ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว
ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก:กรณีศึกษากลุ่มเกษตรอินทรีย์บางแก้ว ....

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


  • ดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

ประวัติ

ความเป็นมาของศูนย์กสิกรรมมาบเอื้องเกิดมาจากได้ฟังพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี 2525 แล้วก็เพียรพยายามที่จะประมวลผลให้หน่วยราชการต่างๆ ทำแผนปฏิบัติสนองตามแนวพระราชดำริแต่เราเห็นว่าเราน่าจะทำเองที่บ้านตัวอย่างด้วยก็เลยค่อยสร้างป่าก่อนเอาแนวคิดเรื่องการปลูกป่า 3 อย่างเพื่อประโยชน์ 4 อย่างมาเริ่มสร้างป่าไว้ที่นี้ทำมา 11 ปีก็ไม่ผลเราทำแล้วทิ้งแล้วก็ไปทำรับราชการต่อทำทิ้งแล้วไปทำงานก็เลยตัดสินใจลาออกจากราชการแล้วก็มาเลยมาอยู่ที่นี่ประจำเลยแล้วก็ทำนาแล้วก็เริ่มปลูกผักทำสวนทำไร่เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูเลี้ยงวัวเลี้ยงปลาทำทุกอย่างเลยที่จะมีชีวิตอยู่รอดกับป่า

วัตถุประสงค์ เพื่อทำยังไงที่จะให้ป่าเป็นที่อยู่อาศัยของเราแล้วจะให้ประโยชน์ทุกอย่างก็เลยลาออกมาแล้วก็มาทำ จนปี 2541 ก็เริ่มมีคนมาเรียนรู้กันเริ่มมาดูงานกันก็จัดทีเรียกว่าเป็นการจัดเวิร์คช็อปอบรมสัมมนาครั้งแรกในปี 2541 ก็ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็เปิดเป็นศูนย์อบรมกินนอนปรับเอาเล้าหมูที่เลี้ยงหมูอยู่มาปรับปรุงทำเป็นห้องเรียนแล้วก็ทำทีนอนเป็นเซ็ตเลยในปี 2544 จนเลยเป็นศูนย์กสิกรรมชาติมาบเอื้อง

ความรู้หลักๆคือสอนให้คนพึ่งตนเองตามหลักกสิกรรมธรรมชาติภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักกสิกรรมธรรมชาติสำคัญเราก็สร้างของกินให้พอสร้างของใช้ในบ้านน้ำยาซักผ้าน้ำยาปรับผ้านุ่มของใช้ทั้งหมดของใช้ในครัวในสวนเช่นปุ๋ยเช่นยาเช่นน้ำส้มควันไม้เก็บผลผลิตจากป่ามาทำเป็นปุ๋ยรักษาโรคไก่โรคเป็ดโรคปลาโรคพืชก็เก็บสมุนไพรในป่า 7 รส รสฝาด รดเผ็ดร้อน รสหอมระเหย รสชาติต่างๆก็เอามาแปลงเป็นยา ของใช้ในสวนของใช้ในนาของใช้ในครัวของใช้ในบ้านแม้กระทั่งซักผ้าซักผ่อนเราก็เก็บของจากในป่า 3 อย่าง มาใช้ของใช้ของเปรี้ยวมาทำเครื่องอุปกรณ์ซักผ้าขัดรถยนต์ ก็สอนวิชาหลักฟื้นฟูดินอย่างไร ทำนาอย่างไรที่ไม่ต้องพึ่งจากต่างประเทศ ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยไม่ต้องพึ่งสารเคมี ปลูกสวนอย่างไร ปลูกป่า 3 อย่างอย่างไร ให้ได้ประโยชน์ 4 อย่างทำอย่างไร ฟื้นฟูดินการจัดการน้ำคำนวณโคกหนองนาโมเดลปริมาณน้ำฝนเท่าไหร่ เก็บไว้อย่างไรเก็บในหนองเท่าไร เก็บในนาต้องยกหัวคันนาเท่าไหร่ เก็บในคลองเท่าไหร่ สอนทั้งสถาปัตยกรรมวิศวกรรมทั้งเกษตรกรรมทั้งแปรรูป งานอุตสาหกรรมในครัวเรือน งานศิลปกรรมก็แล้วแต่คนที่จะมาร่ำเรียนที่มีเวลานักเรียนกินนอนก็มีทั้งประถม มัธยม ปริญญาตรี ปริญญาโท สอนกินอยู่ประจำ รวมทั้งวิชาบริหารด้วยก็เป็นการบริหารภายใต้ความขาดแคลนที่พระองค์ท่านรับสั่งว่าถ้าจะทำงานห้ามอ้างความคลาดแคลนสอนวิชาบริหารภายใต้ความคลาดแคลนให้จะทำบริหารแบบคนจน

อาหารดินอินทรีย์คืออะไร

คือปุ๋ยหมักที่ได้จากกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพของสารอินทรีย์โดยจุรินทรีย์หลายชนิดภายให้สภาวะที่เหมาะสมต่อการทำงานของจุรินทรีย์มากที่สุด จนได้ผลผลิตที่มีความคงทนไม่มีกลิ่นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรมได้และต้องคำนึงถึงคุณภาพให้เหมาะสมแก่การนำไปใช้ด้วย

ความสำคัญและประโยชน์ของอาหารดินอินทรีย์

ประโยชน์ของอาหารดินอินทรีย์แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ คือ

  • ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงสมบัติต่างๆของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
  • ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน
  • ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อม

ปัจจัยที่ต้องควบคุม

  • ความชุ่มชื้นต้องพอดี จุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนต้องการความชื้นที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์โดยความชื้นที่เหมาะสมคือ 45-55 เปอเซ็นต์
  • จุลินทรีย์มากพอ แหล่งจุลินทรีย์ที่หาง่ายได้แก่ มูลสัตว์ทุกชนิดหรือหัวเชื้อตัวเร่ง พด. (น้ำหมักชีวภาพ)
  • มีออกซิเจนภายในกรองอาหารดินพอดี เนื่องจากการย่อยสลายโดยใช้จุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนจะมีปฏิกิริยาที่รวดเร็วกว่าจุลินทรีย์ใช้ออกซิเจน
  • มีอุณภูมิสูงภายในกรองอาหารดิน การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ภายในกรองอาหารดิน จะทำให้เกิดความร้อนออกมา และจะมีอุณหภูมิที่พอเหมาะประมาณ 50-60 องศาเซียลเซียส

ขั้นตอนกระบวนการผลิตอาหารดินอินทรีย์จากเปลือกมันสำปะหลัง

  • ส่วนผสมอาหารดินอินทรีย์ใช้เปลือกสำปะหลังต่อมูลสัตว์เพื่อด้วยอัตราส่วน 4.1 นำมากรองแล้วลุกเคล้าให้เข้ากันนำไปกองไว้กลางแจ้ง
  • นำผ้ามาคลุมพื่อรักษาอุณหภูมิในกองปุ๋ยและให้กลับกองอาหารดดินทุกๆ 21 วันเพื่อเติมออกซิเจน โดยกองทิ้งไว้โดยระยะเวลา 2-4 เดือน
  • สีของกองทิ้งอาหารดินจะคล้ำขึ้นเรื้อยๆ เมื่อครบ 3 เดือน จะมีสีคล้ำพอดีและเริ่มมีกลิ่นแรงขึ้น ให้ย้ายอาหารเข้าที่ร่ม
  • ลดกลิ่นโยการนำลำข้าวไปผสม และกระตุ้นปฏิกิริยาโดยการฉีดน้ำหมักที่ได้จากการหมักทิ้งไว้
  • ทิ้งกองอาหารดินไว้เพื่อหมัก 1 เดือน ระวางกองอาหารดินจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ความชื้นในกองอาหารดินจะลดลงเรื้อยๆ เรียกว่าการอบแห้ง
  • สังเกตความชื้นด้วยวิธีการตักอาหารดินมาใส่ฝ่ามือแล้วกำให้แน่นจากนั้นแบฝามือออกถ้าพบว่าอาหารดินเป็นเม็ดหรือผงโดยไม่จับตัวเป็นก้อนแสดงว่าไม่มีความชื้นสามารถนำอาหารดินไปใช้งานได้
  • นำอาหารดินไปใส่กระสอบละ 25 กิโลกรัมเพื่อรอนำไปใช้งานควรเก็บไว้ในที่ดินไม่ให้โดนแดดฝน
  • การสังเกตสีของกองอาหารดินโดยเริ่มตั้งแต่ 1 เดือนถึง 3 เดือน

คนเอาถ่าน

ถ่านมีอยู่คู่กับมนุษย์มาช้านานเล่ากันมาว่าเมื่อสัตว์ป่ากินผลไม้พิษเข้าไปมันจะหาถ่านที่โดนไฟไหม้เพื่อดูดสารพิษจากร่างกายมนุษย์ก็ลอกเลียนแบบในการนำมากินเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหารมนุษย์ก็เลยเลียนแบบการกินมาจากสัตว์ป่าตั้งแต่เกิดตั้งแต่เกิดจนตายเราต้องอยู่กับถ่าน และถ่านก็ต้องอยู่กับมนุษย์ถึงแม้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะเข้ามามีบทบาทแต่มนุษย์ก็ยังใช้ถ่านในการปิ้งย่างถ่านยังสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างและมีการพัฒนาเป็นถ่านที่มีคุณภาพสูงคนทั่วไปมักตาหน้าคนเผาถ่านว่าเป็นพวกตัดไม้ทำลายป่าเพราะต้องโคนต้นไม้มาเผาให้เป็นถ่านจนป่าไม้ในบ้านเราเหลือน้อยลงทุกวันแต่การพัฒนารูปแบบของเถาถ่านในปัจจุบันเป็นการใช้กิ่งไม้และเศษไม้ที่เหลือใช้นำมาเผาเป็นถ่านคุณภาพสูงสามารถนำไปใช้ในการเกษตรครัวเรือนปศุสัตว์และสามารถใช้แทนสารเคมีบางชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแถมยังได้น้ำส้มควันไม้

ประโยชน์ของถ่าน

  • ถ่านหุงต้มย่าง
  • ถ่านดูดกลิ่นชนิดในตู้เย็น ตู้เสื้อผ้า
  • ถ่านปรับสภาพดิน แก้ดินเป้นกรดเพราะถ่านเป็นด่าง
  • ถ่านเพื่อสุขภาพเป็นถ่านที่เป็นบรรจุไฟฟ้าลบต้องเผาที่อุณหภูมิ พันองศาเซียสใช้ในการทำสบู่ยาสีฟันยาสระผม

การทำเตาเผาถ่าน

อุปกรณ์

ถังน้ำมัน 200 ลิตร

อิฐบล็อก

ท่อซีเมนต์

ไม้ขนาด 3 ถึง 6 นิ้ว ยาว 4 ถึง 5 เมตร

สังกะสีเก่าหรือกระเบื้องเก่า ที่เหลือใช้ 5ถึง 6 แผ่น ไม้เสียบปลายแหลม 10 ถึง 12 ถอน

วิธีทำ

  • ตัดปากถังวัดขึ้นจากขอบถัง 7 นิ้วเจาะช่องกลาง 14 นิ้วสูง 8 นิ้ว
  • ตัดท้ายถังทางเดียวกับปากถัง กว้าง6 นิ้ว สูง 4 นิ้ว
  • วัดจากขอบถังด้านหน้า 5 นิ้ว ด้านหลัง 5 นิ้ว และตัดถังกว้าง 8 ถึง 10 นิ้ว
  • วางอิฐบล็อก ทางขวาง 1 ก้อน
  • วางปากถังทับบนอิฐ บล็อก
  • วางอิฐบล็อกวางแนวนอนขนานกับปากถังที่ตัดข้างละ 1 ก้อน
  • นำอิฐบล็อกวางแนวตั้งบนอิฐ ข้อ 6 ข้างละ 1 ก้อน
  • ใช้อิฐวางทับบนอิฐ ข้อ 6
  • เรียงอิฐบล็อก แนวนอนบนอิฐข้อ 7 อีก 2 ก้อน
  • วางอิฐบล็อกแนวเรียบทับลิ้นปากถัง ก็จะได้หน้าเตา
  • วางอิฐหักที่ท้ายถัง ทำให้ถังทำมุมกับพื้น 15 องศา
  • ใช้อิฐครึ่งก้อนวางที่ท้ายเตาที่ตัด 6 คูณ 4 นิ้ว 3 ก้อน วางเป็นรูปตัววาย
  • แล้วใช้ท่อใยหินวางทับลงไปก็จะได้ปล่องควัน
  • ใช้ดินเหนียวอุดรอยให้ทั่ว


ข้อมูลศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง



รูปการเดินเข้างานครับ

ห้อง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ


อย่าดีแต่พูดมึงต้องลงมือทำ คำคมอาจารย์ยัก


แผนที่งานทั้งหมด


การจัดการขยะ


สายฮาครับคนนนี้


อันนี้คือรูปอาจารยที่ปรึกษา ของห้อง 57/41

หมายเลขบันทึก: 626142เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2017 19:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2017 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท