ความแตกต่างที่เหมือน : เครือข่าย 3 ศาสนาใช้เครื่องมือวิจัยแก้ไขปัญหาชุมชน



เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 18 เมษายน 2560 เครือข่ายนักวิจัย 3 ศาสนาประกอบไปด้วย ศาสนาพุทธ ศาสนาคริต์ และศาสนาอิสลามในจังหงัดเชียงใหม่ ได้ประชุมแลกเปลี่ยนการทำงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ภายใต้ชุดโครงการศาสนธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายท้องถิ่น (สกว.) ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายศาสนาเพื่อสังคม ซึ่งมีทีมวิจัยเข้าร่วมกว่า 5 ทีมจากอำเภอต่างๆ

การวิจัยเพื่อท้องถิ่นถือว่าเป็นความท้าทายสำหรับชุมชนปัจจุบันที่ถูกรุกคืนด้วยกระแสทุนนิยม และโลกาภิวัฒน์ ผนวกกับทุนทางศาสนาที่ยังแน่นแฟ้นอยู่ในวิถีชุมชน กระบวนการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่นไม่เพียงแต่สร้างองค์ความรู้ และสามารถแก้ปัญหาชุมชนได้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการพัฒนานักวิจัยชุมชนที่หลากหลายทั้งผู้สูงอายุ เด็ก พระสงฆ์และนักบวชศาสนาอื่นๆ อาทิเช่น พ่อแสวง อายุ 50 กว่าปี หัวหน้าทีมวิจัยบ้านใต้ร้อง กล่าว่า เมื่อก่อนแม้จะอยู่ในชุมชน แต่ไม่เคยได้ศึกษาอย่างละเอียด การทำวิจัยทำให้ตนเองได้ความรู้มากขึ้น แต่อีกด้านก็พบว่า คนในชุมชนยังไม่เข้าใจการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น มองเพียงว่าเป็นผลประโยชน์ของนักวิจัยเท่านั้น ความประทับใจมากที่สุดของลุงแสวงคือการได้ชักนำผู้นำชุมชน และผู้นำทางศาสนามาพูดคุยกันภายใต้บรรยากาศแห่งกัลยาณมิตร

ด้านพระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินธโร) หัวหน้าชุดโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบนฐานศาสนา กล่าวว่า เราเชื่อว่าศาสนามีพลัง ต้องมาคิดกันว่าเราจะให้พลังตรงนี้กระจัดกระจ่าย หรือรวมกัน ที่ผ่านมาพยายามรวมพลังเหล่านี้ เริ่มจากการทำงานช่วยเหลือผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี เอสด์ มีศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตในชุมชน 60 ศูนย์ทั่วประเทศ ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนโลก (The Global Fund)

จากฐานความเชื่อเดิมว่าศาสนามีพลัง จึงเกิดความคิดที่จะขยายไปสู่งานอื่น ๆ จนมาก่อตั้งมูลนิธิเครือขายศาสนาเพื่อสังคม ด้านการทำวิจัยในอดีตเราก็มีงานวิจัยหลายชิ้น ทำได้ทำมาระยะหนึ่งแล้วก็หยุดไป ฐานเดิมของเรามีชุมชนหลากหลายศาสนา จึงคิดที่จะขยับงานวิจัย อยากเห็นพลังจากชุมชนท้องถิ่น วันนี้ยืนยันความเชื่อว่า ศาสนามีพลัง มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ

หลักศาสนาเป็นภูมิปัญญายิ่งใหญ่ ใช้ได้ทุกเวลา ไม่จำกัดว่าองค์ศาสดาต้องมีชีวิตอยู่เท่านั้น แต่สามารถประยุกต์ได้ตามกาลเวลา การแก้ไขปัญหาต่างๆ ถ้าไม่ผ่านการปฏิบัติจริงก็ไม่ได้เรียนรู้ อย่างกรณีปัญหาภัยแล้ง การแก้ไขปัญหาทางราชการคือสร้างแท่งน้ำ แต่ถ้าทำวิจัยและวิเคราะห์จริงๆ จะพบว่า รากเหง้าของปัญหาคือป่าขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นเราต้องรักษาป่า






หมายเลขบันทึก: 627665เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2017 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2017 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท