​PAR -Q and You คุณพร้อมไหมสำหรับการออกกำลังกาย


กว่าที่ใครสักคนจะตัดสินใจออกกำลังกาย ก็ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆมามากมายดังที่เล่าไว้ใน 4 บันทึกก่อนหน้านี้ แต่ถึงแม้ว่าจะตัดสินใจได้แล้ว ก็ไม่แน่ว่าเขาผู้นั้นจะออกกำลังกายได้เลยค่ะ ยังต้องประเมินความพร้อมเสียก่อน เพื่อความปลอดภัยของตัวเขาเอง

สิ่งในโลกมีสองด้านเสมอ สิ่งที่มีคุณอนันต์ ก็มีโทษมหันต์แฝงอยู่ด้วย การปฏิบัติต่อสิ่งใดๆในโลก จึงต้องมีความระมัดระวัง ที่จะใช้แต่ในด้านคุณ ควบคุมด้านโทษไม่ให้ปรากฏ

การออกกำลังกายก็เช่นกันค่ะ แม้จะให้ประโยชน์ แต่ก็มีโทษเช่นกัน เพราะไม่รู้และไม่ได้ระมัดระวังด้านโทษ จึงมีข่าวการออกกำลังกายแล้วเสียชีวิตของผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายหลังจากร้างราไปนาน

จึงจำเป็นต้องมีการประเมินความพร้อมในการออกกำลังกายกัน เบื้องต้นเลยคือการคัดกรองผู้เป็นโรคหัวใจ หรือมีอาการแสดงออกของโรคหัวใจและอาการอื่นๆที่อาจเป็นอันตรายก่อนด้วยคำถามต่างๆ บุคคลที่ตอบใช่ในแบบฟอร์มประเมินความพร้อม หรือ PAR-Q Form ต้องให้แพทย์ตรวจและวินิจฉัยก่อนค่ะ ว่าสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ หรือถ้าทำได้ จะสามารถทำได้ในระดับไหน

เพราะบางทีเราเองก็ไม่รู้ว่าเรามีอาการที่แสดงถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่การออกกำลังกายสามารถทำให้เราเป็นอันตรายได้

ข้อมูลจาก หนังสือ "คิดเอง ทำได้ ห่างไกลโรค" จัดทำโดยราชวิทยาลัยอายุรเวช แห่งประเทศไทยยังมีเรื่องที่ควรสอบถามเพิ่มเติมอีกค่ะ นั่นคือ เป็นไข้มานานกว่า 1 เดือน

ขณะเรียนชั้นประถม ป่วยจนขาดเรียนบ่อยๆ เดินขึ้นบันไดไปชั้น 2 หรือชั้น 3 แล้วหอบ

เมื่อผ่านการประเมินความพร้อมในการออกกำลังกายแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าจะออกกำลังกายได้เลยนะคะ ยังต้องประเมินความเสี่ยงในการออกกำลังกายอีก

ขอยกไปเล่าคราวหน้าค่ะ

หมายเลขบันทึก: 628515เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2017 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท