udansato
นาย ยูซุป ศรีอนุชาต จำนงค์

KM กับการพัฒนาบุคลากร (HRD) จังหวัดนครศรีธรรมราช


การจัดการความรู้ในองค์กรต่างๆ
KM กับการพัฒนาบุคลากร (HRD) จังหวัดนครศรีธรรมราช • ผู้ดำเนินรายการ คุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส. เริ่มต้นด้วย ประเด็น การมองภาพ HRD แบบเดิม คือ training ในที่นี้ จะลองค้นหา HRD แบบใหม่ ทำอย่างไร คนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น? ท่านผู้ว่าฯ วิชม ทองสงค์ (คุณเอื้อ) การพัฒนาบุคลากรภาครัฐ โดยการใช้ KM กับชุมชน นับว่าได้ผล ในการพัฒนาบุคลากร ภาครัฐไปด้วย ซึ่งอาจยังมีปัญหาบ้าง ก็คงขอข้อเสนอแนะ จากผู้ฟังในที่นี้ด้วย แนวคิด คือ เห็นความสำคัญชุมชน มีคนดีคนเก่งเยอะ และมีทุกข์ในชุมชน แต่มั่นใจว่าชุมชน ทำ KM ได้ เพราะมี Tacit knowledge เยอะ จึงเอา Explicit knowledge บางส่วนไปเสริม “บางทีการดึงภูมิปัญญาชาวบ้านต้องเอา Explicit knowledge เข้าไปดึง” หมู่บ้านไม้เรียง คีรีวงศ์ จัดประชุมเยอะ บรรยายไม่ทัน ต้องจัดคิว และ ดูวีดีทัศน์ มีการ ซักถาม ได้ Tacit knowledge ออกมาเยอะ เมื่อท่านผู้ว่าฯ สังเกตเห็นว่า ประสบความสำเร็จ จึงมั่นใจ นำ Area Approach มาเป็นฐาน ในการทำ กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง เดิมชุมชนเข้มแข็งเป็นบางเรื่อง บางช่วง เราจะทำอย่างไร ให้กระบวนการชุมชนเข้มแข็ง สมบูรณ์และยั่งยืน โดยเข้มแข็งรอบด้าน เพื่อ 3 อยู่ คือ 1.อยู่ดีกินดี 2.อยู่เย็นเป็นสุข 3.อยู่รอดปลอดภัย เช่น ปลอดโจรผู้ร้าย ปลอดยาเสพ ติด เช่น อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ความเข้มแข็งในกระบวนการประชาธิปไตย คุณภาพในการเลือกตั้ง การติดตามคุณภาพ ผู้แทนฯ การสืบทอดเยาวชนรุ่นใหม่ วิธีการปฏิบัติ KM 1. หารูปแบบทดลองก่อน 3 ตำบล เริ่มเห็นภาพว่า 3 ชุมชนนี้ดีขึ้น เกิดผลพลอยได้ คือ ทีม ข้าราชการ คุณอำนวย ที่เข้าไปทำงาน มีความสุข ซึ่งเดิมไม่เป็นเช่นนี้ เมื่อทีมงานนำมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้เล่าสู่กันฟัง จึงได้รูปแบบ 2. เกิดแนวความคิด การจัดการความรู้ใน 1535 หมู่บ้าน ให้เต็มพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 รุ่น รุ่นที่ 1 มี 400 หมู่บ้าน รุ่นที่ 2 มี 600 หมู่บ้าน รุ่นที่ 3 มี 535 หมู่บ้าน บันทึกเรื่องเล่า หน้า 2/7 กลยุทธ์ คือ 1. ปูพรมคัดกรอง 2. ดูตัวอย่างหมู่บ้านที่เก่ง พบว่า การดูงานอย่างเดียวไม่ได้ผล เมื่อไปดู คนดูงานจะคุยกันว่า “เขาสามัคคีกัน ก็ทำได้ เราทำไม่ได้ ” เป็นเหตุที่ต้องใช้ การปูพรมคัดกรองเสริม 3. กระบวนการฝึกอบรมคุณ...ทั้งหลาย ทำเชื่อมกัน เป็น Road map 4 ปี ในแต่ละปี จะมีการบ้าน ชัดเจน ถ้าทำปีเว้นปี จะไม่ได้อะไร แบบนี้ ใน 4 ปี อยู่ตัว 4. ชุมชนที่เข้าใจ และได้รูปแบบ และ เรื่อง KM เช่น • เรื่องปุ๋ยหมัก • เรื่องพัฒนาที่ดิน • เรื่องยาเสพติด เมื่อได้ 3 ตัวอย่าง เช่นนี้ ถือว่า KM ติดแล้ว ซึ่งเขาสามารถเลือกเรื่อง มาเล่นได้ทั้งหมดในชุมชน ของตนเอง สรุปว่า ถ้าชุมชนเข้มแข็ง แก้ไขปัญหาได้ทุกเรื่อง เป็นประโยชน์มาก การพัฒนาบุคคลากร การจัดทัพ เรื่องคน จากประสบการณ์ที่พบปัญหา ผู้นำชุมชนเดี่ยว เช่น พระสงฆ์ เมื่อท่านจากไป ก็จบ ปีแรก กำหนด คุณกิจ เป็น ชาวบ้าน หมู่บ้านละ 8 คน แกนนำสภาชุมชน เป็น อบต. ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำธรรมชาติ (ได้รับการยอมรับใน ความดี) เป็นทีมพัฒนาบุคคล ในหมู่บ้าน ซึ่งต้องไปขยายต่อ ในคุณกิจ 8 คน ให้เป็นสมาชิกสภาผู้นำ คือหาผู้นำต่อ ในปีแรกนี้ มีการอบรมทำความเข้าใจ และแกนนำไปสำรวจ เพื่อรู้จัก ชุมชน และตนเอง แบบ สำรวจมี 16 หน้า ทางราชการออกแบบให้ แต่ให้ครอบครัวสำรวจเอง เช่น ทานข้าวเย็น เสร็จแล้ว นั่ง คุยกัน เพื่อตอบ พวกเขาจะรู้ว่า อะไรทำให้หายจน ลดการใช้จ่ายอะไรได้ เมื่อคุยกันเสร็จก็หายจนแล้ว การสำรวจ เพื่อให้รู้จัก ตนเอง ชุมชน และโลก ทางราชการจะมีข้อมูลคน แยกแยะเป็นประภท เป็น 4 ประเภท ได้แก่ จน.....อยู่ดี....มั่งมี เป็น ต้น แผนชุมชน มี 4 ประเภท เพื่อให้กำลังใจชาวบ้าน เป็นแนวในการคิด บันทึกเรื่องเล่า หน้า 3/7 เช่น แผนชุมชนพึ่งตนเอง คือ 80% ชาวบ้านทำเอง ทำแผนของบประมาณ ไม่มีใครไปช่วยเขา ต้อง เขียนแผนทำเอง ทำให้หลายฝ่ายอยากช่วยเหลือ งบประมาณ ดังนั้น การเชื่อมโยงตรงจุดนี้ เป็นสิ่ง สำคัญ ในอดีตมีปัญหา ท่านผู้ว่าฯ ต้องไปพุดกระตุ้นชาวบ้าน ถือว่า ชุมชนเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ต้องมี คุณภาพ มีการประเมินแผน ทุกสิ้นปี อยู่ในเกณฑ์ กี่หมู่บ้าน แล้วจึงทำต่อ แผนงาน KM เป็นปี ปีที่ 1 กระบวนการขับเคลื่อนแผนชุมชนพึ่งตนเอง ไม่พูด KM ให้ทำกิจกรรมก่อน เป็นคุณอำนวย คุณ เอื้อ จัดทัพกัน พบปัญหา ได้แก้ไข เรื่องบุคลากร พบว่า ทุกคนเป็นของชุมชน ปีที่ 2 ขั้นตอนเสริมใยเหล็ก ใส่ KM ปีที่ 3 ปรับทิศทาง ให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ ปีที่ 4 การผ่องถ่ายอำนาจ ข้าราชการถอยห่างจากการเป็นที่ปรึกษา เดิมคิดแยกกัน เป็นของฉันของเธอ ตอนนี้ คิดบูรณาการร่วมกัน อาจารย์จำนง หนูนิล (คุณอำนวย) โครงการ KM คือ โครงการแก้จนเมืองคอนนั่นเอง คือ การทำงานนั่นเอง เราใช้เงิน CEO เพื่อการจัดการความรู้ จริงๆพูดได้ หลายมิติ แต่วันนี้ จะเล่าว่า นำ KM ไปใช้ใน HRD อย่างไร? เราไปทำ KM กับชาวบ้าน ในรายทางก็ทำ KM กับภาครัฐ ส่วนใหญ่ มี 7 หน่วยงานราชการ ใน การยื่นขอเสนอ ที่สำคัญ คือ เครือข่ายยมนา ปราชญ์ชาวบ้านร่วมด้วย เมื่อเครือข่ายจับมือกัน เป็นภาคี ได้แก่ กศน. + ปกครองจังหวัด + มวล. + พช. + เครือข่ายยมนา + เกษตรและสหกรณ์ + สารณสุข + ธกส. ในกลุ่มนี้ มีบุคลากร ทำงานอยู่ทุกหมู่บ้าน จึงทำ ทีม KM ได้ แต่ไม่ได้ลดความสำคัญของหน่วยงาน อื่น เช่น พอช. เราจัดทีม เป็น 3 ระดับ การจัดทีมคุณอำนวย 3 ระดับ (ในที่นี้ไม่พูดถึงคุณเอื้อ) 1. คุณอำนวยกลาง (จังหวัด) คือ ครูของคุณอำนวย มี 34 คน ทีมนี้จะเชื่อมกับทีมวิชาการ เช่น อาจารย์ภีม เพราะกลัวหลงทาง พลาดท่า จึงมี คณะอาจารย์ จาก ราช ภัฏ ม.สุโขทัย ม.รามคำแหง …. (มวล.) ช่วยพัฒนาความรู้ KM และทักษะ เพราะทีมนี้ต้องดูแล ระดับ ล่าง ระดับคุณอำนวยอำเภอลงมา การคัดคน จะคัดจากคนที่ฝึกมาดี จาก หน่วยงาน เกษตร, พอช., สาธารณสุข เป็นต้น 2. คุณอำนวยอำเภอ มีนายอำเภอ เป็น CKO ของวง วงเรียนรู้ เป็นกิจกรรมถอดหมวก (ยศ ตำแหน่ง) ไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรี บรรดาศักดิ์ มีเลขาฯร่วม คือ พัฒนาชุมชน และ กศน. ซึ่งจะทำหน้าที่ นำกระบวนการ คุณลิขิต คุณประสาน ในเวทีอำเภอ จำลองคล้าย กับ เวทีตำบล บันทึกเรื่องเล่า หน้า 4/7 3. คุณอำนวยตำบล เป็นทีม ตำบลละ 3 คน ในการจัดเวทีจะแบ่งงาน ดังนี้ • ต้องมีอย่างน้อย 1 คน นำกระบวนการได้ดี โดยเลือกจากทีม • มีคุณลิขิต จดบันทึก จดเป็น My Map ทุกครั้งที่มีเวที • มีคุณประสาน ดูแล เรื่อง โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเสียง อาหาร เป็นต้น ก่อนสิ้นเดือนกันยายน 2549 กำหนดไว้ว่า ทุกหมู่บ้าน ต้องทำเวที อย่างน้อย 6 ครั้ง ทุกครั้งที่ทำ เวที เสร็จ คุณอำนวย คุณลิขิต … จะถอดบทเรียน ทุกครั้ง มี AAR (พักยก) ทั้งแบบ ทางการ และไม่เป็นทางการ ทีมคุณอำนวยตำบล จะนำไปเล่าทีมคุณอำนวยอำเภอ ทีมคุณอำนวยตำบลจะเล่าว่า คุณกิจ ตั้งเป้าหมายแก้จน อย่างไร ในวงเรียนรู้อำเภอ ที่มีนายอำเภอ เป็น ประธาน • จังหวัดนครศรีธรรมราช มี 23 อำเภอ วงอำเภอ มี 23 วงเรียนรู้ • ในทุกวันที่ 24 ของเดือน จะมีเวที คุณอำนวยอำเภอ เพื่อเรียนรู้เป้าหมายงาน และออกแบบ นายอำเภอ จะนำกระบวนการ พักยกบทบาทคุณเอื้อไว้ ให้นายอำเภอเล่าประสบการณ์ แล้วนายอำเภอ นำไปเล่า คุณอำนวยกลาง ในจังหวัด • การดำเนินงานแบบนี้ เดิมได้คิดวางแผนอบรม In class ไว้ เช่น การถอดบทเรียน การลิขิต กระบวนการ มีการออกแบบไว้หลายหลักสูตรเพื่อให้ความรู้ แต่ติดเลือกตั้ง สส. , สว. 1-2 เดือน ทำ ให้เสียเวลา ไม่สามารถทำได้ตามแผน เพราะงานทุกอย่างต้องเดินหน้า โดยเฉพาะเวทีชาวบ้าน รอไม่ได้ เราจึงให้ทุกคนไปดำเนินการเองในพื้นที่เลย ทำการอบรมคุณอำนวยแบบเรียนลัด ATM (Action Time Model) • การไปทำกระบวนการแบบไม่ได้ อบรม In class ทำให้เขาไม่ติดกรอบ ว่า ลิขิตอย่างไร? นำ กระบวนการอย่างไร? เรานำเรื่องนี้มาคุยกันด้วย คุณพัชนี พนิตอังกูร (คุณกิจ) • ที่ตำบลบางจาก เป็นตำบลนำร่อง ได้บทเรียนจากการใช้ KM ทำงาน • ทีมงานจาก พัฒนาชุมชน และ กศน. เป็นผู้ดำเนินงาน โครงการนำร่อง โดยมี มวล. เป็นพี่เลี้ยง • การพัฒนา คุณอำนวย ตั้งเป้าหมาย จะพัฒนาตนเอง เป็น คุณอำนวยมืออาชีพ กำหนดโดยใช้ ตาราง อิสรภาพ เพื่อประเมินว่า มีศักยภาพอย่างไร? ขาดอะไรบ้าง? กำหนด เป็นเป้าหมายการพัฒนาตนเอง • ที่บางจาก ตอนใช้ KM พัฒนา องค์กรการเงินให้เข้มแข็ง จะวางแผนไปทำงาน ชวนมาคุยกัน ได้ ข้อสรุปสิ่งที่ ตำบลอยากเห็น ในกองทุน การพัฒนาองค์กรการเงิน มี 3-4 อย่างที่อยากได้ เราคุยกันว่า ทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย มีการจัดกิจกรรม ชุมชนมีความรู้ในเรื่องการพัฒนาระบบบัญชีอยู่แล้ว ถ้าไม่มีความรู้เรื่องสวัสดิการก็ไปดูงาน บันทึกเรื่องเล่า หน้า 5/7 ผลที่เกิดขึ้น คือ • มีกองทุนเกิดขึ้น • เอาชนะความยากจน • เกิดความสำเร็จในโครงการแรก • เราใช้โครงการแก้จน ไปทำ หมู่ที่ 1, 5, 8 เราได้ คุณอำนวยเพิ่มอีก 2 คน เป็นเจ้าหน้าที่ อบต. 2 คน (โชคดี)รวมกับ หน้าเดิม 3 คน เป็น 5 คน เราทำงานเข้าทางกันดี เพราะ 3 คนมีประสบการณ์ และ 2 คน เป็นคนพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน • มีการพัฒนาตนเองอย่างไร? เราตั้งวงคุยกันแบบไม่เข้มข้น เนื่องจากเป้าหมายไปอยู่ที่ระดับครัวเรือน แต่ครั้งนี้ แตกต่างจาก เป้าหมายแรก เพราะใช้ฐานข้อมูล จากแผนชุมชนที่ทำแล้ว มาคลี่ดูข้อมูล การ พัฒนาพึ่งตนเอง • เรามากระตุ้นชุมชน อีกครั้ง • พึ่งตนเอง เช่น ปลูกผักกินเอง ลดรายจ่าย • พึ่งพาซึ่งกันและกัน คือ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น พืชผักที่ปลูก เพิ่มรายได้อย่างไร จากเดิม ลด ต้นทุนได้ไหม เช่น ถั่วพู บวบ มีช่องทางน่าสนใจ จึงรวมกลุ่มกันปลูก • เราเน้นเกษตรอินทรีย์ ลดต้นทุนการผลิต โดยไปเรียนรู้จากกลุ่มที่ได้ผลดี เกิดการเรียนรู้ในขั้นปฏิบัติ (เช่น ฝึกทำปุ๋ยชีวภาพ ทำยาปราบศัตรูพืชไล่แมลง เป็นต้น ) • ทุกหน่วยงานดึงทรัพยากรตนเองมาแจมได้ทันที หยิบโครงการตนเองมาลงร่วมพัฒนา เพื่อยกระดับ อบต. ก็ให้งบประมาณ สอดคล้องสนับสนุน ตรงกับปัญหาชุมชน • สรุปสั้นๆ ว่า เราได้เรียนรู้ ในแง่ เนื้อหา และความพึงพอใจ • การเรียนรู้ ว่าต้องเพิ่มอะไร เรียนรู้อะไรให้ตรงเป้าหมายที่เดินต่อไป • เราออกแบบให้มีเทคโนโลยีมาช่วยจดบันทึก มาเปิดบล็อก ให้คู่มือเปิดบล็อก • ในทางปฏิบัติ พวกเราอยู่ในพื้นที่หน้างาน ไม่ได้เข้าสำนักงาน ไม่ได้ใช้ computer แต่ว่าจะพัฒนาต่อ • เราทำงานสนุกขึ้น ได้ทำงานร่วมกัน ได้เป็นวิทยากร พาประชาชน ไปสู่เป้าหมาย ไม่ใช่แค่ พาองค์กร ไปสู่เป้าหมาย ท่านผู้ว่าฯ สรุป ประเด็นสำคัญ ในการใช้ KM พัฒนาบุคลากร ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 5 ข้อ ดังนี้ 1. มี 3 องค์ประกอบ 2 เครื่องมือ เพื่อให้เกิดความยึดโยง บันทึกเรื่องเล่า หน้า 6/7 3 องค์ประกอบ 1. คณะผู้นำชุมชน 2. กองทุนชุมชน 3. วิธีจัดการของชุมชน (ถอยตนเองมาเป็นที่ปรึกษา ปล่อยให้คนที่เก่งกลายเป็นคุณอำนวยเอง) 2 เครื่องมือ 1. แผนชุมชนพึ่งตนเอง 2. วิธีการบันทึกความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) 2. วงเรียนรู้ราชการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเอง มีประโยชน์มาก ได้ Tacit Knowledge จากประชาชน มีความสุขมาก เป็น HRD ภาครัฐ ที่จะก้าวไปสู่ LO 3. ชุมชนได้ประโยชน์ คุณค่า มหาศาล ความคิดเปลี่ยนไป จากพึ่งพิงรัฐ รอคอยความช่วยเหลือ เป็น พึ่งตนเอง เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ประชาชนจะเก่งในวิธีคิด 4. คนในชุมชนได้หันหน้ามาปรึกษากันอีกครั้ง ได้จัดการทุนของตนเอง (สิ่งแวดล้อม ทุนอื่นๆ) 5. คนในชุมชนเริ่มพึ่งตนเองได้ การแก้ปัญหาทุกรูปแบบใช้ชุมชน “มั่นใจ ตั้งใจ และใฝ่รู้ กระบวนการมุ่งสู่ตอบคำถาม ล้วนเข้มแข็งถ้วนทั่วทุกเขตคาม ให้สยามนามประเทืองคือเมืองทอง” คำถาม 1. คุณธวัช : การเรียนรู้แบบ ATM แตกต่างจาการเรียนรู้แบบเดิม อย่างไร? อาจารย์จำนง : เป็นการเรียนรู้หน้างาน มันมีสีสัน มากกว่า In class บางสิ่งต้องสกัดจากหน้างาน ให้ไปคิด หาเอง คือ Tacit Knowledge ซึ่งดีมาก จากการทำวงเรียนรู้ต่างๆเป็นระดับ ทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดการ เรียนรู้ เดิมเราไม่เคยเห็น การเอากระดาษปรู๊ฟ ไปคลี่ดู ในการทำงาน ปัจจุบันมี เกิดการเท่าเทียม มีการ แลกเปลี่ยนพูดจาปราศรัยกันมากขึ้น เป็น change agent ที่สำคัญ ที่นำเข้าไปสู่ชาวบ้าน • ท่านผู้ว่าฯ พูดกับ พอช., อาสาฯ, หมออนามัย …ได้ เกิดบรรยากาศเรียนรู้ พัฒนาองค์กร เป็น LO ได้ 2. ผู้ฟัง (อาจารย์สุริยัน จาก ม.บูรพา) : ตอนนี้เราทำในหมู่บ้าน ทำอย่างไร ให้ รุ่นลูก หลานที่ไปเรียน หนังสือ กลับมาพัฒนาแผ่นดินเกิด? จะถือว่าไปคนละทางไหม? อาจารย์จำนง : ถือว่าไปทางเดียวกัน เราตั้งเป้าหมาย ได้ทุกเรื่อง เช่น สุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร เป็นต้น เราให้มาเรียนรู้ทั้งครัวเรือน (พ่อแม่ลูก จะตั้งเป้าหมายแก้จนอย่างไร? ซึ่งมีเยาวชนร่วม อยู่ด้วย ท่านผู้ว่าฯ : กรณีคนที่ไม่ได้อยู่ในหมู่บ้าน คือ เรียนอยู่ เราต้องเตรียมชุมชนพร้อมยอมรับ การสืบทอดโดย เยาวชนในพื้นที่ ค่อยๆดึงเขากลับมา ในระดับชาติ ตอบขณะนี้ไม่ได้ กระทรวงศึกษาธิการคงทำอยู่ บันทึกเรื่องเล่า หน้า 7/7 3. คุณธวัชอ่านจากคำถามผู้ฟัง : การชักจูง สื่อสาร การทำ KM ในช่วงแรก ทำอย่างไร? ท่านผู้ว่าฯ : ใช้คุณกิจ และคุณอำนวย ซึ่งคุณอำนวยมีน้ำหนักมาก ลงไปเชื่อม สนใจผู้ปฏิบัติเป็นพิเศษ โดย ไปกระตุ้นผู้สนใจอยู่แล้ว คุณเอื้อมาทีหลัง เพราะเป็นหัวหน้าส่วนราชการ มาประชุมครึ่งวัน หาข้อเท็จจริง สรุปว่า • คนตั้งใจ 4-5 คน ยึดโยงกัน โอกาส สลายมีน้อย • มี 8 คนเป็นผู้นำโดยธรรมชาติ มีอุดมคติที่จะดูแลพื้นที่เขา ทำให้กระตุ้นไม่ยาก เพราะเขาดีภายใน การบันทึกความรู้ ใน KM เป็นตัวยึดโยง คุณธวัช สรุป • เราจะเห็นว่า คนทำงานหน้างานสรุปชัดเจน ว่าต้องปักธง ต้องมีเป้าหมาย • ความรู้ และเทคนิคที่สร้างขึ้นมาเอง เป็นบริบทเฉพาะของเขา ท่านที่จะนำไปใช้ต้องเอาไปปรับ ///////////รายการ คุณธวัช หมัดเต๊ะ จาก สคส/////////
หมายเลขบันทึก: 62672เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท