​ชีวิตที่พอเพียง : 2920. ข้อมูลเพื่อประเทศไทย ๔.๐



ดังเล่าในบันทึกที่แล้วว่า มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ร่วมกับ สสส. และสำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดการประชุม วัฒนธรรมการใช้ข้อมูล : เจาะข้อมูล จูนความคิด แจ้งวิกฤต จุดติดทุกโอกาส” เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ นอกจากไปพูดตามที่เล่าในบันทึกที่แล้ว ผมยังได้ฟังการนำเสนอในช่วงครึ่งวันเช้า


โดยได้ฟังท่านรองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดร. อาจิน จิรชีพพัฒนา พูดเรื่อง ระบบข้อมูลในยุคดิจิทัล ทำให้ผมได้รู้จัก สถิติทางการ (official statistics) ที่มีลักษณะที่เป็นตัวเลขกำกับโดย metadata ทำให้ผมได้เข้าใจความหมายของ metadata ว่าหมายถึง “ข้อมูลที่อธิบายรายละเอียดของข้อมูล หรือสารสนเทศ” รวมทั้งได้เห็นว่าสำนักงานสถิติฯ เอ่ยถึงเรื่อ big data อย่างชัดเจน


ในฐานะลูกเกษตรกร ผมตื่นตาตื่นใจกับการนำเสนอ ๒ เรื่องสุดท้ายของภาคเช้า คือเรื่องที่มาจากสัมมะโนการเกษตร เรื่องแรก การเปลี่ยนแปลงด้านการเกษตรไทยในช่วง ๒ ทศวรรษ ที่บอกว่าเวลานี้การเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในมือบริษัทเอกชน ที่เป็นทุนใหญ่ กับเรื่อง การเปลี่ยนแปลงเกษตรกร ผู้บริโภคไทย และผักผลไม้ที่หายไป พบว่าจำนวนครัวเรือนที่ปลูกลดลงมาก และการบริโภคภายในประเทศ ลดลง เพราะมีการส่งออกมาก มีผลให้ราคาผลไม้สูงขึ้นมาก ส่วนผักบางชนิดเราใช้วิธีนำเข้าจากจีน เช่นหอม กระเทียม รวมแล้วทั้งผลไม้และผักผู้บริโภคต้องจ่ายเพิ่มขึ้นมาก ดังที่เราประสบอยู่ โดย ดร. เดชรัต สรุปว่า “ความมั่นคงทางโภชนาการของคนไทยสัมพันธ์กับกลไกทางตลาดและกลไกทางการค้ามากขึ้นอย่างที่อาจไม่เคย นึกมาก่อน และความสัมพันธ์นี้จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต”


เรื่องที่น่าสนใจทางการศึกษาคือเรื่อง ความพึงพอใจในชีวิตของวัยโจ๋ (๒๕๕๙) ศึกษาคนอายุ ๑๕ - ๒๕ ปี โดยให้มองตนเอง พบว่าเขาแบ่งคนวัยโจ๋เป็น ๕ กลุ่มคือ อันธพาล (2.9%), ไร้ตัวตน (10.2%), ตัวท็อปป๊อบปูล่าร์ (11.1%), เด็กเรียน (32.0%), นักดนตรีนักกีฬา (37.6%)b ตัวเลขบอกว่าเด็กเหล่านี้อยู่คนเดียวหรือไม่ได้อยู่กับพ่อแม่รวมประมาณหนึ่งในสาม และที่ใจชื้นคือ กลุ่มอันธพาลมีเพียงร้อยละ ๓ กลุ่มที่มีความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุดคือสามกลุ่มหลัง


ในช่วงอภิปราย ผู้เข้าประชุมจากกาญจนบุรีตั้งคำถามเรื่องรัฐบาลการทวงคืนพื้นที่ป่า จากฉะเชิงเทราห่วงใยว่าการขยายภาคอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อภาคเกษตร ดร. เดชรัตย้ำข้อมูลว่า ฉะเชิงเทราเป็น จว. ที่การลงทุนภาคเกษตรให้ผลตอบแทนมูลค่าเพิ่มสูงที่สุดในประเทศ


เผชิญ พงศ์เพชร จากนครปฐม พูดเรื่องการเรียนรู้ของนักเรียนที่ สพฐ. กำหนดนโยบายให้ครูทำ PLC แต่บริหารการศึกษายุคศตที่ ๒๐ แต่เด็กอยู่ในศตวรรษที่ ๒๑ และกล่าวว่านครปฐม ผังเมืองกำหนดให้สวนกลายเป็นเมือง และพูดเรื่องน้ำท่วม ดร. เดชรัตให้ข้อมูลว่าผลการศึกษา พบว่าครูให้ความสนใจฐานันดรอันธพาลมากกว่าฐานันดรไร้ตัวตน


วิชา จันทร์พรหม จากอุดร ต้องการข้อมูลลึก เพื่อกระจายให้ภาคส่วนประชาสังคม เช่น การขาดไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ พูดถึงการเสริมไอโอดีนแก่หญิงจดทะเบียนสมรส ข้อมูลผลผลิตข้าวต่อไร่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ไม่ใช่ระดับจังหวัด


ดร. เดชรัต กล่าวถึงการเก็บข้อมูลในพื้นที่ แล้วสังเคราะห์ตอนเย็น ก่อนส่งส่วนกลาง


นายกาญจน์ กล่าวถึงนิเวศบริการ ประเมินคุณค่าของระบบนิเวศ ใช้แล้วจะมีผลได้เสียอย่างไร น่าจะเก็บข้อมูล ใช้วางทิศทางประเทศ ไม่ปฏิเสธการเติบโต แต่ต้องไม่กระทบด้านลบ เช่นปล่อย CO2 มากขึ้น ต้องมองอนาคตที่สดใสขึ้น เช่นตลาดที่เป็นทางออก ดร. เดชรัต เสริมเรื่องตลาดท้องถิ่น ส่วนเรื่อง Ecosystem service จ. กระบี่สนใจ เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเร็วมาก เป็นอันดับสี่ของประเทศ อยากรู้ว่า ใช้ทรัพยากรไปเท่าไรแล้ว กระบี่ควรรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนเท่าไร มองจุดจำกัด


สงวน ประจำภพ สระแก้ว มีเขตเศรษฐกิจพิเศษบนพื้นที่เกษตรกรรม จะเกิดศึกแย่งน้ำ เกษตรกรหน้าเขื่อนลดการเกษตร เพราะไม่มีน้ำ ต่อไปเกษตรกรจะทำอะไร ประเด็นทรัพยากรมีจำกัด


วิไล จากเชียงราย ว่าเชียงรายก็มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ คัดค้านระเบิดแก่งแม่น้ำโขง อยากมีข้อมูลปลา สัตว์น้ำ มูลค่าทางทรัพยากร ดร. เดชรัตแจ้งว่า วันที่ ๓๐ พ.ค. จะไปเสนอมูลค่าของป่าบุญเรือง ที่เชียงราย



วิจารณ์ พานิช

๒๕ เม.ย. ๖๐


หมายเลขบันทึก: 628673เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2017 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2017 22:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Collecting data has costs. Extracting information from data has costs. Using unreliable data and/or information can cost more.

We can wish for data and information, we must pay and support data workers.

UNGP คืออะไร by วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/628621

is spotted and read after above comment. The point of UNGP (United Nations Guiding Principles - for reporting) and many others (United Nations frameworks: CHRB, RAFI,...) is to ensure 'quality and relevancy' of data and information.

UN is of course trying hard to reduce costs of data by encouraging reports from 'local organisations'. This will create demand for data analysts up at congregation levels and once again lower level data collectors are not recognized.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท