​ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๙. ประมวลสาระ



บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง โดยตอนที่ ๙ นี้ตีความเรื่องของการสอนสาระ หรือเนื้อหาความรู้โดยตรง จากบทที่ ๓ Conducting Direct Instruction ตอนที่สอง Element 7 : Processing Content


คำถามเพื่อวางแผนการสอนของครู ด้านการประมวลสาระ คือ “ครูจะช่วยนักเรียนให้ฝึกประมวลสาระความรู้แต่ละท่อน และความรู้โดยรวม ได้อย่างไร”


ในระหว่างช่วงที่ครูหยุดสอนสาระความรู้ระหว่างท่อน (ดูตอนที่ ๘) ครูต้องวางแผนกิจกรรมให้นักเรียนทำ ร่วมกัน เพื่อ “ย่อย” ความรู้ เพิ่มเข้าคลังความรู้ของตน กิจกรรมเพื่อประมวลหรือย่อยความรู้มีดังต่อไปนี้




เป้าหมายของกระบวนการข้างบน เพื่อช่วยให้นักเรียนได้เพิ่มความเข้าใจและจดจำสาระสำคัญได้ดียิ่งขึ้น โปรดสังเกตว่า ยุทธศาสตร์ประมวลหรือ “ย่อย” สาระความรู้ในตารางข้างบน แต่ละยุทธศาสตร์ช่วยให้นักเรียน “ย่อย” สาระความรู้แตกต่างกัน โดยในสองเทคนิคแรกคือวิเคราะห์สถานการณ์ นักเรียนต้องสวมวิญญาณความเป็นตัวของตัวเอง มีจุดยืนของการวิเคราะห์ ส่วนในเทคนิคหมวกความคิด นักเรียนจะต้อง “ย่อย” ความรู้นั้นโดยสวมวิญญาณ ที่แตกต่างกันออกไปตามสีหมวก


ในเทคนิคร่วมมือกันต่อภาพ นักเรียนแต่ละคนแสดงบทเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ย่อยความรู้ด้านนั้นๆ แชร์กับเพื่อน

เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์นี้ นักเรียนจะแสดงพฤติกรรมต่อไปนี้


  • นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสาระความรู้อย่างจริงจัง
  • นักเรียนทำนายบทเรียนในขั้นตอนต่อไป
  • นักเรียนสามารถอธิบายสิ่งที่เพิ่งเรียนผ่านไปได้
  • นักเรียนตั้งคำถามเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น



วิจารณ์ พานิช

๒ เม.ย. ๖๐

หมายเลขบันทึก: 628672เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2017 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2017 22:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท