ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


“ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบล หนองบอนแดง อำเภอ บ้านบึง จังหวัด ชลบุรี "


อาจารย์ ยักษ์ ดร. วิวัฒน์ ศัลยกำธร (นักกสิกรรมธรรมชาติ)

ความเป็นมาศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

จากการลงพื้นที่ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอ บ้านบึง จังหวัดชลบุรี ภายใต้การนำของ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร (อ.ยักษ์)ผู้เคยปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) อ. ยักท่านเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติแห่งนี้ขึ้นเนื่องจากเมื่อคราวที่ท่านรับราชการอยู่นั้น ท่านได้เดินทางออกเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องการทำการเกษตร จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นมีชาวบ้านได้ท้าทายว่า “แน่จริงลองทำให้ดูสิ ก็เป็นข้าราชการมีเงินเดือนกิน ก็มาพูดบอกให้คนอื่นทำอย่างนั้นอย่างนี้ ชาวบ้านไม่ได้มีเงินเดือนนะ” หลังจากนั้น อ.ยักษ์ได้ฉุกคิดและลาออกจากข้าราชการและหันมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวและมีการสร้างกลุ่มเครือข่ายมากมายที่มีศูนย์การเรียนรู้อยู่ทั่วเกือบทั่วทุกจังหวัดในประเทศไทย และในแต่ละปีจะมีการจัดงานรวมเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

อาจารย์ ยักษ์ ท่านได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ในการที่จะฟื้นฟูประเทศโดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฏีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตก หันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยี และภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาเพื่อ เน้นการทำการเกษตรที่ยั่งยืน อาจารย์ยักษ์ เริ่มเห็นเงาร่างแห่งความเป็นจริง เขาเนรมิตพื้นที่ร้างที่มีสภาพเป็นดินดานกว่า 40 ไร่ ของพี่ชายที่รับราชการครู ที่บ้านมาบเอื้อง ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มาปลูกหญ้าแฝก ใช้เครื่องระเบิดดินดาน ขุดสระน้ำ ทดลองปลูกพืชผัก ทำนา มาตั้งแต่ปี 2527 และมาตั้ง “ชมรมกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” เมื่อปี 2539ทุกหลักสูตรนั้น อ.ยักษ์ บอกว่า เน้นให้เข้าใจถึงปรัชญา หลักการ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสร้างภาวะผู้นำ การปรับเปลี่ยนวิธีคิด การสร้างจิตสำนึกใหม่แบบพึ่งตนเอง การเรียนรู้กระแสการเปลี่ยนแปลง และรู้เท่าทัน โดยผู้ที่จะเข้าอบรมในศูนย์แห่งนี้แต่ละหลักสูตรมีระยะเวลาที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่หลักสูตรเรียนรู้ 2 วัน 1 คืน ถึง 8 วัน 7 คืน หรือจะฝึกจนชำนาญถึง 3 เดือนก็ได้ โดยทุกหลักสูตรไม่มีค่าใช้จ่ายในการอบรมใดๆทั้งสิ้น

การดำเนินงานของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง

อ.ยักษ์ท่านได้น้อมนำเอาคำสอนของในหลวงรัชกาลที่๙ ที่ทรงเน้นให้ประชาชน และเกษตรกรรู้จักพึ่งตนเอง จึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุก ๆ คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ ในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เคยสืบทอดกันมาเพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย

อาจารย์ยักษ์ได้เคยกล่าวไว้ว่า “สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพยายามทำ ท่านทรงงานหนักมาตลอดชีวิตของพระองค์ท่าน ทั้งทรงดำริ ทรงศึกษาหาข้อมูล ค้นคว้า และทดลอง แท้จริงแล้วไม่ใช่เพื่อใคร เพื่อประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อให้ประชาชนได้มีอากาศบริสุทธิ์ มีอาหารที่กินแล้วร่างกายแข็งแรง มีที่อยู่อาศัย มีสิ่งแวดล้อมที่อยู่แล้วมีความสุข ร่มเย็น เพียงพอสำหรับทุกคน อาจารย์ยักษ์จึงอยากให้ทุกคนได้เรียนรู้ในสิ่งที่พระองค์ท่านทำ และสร้างไว้”

จากคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่ฝังอยู่ในหัวใจของ อ.ยักษ์ จึงนำมาสู่อุดมการณ์และการลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นฐานการเรียนรู้และโครงกาต่างๆภายใน “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง”มากมายดังนี้

9 ฐานการเรียนรู้

ฅนรักษ์ป่า ตามแนวทางป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยมาช้านาน เพื่อสร้างโลกสีเขียวการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างฅนกับธรรมชาติไม่เอาเปรียบทั้งตนเองและธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่มีลูกของพ่ออยู่เต็มไปหมดคิดที่จะให้มากกว่าคิดจะให้มากกว่าคิดที่จะรับเริ่มปลูก ต้นไม้ใจเสียก่อนแล้วค่อยเริ่มปลูกต้นไม้บนแผ่นดินไทย

ฅนติดดิน บ้านดินเป็นหนึ่งของการนำแนวคิดในการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาสร้างเป็นที่พักอาศัย เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตสอคล้องกับวิถีชีวิตและวัสดุที่ใช้อาจจะเกิดจากการหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าคุณค่าของการสร้างบ้านดินจึงอยู่ตรงที่การสร้างบ้านบนวิธีตนเองลดการซื้อหาปัจจัยจากภายนอกชุมชนทำให้มนุษย์และสรรพสัตว์สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและลงตัว

ตนรักษ์แม่โพสพ “เกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบันแม้ประมือของชาติจะทวีขึ้นมาเพียงใดเกษตรกรก็ผลิตอาหารได้เพียงพอเสมอซ้ำยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลเมืองโลกได้อีกเป็นจำนวนมากการที่ชาติของเราเลี้ยงตนเองได้นี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะ ไม่ว่าเกิดสภาวะการณ์เช่นไรเราจะอยู่รอได้เสมอเนื่องจากคนไทยเป็นผู้ผลิตไม่ใช่จะเป็นเพียงผู้บริโภคเท่านั้น”

ฅนรักษ์น้ำ การใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ภูผาสู่มหานทีด้วยวิธีการต่างๆตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลายคนอาจคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรเป็นหลักแท้ที่จริงแล้วด้วย พระอาริอัจฉริยะภาพอันแหลมคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหาได้มีคำตอบเพียงภาคการเกษตรเท่านั้นยังมีองค์รวมของฐานคิดที่สามารถใช้ได้ในทุกระดับทุกภาคส่วนนอกจากนี้ยังฟังแนวคิดประสานเทคนิคภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ได้อย่างเยี่ยมยิ่ง

ฅนมีน้ำยา ผลผลิตน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายประจำวันตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นที่มีรสเปรี้ยวไม่ว่าจะเป็นมะนาวส้มจี๊ดสับปะรด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำยาอเนกประสงค์ไม่เฉพาะน้ำยาอเนกประสงค์เท่านั้นยังสามารถเรียนรู้ในเรื่องของน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้าสบู่สมุนไพรเป็นต้น

ฅนรักษ์สุขภาพ เพราะในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายผู้คนต้องประเชิญปัญหาในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสังคมครอบครัวส่งผลเสียโดยตรงและทางร่างกายและจิตใจเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้นำนานาสาระด้านการดูแลสุขภาพทั้งอาหารเพื่อสุขภาพการล้างพิษ(ดีท๊อกซ์)การทำสปาแบบง่ายจากภูมิปัญญาชาวบ้านพร้อมเคล็ดไม่รับที่สอบปฏิบัติได้จริงที่ทำให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ฅนรักษ์แม่ธรณี หลักกสิกรรมธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นลำดับแรกและถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะถือว่าดินเป็นต้นกำเนิดของชีวิตการเพิ่มดินหรือการคุมดินไม่เป็นไรดินและการพรุ่งอาหารเลี้ยงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไปเพื่อให้เป็นอาหารของดินเรียกหลักการนี้ว่าเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืชการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ดินกลับมามีชีวิตพืชที่ปลูกก็เจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตดี

ฅนมีไฟน้ำมันไบโอดีเซลเป็นทางเลือกหนึ่งของพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเล่นได้จากวัตถุดิบจากการเกษตรภายในประเทศเช่นไขมันจากไขมันจากสัตว์ตลอดจนสาหร่ายบางชนิดพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชาติและสามารถพึ่งตนเองในด้านพลังงาน

ฅนเอาถ่านถ่านคุณภาพให้ความร้อนสูงปลอดจากสารก่อมะเร็งนับวันจะหายากในปัจจุบันการเผาถ่านให้ได้ตามคุณสมบัตินั่งเก้าต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจค่อนข้างมากเพื่อให้ได้คุณภาพรวมถึงเทคนิคการผลิตน้ำส้มควันไม้อัน เป็นผลพลอยได้ขึ้นมาจากกระบวนการพอทานซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัดโดยเฉพาะทางด้านการกสิกรรมธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ที่มุ่งเน้นการลดละเลิกจากการใช้สารเคมีที่เป็นผิดกับเกษตรกรผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

ยักจับมือโจร ธรรมธุรกิจ



ทฤษฎีบันได 9 ขั้น สู่ความพอเพียง


โครงการของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมจากชมรมกสิกรรมธรรมชาติสู่มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติที่ผ่านมา ได้ให้ความรู้และช่วยเหลือให้กับเกษตรกรในหลายๆ จังหวัด ในรูปแบบของโครงการที่หลากหลาย เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าเกษตรกรสามารถทำการเกษตรและอยู่อย่างพอเพียงได้จริง

1. การทำกสิกรรมแบบพึ่งตนเอง

เป็นโครงการที่รณรงค์ให้เกษตรกรไทยทุกคน และผู้เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำการเกษตรแบบพึ่งตนเอง ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ซึ่งเป็นการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ หันกลับมาพึ่งตนเองโดยใช้ของที่ผลิตได้ภายในประเทศ อาทิเช่น การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

2. ปลูกรักกสิกรรมธรรมชาติ

เป็นโครงการที่มุ่งสร้างจิตสำนึก สร้างองค์ความรู้เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทางความคิดในการทำการเกษตรธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ การพึ่งตนเองตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

3. เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

เป็นโครงการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน หรือศูนย์กสิกรรมในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ และเชื่อมโยงศูนย์ต่างๆ เข้าด้วยกันให้เป็นระบบเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้

4. เรารักเกษตร

เป็นโครงการที่มุ่งสร้างจิตสำนึก และรณรงค์ให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำนึกของการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ รวมทั้งเข้าใจถึงวิถีชีวิต

5. อบรมความรู้เรื่องสมุนไพร

เป็นโครงการที่มุ่งรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้ความรู้ และส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยในเรื่องสมุนไพร โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและการนำไปประยุกต์ใช้

6. ชุมชนเป็นสุขด้วยกสิกรรมธรรมชาติ

เป็นโครงการส่งเสริมให้ชุมชนมีความสามัคคี และรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มหรือสหกรณ์มีการปลูกพืชผัก พืชไร่ พืชสวน โดยการทำเกษตรแบบธรรมชาติ และดำเนินการจัดหาตลาดรับซื้อเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งในชุมชน

7. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

เป็นโครงการออกใบรับรองให้กับผลิตภัณฑ์การเกษตร ที่ผ่านการตรวจสอบ ตามระเบียบโครงการของมูลนิธิฯ โดยจะออกเป็นเอกสาร และอนุญาตให้นำตราสัญลักษณ์ไปใช้เพื่อการตลาดได้

8. เรียนรู้วัฒนธรรมแผ่นดินแม่

เป็นโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาน ตลอดจนสืบสานวิถีชีวิต และภูมิปัญญาพื้นบ้าน โดยการจัดเข้าค่ายสำหรับลูกหลานคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ โดยจะจัดร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

9. ท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยว และพักผ่อนในรูปแบบของธรรมชาติ โดยการพักผ่อนในแถบชนบทเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง รับประทานอาหารไร้สารพิษ เรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย

10. อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

เป็นโครงการที่จะรณรงค์ให้ประชาชนมีจิตสำนึกและร่วมดำเนินการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำแนวพระราชดำริมาประยุกต์ให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ เช่นการป้องกัน และแก้ไขปัญหา มลพิษในพื้นที่ลุ่มน้ำ ไม่ให้เสื่อมโทรมไปมากกว่าปัจจุบัน

11. วิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างพลังงานทดแทน

เป็นโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในส่วนของการศึกษาเพื่อหาผลผลิตของเกษตรกร และทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ มาพัฒนาคุณภาพให้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง หรือพลังงานปิโตรเลียมซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศปีละหลายแสนล้านบาท เช่นน้ำมัน Bio-Diesel จากปาล์มมะพร้าว, Ethanol จากอ้อย มัน

12. คืนชีวิตให้แผ่นดิน

เป็นโครงการที่รณรงค์เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกร และประชาชนทั่วไปทราบถึงปัญหา และผลกระทบอันเนื่องมาจากภาคเกษตรกรรม รณรงค์ให้เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้ปุ๋ยเคมีและสารพิษทางการเกษตร ส่งเสริมในเรื่องของแนวพระราชดำรัส “ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น

หลักการและแนวทางสำคัญ

  • เป็นการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือ ร่วมใจ ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้นทุกครัวเรือนควรปลูกข้าวเพื่อให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง ยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
  • ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี
  • การจัดแบ่งที่ดิน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทรงให้ใช้อัตราส่วนคร่าว ๆ ในพื้นที่ 30:30:30:10 แบ่งเป็น

30% แรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ฯลฯ)

30% ที่สอง ทำนา

30% ที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร

10% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัย และอื่น ๆ (กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอก-ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว ฯลฯ)

ทฤษฎีใหม่ขั้นตอนที่สอง

ให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่ม หรือสหกรณ์ร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการในด้าน

  • การผลิต (พันธุ์พืช เตรียมดิน ชลประทาน ฯลฯ)
  • การตลาด (ลานตากข้าว ยุ้ง เครื่องสีข้าว การจำหน่ายผลผลิต)
  • ความเป็นอยู่ (กะปิ น้ำปลา อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ)
  • สวัสดิการ (สาธารณสุข เงินกู้)
  • การศึกษา (โรงเรียน ทุนการศึกษา)
  • สังคมและศาสนา

ทฤษฎีใหม่ขั้นที่สาม

ติดต่อประสานงานเพื่อจัดหาทุนหรือแหล่งเงิน เช่น ธนาคาร หรือบริษัท ห้างร้าน เอกชน มาช่วยในการลงทุน และพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นฝ่ายเกษตรกรและฝ่ายธนาคาร กับบริษัท จะได้รับประโยชน์ร่วมกันกล่าวคือ

  • เกษตรกรขายข้าวในราคาสูง (ไม่ถูกกดราคา)
  • ธนาคารกับบริษัทซื้อข้าวบริโภคในราคาต่ำ (ซื้อข้าวเปลือกตรงกับเกษตรกรและสีเอง)
  • เกษตรกรซื้อเครื่องอุปโภค บริโภคในราคาต่ำ (เป็นร้านสหกรณ์ ราคาขายส่ง)
  • ธนาคารกับบริษัทสามารถกระจายบุคลากร (เพื่อไปดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น)

เพื่อให้ทฤษฎีใหม่ทั้ง 3 ขั้นตอน ตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านได้เผยแพร่ และกระจายไปสู่เกษตรกรทั้งประเทศ มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ จึงได้นำแนวทางพระราชดำริมาทำให้เกิดเป็นรูปธรรมผ่านโครงการต่าง ๆ ของมูลนิธิฯ ที่จะได้กล่าวต่อไป

เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ

เป็นโครงการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกลุ่ม ชุมชน หรือศูนย์กสิกรรมในท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นการทำการเกษตรแบบธรรมชาติ และเชื่อมโยงศูนย์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันให้เป็นระบบเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง46ศูนย์ ซึ่งพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมของเครือข่ายแล้ว 19 ศูนย์ฝึก

1. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี

2. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเกาะจันทร์ จ.ชลบุรี

3. ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรไทเขาขุนอินทร์ จ.ระยอง

4. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จ.ระยอง

5. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี

6. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว

7. ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ.นครนายก

8. ศูนย์อบรมคุณธรรมกสิกรรมธรรมชาติร่วมใจ จ.ยโสธร

9. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติภูหลวง จ.เลย

10. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติท่ามะขาม จ.กาญจนบุรี

11. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติเพลิน จ.ชุมพร (ชุมพรคาบาน่า)

12. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

13. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวัดป่ายาง จ.นครศรีธรรมราช

14. ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติกรุงไพลิน ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ประเทศกัมพูชา

15. ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บางคล้า

16. ศูนย์เรียนรู้การจัดการลุ่มน้ำตามรอยพ่อเศรษฐกิจพอเพียงแม่สิน

17. สถาบันพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี

18. ศูนย์ศึกษากสิกรรมธรรมชาติสระแก้ว

19. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนคนอยู่กับป่า

แผนที่เดินดินของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง


ภาพบรรยากาศการจัดงาน มหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่11ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


ภาพกิจกรรมพิธีเปิดงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 11(17/03/2560 )



ภาพกิจกรรมการรับชมวีดีทัศน์ประวัติความเป็นมาของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ(17/03/2560 )



ภาพความประทับใจในการได้ร่วมศึกษางาน ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง (17/03/2560 )


ภาพฐานการเรียนรู้เรื่องการห่มดิน (17/03/2560 )

การห่มดินจะช่วยปรับสภาพความชุ่มชื้นของดินไม่ให้ดินแข็งกระด้างสิ่งที่นำมาห่มดินนั้นอาจเป็นฟางข้าหรือหญ้าแห้งเป็นต้น


ขุดหนองต่างระดับเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์และเลี้ยงปลา นำดินที่ขุดหนองมาทำโคกปลูกป่า3อย่าง ประโยชน์4อย่าง



ปลูกป่า3อย่าง ประโยชน์4อย่าง และไม้สูง ไม้กลาง ไม้เตี้ย ฝายชะลอน้ำช่วยดักตะกอนและนำตะกอนไปทำปุ๋ยได้

ไม้เรี่ยดิน พืชหัว



ยกหัวคันนาสูง 1 เมตร เพื่อกักเก็บน้ำ


สรุปและวิเคราะห์แนวคิดกระบวนการทำงานของ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องที่นำมาใช้ในงานพัฒนาชุมชน

หลักการ การลงมือทำเป็นแบบอย่าง แทนการสอนผ่านทฤษฎี

อาจารย์ ยักษ์ ท่านได้ลงมือทำโดยใช้ตัวของท่านเองเป็นโมเดลในการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อดึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมศึกษาเรียนรู้หลักการนี้สามารถนำมาใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้คือหน้าที่ของนักพัฒนาชุมชนคือสร้างกระบวนการให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นนักพัฒนาเองจึงต้องศึกษาวิธีการและกระบวนการให้เข้าใจชัดเจนก่อนที่จะไป จัดกระบวนการให้กับคนอื่นๆได้เรียนรู้ละเข้าใจ

หลักการแก้ไขปัญหาตามลำดับขั้น

อาจารย์ ยักษ์ ท่านได้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้นคือการแก้ปัญหาเรื่องดิน โดยปรับสภาพดิน “เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช” หลักการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นสามารถนำมาใช้กับงานพัฒนาได้เช่นกันเรื่องการวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

การสร้างเครือข่าย

เมื่อ อ.ยักษ์ ท่านประสบความสำเร็จแล้วจึงมีการสร้างเครือข่ายโดยการจัดอบรมเรื่องการเกษตรให้กับผู้ที่มีความสนใจและภายในเครือข่ายจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่านกิจกรรมศึกษาดูงาน หรือ งานมหกรรมคืนชีวิตให้ดินในทุกๆปีที่จะมีการรวมตัวกันของเครือข่าย เครือข่ายถือเป็นสิ่งสำคัญในงานพัฒนาชุมชนเพราะงานพัฒนาไม่สามารถทำคนเดียวได้ต้องอาศัยหลายภาคส่วนมาระดมความคิดร่วมกัน

หลักการมีส่วนร่วม

อาจารย์ยักษ์ ท่านได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้กับผู้มาเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริงและการมีส่วนร่วมถือเป็นหัวใจของงานพัฒนาเพราะเป็นกระบวนการที่ทุกส่วนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทำและร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกัน

กระบวนการกลุ่ม

อาจารย์ ยักษ์ ท่านมีการจัดการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายอาจเป็นการเรียนรู้ร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ในงานพัฒนาชุมชนถือว่าสำคัญเพราะการสนทนากลุ่มจะช่วยสะท้อนความคิดของแต่ละคนทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือองค์ความรู้ในมิติใหม่ซึ่งเป็นหนทางไปสู่การหาข้อสรุปในการพัฒนา

คำสำคัญ (Tags): #สาขาพัฒนาชุมชน
หมายเลขบันทึก: 626140เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2017 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2017 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท