ตัวอย่างการจัดการความรู้ในองค์กร


km
สารจาก นายแพทย์จรูญ ปิรยะวราภรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิฯ แนวทางการพัฒนาระบบบริหารความรู้ (KM) ในองค์กร แนวกรมควบคุมโรคได้ดำเนินนโยบายพัฒนาองค์กรและบุคลากรตลอดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เริ่มจากการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management) การพัฒนาเครื่องมือและกลไกการบริหารจัดการสำหรับประยุกต์ใช้กับทุกหน่วยงาน ได้แก่ การจัดทำ Balanced Scorecard และตัวชี้วัด (KPIs) ตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ การพัฒนาระบบสมรรถนะบุคลากร (Competency System) การจัดให้มีการบันทึกรวบรวมผลการปฏิบัติงานและประเมินผลงานตามแนวทาง Performance Management การจัดทำฐานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณและบุคลากรรองรับนโยบายการบริหารงบประมาณในระบบ GFMIS การจัดทำ Benchmarking ผลผลิตของงานแต่ละหน่วยงาน เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดคุณภาพผลผลิตและส่งผลให้เกิดการวิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเชื่อมต่อสนับสนุนนโยบายกรมฯ และทิศทางการบริหารดังกล่าว เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และเจตนารมย์ของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ กรมควบคุมโรคได้เห็นชอบให้จัดตั้ง “สำนักจัดการความรู้” (Knowledge Management Bureau) ตามคำสั่งกรมควบคุมโรคที่ 22/2548 ลงวันที่ 5 มกราคม 2548 เรื่อง จัดตั้งสำนักจัดการความรู้ คณะกรรมการและคณะทำงาน โดยให้มีหน้าที่ กำหนดแนวทางจัดทำ Roadmap ของกรมฯ สู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและจัดทำข้อเสนอแนะทางวิชาการแก่ผู้บริหารกรมฯ โดยมีผมเป็นประธานคณะกรรมการ KM ของกรมฯ ที่ปรึกษาและคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงและผู้ทรงคุณวุฒิ ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการและคณะทำงานในการขับเคลื่อนให้กรมควบคุมโรคมี “การจัดการความรู้” กันอย่างกว้างขวาง ซึ่งความหมายของมันคือ ความรู้สำหรับการปฏิบัติ (Actionable Knowledge) เน้นความรู้ที่ผ่านการปฏิบัติหรือการทำงานซึ่งสำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถของ องค์กรและบุคลากร โดยมีกระบวนการสรรหาความรู้ ถ่ายทอด แบ่งปันไปยังบุคลากรกลุ่มเป้าหมายอย่าง ถูกต้อง เหมาะสม อย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของงานและคุณค่าผลผลิตงานต่อประชาชนและนำไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ คณะกรรมการและคณะทำงานในส่วนกลางได้เริ่มดำเนินการโดยมีการประชุมครั้งที่ 1 ไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2548 ได้ข้อสรุปของคำอธิบายตัวชี้วัด (KPI Template) ในมิติด้านการพัฒนาองค์กรในเรื่องของความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กรปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2548 (KPI ของกพร. ตัวที่ 10) และตาม Balanced Scorecard ของกรมฯ ( KPI ของ BSC ตัวที่ 11) โดยแยก Template เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จะนำไปจัดทำเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการกับ กพร. ซึ่งจะเน้นหนักในเรื่องของการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทีม SRRT อีกส่วนหนึ่งจะเป็นการพัฒนาความรู้ในหลายๆ ด้านซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญของกรมฯ จะช่วยส่งผลให้กรมควบคุมโรคบรรลุเป้าหมายของการเป็น “สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้” ท่านที่สนใจเรื่อง KM ทุกท่านจะได้ศึกษา KPI Template และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในกรมฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 62674เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 09:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท