สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปี 4 “นักศึกษา” สร้าง “สื่อสะท้อนปัญหาสังคม” หวังปลุกกระแสสังคม


ผู้บริหาร คณาจารย์ 11 มหาวิทยาลัยพร้อมหน่วยงานสนับสนุน


นักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปี 4 จากมหาวิทยาลัย 11 แห่ง 14 คณะ 17 สาขาวิชา เกือบ 400 คน แสดงจุดยืนการเป็นนักออกแบบเพื่อการสื่อสารรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง สร้างสรรค์สื่อเพื่อร่วมพัฒนาสังคมไทย ร่วมจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงาน “(ไทย) ทีนสปิริต” สะท้อน 5 ประเด็นปัญหาหลักในสังคมไทย “สิ่งแวดล้อม,ความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม,สุขภาวะและโภชนาการ,ความรุนแรงในสังคมและสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ หวังปลุกกระแสให้สังคมตระหนักถึงปัญหาและหาทางแก้ไข

ผลงานนักศึกษา


วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กองทุนสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ องค์กรภาคประชาสังคม สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย จัดนิทรรศการผลงานนักศึกษาในเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม ปี 4 “(ไทย) ทีนสปิริต” ภายใต้แนวคิดนักออกแบบเพื่อการสื่อสารรุ่นใหม่ที่มีสำนึกความเป็นพลเมืองใช้ศักยภาพของตัวเองในการร่วมสร้างสรรค์สื่อเพื่อสร้างการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคมไทย จากการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาเกือบ 400 คน 35 ผลงาน สร้างสรรค์ผลงานกว่า 100 รูปแบบ จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ที่มีการเรียนการสอนด้านศิลปะและการออกแบบเพื่อการสื่อสาร จำนวน 11 สถาบัน 14 คณะ 17 สาขาวิชา 11 สถาบันที่เข้าร่วมได้แก่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3.มหาวิทยาลัยบูรพา4.มหาวิทยาลัยศิลปากร 5.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6.มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 7.มหาวิทยาลัยนเรศวร 8.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 9.มหาวิทยาลัยรังสิต 10.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 11.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร - ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า โจทย์การออกแบบการสื่อสารครังนี้ สะท้อนปัญหาสังคม 5 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม ความรุนแรงในสังคม สุขภาวะและโภชนาการและสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เป็นการสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีสำนึกความเป็นพลเมืองซึ่งสสส.ดำเนินโครงการขับเคลื่อนประเทศไทยที่น่าอยู่ร่วมกับพันธมิตรที่มองเห็นความสำคัญกับกลุ่มเยาวชนในสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และสร้างเสริมการพัฒนาศักยภาพของพวกเขาที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น พร้อมกับเปิดหน้าต่างการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่จะทำให้พวกเขาได้เห็นปัญหาของสังคม ที่พวกเขาได้ร่วมวางแผน และหาแนวทางการแก้ไขด้วยพลังของตัวเองนำไปสู่การเป็นพลเมืองสร้างสรรค์ หรือ Active Citizen ซึ่งจะฝังอยู่ในตัวพวกเขา

“เราเชื่อว่าการพัฒนาทักษะ และผลักดันขีดความสามารถของเยาวชนนั้นมีอยู่อย่างไม่จำกัด และเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ UNC ล้วนเป็นมุมมองของเหล่านักศึกษาที่พร้อมจะมีส่วนร่วมกับปัญหาสังคมทั้งในปัจจุบันและอนาคต โครงการต่างๆ อาจจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ ซึ่งจะเกิดเป็นกระแสสังคมเพื่อต่อยอดให้เกิดเป็นสังคมเข้มแข็งต่อไป” ดร.นพ.ไพโรจน์กล่าว

นางปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า “โครงการได้วางรูปแบบให้นักศึกษาได้มีโอกาสไปสัมผัสหรือเรียนรู้จากโจทย์ในชีวิตจริง ในสังคมไทยไม่ใช่โจทย์ที่อยู่ในห้องการที่นักศึกษาได้ลงไปอยู่กับของจริง จะได้ Inspire ตัวเองจากโจทย์ที่ได้รับไป สิ่งที่ได้เจอระหว่างการเข้าร่วมโครงการคืออนาคตที่เราจบแล้วไปทำงานจะได้เจอ เช่น การได้ฟังคอมเม้นท์แรงๆ จากคณะกรรมการ ได้ทะเลาะกันเพื่อน ได้ข้อยุติในการทำงานร่วมกัน นี่คือชีวิตจริงที่จะเจอในอนาคต สิ่งที่นักศึกษาได้รับไม่ได้จากวิชาเรียน แต่นักศึกษาได้จากวิชาที่อาจารย์เครือข่ายโครงการ UNC ได้สอนนั่นเอง นี่คือเป้าหมายของโครงการฯ ที่ต้องการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนในมหาวิทยาลัย ให้นักศึกษาได้มีโอกาสได้ทำงานและเรียนรู้แบบ Active ค้นหาความจริงและนำมาผลิตผลงาน เป็นสิ่งที่นักศึกษาได้มาเป็นปีที่ 4 แล้ว และคือความยั่งยืนในวงการการเรียนการสอนของไทย และการเชื่อมโยงกิจกรรมในโครงการเข้าสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน (ในรายวิชา)โดยทั้ง 11 สถาบันได้นำแนวทางดังกล่าวไปจัดการเรียนการสอนใน 3 รูปแบบคือ 1.สถาบันจัดให้กิจกรรมโครงการ UNC เป็นโครงการ 2.สถาบันที่นำไปเป็นส่วนหนึ่งในรายวิชา และ3.สถาบันนำกรอบคิดและกระบวนการจัดการเรียนรู้นำไปปรับและบรรจุในหลักสูตรใหม่ นับว่าเป็นการดำเนินงานที่พัฒนาไปอีกก้าวหนึ่ง โดยหวังว่า การทดลองปฏิบัติการนี้จะทำให้อาจารย์ผู้สอน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้อง เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการสอนของมหาวิทยาลัยต่อไป โครงการได้เดินทางมาถึงปีที่ 4 ส่วนหนึ่งเพราะได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายต่างๆ อาทิ สสส. กองทุนสื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ องค์กรภาคประชาสังคม และสภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย ได้มีส่วนในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ยึดโยงกับสังคม ใช้ศักยภาพของภาควิชาการมาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมตามแนวทาง “มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่จะช่วยปฏิรูปการศึกษาของประเทศเกิดผลสำเร็จ”

ผศ.อาวิน อินทรังษี


ผศ.อาวิน อินทรังษี ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม กล่าวถึงโครงการปีนี้ว่า “สำหรับในปีนี้ คณะกรรมการ ได้คัดเลือก “โจทย์สังคม” ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ใน 5 ประเด็น ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาหลักในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับ 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2573 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี อีกด้วย ได้แก่ ประเด็นสิ่งแวดล้อม / ประเด็นความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม / ประเด็นสุขภาวะและโภชนาการ / ประเด็นความรุนแรงในสังคม และประเด็นสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในกระบวนการเรียนรู้ของโครงการได้สอดแทรกกิจกรรมที่ทำให้นักศึกษาได้ไปสัมผัสกับพื้นที่จริง ปัญหาจริง และมีภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมให้ข้อมูลจริงและเป็นที่ปรึกษาด้านเนื้อหา นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนอกจากได้ฝึกทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาเรียนแล้ว ยังได้ถูกปลูกจิตสำนึกให้นึกถึงสังคมไปพร้อมๆ กัน ผมเชื่อว่ามีเด็กบางส่วนที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว จะสามารถปลูกอะไรบางอย่างขึ้นในจิตใจ และคิดว่าสิ่งเหล่านี้จะต่อยอดไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นจิตสำนึกขึ้นมาในที่สุด ซึ่งการสอนเรื่องการทำสื่อนั้นมีความสำคัญ เพราะสื่อมีอิทธิพลมากในปัจจุบัน เราเชื่อว่ากระบวนการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่ง ที่จะสามารถสร้างพลเมืองให้มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อประเทศ ต่อโลกและเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้ ถึงแม้จะเป็นแค่รายวิชาหนึ่งก็ตาม สำหรับปีนี้นักศึกษาต่างตั้งใจผลิตผลงานที่มีความหลากหลายรูปแบบ และมีนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น บางกลุ่มเลือกผลิตสื่อ Exhibition ผสมกับ AR(Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โครงการนี้มุ่งหวังให้นักศึกษานึกถึงคนอื่น ไม่ได้นึกถึงแต่ตนเอง ผมคิดว่าศิลปินหรือนักออกแบบมีคนทำงานเก่งๆ เยอะแล้ว แต่ประเทศชาติกำลังขาดคนที่มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม”

สำหรับอาจาย์ที่เข้าร่วมเครือข่ายร่วมสะท้อนถึงการนำรูปแบบโครงการเข้าสู่ชั้นเรียน เริ่มที่ อาจารย์ศุภเดช หิมะมาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เลือกนำรูปแบบของโครงการนำเข้าในวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ 3 นักศึกษาปี 3 มี 3 หน่วยกิต เผยประโยชน์ของนักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการว่า “นักศึกษาได้เรียนรู้จากโจทย์จริง เมื่อก่อนเรามีโจทย์สมมุติให้ แต่โครงการนี้ทำให้นักศึกษาได้ทราบข้อมูลปัญหาสังคมที่มีอยู่จริง เช่น เด็กเร่ร่อน ที่นักศึกษาได้ลงพื้นที่จริง สิ่งที่เห็นคือทำให้เขามีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น เวลาเขาจะคิดอะไร อย่างไร เขาก็จะไม่ได้คิดถึงแต่ตัวเขาคนเดียว ก็คิดว่าจะส่งผลกระทบอะไรต่อสังคมหรือเปล่า สิ่งนี้ผมคิดว่าจะพัฒนาไปเรื่องของศีลธรรมของเขาด้วย”

อาจารย์ณัฐนันทน์ แนวมาลี


อาจารย์ณัฐนันทน์ แนวมาลี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เข้าร่วมโครงการ UNC ตั้งแต่ปี 1 ได้นำรูปแบบโครงการเข้าสู่ชั้นเรียนในวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ 5 มี 3 หน่วยกิต เรียน 1 เทอม สำหรับนักศึกษาปี 3 เผยว่า “ปีนี้เราได้นำเข้าในรายวิชาและมีวัตถุประสงค์ของการเรียนคือตอบโจทย์โครงการ UNC และเป็นการทำงานเพื่อสังคม การเรียนการออกแบบเพื่อตอบสนองประโยชน์ของสังคม และเรียนรู้ร่วมกัน และจัดตารางเรียนให้สอดคล้องกับโครงการ สำหรับเด็กที่เข้าร่วมโครงการได้ประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคอมเม้นเตเตอร์ ที่เป็นเจ้าของโจทย์จริงๆ มาคอมเม้นท์งานให้ มีการลงพื้นที่เป็นกลุ่ม ได้เห็นงานของเพื่อนหลายๆ สถาบัน ก็จะมีความเข้มข้นกว่าการเรียนในห้องเรียน ปีหน้าก็ยังคงเดินหน้าต่อในทิศทางนี้ครับ”

คุณสุริยา สมสีลา


ทางด้านภาคประชาสังคม ที่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของโครงการในการให้ประเด็นและข้อแนะนำต่างๆ ได้สะท้อนมุมมองความคาดหวังคุณสุริยา สมสีลา มูลนิธิเพื่อเด็กพิการกรรมการด้านสังคม - ประเด็นความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม กล่าวว่า “สิ่งที่ต้องการให้ “นักศึกษา”ช่วย คือ เปลี่ยนจากคำว่า “คนพิการสร้างภาระ”มาเป็น ทำอย่างไรให้ครอบครัวรู้สึกว่าเขามีลูกพิการแล้วมีความสุข ไม่แปลกแยกกับใคร เช่น สถานที่ต่างๆ มีอารยสถาปัตย์รองรับ เป็นต้น”

คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ


คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี (Biothai) กรรมการด้านสังคม - ประเด็นสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ถ้าข้อมูลนั้นสำคัญและเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ นักศึกษาสามารถที่จะใช้การสื่อสารและทำให้คนเข้าถึงข้อมูล สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กระบวนการเผยแพร่ข้อมูลที่มีฐานจากข้อเท็จจริง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเกิดจากแรงกดดันของผู้ที่มีอำนาจคือประชาชนที่ได้รับข้อมูลจริงนั่นเอง”

อาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร


อาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร ผู้จัดการโครงการสนับสนุนการพัฒนานโยบายสาธารณะรองรับสังคมสูงวัย กรรมการด้านสังคม -ประเด็นสุขภาพและโภชนาการ กล่าวว่า “อยากให้ “นักศึกษา” ช่วยปรับกระบวนทัศน์หรือ “วิธีคิด”ต่อคำว่า “สุขภาพ” เสียใหม่ ให้เป็น “สุขภาวะ” สุขภาพไม่ใช่เรื่องโรคภัยไข้เจ็บอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นเรื่องของทั้งสังคม เป็นความสมบูรณ์ทั้ง ทางกาย ใจ ปัญหา สังคมด้วย เราเรียกว่าสุขภาวะ คือ ภาวะแห่งความสุขของทั้งสังคม”

คุณบัณฑิต แป้นวิเศษ


คุณบัณฑิต แป้นวิเศษ มูลนิธิเพื่อนหญิง กรรมการด้านสังคม -ประเด็นความรุนแรง“ความคาดหวังของมูลนิธิเพื่อนหญิง หรือคนที่ทำงานกับกลุ่มสตรี คือ ต้องการให้ “นักศึกษา” ที่เข้ามาทำสื่อ ได้สื่อสารเรื่องราวที่ผู้หญิงและสังคมควรรู้ อาทิ เรื่องสิทธิหน้าที่ต่างๆ ของผู้หญิงเบื้องต้น การล่วงละเมิศทางเพศ การถูกข่มขืน ให้เห็นเบื้องหลังของความรุนแรงที่เกิดจากทัศนคติและค่านิยมเดิม เช่น ค่านิยม “สังคมชายเป็นใหญ่”จะได้เปลี่ยนมาเป็น “ให้เกียรติซึ่งกันและกัน”

กลุ่ม ข้าว IN 3


การผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่ปีนี้มีความเข้มข้นหลากหลายรูปแบบ เริ่มที่ประเด็นสิ่งแวดล้อม นักศึกษาให้ความสนใจในเรื่องของเกษตรอินทรีย์พุ่งเป้าไปที่กลุ่มชาวนา เช่น กลุ่ม ข้าว IN 3 จากม.มหาสารคาม คณะสถาบัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ วิชาเอกออกแบบนิเทศศิลป์ ต้องการสื่อสารให้ทุกคนได้กันมาให้ความสนใจต่อเกษตรอินทรีย์เพื่อเป็นการช่วยอาชีพนี้อีกทางหนึ่ง

กลุ่ม RED HOT อินทรีย์ FARMER


กลุ่ม RED HOT อินทรีย์ FARMER จาก ม.ศิลปากร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิชาเอกโฆษณา นายชัยสัณฑ์ มณีพลอยเพ็ชร นักศึกษาปี 2 ตัวแทนกลุ่มบอกว่า ต้องการเปลี่ยนค่านิยมของชาวนาให้หันมาทำนาแบบอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยในสุขภาพของตนเองและผู้บริโภค โดยผลิตสื่อหลากหลายชนิดเนื่องจากทำทั้งเอกโฆษณา จำนวน 32 คน ผลิตสื่อโซเชียลมีเดีย ได้แก่ เวบไซต์ - เฟสบุ้ค ชื่อชาวนาทราบแล้วเปลี่ยน ออนไลน์คลิป เรดิโอสปอต อินโฟกราฟฟิค Rice Paddy Art บทความ โดยสื่อสารถึงชาวนาโดยตรง ให้ชาวนารู้ว่าการทำนาเคมีมีข้อเสียอย่างไรและรู้วิธีการทำนาอินทรีย์ เป้าหมายเพื่อให้ชาวนาเคมีเปลี่ยนมาเป็นชาวนาอินทรีย์ แค่เพียง 1 คนก็ถือว่าสำเร็จแล้ว สะท้อนการเรียนรู้ว่า “เรื่องข้าวเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ทุกคนกินข้าว และเรื่องนาอินทรีย์ นาเคมี ตอนแรกส่วนตัวผมไม่เคยรู้เรื่องนี้เลยว่า มันมีความแตกต่างกันอย่างไร พอเข้ามาทำงานนี้แล้วทำให้เห็นว่าปัญหาเรื่องเกษตรอินทรีย์กับเกษตรเคมีมีผลดี ผลเสียต่างกันอย่างไร ทำให้เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับการตลาดของประเทศและสังคมที่เราเห็นอยู่ตั้งแต่เด็กแล้วว่าชาวนาเป็นหนี้ ทำไมชาวนามีปัญหาตลอด ทำให้เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ทำให้รับข้อมูลกว้างขึ้น รู้ว่าโลกเป็นจริงเป็นอย่างไร การที่เราเป็นสื่อและเรารับรู้ข้อมูลมาเยอะแล้วทำการเผยแพร่ออกไปได้ และถ้าทำแล้วประสบความสำเร็จ รัฐบาลหรือผู้ปกครองประเทศเขาก็เห็นปัญหานี้แล้วมาลงลึกมาสนใจในการแก้ปัญหาพวกนี้แบบจริงๆ จังๆ ก็ได้นะครับ”

กลุ่มพินิจพิษผัก


นอกจากนี้ประเด็นสิ่งแวดล้อมยังมีกลุ่มพินิจพิษผัก ในหัวข้อปัญหาสารเคมีตกค้าง จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์(นานาชาติ) ผลิตสื่อวิดีโอ(ไวรัล) หวังกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคเกิดความตระหนักจากการใช้สารเคมี และทะเลก็เป็นเป้าหมายที่นักศึกษาต้องการบอกเล่าถึงปัญหา ได้แก่ กลุ่มเสม็ด Let’s fun ในหัวข้อการท่องเที่ยวของคุณทำร้ายธรรมชาติอย่างไร เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความตระหนักว่าขยะที่เสม็ดคือฝีมือของใคร

กลุ่ม OUR OCEAN


และกลุ่ม OUR OCEAN จากมหาวิทยาลัยบูรพา คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศิล์ป ได้ขอชี้ปัญหาใกล้ตัวคือทะเลที่ จ.ชลบุรี ทั้งพัทยา บางแสน เกาะสีชัง กำลังเสื่อมโทรมอย่างไร จากฝีมือของทุกคนทั้งเจ้าของบ้าน ภาคอุตสาหกรรม นักท่องเที่ยว เพื่อให้ตระหนักและหันหลับมามองปัญหา

ประเด็นความเหลื่อมล้ำและความเท่าเทียม

กลุ่ม REASONS OF THE RAERONS เรื่องนี้มีเหตุผล


1.คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวข้อเด็กเร่ร่อน Reasons of the Raerons กลุ่ม REASONS OF THE RAERONS เรื่องนี้มีเหตุผล เลือกทำเด็กเร่ร่อน โดยมีนางสาวพาขวัญ จารุวร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชานฤมิตศิลป์ มาร่วมสะท้อนการจัดทำสื่อ Installation Art (ศิลปะจัดวาง) ซึ่งออกแบบเป็นเตียงนอนที่มีหัวเด็กจำนวนมากโผล่ออกมาพร้อมมีมือยื่น สื่อให้เห็นถึงความต้องการความรักของกลุ่มเด็กเร่รอน โดยมองว่าการมีคู่นอนเยอะที่สุดคือการมีคนรักมากที่สุดก่อให้เกิดประชากรที่เพิ่มและปัญหาที่ตามมา และภาพมือยื่นมาหยิบกระเป๋ากางเกงยีนส์ สื่อถึงเด็กเร่ร่อนที่ชอบขโมยเพราะไม่มีเงินกินข้าว สิ่งที่นักศึกษากลุ่มนี้ได้มองเห็นปัญหาและอยากหาทางแก้ไขคือทัศนคติของสังคมที่มีต่อเด็กเร่ร่อน อยากให้สังคมมีมุมมองในด้านความเข้าใจจะได้ร่วมกันแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยมีมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก คุณทองพูล บัวศรี ภาคประชาสังคมให้คำปรึกษาในการให้ข้อมูลและพาลงพื้นที่ ที่ The Hub หัวลำโพง "อยากให้สังคมเข้าใจความคิดหรือสิ่งที่เขาทำว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เมื่อเราเข้าใจมุมมองของพวกเขาก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ตั้งแต่ต้น เราได้ช่วยเหลือเขาหรือสอนเขาให้มากขึ้น หลังจากที่พวกเราไปรีเสิร์ชก็เห็นว่าจิตอาสาที่ไปให้ความรู้ หรือไปสอนอะไรก็ได้ เช่น กิจกรรมยามบ่ายจะช่วยทำให้พวกเขาเปลี่ยนมุมมองมากขึ้น เช่น พี่ที่มูลนิธิฯ เล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนไปแจกถุงยางพวกเขาก็ไม่ใช้กันแต่พอไปให้ความรู้ว่าจะเกิดโทษอะไรบ้างเขาก็เกิดความตระหนักและเริ่มใช้ พวกเราอยากให้เข้าใจเหตุผลของเด็กเร่ร่อนทำไมเขามาเป็นเด็กเร่ร่อนและไม่ได้มองว่าเขาเป็นตัวปัญหาหรือเป็นขยะสังคม สังคมสามารถให้โอกาสพวกเขาได้ เข้าไปช่วยเหลือพวกเขา อย่ามองเขาเป็นแค่ก้อนหินข้างทางเท่านั้น ถ้าเราให้โอกาสเขา สอนเขา เด็กกลุ่มนี้ก็จะมีอนาคตที่ดีขึ้น เป็นประโยชน์ต่อสังคมและช่วยลดปัญหาสังคมได้อีกทางหนึ่ง"

กลุ่มครูอยู่ไหน


2.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กลุ่มครูอยู่ไหน ผลงานครูหนูอยู่ไหน?

กลุ่มเรียนพิเศษ


3.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิตหัวข้อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กลุ่ม เรียนพิเศษ

กลุ่มเส้นใหญ่


4.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา กลุ่มเส้นใหญ่

กลุ่มSIXX


5.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนSIXX กลุ่มSIXX

กลุ่ม GIVE MORE


6.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรหัวข้อเด็กเร่ร่อนGIVE MORE กลุ่ม GIVE MORE

7.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนFree Box

8.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนแผนที่นำสุข

9.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนChildred Bridge 10.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนBLEND PROJECT 11.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวข้อเด็กเร่ร่อนInvisible boy 12.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร13ลาดกระบัง หัวข้อคนพิการBridger

13.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อHobo’s Diary (โฮโบะไดอารี่)

14.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อ“ถ่ายภาพแฟชั่น” เพื่อปรับภาพลักษณ์ของเด็กเร่ร่อน

15.คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อโค้ชคำพูดเด็กเร่ร่อน ติดตามพื้นที่สาธารณะ 16.คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ หัวข้อการศึกษาชนบท

ประเด็นกลุ่มสุขภาวะและโภชนาการ 1.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิชาเอกวิทยุและโทรทัศน์ หัวข้อสุขภาวะในผู้สูงวัย#wewillgrowoldtogether 2.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-ผังเมือง-นฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม หัวข้อWhy I So I Serious "ความเครียดแก้ได้"

ประเด็นความรุนแรงในสังคม 1.คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หัวข้อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง 2.คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หัวข้อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง 3.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อ HATE SPEECH ความรุนแรง (ด้านคำพูด) 4.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อHATE SPEECH ความรุนแรง (ด้านคำพูด)5.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อHATE SPEECH ความรุนแรง (ด้านคำพูด) 6 .คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวข้อ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 7.คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี หัวข้อความรุนแรงทางคำพูด โครงการ "หยุดตรวจ" Check point 8.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง หัวข้อความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง

ประเด็นสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 1.คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หัวข้อความรุนแรงในสื่อ Cyber Bullying 2.คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หัวข้ออาชญากรรมออนไลน์ 3.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบหัวข้อการใช้โซเชียลอย่างมีสติ 4.คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต หัวข้อCyberbullying การใช้เทคโนโลยีในการกลั่นแกล้งหรือล่อลวงคนในโลกออนไลน์

จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 2-7 พฤษภาคม 2560 ณ บริเวณโถงชั้น 1 ชั้น L

ติดตามชมเวทีนำเสนอผลงานได้ที่นี่ https://goo.gl/0dOhZB

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

หมายเลขบันทึก: 628733เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 09:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท