ความพอเพียง : ศาสตร์พระราชา


ความพอเพียง : ศาสตร์พระราชา

ดร.ถวิล อรัญเวศ
รอง ผอ. สพป. นครราชสีมา เขต 4

สิ่งที่จะทำให้คนเรามีความสุข คือการรู้จักพอ และดำรงตนอยู่ในความพอเพียง

แต่ไม่ใช่การไม่กระตือรือร้น หรือไม่ขวนขวาย แต่คือการพอใจในความรู้ความสามารถ

หรือศักยภาพของเราซึ่งได้กระทำอย่างสุดความสามารถแล้ว

สัจธรรมของชีวิต คือไตรลักษณ์ 3 ประการ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อมี

เกิด ต้องมีแก่ เจ็บ และตาย คนเราส่วนใหญ่มักจะลืมสิ่งใกล้ตัว มัวแต่มองหาสิ่งไกลตัว ซึ่งบางครั้งก็ไม่เป็นประโยชน์สำหรับเราเลย มีแต่จะก่อให้เกิดทุกข์ เพราะบางครั้งเป็นความจริงที่จอมปลอม แต่ความจริงที่จีรังยั่งยืน ก็คือการที่เราได้รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไม่ต้องไปดิ้นรน โลภเกินพอดี ให้ยึดมั่นใน

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่เรียกว่า “ศาสตร์พระราชา” เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากจนเกินไป โดยไม่ไปเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีเงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่พอเพียง 2 ประการ ดังนี้

ก. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนเพื่อจะได้ระมัดระวังในการปฏิบัติ

ข. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะเป็นตัวสร้างเสริม อันประกอบด้วย ความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต มีความอดทน มีความเพียร เพื่อใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตและ

แบ่งปัน

นี้แหละคือสัจธรรมชีวิต จะทำให้มีความสุข ทุกข์อยู่ที่ถือ สุขอยู่ที่การรู้จัก

ปล่อยวาง นี้พุทธองค์ทรงสอนเราไว้ และให้หมั่นเจริญมรสติ จะไม่หลงตาย และจะทำให้เราไม่ประมาท ไม่ว่าจะเป็นการประมาทในวัย ประมาทหลงระเริงในยศฐาบรรดาศักดิ์ เป็นต้น

เมื่อเจ้ามา เจ้ามีอะไร มากับเจ้า

เจ้าจะมัวแต่สุข สนุกไฉน

เมื่อเจ้ามามือเปล่า เจ้าจะเอาอะไร

เจ้าก็ไปมือเปล่า เหมือนเจ้ามา

พรรณไม้ดอก แม้โตได้ วันละนิด

ยังความงาม พาจิตใจ ให้สดใส

ก่อนเหี่ยวแห้ง หมู่ภมร ได้ชื่นใจ

ดูดเกสร บินร่อนไป เลี้ยงรวงรัง

อันมนุษย์ เกิดมาอยู่ คู่กับโลก

มีสุขทุกข์โศก โรคภัย ตายแล้วเผา

ก่อนจะดับ ลับโลกไป เพราะมัจจุราชมารับเอา

ท่าน เราและเขา ควรปลูกฝัง ความดีไว้ ให้โลกชม

หมายเลขบันทึก: 628730เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2017 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท