ค่ากลาง (๓)


เช้าวันสุดท้ายแล้ว วันนี้เดินช้า ผ่อนคลายและให้มีสมาธิ รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร

พี่ฝนทำเวลาดีมาก กลุ่มสนับสนุนเสนอไม่ถึง ๑๕ นาที นำเสนอสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

•กำหนดkey message คำที่อยากจะสื่อสาร เช่น แปรงฟัน ๒๒๒ แปรงแห้ง ตามกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อ เจาะภาคีที่เราอยากให้ขับเคลื่อนงานต่อ เช่น คืนข้อมูลผู้บริหารระดับ สสจ. ผู้บริหารสถานศึกษา ท้องถิ่น พาผู้บริหารทดลองแปรงฟันแห้ง

•ผลิตสื่อ นำเสนอสื่อ จัดเวทีให้ภาคีมานำเสนอสื่อ ประเมินผลสื่อ


มาตรการทางสังคม

•รวบรวมมาตรการจากพื้นที่ นำเสนอเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน

•ติดตามการทำงาน การนำมาตรการไปใช้ ได้ผลอย่างไร สุ่มสำรวจใน รร. ศพด. คุยกับครู นายก ผอ.รร.

•ผลักดันให้ CUP จัดเวทีคืนข้อมูลให้ภาคีทุกคนมีส่วนร่วมมาแลกเปลี่ยนกัน


พัฒนาสมรรถนะ

•สอบถามความต้องการพื้นที่ ดูจากปัญหาของพื้นที่

•กำหนดรูปแบบกระบวนการ

•ดำเนินการ

•ประเมินผล


ประเมินผล/นโยบาย

•กำหนดตัวชี้วัดที่จะประเมินร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

•สนับสนุนเครื่องมือ

•ประเมินผล


สนับสนุนการสร้างนวตกรรม

•เปิดเวทีลปรร.นวตกรรม หาต้นแบบ นำสิ่งดีๆมาลป.และนำไปใช้ต่อ เวทีสมัชชา เวทีสัญจร มหกรรมสุขภาพ

•บูรณาการเกณฑ์ ศพด. จากกรม/ภาคส่วนต่างๆ มาเป็นเกณฑ์ของจังหวัด เกณฑ์เป็นตัวทำให้คนมาคุยกัน ท้องถิ่นได้รับมอบให้เป็นเจ้าภาพ รู้สึกเป็นเจ้าของ ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น


พี่แต๋ว เติมให้กลุ่มสนับสนุน

•ผู้ปฏิบัติต้องดูว่า ที่ผู้สนับสนุนเสนอมา ตอบสนองงานที่ตัวเองจะทำหรือไม่ เพียงใด

•งานที่เลือกมา ส่วนใหญ่ยังทำน้อย ไม่ทุกจังหวัด แต่เห็นว่าควรทำ และตกลงร่วมกันว่าจะทำ

•มาตรการทางสังคม ไม่ใช่มาตรการที่มาจากจนท. ต้องมาจากชาวบ้านคิดจะทำ เราไปกระตุ้น ถ้าจนท.เห็นว่าดี เรามีหน้าที่นำมาตรการนั้นไปเผยแพร่ให้พท./ชุมชนอื่นทำ คืนข้อมูลให้ผู้บริหารรับทราบในเวทีต่างๆ นำไปกำหนดนโยบาย การนำเสนอผู้บริหารควรต้องมีไฮไลท์ จะพุ่งเป้าในเรื่องอะไร

•การบูรณาการระหว่างกิจกรรม เอางานที่จะทำทุกกิจกรรมมาเรียงกัน ดูว่ามีงานอะไรที่ซ้ำๆ พิจารณาว่าทำด้วยกันได้ไหม ทำครั้งเดียว โดยเฉพาะงานเชิงพัฒนา การจัดการกับคนตามกลุ่มวัย การจัดการสิ่งแวดล้อม

•เมื่อเลือกค่ากลางแล้ว ๓-๕ งาน ลงมือทำ สิ้นปีประเมินผลงานไหนได้ทำแล้ว ประเมินผลว่าทำแล้วเป็นอย่างไร นำมาปรับ หรือ ต่อยอดงาน หรือมีงานที่ต่อยอดแล้วได้ผลดี ยกมาเป็นค่ากลางในปีต่อไป

•สุ่มดูการทำงานจริงของพื้นที่ พื้นที่ทำได้ไหม ต่อยอดเติมเต็มให้พื้นที่

^_,^

ความรู้สึกของหมอมิ้ง ภูกระดึง ที่เข้าประชุม ทำกิจกรรมกลุ่มตลอด

•ได้เรียนรู้ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ทำงานในพื้นที่

•มุมมองของคนทำงานในชุมชน เวลาทำงานส่วนใหญ่จะมีแนวทางมาจากสำนักฯ ทำตามนั้น แต่ถ้ามีงานที่มาจากเขต หรือจังหวัด ที่เข้ากับบริบทของพื้นที่จริงๆ น่าจะดีกว่า

สิ่งที่ได้ประโยชน์จากการประชุม เรื่อง CSF บางครั้งเราทำงานไปเรื่อยๆ ไม่เคยถามว่าทำไปทำไม แต่ถ้าคิดถึง CSF จะทำให้เรารู้ว่าเป้าหมายคืออะไร เราจะเดินไปอย่างไร ทำงานอย่างมีเป้าหมาย และจะไม่เหนื่อยฟรี


^_,^

ความรู้สึกพี่เถ่า โรงพยาบาลบ้านฝาง ขอนแก่น สะท้อนว่า

•เปิดมุมมองว่า ค่ากลาง เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งกับภาคีเครือข่ายที่จะทำให้ปชช.มีสุขภาพดี ลำพังเราฝ่ายเดียวทำไม่ได้ ต้องช่วยกัน สิ่งที่เราทำมาเป็นแค่ส่วนน้อยมาก

•เชิญพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ มาแลกเปลี่ยนงานที่ทำ เพื่อยกระดับงานที่จะนำมาเป็นค่ากลางได้

•กรอบกิจกรรม เฝ้าระวัง สื่อสาร มาตรการทางสังคม ปรับแผนงาน ตอนทำงานกลุ่มเราทำทีละกิจกรรม สีสันของการอบรม อยู่ที่คำถามของวิทยากร ชวนให้เราคิด ว่างานที่เราทำมันเป็น CSF หรือไม่ เราทำงานมาก ทุกงานทีคุณค่า แต่อาจยังไม่ถึงเป้า กลับไปที่ฝ่ายแค่ได้เอาเรื่อง CSF ไปชวนน้องๆในฝ่ายคุย ก็คุ้มค่าแล้ว

•เรียนรู้นอกห้อง การกำกับนิเทศงานจากพี่อ้อย นำไปใช้ในพื้นที่ได้

ความรู้สึกหมอซิมสะท้อนอีกคนหนึ่ง

•สิ่งที่ได้มาแลกเปลี่ยน ได้เห็นรายละเอียดการทำงานของแต่ละพื้นที่

•จะนำค่ากลางไปเป็นแนวทางการทำงานที่สูงเนิน (โคราช) รวมทั้งสิ่งที่ได้

^_,^


แล้วค่อยถึงฝ่ายจับประเด็นสำคัญ พี่สุรัตน์สรุปเนื้อหาจากที่พวกเราทุกกลุ่มเสนอมา

•กระบวนการที่เราได้เรียนรู้ เจ้าของสุขภาพ ถ้าเรามองเป็นรายบุคคล เค้าจะทำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าเรามองเป็นชุมชน จะมีพลังมากขึ้น เช่น การป้องกันไข้เลือดออก การป้องกันมลพิษในหมู่บ้านของเรา

•งานทันตฯยังมองไม่ค่อยเห็นภาพชุมชน ยังมองเป็นรายบุคคล คนนั้นต้องควบคุมการกิน ต้องแปรงฟัน แต่ลำพังการต่อสู้ด้วยคนๆนั้นคนเดียว อาจจะยาก ทำไม่ได้ เช่น เด็กเล็ก ถ้ารร.มีกฎ มีมาตรการในรร. ทุกคนต้องทำ ก็ทำได้ง่ายกว่า

•การที่เขาจะเริ่มลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่างเพื่อสุขภาพตัวเอง ชุมชนต้องมีการเฝ้าระวังตัวเอง รู้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไร จอบ แจ้ง บอกกล่าวกันว่าตอนนี้บ้านเรามีปัญหาอะไร ช่วยกันจัดการ กระบวนการจัดการอาจจะออกมาเป็นมาตรการสังคม กฎกติการ่วมกัน ในกระบวนการทำงานบางครั้งเราต้องใช้ทรัพยากร เงิน ของ เราจึงต้องจัดทำโครงการ การทำโครงการจะเป็นตัวบอกว่า ใครจะทำอะไร ที่ไหน จะใช้ทรัพยากรจากไหน และเมื่อทำแล้วจะนำไปสู่ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

•ก่อนที่จะเกิดชุมชนลุกขึ้นมาทำอะไรเอง ต้องมีกระบวนการจากระบบสาธารณสุขมาช่วย พื้นฐาน บุคลากรมีสมรรถนะ ระบบข้อมูล กระบวนการ ระบบการบริหารจัดการองค์กรและภาคีเครือข่าย ส่วนใหญ่เรายังทำงานในส่วนพื้นฐานและกระบวนการ ยังไปไม่ค่อยถึงภาคีและเครือข่าย ซึ่งทิศทางของประเทศตอนนี้เปิดโอกาสทองให้เราเข้าไปทำงานร่วมมากขึ้น และผลักเข้าไปสู่การทำงานกับภาคประชาชน

•การทำค่ากลาง ให้คิดเสมอว่า เราทำเพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

•ทั้ง ๓ กลุ่มมีกิจกรรม ตรวจช่องปาก มีทั้งตรวจโดยเจ้าหน้าที่ ครู อสม. สิ่งที่เราทำแต่ไม่ได้เขียนออกมาคือ การวิเคราะห์และประมวลผล

•การคืนข้อมูล มีหลากหลายรูปแบบ แล้วแบบไหนที่มัน work กับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ

•ในวัยเรียน ที่เห็นชัดคือเมื่อตรวจเสร็จจะมีการคัดแยกกลุ่มเด็กตามปัจจัยเสี่ยง ตามสี เขียว เหลือง แดง มีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเรากับครู ผู้บริหารโรงเรียน

การสื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

•ทำสติกเกอร์ไลน์ กลุ่มไลน์ FB ติดป้ายไวนิล หาต้นแบบเด็กฟันดี เชิดชูเด็กต้นแบบ พาเด็กต้นแบบไปเรียนรู้ที่อื่นๆ

•เวทีลปรร. เพื่อนเยี่ยมเพื่อน

มาตรการทางสังคม

•ให้เกียรติบัตรแม่ลูก ครอบครัวฟันดี จัดขนมในร้านค้า ข้อตกลงในศพด. ให้รางวัลเด็กฟันดี มาตรการในศพด.ไม่เอาขวดนม/ขนมมารร. ศพด./รร.ปลอดน้ำอัดลม

ยกร่างค่ากลางของการพัฒนาสุขภาพช่องปากในเขตบริการสุขภาพที่ ๘

๑. เฝ้าระวังสุขภาพช่องปาก

๒. สื่อสารเพื่อการปรับเปลี่ยนสุขภาพ

๓. มาตรการทางสังคม



^_,^


พี่พวงกรุณาทำให้เห็นภาพการนำไปใช้ชัดขึ้น

•ถ้าเราจะพัฒนางานทันตฯของเรา ค่ากลางเป็นเครื่องมือที่กระทรวงฯ เสนอให้ควรนำมาใช้

•พี่แต๋วมีความรู้เรื่องการจัดทำค่ากลาง ส่วนพวกเรามีความรู้เรื่องการทำงานทันตฯในพื้นที่ ได้มาเจอกัน สิ่งที่เกิดขึ้นสามวัน ทำให้เราได้เอางานที่ทำกันอยู่มาแลกกันอย่างประณีต

•สิ่งที่เราทำก็คือ กรอบให้เราเดินไปในทิศทางเดียวกัน = แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายคือ การให้ปชช.เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยจะเกิดภาพฝันนี้ได้ต้องให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วม เริ่มจากชุมชนต้องมีระบบเฝ้าระวัง มีการจัดการในภาพใหญ่=มาตรการทางสังคมในชุมชน

•การจะให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำเป็นต้องมีเนื้อการสื่อสาร ที่ผ่านมาเราสื่อสารมาก แต่ต่อไปต้องคิดว่า เราได้สื่อสารเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อ.อมรได้บอกว่าการสื่อสารมี ๕ ระดับ one way/two way/ทดลองทำ/ปฏิบัติได้/ทำจนเคยชิน ซึ่งจะได้ผลการปรับเปลี่ยนต้องระดับ ๓ ขึ้นไป

•กระบวนการทำค่ากลางสามวันนี้ ทำให้เราได้ฟังเพื่อน ได้ทบทวนงานตัวเอง ว่าสิ่งที่เราทำอยู่ ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ปชช.จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างที่เราต้องการหรือไม่

•CSF ทำให้เรามองเห็นว่างานไหนสำคัญ เวลาคิดกระบวนการทำงาน เราจะต้องคิดเสมอว่า ใคร ทำอะไร อย่างไร

•งานสำคัญของกิจกรรมเฝ้าระวังที่ทุกกลุ่มพูดถึง คือ การคืนข้อมูล ทำให้ภาคีได้คิดที่จะทำอะไรต่อจากข้อมูลที่ได้ เมื่อกลุ่มกำหนดให้การคืนข้อมูลเป็นค่ากลาง เราก็จะได้ตรวจสอบตัวเองว่า เราได้ทำเรื่องการคืนข้อมูลในพื้นที่หรือยัง ได้ทำโดยครบถ้วนสมบูรณ์หรือยัง

พวกเราเองเรียบเรียง ช่วยบอกว่าสามวันนี้ได้ประโยชน์ที่จะนำไปใช้ต่ออย่างไร

•ดา สุพรรณฯ เห็นแนวทางการทำงาน เห็นงานที่เป็น CSF เน้นๆ การทำงานควรทำงานกับภาคีเครือข่าย ที่ผ่านมาทำเองคนเดียว เหนื่อยๆๆๆๆๆ ทำแล้วไม่ได้ผล เหนื่อย ลาออก

ได้กลับมาบรรยากาศเดิม เห็นศักยภาพชุมชน (เคยอยู่เชียงคาน เลย)

•สุพรรณ แนวทางการทำงานของพท. นำไปปรับใช้ได้ ถ้ารู้ CSF จะไม่เหนื่อยทำทุกอย่าง ได้รู้จักพี่ๆ ได้เรียนรู้ เป็นกำลังใจว่าการทำงานชุมชนไม่ยากอย่างที่คิด

•ยุ่ง สุพรรณ มาฝึกเป็นผู้พูดผู้ฟังที่ดี การทำงานต้องช่วยเหลือตัวเอง ยืนบนขาของตัวเอง มีน้ำใจกับคนอื่น งานที่เราทำอาจไม่สำเร็จแต่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างทางสำคัญกว่า สิ่งที่ภูมิใจได้เจอคนเก่งๆ อยากจะรีบกลับไปทำงาน รู้สึกตื่นตัว ขอบคุณพี่ๆทุกคนที่ทำให้มีความสุขในการทำงาน ดีใจที่ได้มาหนองคาย กลับไปเลือกทำสิ่งที่มีประโยชน์ เลิกทำที่โง่ๆ ไม่ได้ประโยชน์ รู้จัก SRM CSF

•พิษณุโลก ประทับใจเวที ลปรร.การทำงาน ที่จังหวัดมีแต่การติดตามงาน จะกลับไปหา CSF เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงาน ทำงานกับภาคีมากขึ้น ที่ผ่านมาทำงานผู้พิการ ได้ทำงานกับภาคีค่อนข้างมาก แต่การทำงานกับกลุ่มเด็กยังทำงานกับภาคีน้อย แนวคิดการทำงานให้เป็นที่ประจักษ์กับชุมชน ได้แนวคิดการทำงานใหม่ๆ ที่ผ่านมาทำงานแยกกลุ่ม ได้แนวคิดจากยุ่งในการทำร่วมกันในทุกกลุ่ม เช่น ผปค.กับเด็กมาwalk rallyร่วมกัน การสานสัมพันธ์กับครู

•นง จ.เลย เข้าใจ SRM CSF ลดงาน ทบทวนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนงาน ทำงานที่มีประโยชน์มากขึ้น ทีมงานที่มาน่าจะได้ประโยชน์นำไปใช้กับพื้นที่ได้ในเวลา เดือนนี้

เลย ขอบคุณสสจ. ที่ให้มาร่วมอบรม ได้ลป.ความรู้ความคิดเห็นเรื่องค่ากลาง ไม่เคยรู้มาก่อนเลย ได้รู้ว่าอสม.มีความสำคัญมาก พร้อมที่จะให้ความรู้เรื่องช่องปากแก่ปชช.มากขึ้น

•แลกเปลี่ยนประสบการณ์แต่ละพื้นที่ การแก้ไขปัญหาต่างกัน นำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตัวเอง

•หนองบัวลำภู ได้ทำบทบาทผู้สนับสนุน ได้คุยกับหลายจังหวัด รายละเอียดของงานแต่ละจังหวัด รู้สึกดีที่เห็นเพื่อนจะกลับไปทำงานชัดขึ้น CSF ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว มีเครือข่ายจากเขตอื่นมาร่วม ทำให้เห็นมุมมองหลากหลายมากขึ้น วิทยากรมาช่วยทำความชัดเจนเรื่องค่ากลาง

  • หนองบัวฯ ได้ความรู้ เปิดโลกทัศน์ เรียนรู้งานสร้างเสริมมากขึ้น

•ประทับใจ ได้รู้จักค่ากลาง ได้รู้แนวทางการทำงานแต่ละพื้นที่ เป็นแรงจูงใจกลับไปทำงานในพื้นที่

•บึงกาฬ เรียนรู้กระบวนการทำค่ากลางส่วนผู้สนับสนุน ทักษะ ประสบการณ์การทำงานแต่ละพื้นที่ นำไปปรับใช้ได้ แนวทางการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ ในสสจ.

•หนองคาย รู้วิธีคิดที่จะปรับแผนการทำงาน เห็น power การเชื่อมต่อกับภาคีในการขับเคลื่อนงาน

•จะนะ สงขลา ได้พบมิตร ได้ลปรร.การทำงาน หลายรูปแบบ พท.ที่ร่วมมือดี/ยาก มีนวตกรรม เข้าใจค่ากลาง

•อุดร เรียนรู้เทคนิคกระบวนการ แนวทางการทำงานดีๆ เติมไฟ พลัง ไอเดีย จัดกระบวนการทำงานเป็นระบบมากขึ้น เน้นตรงเป้าหมายมากขึ้น งานที่เป็น CSF มากขึ้น เห็นความสำคัญของแต่ละภาคส่วน แม้ในพท.จะยังทำแบบนี้ไม่ได้ทั้งหมด ก็คิดว่าน่าจะเริ่มทำในพท.ที่ชุมชนเข้มแข็ง/อสม.มีจิตอาสาก่อนได้ จะเอาไปช่วยทีมที่รับผิดชอบงานกลุ่มเด็ก และปรับใช้ในงานที่ตัวเองรับผิดชอบ เราจะรอผู้นำระดับสูงอย่างเดียวไม่ได้ ให้ทำหน้าที่เล็กๆของเราก่อน

•นครราชสีมา เข้าใจค่ากลางมากขึ้น ได้ลป.งานดีๆกับเพื่อน นำไปใช้ประโยชน์ในงาน แนวโน้มจะต้องนำไปใช้แน่ๆ ได้ลป.แนวทางการทำงานกับเพื่อนร่วมวิชาชีพ เอาไปปรับใช้

•นครพนม ลป.การทำงานกับเพื่อนๆ รู้จักค่ากลาง การทำงานจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นกับหลายปัจจัย นโยบาย งบประมาณ เวลาทำงานส่วนใหญ่หมดไปกับการคีย์ข้อมูล กิจกรรมคุณภาพเริ่มลดลง จะนำวิธีการหาค่ากลางกลับไปใช้ในพื้นที่

•พี่อ้อย สำนักทันตฯ ได้เจอน้อง เจอทีมงานที่จะขับเคลื่อนงานในพื้นที่

เห็นการจัดกระบวนการที่น่าสนใจ สร้างการเรียนรู้และความสุข เคยเข้าอบรมครูก.ค่ากลาง บรรยากาศจะแข็งๆ ไม่เป็นธรรมชาติแบบนี้ ความรู้สึกก็จะต่างกัน

เขต ๘ เป็นเขตที่โชคดี ไม่กดดันในการทำงาน หลังจากนี้น่าจะมีนวตกรรมเกิดขึ้นมากมาย ความน่ารักความสนใจตั้งใจของอสม.

จะเอาแนวทางไปจัดทำคู่มือการทำงานที่เหมาะสมมากขึ้น


•พี่แต๋ว CSF ที่สำคัญคือ อสม. เดี๋ยวนี้อสม.จะต้องเป็น ปปท. หมอดิน ใครๆก็อยากเอาอสม.ไปร่วมงานด้วย ถ้าเราทำให้ปชช.เป็นอสม.มากขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าตอบแทน มีจิตอาสา จะเป็นสิ่งที่ดี อยากให้เกิดในพท.

•บางที่อาจจะไขว้เขวกับคำว่าค่ากลาง การหางานที่ทำ ๖๕ เปอร์เซ็นต์ เป็นการหาว่าทำงานอะไรกันอยู่บ้าง งานที่ทำกันมากๆ ถ้าทำแล้วไม่เห็นว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จ ไม่จำเป็นต้องเอามาเป็นค่ากลาง แต่งานที่ทำแล้วนำไปสู่ผลสำเร็จแต่ยังทำน้อย อาจยกมาเป็นค่ากลางได้

www.amornsrm.netเว็บ อ.อมร เข้าไปศึกษาเพิ่มเติม

•พี่แต๋ว ๐๘๑ ๗๘๓ ๑๙๕๖

^_,^

ท้ายสุด พี่พวงผู้ใหญ่อาวุโสสุด ขอบคุณวิทยากรจากศูนย์อนามัยที่ ๑ เชียงใหม่ ขอบคุณทุกคนที่ตั้งใจเข้าประชุม เห็นความตั้งใจที่พวกเราได้ประโยชน์ขณะอยู่ในวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้

และได้ยกร่างค่ากลาง ให้นำไปต่อยอดใช้เพื่อสุขภาพประชาชนต่อไป

^_,^

พวกเราได้ทั้งความสุขและสาระประโยชน์มากมายที่จะพัฒนางานต่อ แล้วจึงแยกย้ายกลับพื้นที่ทำงานของเรา ไปเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนบรรทัดฐานทางสังคมด้านพฤติกรรม ที่จะเอื้อให้สุขภาพช่องปากของคนในสังคมที่เราทำงานด้วยดียิ่ง ๆ ขึ้น มีความสุขมากขึ้น

ขอบคุณช่างภาพมืออาชีพ มือสมัครเล่นที่ช่วยนะคะ ขอบคุณ Note-taker ทีมวิทยากรกระบวนการ และทีมอำนวยความสะดวกบริหารจัดการทั่วไป โดยเฉพาะการเงินที่ช่วยกันดีมาโดยตลอด ทั้งจากสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย และ สสจ.ทุกแห่งในเขต ๘

พบกันใหม่เมื่อมีโอกาส เมื่อธรรมะจัดสรร

ราตรีสวัสดิ์นะคะ

ไม่ลืมแน่นอน แปรงฟันก่อนนอน อิ อิ

^_,^



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท