ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560



ศึกษาดูงานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560

งานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 11 ตอกย้ำเศรษฐกิจพอเพียงทุกคนสามารถทำได้และแก้ไขปัญหาได้จริง

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้จัดให้ นักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชนไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี โดยออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยตามเวลาคือ 05.30 น. (ตีห้าจ้าาาาาง่วงไปอีก ><! ) แต่ถึงจะเช้าอย่างนั้น บรรยากาศในรถกลับสนุกสนาน ทุกคนดูตื่นเต้นที่จะได้ไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ ระหว่างการเดินทางก็มีพักให้ได้รับประทานอาหารกันด้วย ก็กองทัพมันต้องเดินด้วยท้องอ่ะนะ พอถึงที่งาน ทุกคนเดินเข้างานกันอย่างสนุกสนานและพร้อมที่จะไปทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้



ภาพขณะที่ทุกคนเดินเข้างานกันอย่างสนุกสนาน ภายถ่ายโดย : น.ส ธัญญลักษณ์ มะโนนิน

พอเข้าไปถึงด้านในงานมีซุ้มด้านขวามือที่ทุกคนพร้อมกันเดินเข้าไปโดยไม่ได้นัดหมายนั่นคือ ข้าวเหนียวหมูฝอยแจกฟรีจ้า

ต้องขอบอกว่า อร่อยมากและทำให้พวกเราทุกคนอิ่มมากเช่นกัน


ร้านหมูฝอยแจกฟรี ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

หลังจากที่ทุกคนอิ่มเอมกับหมูฝอยแล้ว ก็พร้อมที่จะเรียนรู้กันต่อ อาจารย์ได้ให้พวกเราเดินดูงานได้ซักพัก ก็เรียกพวกเราทุกคนไปรวมที่ลานต้นก้ามปูเพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดงาน

พิธีเปิดงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 11 ตอกย้ำเศรษฐกิจพอเพียงทุกคนสามารถทำได้และแก้ไขปัญหาได้จริง

สำหรับในช่วงพิธีเปิดนั้นได้จัดขึ้นเมื่อเวลา 10.30 น. ณ ลานร่มไม้ ต้นก้ามปู ซึ่งภายในพิธีเปิดได้มีแขกผู้มีเกียรติ ผู้ใหญ่หลายท่าน นักศึกษาจากมหาลัยต่าง ๆ รวมไปถึงแพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ ดารานักแสดง และที่สำคัญคือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ก่อตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี


ภาพในพิธีเปิดงาน ภาพถ่ายโดย : นาย ภัทรภณ ศิริเลิศ

สำหรับในช่วงแรกพิธีกรนั้นก็จะพูดถึงประวัติความเป็นมาของศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องว่ามีความเป็นมา โดยเริ่มมาจากการที่นายวิวัฒน์นั้น ได้เป็นผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทโดยรับราชการใกล้ชิดกับพระองค์ท่าน (รัชกาลที่ 9) ในหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กปร. มากว่า 16 ปี โดยได้สัมผัสชีวิตเกษตรกรทั่วประเทศและได้สัมผัสถึงการทำงานของในหลวงว่าท่านมีความทุ่มเทให้กับการทำงานมาก เพื่อที่จะพัฒนาให้เกษตรกรได้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จากนั้นอาจารย์วิวัฒน์ได้รวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งชมรมกสิกรรมธรรมชาติและได้พัฒนาเป็นศูนย์การศึกษากสิกรรมธรรมชาติได้ในปัจจุบัน และต่อมาพิธีกรได้พูดถึงการจัดงานและบรรยากาศภายในงานว่าเป็นการจัดนิทรรศการความรู้ต่าง ๆ เพื่อแสดงผลงานในด้านต่าง ๆ ที่ศูนย์นั้นได้ทำขึ้นและมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น การเลี้ยงสัตว์ เกษตรอินทรีย์ การประดิษฐ์ของใช้จากธรรมชาติ ว่าคนสามารถอยู่ร่วมเป็นพึ่งพาธรรมชาติได้ในชีวิตประจำวันโดยไม่ต้องพึ่งเทคโนโลยี และเมื่อถึงเวลาก็ได้ทำการเปิดงานอย่างเป็นทางการโดยการปรบมือของกองกำลังเกษตรโยธิน ศิษย์องค์ภูมิพล (ปรบมือใส่รหัส)

ภาพขณะทุกคนปรบมือรหัสในพิธีเปิดงาน ภาพถ่ายโดย : นาย ภัทรภณ ศิริเลิศ

ในลำดับต่อมาก็ได้เชิญคุณ(เอก) ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ นักร้อง/นักแสดง ได้ขึ้นมากล่าวความรู้สึกที่มีต่อในหลวง (รัชกาลที่9) ซึ่งเขาก็ได้พูดเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจต่างๆ และการทรงงานของในหลวง โดยกล่าวว่า “ตั้งแต่เกิดมาก็เห็นในหลวงทรงทำงานหนักเพื่อประเทศไทยมาตลอด” และได้เตรียมการแสดงโดยการ ขับร้องเพลง 13 ตุลาหนึ่งทุ่มตรง ซึ่งเป็นเพลงที่คุณธเนศนั้นได้แต่งขึ้นให้กับในหลวงเพื่อถวายเป็นการตอบแทนให้กับในหลวงที่ดูแลคนไทยมาตลอด และให้รับชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับการทรงงานของในหลวงและความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่9 เมื่อการแสดงจบแล้วได้มีการยืนสมาธิเป็นเวลา 1 นาทีเพื่อไว้อาลัยให้กับในหลวงรัชกาลที่9 ต่อมาได้เชิญคุณแพนเค้กขึ้นมากล่าวความรู้สึกในฐานะที่เป็นผู้มีส่วนร่วมและเข้าร่วมโครงการมากว่า 3 ปี โดยได้กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่ทำให้มีโอกาสได้ลงมือทำ ถึงแม้เราจะมีพื้นที่เล็กน้อย เราก็สามารถทำให้เรามีชีวิตที่ดีได้ถ้าเราลงมือทำจริง ๆ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่9 ท่านได้มอบอาวุธที่แข็งแรงให้กับเรามาแล้วและถ้าเราสามารถทำได้มันก็จะทำให้บ้านเราเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เก็ตอีกรูปแบบนึง”


ภาพขณะคุณเอกร้องเพลงในพิธีเปิดงาน ภาพถ่ายโดย : นาย ภัทรภณ ศิริเลิศ

ในลำดับสุดท้ายก็ได้เรียนเชิญ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานศูนย์ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจพอเพียงและได้กล่าวย้ำว่า “การปรับเปลี่ยนวิธีการคิด วิธีการดำเนินชีวิตไปสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพึ่งตนเอง ซึ่งจะทำให้เราอยู่รอดจากวิกฤตการต่าง ๆ ทุกรูปแบบได้”

หลังจากเสร็จพิธีเปิดงานทุกคนก็เดินไปรวมกันที่จุดที่ 2 คือ อาคารกองอำนวยการ ภายในกองอำนวยการพวกเราได้พบกับพี่เมฆ วิทยากรประจำกองอำนวยการ

ภาพพี่เมฆ วิทยากรประจำกองอำนวยการ ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

พี่เมฆได้แนะนำตัวกับพวกเราและถามไถ่สร้างความคุ้นเคยและสนุกสนานให้กับพวกเรา จากนั้นพี่เมฆได้เปิดวิดิทัศน์


วิดิทัศน์เล่าประวัติศูนย์กสิกรรมธรรมชาติที่ถูกนำมาเปิดในงาน

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 114/1 หมู่ที่ 1 ต.หนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรีก่อตั้งขึ้นโดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรือ อ.ยักษ์ บนเนื้อที่ทั้งหมด 40 ไร่ อ.ยักษ์ เกิดในครอบครัวของชาวนา เมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัย อ.ยักษ์ ได้มีโอกาสเข้ารับราชการ และได้ก้าวเข้าสู่ตำแหน่ง “ผู้อำนวยการสำนักงาน คณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กปร.” ในขณะที่หน้าที่การงานกำลังเข้าสู่ความก้าวหน้า แต่แล้ว อ.ยักษ์ ก็กลับผันตัวเองมาเป็นชาวนาเพื่อสนองแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง

พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างมานานกว่า10ปี ซึ่งที่แห่งนี้เป็นที่ที่แห้งแล้ง แม้กระทั่งหญ้ายังไม่ขึ้น เนื่องจากเป็นดินดาน หลักการที่ อ.ยักษ์ ใช้ในการฟื้นฟูดินคือ “การบำรุงพระแม่ธรณี” โดยเริ่มต้นจากสภาพดินที่เลว สภาพแวดล้อมที่กำลังย่ำแย่ อ.ยักษ์ ขุดหลุมขนาดพอเหมาะ เพื่อที่จะวางต้นกล้าลงไป แล้วขุนดินล้อมรอบต้นไม้เพื่อปลูกหญ้าแฝก แล้วทำการห่มดินโดยใช้ฟางข้าวปูทับพื้นดินไว้ แล้วโรยด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยน้ำชีวภาพ ดินที่แข็งเหมือนหินก็จะร่วนขึ้นและจะกลายเป็นดินดีในที่สุด อ.ยักษ์ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 11 ปี ในการทำดินดานให้กลายเป็นป่า ตั้งแต่ พ.ศ.2526 จนถึง พ.ศ.2537 และในปี พ.ศ.2541 ได้จัดฝึกอบรมรุ่นที่ 1 ให้ความรู้โดยไปเช้าเย็นกลับ พอมีคนเริ่มสนใจกันมากขึ้น อยากมาพักค้างคืน จึงได้สร้างที่พัก และเปิดอบรมหลักสูตรแบบพักค้างคืนขึ้นในปี พ.ศ.2544 เป็นต้นมา ทำให้ที่แห่งนี้เป็น “ศูนย์ฝึกอบรมกสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง” จากกลุ่มคนเล็กๆที่เข้ามาขอความรู้เรื่องหลักการทำกสิกรรมธรรมชาติ มาบเอื้อง ตอนนี้ที่นี่ได้กลายเป็น “มหาวิทยาลัย คอกหมู” ที่เปิดอบรมให้ผู้ที่สนใจเรื่องการทำ เกษตรธรรมชาติและการพึ่งตนเองไปแล้วมากมายนับแสนคน

ด้วยความทุ่มเทเพื่อขยายแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง ในกว่า 20 ปี ที่ผ่านมาของ อ.ยักษ์ ทำให้เกิดการสานต่อเครือข่ายถึง 16 แห่งในประเทศไทย และ อ.ยักษ์ ยังให้ความร่วมมือกับต่างชาติในการผลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้สิ่งที่ อ.ยักษ์ ได้สร้างไว้ก็คือ “การสร้างคนให้กลับมาใช้ชีวิตในวิถีที่พอเพียง”



ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : น.ส ณัฐกานต์ ศรีจันทร์รัตน์


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก

หลังจากดูวิดิทัศน์จบ อาจารย์พีรพัฒน์ ได้เข้ามากล่าวขอบคุณพี่เมฆ ที่ให้ความรู้กับพวกเราและให้พวกเราได้พักทานข้าวกัน พร้อมกับแจ้งเวลานัดหมายเวลากลับกับพวกเรา

ภาพ อ.พีรพัฒน์เข้ามากล่าวขอบคุณพี่เมฆภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก

หลังจากออกจากกองอำนวยการพวกเราก็มารับประทานอาหารที่ โรงทาน ภายใน ศูนย์กสิกรรมมาบเอื่อง จะมีโรงทานให้ทุกคนที่เข้ามาได้มารับประทานอาหารให้ได้อิ่มทองกัน แล้วที่สำคัญอาหาร อร่อย สะอาด และมีคุณภาระ มากเพราะพืชผักก็ใช้พืชผักในศูนย์ที่ปลอดสารพิษมาทำให้พวกเรารับประทาน

บรรยากาศภายในงานกสิกรรมมาบเอื้องจะเป็นการรวมศูนย์การเรียนรู้ต่างที่เป็นศิษย์ของอาจารย์ยักษ์ที่มาร่วมจัดบูทแสดงสินค้าภายในงานมีทั้งอาหารเพื่อสุขภาพยารักษาโรคเมล็ดพันพืชน้ำสมุนไพรนานาชนิด อาทิเช่น น้ำตะใคร้ น้ำอัญชัน น้ำกระเจี๊ยบแดง น้ำฝาย น้ำสมุนไพรเหล่านี้ต่างก็มีสรรพคุณในตัวเองเช่นน้ำฝายนี้ก็รับประทานง่ายมีสรรพคุณช่วยดับร้อนแก้ร้อนในกระหายน้ำ น้ำกระเจี๊ยบมีส่วนช่วยในเรื่องของการลดไขมันในส้นเลือดช่วยแก้อาการอ่อนเพลียและยังมีบูทต่างๆอีกมายมายที่เป็นสาระความรู้ให้เราได้ศึกษาถึงประโยชน์และการนำไปใช้การสาธิตทำแปลงเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมีการใช้ใช้ทฤษฎีพืชเลี้ยงดินดินเลี้ยงพืช เช่นการห่มดินช่วยคุมดินช่วยปรับสภาพหน้าดินที่แข็งกระด้างให้มีสภาพชุ่มชื้น การปลูกพืช 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ 4 อย่างคือ พออยู่ พอกิน พอใช้ และประโยชน์ต่อระบบนิเวศบูทภายภายในงานจะประกอบไปด้วยการทำผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรอินทรีย์มาออกแสดงผลไม้ที่ไม่ได้ใช้สารเคมี การทำน้ำหมักชีวภาพ กระบวนการผลิตอาหารดินอินทรีย์จากเปลือกมันสัปปะหลัง การนำพืชและผลไม้บางอย่างมาทำผลิตภัณฑ์ เช่นครีมอาบน้ำที่ทำขมิ้นชัน น้ำยาล้างจานจากมะกรูด ยาสระผมจากมะกรูดอัญชัน


ภาพบรรยากาศนิทรรศการในศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นายเอกรินทร์ สีเอก


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : นางสาว ศจี สระศรีสม

การผลิตเอทานอลจาการนำน้ำตาลและน้ำอ้อยเพื่อนำไปใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผลิตแก๊สโซฮอล ปุ๋ยชีวภาพที่ผลิตจากกากหม้อกรองและน้ำทีใช้แล้วซึ่งเป็นพลอยได้จากการกระบวนการผลิตโดยผลิตภัณฑ์น้ำหมักเพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรปลูกอ้อยเพื่อนำไปใช้ในไร่อ้อยยังมีการเลี้ยงกบอินทรีย์โดยการขุดหลุมเลี้ยงในแอ่งน้ำโดยการล้อมแสลนรอบๆแล้วแบ่งเขตขั้นกลางเป็น2ฝั่งภายในงานจะมีอาหารเลี้ยงฟรีแจกเมล็ดพันธ์พืชเพื่อการเกษตรฟรีและมีสินค้าโอทอปของแต่ละศูนย์ที่มาจัดแสดงและจำหน่ายให้ผู้ที่มาเยือนภายในงานอีกด้วย


ภาพบรรยากาศภายในศูนย์ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ภาพถ่ายโดย : น.ส ภัทรานิษณ์ อัครเดชพงศ์กวี

ภายในงานมีบูธต่างๆมากมาย แต่วันนี้เราจะยกตัวอย่างให้ทุกท่านได้ดูกันเป็นเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น

“คนเอาถ่าน” โครงการจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม “การประยุกต์ใช้ เตาแก๊สชีวมวล”

เตาแก็สชีวมวล เป็นเทคโนโลยีการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน และเชื้อเพลิงชีวมวล เช่น ไม้และเศษวัสดุเหลือใช้ในการเกษตร โดยใช้กระบวนการทางเคมีความร้อนในการเผาไหม้เชื้อเพลิงภายใต้ภาวะการจำกัดปริมาณออกซิเจน โดยจะให้ผลผลิตที่เป็นก๊าซเชื้อเพลิงที่มีความร้อนต่ำถึงปานกลาง ซึ่งถือเป็นร้อยละ 70 – 80 ของความร้อนของเชื้อเพลิงชีวมวลตั้งต้น ก๊าซที่จะประกอบด้วย CO2 H2O, CO2, Tarvapor และ ขี้เถ้า ชึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำความร้อน อบแห้ง หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อใอน้ำ เป็นต้น

ชีวมวลเหล่านี้มีแหล่งที่มาต่างๆ กัน อาทิ พืชผลทางการเกษตร เศษวัสดุเหลือทิ้งทาง ไม้และเศษไม้ หรือของเหลือจากอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว และส่าเหล้า เป็นต้น

ส่วนประกอบของเตาแก๊สชีวมวล

1.ช่องเติมเชื้อเพลิง

2.ช่องเติมอากาศ

3.ที่เขี่ยขี้เถ้า

4.ช่องเขี่ยขี้เถ้า

วิธีการใช้งานเตาแก๊สชีวมวล

1.เปิดช่องเติมอากาศ และช่องทิ้งขี้เถ้าออกเพื่อให้อากาศในห้องเผาถ่ายเท

2.จุดไฟใส่ห้องเผาถ่านทางช่องเติมเชื้อเพลิง หลังจากนั้นจึงเติมเชื้อเพลิงตามลงไป

3.เติมอากาศเข้าช่องเติมอากาศเพื่อเร่งปฏิกิริยาการเผาไหม้ เมื่อไฟติดแล้วจึงปิดช่องทิ้งขี้เถ้า แล้วเลื่อนฝาช่องเติมอากาศเพื่อปรับความแรงไฟตามต้องการ

4.ดึงที่เขี่ยขี้เถ้า เพื่อเขี่ยขี้เถ้าและช่วงเร่งความแรงของไฟได้

5.ตั้งอุปกรณ์การประกอบอาหารบนเตา เพื่อประกอบอาหารตามต้องการ

การดูแลรักษาเบื้องต้น

1.ห้ามให้น้ำโดนเตา เพราะจะทำให้เกิดสนิมและผุกร่อนได้ง่าย

2.เขี่ยขี้เถ้าทิ้งทุกครั้งก่อนใช้งาน

การประยุกต์ใช้เตาเผาถ่าน (แบบตั้ง)

เตาเผาถ่าน(แบบตั้ง) เป็นเตาเผาถ่านที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเตาเผาถ่านแบบดั้งเดิม เนื่องจาก

1.ใช้ความร้อนในการไล่ความชื้นในเนื้อไม้ทำให้ไม้กลายเป็นถ่าน

2.ไม้ไม่เกิดการลุกติดไฟ เนื่องจากควบคุมการไหลเข้าออกของอากาศได้ ทำให้เกิดขี้เถ้าน้อย ได้ถ่านคุณภาพสูง

3.มีผลพลอยได้คือ น้ำส้มควันไม้

ส่วนประกอบของเตาเผาถ่าน(แบบตั้ง)

1.ตัวเตา ใช้ถังขนาด 200 ลิตร

2.ฝาเตา และท่อเร่งไฟ

3.ส่วนควบแนนน้ำส้มควันไม้

4.ตระแกรงรองไม้ด้านใน

5.ช่องเชื้อเพลิง

6.รูเก็บน้ำส้มควันไม้

ขั้นตอนการเผาถ่าน

1.เตรียมไม้ใส่เตา โดยการคัดแยกชนิดไม้เนื้ออ่อน/เนื้อแข็ง คัดให้ขนาดเท่าๆกันปิดฝาเตาให้สนิท

2.จุดไฟที่ช่องเชื้อเพลิง ประมาณ 2-4 ชั่วโมง

3.สังเกตควันที่ออกมาขณะไล่ความชื้นเป็นสีขาว มีกลิ่นเหม็น เมื่อผ่านไป 2-4 ชั่วโมง จะมีควันสีขาวขุ่นปนออกมาจำนวนมาก เรียกว่า ควันบ้า

4.หยุดป้อนเชื้อเพลิง ปิดหน้าเตาให้เหลือ 1 ใน 4 และเก็บน้ำส้มควันไม้ สังเกตหากปล่องใดควันสีฟ้าใสให้ปิดปล่องนั้นก่อน จนครบทุกปล่อง โดยใช้ผ้าห่อดินชุบน้ำว่างปิด

5.ทิ้งให้เตาเผาถ่านเย็นตัว ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง แล้วเปิดเก็บถ่าน และเผาต่อในครั้งต่อไป

ข้อดีของเตาเผาถ่าน(แบบตั้ง)

1.เตาดูแลรักษาง่าย และเกิดขี้เถ้าน้อย

2.สามารถใช้ไม้ขนาดเล็กมาเผาเป็นถ่านได้ ลดการตัดไม้ทำลายป่า

3.ใช้เวลาในการเผาสั้น ประมาณ 16 ชั่วโมง

4.ได้ปริมาณผลผลิตถ่านดี ลงทุนน้อย เหมาะกับการใช้งานในครัวเรือน ต้นทุนประมาณ 1,500 – 2,000 บาท


“คนมีไฟ” ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน

ศูนย์กิจกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว

คุณจำรูญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรภาคเอกชนขนาดใหญ่ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยได้น้อมนำเอาศาสตร์ของพระราชามาเป็นแนวทางในการดำเนินการกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร พนักงาน ชุมชนและสังคม ด้วยแนวคิดนี้เองทำให้ ปี พ.ศ.2550 ได้ตัดสินใจพาพนักงานเข้าฝึกอบรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ตามคำแนะนำของอาจารย์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร เพื่อให้พนักงานได้ใช้ชีวิตบนฐานการพึ่งพาตนเอง อยู่อย่างพอกินพอใช้ จึงได้คิดถึงผลของการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนและเพื่อให้เกิดผลของการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เป็นรูปธรรม จึงจัดตั้งศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ เคเอสแอล ริเวอร์แคว ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2552 ที่ ตำบลช่องสะเดา อำเภอเมือง จังหวดกาญจนบุรี

กลุ่มบริษัท เคเอสแอล ดำเนินการผลิตน้ำตาลและผลิตภัณ์อื่นๆอย่างครบวงจร ที่มุ่งใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

น้ำตาล การผลิตน้ำตาลเป็นธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท เคเอสแอล ผลิตภัณฑ์น้ำตาลของบริษัท ประกอบด้วยน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ รวมถึงบริษัทอันเป็นผลพลอยได้จากน้ำตาล ได้แก่ กากน้ำตาล กากอ้อย กากหม้อกรอง โดยผลิตภัณฑ์น้ำตาลของบริษัทได้ส่งออก และจำหน่ายให้กับผู้ผลิตอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เอทานอล ผลิตจากกากน้ำตาลและน้ำอ้อยดำเนินการผลิตโดย บริษัท เคเอสแอล กรียอินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งมีศักยภาพการผลิตที่ 350,000 ลิตร/วันเพื่อนำไปใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผลิต “แก๊สโซฮอล์” เพื่อรับรองความต้องการภายในประเทศส่วนหนึ่ง และส่งออกอีกส่วนหนึ่ง

ไฟฟ้า ผลิตโดย กากน้ำอ้อยซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลมาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต บริษัท มีศักยภาพการผลิตไฟฟ้า 60 เมกาวัตต์ และไอน้ำ 450,000 ตัน/ปี ซึ่งจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าก่รผลิตแห่งประเทศไทยผ่านโครงการข่ายไฟฟ้า ส่วนที่เหลือจำหน่ายให้กับรงงานในเครือบริษัท และใช้ภายในโรงงาน ถือเป็นองค์กรอันดับที่สามในประเทศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นโครงการกลไกลพัฒนาที่สะอาด เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปุ๋ยชีวภาพ ผลิตจากกากหม้อกรอง และน้ำที่ใช้แล้ว ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตโดยผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักชีวภาพของบริษัท จำหน่ายให้กับเกษตรปลูกอ้อยเพื่อน้ำไปใช้มนไร่อ้อย


ภาพผลิตภัณฑ์ของเครือเคเอสแอล ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก


โรงเรียนชาวสวน เกษตรอินทรีย์ วิถีคนจันท์


ถ่ายภาพโดย นางสาวภัทรานิษฐ์ อัครเดชพงศ์กวีภาพซุ่มของโรงเรียนชาวสวน เกษตรอินทรีย์ วิถีคนจันท์

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรดจันทบุรี เปิดเผยว่า ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติจันทบุรี เห็นความสำคัญของการเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดภัยและยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของศูนย์ฯ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ และความรู้คู่คุณธรรมมากำกับ โดยจังหวัดจันทบุรี เน้นเรื่องผลไม้ ภายใต้โครงการ “เกษตรอินทรีย์วิถีคนจันท์” ให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ โดยลดการใช้สารเคมี และในบริบทภาพรวมของจังหวัด ได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ ในการสร้างพื้นที่ต้นแบบอาหารปลอดภัย เพื่อการศึกษาหาความรู้ของผู้ที่สนใจการเกษตรที่ไม่พึ่งพาสารเคมี

เกษตรอินทรีย์วิถีคนจันท์ จะมีความเข้มแข็งมากขึ้น จากการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ที่พร้อมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ สำหรับการขับเคลื่อนครั้งนี้ จะสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยไร้สารพิษ จากสวนอินทรีย์ในจังหวัดจันทบุรี ภายใต้ มาตรฐาน PGS โดยจะมีทีมงานลงตรวจแปลงเกษตร รับรองความเป็นเกษตรอินทรีย์ และออกใบประกาศโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่เข้มแข็งของจังหวัดจันทบุรี ภายในซุ่มได้มีการนำเอาผลไม้ที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์มาจัดแสดง เช่น ทุเรียน สละ มะม่วง มะปราง ขนุน ลำไย ฯลฯ และมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผลไม้ให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ


ภาพพวกพี่ๆ จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติจันทบุรีถ่ายภาพโดย นางสาวภัทรานิษฐ์ อัครเดชพงศ์กวี

เป็นภาพผลไม้ที่นำมาแสดงในซุ่มมีทั้ง ทุเรียน สละ มะม่วง ฯลฯถ่ายภาพโดย นางสาวภัทรานิษฐ์ อัครเดชพงศ์กวี


ไร่สุขพ่วง ศูนย์การเรียนรู้ (Earth Safe) อินทรีย์วิถีไทย

คุณอภิวรรษ สุขพ่วง ชายหนุ่มวัย 28 ปี ซึ่งเป็นตัวแทนของเกษตรกรรุ่นใหม่ที่พร้อมจะแบ่งปันความสุขที่เกิดจากความพอเพียงให้กับคนไทยทุกคนผ่านไร่เกษตรอินทรีย์วิถีไทย เพื่อเป็นบทพิสูจน์ศาสตร์ของพระราชาที่ไม่มีวันอดไม่มีวันตายด้วยความที่มีภูมิปัญญาอยู่ที่บ้าน มีคุณตา คุณยาย คุณพ่อที่มีองค์ความรู้อยู่ที่บ้านจึงรู้ว่าไม่อดตายแน่ คุณพ็อตเริ่มจากการปลูกข้าวทำนา โดยมีคุณตาคอยแนะนำ ช่วยเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับแต่ละปี ทำจนวันนึงที่บ้านไม่ต้องเสียตังค์ซื้อข้าวกินแล้ว จึงเริ่มสำรวจพฤติกรรมของคนในครอบครัว ว่าไปจ่ายตลาดซื้ออะไรมาอีกบ้าง สุดท้ายจึงอนุญาตให้คุณแม่ซื้อเฉพาะน้ำปลากับน้ำมันพืชเท่านั้น ที่เหลือก็สัญญากับคุณแม่ว่าจะปลูกทำเอง มีข้าวมีผักแล้ว ขาดโปรตีนจากไข่ ก็ไม่ใช่เรื่องยาก จึงเริ่มเลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ทำมาเรื่อยๆพอมีของกินครบแล้วคุณพ็อตก็นึกถึงของใช้ที่ทำเองได้

เมื่อเห็นคุณแม่ซื้อ ยาสระผม ครีมอาบน้ำ น้ำยาล้างห้องน้ำ ด้วยความที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง จึงอาศัย YouTube ดูวิธีการทำยาสระผม ทำสบู่ ได้ปลูกสมุนไพร ปลูกอัญชัญ ปลูกมะกรูด จนได้ผลิตภัณฑ์มะกรูดที่สามารถเป็นได้ทั้งยาสระผม ครีมอาบน้ำ และน้ำยาล้างห้องน้ำ จึงเรียกได้ว่าสามารถพึ่งพาตัวเองได้ทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภคจนครอบครัวแทบจะไม่มีรายจ่ายเลย ไม่ใช่แค่สร้างแหล่งน้ำเพียงอย่างเดียวแต่ควรสร้างความอุดมสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงน้อมนำมาปฏิบัติคือ สร้างป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อให้เกิดระบบนิเวศน์ที่ดี ปลูกพืชผักสารพัดชนิดในพื้นที่ของตนเอง “อย่างการทำนา บนคันนาก็ปลูกพืชผัก ทำคันดินคันนาให้สูง ทำโคกสูงขึ้นไป เพื่อพร้อมรับกับภัยพิบัติ ซึ่งเมื่อทำเช่นนี้สามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง ภัยแล้ง และน้ำท่วม”

บันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง สร้างคุณค่าให้ตน คืนสู่สังคม คุณอภิวรรษ ยังกล่าวถึง ทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ที่ได้น้อมนำมาใช้ในทางปฏิบัติจริง จนเกิดผลสำเร็จสู้ชีวิตตนเอง และผู้อื่น โดยเริ่มจาก

ขั้นที่ 1 ทำให้พอกิน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว

ขั้นที่ 2 พอใช้ อย่างเครื่องมือเครื่องใช้ อันหมายถึงปัจจัยในการประกอบอาชีพ เช่น ตนประกอบอาชีพเกษตร จึงผลิตปุ๋ย ฮอร์โมน ใช้เอง รวมไปถึงการทำเครื่องอุปโภคใช้เอง ไม่ว่าจะเป็น สบู่ แชมพู เป็นต้น

ขั้นที่ 3 พออยู่ นั่นหมายถึงการมีพื้นที่เป็นของตนเอง

ขั้นที่ 4 พอร่มเย็น คือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ขั้นที่ 5 ทำบุญ ซึ่งจะช่วยในด้านจิตใจ ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นคนรวยที่เลวได้

ขั้นที่ 6 ทาน คือการรู้จักให้ แบ่งปันทั้งในด้านอาหาร ทรัพย์ หรือแม้แต่องค์ความรู้ เพื่อเป็นวิทยาทาน

ขั้นที่ 7 การเก็บรักษา เพื่อสำรองไว้ในยามเกิดภัยพิบัติ แต่ทว่าช่วงเวลานี้ไม่เกิดเหตุการณ์ใดๆ การเก็บรักษาจึงปรับเป็นการแปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ กลายเป็นผลิตภัณฑ์หลากหลายรายการของไร่สุขพ่วง อาทิ น้ำตาลอ้อย ชาหญ้านาง ทองม้วนกล้วย เป็นต้น

ขั้นที่ 8 ทำการตลาด ด้วยเพราะเป็นคนรุ่นใหม่ คุณอภิวรรษได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บวกกับเศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ ใส่เรื่องราว สร้างสรรค์ คุณค่าให้เกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ นำเทคโนโลยี สื่อสารสนเทศมาใช้ให้ทันโลกทันยุคสมัย การทำน้อยจึงได้มาก ดังที่พระองค์ท่านตรัสเรื่องการทำน้อยได้มาก ทำแบบคนจน แต่ได้มูลค่า ด้วยการแปรรูป

ขั้นที่ 9 สร้างเครือข่าย ไร่สุขพ่วงได้ก่อตั้งตนเองเป็นศูนย์การเรียนรู้อินทรีย์วิถีไทย (Earth Safe) โดยการนำสิ่งที่ตนเองรู้ในงานทั้งหมดที่ประสบผลสำเร็จ ถ่ายทอดสู่ผู้อื่น ซึ่งการกระทำเช่นนี้ส่งผลลดความเห็นแก่ตัว ผู้เข้ามาเรียนรู้ก็จะกลายเป็นเครือข่าย เชื่อมโยง แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างระบบเศรษฐกิจชุมชน เกิดการรวมกลุ่ม ร่วมสร้างเครือข่ายเข้มแข็งมีอำนาจในการต่อรอง

มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย

ข้าว และ ถั่ว ของเราปลูกและดูแลตามวิถีธรรมชาติ ใช้น้ำฝนจากฟ้าเป็นหลักในการผลิต ทำนาเพียงปีละ 1 ครั้ง โดยมีการปลูกพืชตะกูลถั่วในช่วงที่ว้างเว้นจากการทำนาไม่มีการใช้สารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช รวมถึงสารกำจัดวัชพืชตลอดกระบวนการผลิต ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์วิถีไทย

มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย หรือ EarthSafe Standard คือ แนวทางและกระบวนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสำหรับผลผลิตทางการเกษตร การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ จนถึงการรักษาคุณภาพที่ดีที่สุดจากเกษตรกรสู่ผู้บริโภค กลไกดังกล่าวถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยคณะทำงานและภาคีเครือข่ายภายใต้มูลนิธิ รักษ์ดินรักษ์น้ำ (EarthSafe Foundation)

มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย มุ่งเน้นในการเป็นตัวชี้วัดที่ครอบคลุมกระบวนการผลิต พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่มีการใช้สารเคมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ไม่เอาเปรียบธรรมชาติ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยที่ผู้บริโภคตรวจสอบได้ ทั้งนี้ ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน และการมีวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น ข้อกำหนดมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย จึงประกอบด้วยการมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1. การผลิตพืช ผัก ผลไม้ในรูปแบบที่ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ มาเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการผลผลิตบนพื้นฐานของวิถีธรรมชาติ (หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเกษตรอินทรีย์) โดยมีปัจจัยชี้วัดสำคัญ คือ

1.1 ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูหรือป้องกันศัตรูพืช และสารเคมีกำจัดวัชพืช

1.2 ไม่ใช้พืชที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (GMOs)

1.3 สามารถเปิดเผยและตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับกระบวนการผลผลิตได้อย่างมีรูปธรรม

1.4 คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในพื้นที่ มีการกำหนดหน่วยมลภาวะและมีการทดแทนคุณค่ากลับสู่ดิน น้ำ และป่าอย่างเป็นระบบ

2. การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ ต้องไม่ปลูกเพื่อขายผลผลิตทั้งหมดเพียงอย่างเดียว เกษตรกรต้องปลูกพืชไว้บริโภคในครอบครัว เมื่อเหลือจึงแบ่งปัน เมื่อเหลือจากการแบ่งปันจึงรวมกันขาย สร้างภูมิคุ้มกันในคุณภาพชีวิต และลดการพึ่งพาพ่อค้าคนกลางในตลาดที่ขาดความโปร่งใสและไร้คุณธรรม มาตรฐานอินทรีย์วิถีไทยจึงเป็นมากกว่าการรับรองคุณภาพผลผลิต เราจึงใช้คำว่า อินทรีย์วิถีไทย หรือ EarthSafe แทนคำว่า อินทรีย์ นั่นก็เป็นเพราะเราใส่ใจในทุกขั้นตอนตั้งแต่รากเหง้าความเป็นไทย วิถีชีวิตการเกษตรอย่างไทย พร้อมกระบวนการปฏิบัติ นวัตกรรม และแนวทางที่สอดคล้องกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารทั้งในวันนี้ และในอนาคต

และพวกเราก็เก็บภาพบรรยากาศงานบางส่วนมาฝากทุกคนด้วยคะ.....!!!!!

มีทั้งของกินและของแจกเต็มไปหมดเลยคะ....ไปดูกันเลย

ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก (ฟรีคะ)


ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

ภาพบรรยากาศในงาน ภาพถ่ายโดย : นาย เอกรินทร์ สีเอก

หลังจากเดินดูงานกันซักพักและฝนก็ทำท่าจะตกแล้วซะด้วย พวกเราจึงทยอยเดินกลับไปขึ้นรถ จนครบทุกคนอาจจมีปัญหานิดหน่อยแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี พอถึงเวลาเดินทางกลับ ขนาดเดินดูงานกันจนเหนื่อยแล้วแต่บนรถทุกคนก็ยังสนุกสนานถ่ายรูปเล่นกันไว้เป็นที่ระลึก

บรรยากาศการถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ภาพถ่ายโดย : นางสาว เนตรสุดา ส่องสกุล

พวกเราทุกคนยังคงคุยเล่นกันตลอดทางจนถึงมหาลัยก็แยกย้ายกันกลับไปพักผ่อน บอกไว้ก่อนเลยนะคะใครที่อยากมางานนี้คงต้องรอรอบหน้าแล้วนะคะงานหมดวันที่ 19 มีนาคม 2560 นี้ และที่สำคัญมางานไม่ต้องกลัวอดเลยคะ มีทั้งของชิมฟรี โรงทาน และผลิตภัณฑ์ต่างๆราคาย่อมเยาว์ มากมาย ให้ได้เลือกชิมเลือกช๊อปกันตามสบายเลยคะ


หมายเลขบันทึก: 626126เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2017 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2017 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท