช่วงตั้งครรภ์ รกจะมีการสร้างฮอร์โมนต่างๆ มากมาย ซึ่งฮอร์โมนส่วนใหญ่มีฤทธิ์ต้านต่ออินซูลิน โดยเฉพาะไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ทารกเติบโดตอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายของแม่ต้องใช้อินซูลินมากกว่าปกติถึง 2 -3 เท่า ดังนั้นแพทย์จึงมักตรวจคัดกรองเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ ตอนอายุครรภ์ประมาณ 24 – 48 สัปดาห์ ยกเว้นว่ามีความเสี่ยงสูงมาก อาจะต้องมีการตรวจตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

ผลกระทบต่อบุตร

เบาหวานที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์มักเกิดในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ซึ่งทารกมีการสร้างอวัยวะเรียบร้อยแล้ว จึงไม่ทำให้เกิดความพิการต่อทารก ส่วนใหญ่แม่ที่เป็นเบาหานมักคลอดบุตรที่ปกติ โดยเฉพาะในคนที่มคุมระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงปกติมากที่สุด แต่การที่แม่เป็นเบาหวานและยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดผลเสียต่อทารก เพราะระดับน้ำตาลที่สูงจะผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ ส่งผลให้ร่างกายทารกมาการหลั่งอินซูลินมากกว่าปกติทำให้รูปร่างโตกว่าปกติ เสี่ยงต่อการคลอดยาก การบาดเจ็บขณะคลอด นอกจากนี้ การที่แม่คุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี อาจส่งผลให้ทารกมีอาการน้ำตาลต่ำหลังคลอด ชัก ตัวเหลือง มีปัญหาหายใจลำบากหลังคลอดได้

จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ถ้าเป็นเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์

การรักษาประกอบด้วยการคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติมากที่สุด ประกอบด้วยการคุมอาหาร การออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือในบางกรณีถ้าระดับน้ำตาลยังสูงอาจจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งขาดไม่ได้เลย คือ การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งวิทยากรเบาหวานจะสอนถึงวิธีการเจาะเลือด การจดบันทึก การปฏิบัติตัวเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้เจาะเลือด และตรวจวัดระดับน้ำตาลต่างๆ มากมาย ใช้ง่าย ไม่ยุ่งยาก และไม่เจ็บมากอย่างที่คิด

อาหารที่เหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน คือ มีปริมาณแคลอรีที่เหมาะสม มีสารอาหารครบถ้วนและเพียงพอ ในคนที่มีน้ำหนักปกติควรได้รับพลังงานประมาณ 30 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัวปัจจุบัน แต่ถ้าอ้วนอาจต้องลดพลังงานลงเหลือ 15 – 25 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัวปัจจุบัน แต่ถ้าผอมควรได้รับพลังงานประมาณ 40 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัวปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรต ต่อโปรตีน ต่อไขมัน คือ 40 - 50 ต่อ 20 – 25 ต่อ 30 – 40 ตามลำดับ

การฉีดอินซูลิน แพทย์จะให้เริ่มเมื่อหลังจากคุมอาหารหรือหรือออกกำลังกายเต็มที่แล้ว ยังมีระดับน้ำตาลก่อนอาหารเกิน 105 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เกิน 120 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

จะต้องตรวจว่าเป็นเบาหวานเมื่อไหร่

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าคุณแม่มีความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์มากน้อยแค่ไหน โดยปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานมากขึ้น ได้แก่

  • มีประวัติเบาหวานในญาติสายตรง
  • เคยมีประวัติแท้งบุตรโดยไม่ทราบสาเหตุบ่อยๆ
  • อายุมาก
  • เคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม
  • อ้วน

ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่ที่เป็นเบาหวานสามารถคลอดได้ตามปกติ โดยเฉพาะคนที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี แต่อย่างไรก็ตามคนที่เป็นเบาหวานโดยเฉพาะในคนที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มีความเสี่ยงต่อการเกิดครรภ์เป็นพิษ กรวยไตอักเสบ ครรภ์แฝก น้ำมากกว่าปกติ ทำให้เป็นสาเหตุของการคลอดก่อนกำหนด รวมถึงต้องคลอดโดยการผ่าตัดมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

หลังคลอดแล้วจะเป็นเบาหวานอีกหรือไม่

ส่วนใหญ่เบาหวานมักหายไปหลังจากคลอดบุตรแล้ว แต่ถ้าคุณแม่เป็นเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานมากขึ้นถึงร้อยละ 30 – 50 ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานในอนาครควรจะต้องลดน้ำหนัก ถ้ายังมีน้ำหนักเกิน รับประทานอาหารที่มีคุณภาพและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันเบาหวานได้ ถ้าตั้งครรภ์อีกครั้ง ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ดังนั้นควรจะวางแผนตั้งแต่เนิ่นๆ และปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะตั้งครรภ์อีกครั้ง

โดยปกติหลังคลอด แพทย์จะให้ตรวจความทนต่อน้ำตาล (OGTT) อีกครั้ง หลังคลอดประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อประเมินว่า คุณแม่เป็นเบาหวานหรือไม่ ถ้าไม่เป็นควรจะต้องตรวจเลือดเพื่อดูกว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ อย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละครั้ง

การให้นมบุตร

ถึงแม้คุณแม่จะเป็นเบาหวาน คุณแม่ก็สามารถให้นมบุตรได้ การให้นมแม่มีประโยชน์มหาศาล ช่วยให้ลูกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันต่อความเจ็บป่วย ทั้งยังทำให้แม่ได้ลดน้ำหนักหลังคลอดได้เร็วขึ้น รวมทั้งสร้างความผูกพันที่ยิ่งใหญ่ระหว่างแม่กับลูก

เบาหวานกับการตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายคนเมื่อทราบว่าตนเองตั้งครรภ์คงมีความรู้สึกหลายๆ อย่าง แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ตื่นเต้น ดีใจ กังวล และก็คงมีหลายๆ คำถามเกิดขึ้นในใจ เช่น ลูกเราจะหน้าเหมือนใคร เพศอะไร จะฉลาดไหม อนาคตของครอบครัวจะเป็นอย่างไร และคำถามที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า ลูกจะแข็งแรงหรือไม่

ช่วงตั้งครรภ์

3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ (ไตรมาสแรก) เป็นช่วงที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่ทารกจะมีการสร้างอวัยวะที่สำคัญต่างๆ

ไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4 – 6 เดือน) ทารกจะเริ่มโตขึ้น หัวใจจะเริ่มเต้นอย่างสม่ำเสมอ ตาสามารถรับแสงได้ แต่ในระยะนี้ปอดยังทำงานได้ไม่ดีนัก โดยส่วนใหญ่ทารกยังไม่สามารถหายใจได้ ช่วงประมาณ 4 -5 เดือนคุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าทารกดิ้น

ไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7 – 9 เดือน) ทารกจะเติบโตอย่างเร็วมากในช่วงนี้ และในอีกไม่กี่สัปดาห์ก่อนคลอด ทารกจะกลับเอาศีรษะไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็นเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์

  1. ควบคุมน้ำหนักตัวระหว่างการตั้งครรภ์ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือ ประมาณ 10 – 12 กิโลกรัม ตลอดการตั้งครรภ์
  2. รับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง ถูกหลังโภชนาการ เพื่อไม่ให้อ้วนเกินไป
  3. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาสูติแพทย์ เพื่อพิจารณาตรวจคัดกรองเบาหวานเบื้องต้น

ที่มา : ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

https://www.facebook.com/sugarcheck

http://www.sugarcheck.net/

https://www.facebook.com/codefreethai/

หมายเลขบันทึก: 629723เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2017 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2017 17:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท