พุทธศาสนามหายาน ตอนที่ 1 : บททั่วไป


พุทธศาสนามหายาน ตอนที่ 1 : บททั่วไป

3 เมษายน 2560

ตั้งท่าจะเขียนบทความเรื่องศาสนามาหลายเพลา ผัดผ่อนมาเรื่อย มาวันนี้ว่าจะตั้งหลักสักที “ว่าด้วยศาสนาพุทธมหายาน” (Mahayana Buddhism) [1] จะลองเรียบเรียงพร้อมอ้างอิงให้หลากหลาย ตั้งแต่ต้นในเรื่องพื้น ๆ ไปก่อน เพราะผู้เขียนเคยศึกษาวิชานี้เป็นวิชาเลือกเสรี เมื่อครั้งเรียนหลักสูตรปริญญาตรีมาก่อนนานมากแล้ว จำได้ว่าอาจารย์ผู้สอนเป็นอาจารย์พิเศษคณะมนุษยศาสตร์วุฒิ “มหาเปรียญธรรม” (Graduation in Buddhist theology)

ความหมายและความเข้าใจเรื่อง “ศาสนา” ที่เป็น “ศาสนาสากล”

ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ [2] ศาสนาเป็นความผูกพันระหว่างมนุษย์กับสิ่งสูงสุดหรือพระเจ้า หรือคือลัทธิความเชื่ออันนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ และพบสุขนิรันดร์

ฉะนั้น องค์ประกอบของศาสนา ได้แก่ มีคำสอนทั้งระดับศีลธรรม และระดับปรมัตถ์ (ultimate truth) มีพิธีกรรมมีสถาบันและคัมภีร์มีความศักดิ์สิทธิ์มีศาสดาจึงพอสรุปองค์ประกอบที่สำคัญได้5 ประการ คือ (1) ศาสดา (2) คัมภีร์ศาสนา (3) นักบวช (4) ศาสนสถาน (5) สัญลักษณ์ศาสดา[3]

มูลเหตุและประเภทของศาสนา

มูลเหตุการณ์เกิดศาสนามาจาก “อวิชชา” (Ignorance = condition without knowledge) ตลอดจน “ความกลัว” (based on fear, scared) และ “ความต้องการศูนย์รวมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ” รวมถึงต้องการให้สังคมสงบสุข ประโยชน์ของศาสนา ก็คือ ทำให้สังคมและตัวเองสงบสุขสรุปได้ว่าศาสนาเกิดจาก (1) ความกลัวปรากฏการณ์ธรรมชาติ สมัยโบราณเมื่อมนุษย์ประสบกับสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฯลฯ ซึ่งมนุษย์นั้นไม่สามารถหาคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านี้ได้ (2) ความต้องการความอบอุ่นทางจิตใจ (3) ความไม่รู้ หรือ อวิชชา (4) ความต้องการความรู้แจ้งความจริงแห่งชีวิต [4]

ศาสนาแบ่งเป็น 2 ระดับคือ (1) ศาสนาระดับท้องถิ่น เช่น ศาสนาชินโต (Shinto) ศาสนายูดาห์ (Judah, Judaism)และ (2) ศาสนาระดับสากล เช่น ศาสนาพุทธ (Buddhism) คริสต์ (Christianity) อิสลาม (Islam, Islamism) ฮินดู (Hinduism, Brahmanism)[5]

ตามลักษณะของศาสนา แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (ประเภท) คือ (1) เอกเทวนิยม (Monotheism) บูชาพระเจ้าองค์เดียว เช่น ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เป็นต้น (2) พหุเทวนิยม (Polytheism) บูชาในพระเจ้าหลายองค์ เช่น ศาสนาฮินดู และศาสนากรีกโบราณ เป็นต้น (3) สัพพัตถเทวนิยม (Pantheism) บูชาพระเจ้าสถิตอยู่ในทุกหนทุกแห่ง เช่น ศาสนาฮินดู (บางลัทธิ) เชื่อว่าพระพรหมสถิตอยู่ในทุกหนทุกแห่ง (4) อเทวนิยม (Atheism) ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ได้แก่ พุทธศาสนาเป็นต้น [6]

มหายาน กับ เถรวาท[7]

ในบรรดาศาสนาที่สำคัญของโลก 4 ศาสนาได้แก่ ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ [8] นั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของชาวไทยมาแต่โบราณกาล อีกทั้งยังเป็นศาสนาหลักของประเทศเพื่อนบ้านในคาบสมุทรอินโดจีน หรือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ “สุวรรณภูมิ” รวมทั้งแถบพื้นที่ทางตอนเหนือของเอเชีย ทั้งเนปาล ทิเบต มองโกเลีย จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม สรุปว่าศาสนาพุทธได้แผ่กว้างขวางในภาคพื้นทวีปเอเชีย

ในบรรดานิกายในศาสนาพุทธนั้น มีแบ่งแยกกันเป็น 2 นิกายหลักคือ (1) นิกายมหายาน (Mahayana)ซึ่งหมายรวมถึง “วัชรยาน” (Vajrayana)[9]หรือ “พุทธแบบทิเบต” หรือ “ตันตระ” (Tantra) [10] ที่ชาวตะวันตกให้ความสนใจอยู่ในปัจจุบันด้วย และ (2) นิกายเถรวาท (Theravada) [11]หรือ หีนยาน (Hinayana) [12] หรือ “ยานเล็ก”

เมื่อเวลาได้ล่วงเลยประมาณ 100 ปี ภายหลังพุทธปรินิพพานได้เกิดความแตกแยกทางความคิดความเห็น ทำให้พุทธศาสนาถูกแบ่งออกเป็น 2 นิกาย ได้แก่ (1) นิกายมหาสังฆิกะ (mahasamghika) [13] (หรือมหายาน) ซึ่งมีความเห็นว่า ควรมีการแก้ไขปรับปรุงพระธรรมวินัยบางข้อ กับ (2) นิกายเถรวาทที่เห็นควรให้คงไว้ซึ่งพระธรรมวินัยดั้งเดิม ต่อมานิกายสังฆิกะได้พัฒนากลายมาเป็นพุทธศาสนานิกายวัชรยาน

มีคำถามอยู่เสมอว่า พุทธศาสนาทั้งสองนิกายคือมหายานกับเถรวาทมีความแตกต่างกันอย่างไร คำตอบที่แน่ๆ ก็คือ ในด้านเปลือกนอก เราจะมองเห็นความแตกต่างในรูปแบบของการครองจีวรระหว่างภิกษุทั้งสองนิกาย ความแตกต่างในการประกอบพิธีทางศาสนา กับประการที่สองมีความแตกต่างกันในภาษาที่ใช้บันทึกคำสอนของพระพุทธองค์โดยทางเถรวาทให้ภาษาบาลี ขณะที่นิกายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต

ส่วนความแตกต่างในแนวลึกได้แก่การเน้นความสำคัญในด้านการสอนการปฏิบัติพระธรรมวินัย เช่นทางเถรวาทเน้นความสำคัญในการรักษาพระธรรมวินัยเดิมซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นพื้นฐานต่อการปฏิบัติธรรมชั้นสูง ส่วนมหายานมีการปรับปรุงพระวินัยย่อยบางข้อเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น แนวความคิดในเรื่องของพระโพธิสัตว์ที่ทางเถรวาทแม้จะยอมรับและมีการสอนอยู่บ้าง แต่กลับเป็นเรื่องที่ทางมหายานเน้นย้ำและให้ความสำคัญและเป็นหัวใจหลักในการปฏิบัติภาวนา

อย่างไรก็ตาม แนวทางปฏิบัติทั้งในฝ่ายเถรวาทและมหายานหากจะมองให้ลึกก็จะมีความเห็นตรงกันในแก่นคำสอนหลัก เช่น ในเรื่อง อริยสัจ 4 (Four Noble Truths) มรรค 8 (Noble Eightfold Path) การบำเพ็ญทศบารมี (Ten perfections=parami) ในเถรวาท และบารมี 6 ในทางมหายาน สติปัฏฐาน 4 (One Only Way = Four Satipatthana : foundations of mindfulness) ความเกี่ยวพันระหว่างปัจจัยทั้ง 12 อย่างในปฏิจจสมุปบาท (บาลี: Paticcasamuppada; สันสกฤต: Pratityasamutpada) กฎว่าด้วยเหตุปัจจัย แนวทางการตรัสรู้ (enlighten) และการถือนิพพาน (Nirvana, Nibbana) คือเป้าหมายสูงสุดต่อการปฏิบัติธรรม ทั้งนี้รวมทั้งเรื่องกฎแห่งกรรม (Law of Karma) และการเวียนว่ายตายเกิด (metempsychosis, transmigration of soul = cycle of birth and death = samsara = การเวียนว่ายตายเกิด = วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ หรือ believe in reincarnation = เชื่อในการกลับชาติมาเกิดใหม่) นอกจากนี้ทั้งสองนิกายยังมีความเห็นร่วมกันในเรื่องบทบาทของความเมตตากรุณาและปัญญา ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความรู้แจ้งในสัจธรรม (Dharmic truth) โดยทั้งสองนิกายยึดมั่นในการสอนให้หมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนาในการสร้างคุณงามความดีทั้งหลาย เช่น สอนให้มีความเมตตากรุณา มีความกตัญญูรู้คุณ และให้ความเคารพนับถือต่อผู้สูงวัย มี นิวาตะ ได้แก่ ความอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) เห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น มีการทำบุญให้ทาน รักษาศีล มีสติ ไม่ยึดติด และให้ความเมตตาต่อสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกเป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ จึงอาจสรุปได้ว่า ความแตกต่างในสองนิกายยังคงตั้งอยู่บนหลักการเดียวกันในด้านแก่นคำสอน วัตถุประสงค์แนวทางในการปฏิบัติรวมทั้งเป้าหมายสูงสุดแห่งพุทธศาสนา



[1] บทที่ 6 นิกายสำคัญของพุทธศาสนามหายาน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, http://hselearning.kku.ac.th/UserFiles/chapter-6(1... & สถิติ ชาวพุทธทั่วโลก, PANTIP.COM, 18 มิถุนายน2554, http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/...

& บทที่ 6 นิกายสำคัญของพุทธศาสนามหายาน, ผศ.ดร.พุทธรักษ์ ปราบนอก, สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, http://202.28.117.35/UserFiles/chaptet6.pdf

[2] ศาสนา, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนา

[3] องค์ประกอบของศาสนา, Nectec, https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-...

[4] มูลเหตุของการเกิดศาสนา, by worapon, 3 มกราคม 2557, https://worapon09๗blog.wordpress.com/tag/มูลเหตุขอ...

[5] ส 402 ศาสนาสากล, Eduzones, 12 สิงหาคม 2548, https://www.eduzones.com/knowledge-2-2-1975.html

[6] ประเภทของศาสนา, Nectec, เดือน คำดี ; ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2541, https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-...

[7] มหายาน กับ เถรวาท, PUMALONE, 21 ตุลาคม 2555, http://pumalone.blogspot.com/2012/10/blog-post_398...

[8] ศาสนาสากล, https://tidada.wordpress.com/พอเพียง/ศาสนาสากล/

[9] วัชรยาน, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/วัชรยาน

[10] พุทธศาสนาแบบตันตระ, บ้านจอมยุทธ, http://www.baanjomyut.com/library/tantra/02.html

[11] เถรวาท, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/เถรวาท

[12] หีนยาน, วิกิพีเดีย, https://th.wikipedia.org/wiki/หีนยาน

[13] มหาสังฆิกะ (mahasamghika), จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, http://www.wikiwand.com/th/มหาสังฆิกะ

หมายเลขบันทึก: 626902เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2017 20:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2017 08:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you for this article.

I do think that it can be more useful for religion students if the following parts are revised:

“ความกลัว” [noun; Fear] (Scared) ?
อเทวนิยม (Atheism) ไม่เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ได้แก่ พุทธศาสนาเป็นต้น [6]... [The Buddha refused to answer questions along this line; stated that the questions are not for betterment of mankind/understanding of Dhammavinaya]
...ส่วนความแตกต่างในแนวลึกได้แก่การเน้นความสำคัญในด้านการสอนการปฏิบัติพระธรรมวินัย เช่นทางเถรวาทเน้นความสำคัญในการรักษาพระธรรมวินัยเดิมซึ่งถือว่าเป็นความจำเป็นพื้นฐานต่อการปฏิบัติธรรมชั้นสูง ส่วนมหายานมีการปรับปรุงพระวินัยย่อยบางข้อเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น แนวความคิดในเรื่องของพระโพธิสัตว์ที่ทางเถรวาทแม้จะยอมรับและมีการสอนอยู่บ้าง แต่กลับเป็นเรื่องที่ทางมหายานเน้นย้ำและให้ความสำคัญและเป็นหัวใจหลักในการปฏิบัติภาวนา ... [in effects Theravāda: following the 'elders' or 'original teaching' (as in the Tipitaka); Mahayana: following the contemporary/later teachers (ācāriyās); the names Hīnayāna (narrow [=strict] way) and Mahāyāna (great [=forgiving] way) should be explained better.]

Sr; Thx so much for your comment.

I think so "Dhammavinaya" is the main point of Theravada Buddhism as the provision of the latest Constitutional of Thailand in Section 67 :

"มาตรา 67 รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย".

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท