องค์กรแพทย์(3)


หากเราไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เราก็จะเริ่มปรับหาคนอื่นก่อน

การทำงานกับแพทย์จึงต้องเข้าใจแพทย์ด้วย หากมองทางบวกต่อกัน เราก็จะเริ่มหาส่วนที่คล้ายกัน หันเข้าหากัน ก็จะใกล้กันเรื่อยๆ ความสนิทสนมกลมเกลียวก็จะเพิ่มขึ้น หากเราไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เราก็จะเริ่มปรับหาคนอื่นก่อน แรกๆเราอาจจะรู้สึกว่าทำไมต้องเป็นเรา แต่พอทำๆไปเราก็จะพบว่าสิ่งที่ทำคนที่ได้ไม่ใช่เขาเท่านั้นแต่เป็นเราและคนไข้ด้วย

                การจัดตารางปฏิบัติงานของแพทย์ที่โรงพยาบาลบ้านตากทำแบบนี้มา 2 ปีกว่าแล้วโดยมีแพทย์ 5 คน(รวมแพทย์หมุนเวียนด้วย) จะมีการแบ่งหน้าที่เป็น 5 จุดคือOPD1,Stanby 1,Ward 2,ER/PCU 1 รวม 5 คนพอดี แต่เมื่อเสร็จภารกิจจากจุดตนเองจะต้องมาอยู่ที่ OPDหรือER โดยใช้หลักการช่วยกันดูแลคนไข้ทุกจุดที่มี หากเป็นวันอังคารและศุกร์ที่ต้องออกPCU จะทำให้แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลลดลง 1 คน แพทย์ที่ดูตึกชายจะมาช่วยออกOPDก่อน ประมาณ 10 โมงเช้าจึงจะไปราวน์ วอร์ด เพื่อช่วยให้ความรวดเร็วกับผู้ป่วยนอกก่อน หากมีจุดไหนลา แพทย์ที่เป็นStand by จะไปแทนโดยอัตโนมัติ หากจุดบริการไหนมีปัญหาเร่งด่วน ตามแพทย์ที่รับผิดชอบไม่พบ แพทย์ที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือตามได้เร็วที่สุดจะไปช่วยดูให้ก่อนเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ส่วนใหญ่แล้วถ้าผมราวน์วอร์ด ผมจะไปตรวจคนไข้ก่อน 8 โมงเช้า เพื่อที่จะได้มาช่วยออกOPDหรือไปประชุมได้ ผมจะรับดูแลหอผู้ป่วยประมาณ 2 สัปดาห์/เดือน(ดูหอผู้ป่วยชาย 1 สัปดาห์และหอผู้ป่วยหญิง 1 สัปดาห์) ทำให้ลดปริมาณงานของแพทย์ประจำไปได้ 1 จุด จากการช่วยกันแบบนี้ทำให้อัตราการรอคอยของผู้ป่วยนอกลดลงไปได้มาก ในเรื่องการจัดตารางเวรนอกเวลา ถ้าเป็นวันธรรมดาจะมีแพทย์คนเดียวตรวจคนไข้อยู่ที่บนอาคารเลย ไม่ได้เป็นแบบon call ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์-นักขัตฤกษ์จะมีแพทย์เวร 2 คนคือประจำที่ห้องฉุกเฉิน 1 คน และที่หอผู้ป่วย 1 คนและมีการจัดเวรชันสูตรพลิกศพด้วย การราวน์วอร์ดของเราจะไม่ได้ดูว่าใครadmit่จะดูกันเป็นวอร์ดไปเลย  ข้อดีคือผู้ป่วยจะได้ดูแลโดยแพทย์คนเดียวกัน พร้อมๆกัน และหากเปลี่ยนสัปดาห์ก็จะเปลี่ยนแพทย์ที่ดู หากเป็นโรคเรื้อรัง ความตื่นตัวของแพทย์คนที่มาดูใหม่จะดีมาก ช่วยลดความผิดพลาดลงไปได้ ข้อเสียคือแพทย์ที่Admitผู้ป่วยอาจจะไม่ได้ดูต่อเนื่อง  แต่เราก็มีระบบบันทึกความเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยไว้สื่อสารกันอยู่แล้ว
คำสำคัญ (Tags): #kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 6267เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2005 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท