​ร่วมคิดใหญ่เพื่อบ้านเมือง




วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ผมมีบุญ ได้ไปร่วมประชุมที่กระตุ้นให้ endorphin ของผมหลั่งชะโลมใจ

นี่คือ การสัมมนาโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๗ (The 7th Prince Mahidol Award Youth Program Networking & Reunion Meeting) ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ เป็นเจ้าภาพ จัดที่โรงแรมจัสมิน ซิตี้ สุขุมวิท ๒๓


โครงการเยาวชน รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และสร้างเครือข่ายแพทย์รุ่นใหม่ในการพัฒนาตนเอง เพื่อใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อระบบสุขภาพของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์


ดูกำหนดการประชุม ที่นี่


ผมนั่งฟังการประชุมอยู่โดยตลอด มีความรู้สึกสุขใจ ที่ตนเองได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการนี้ตั้งแต่ต้น เพราะโครงการนี้พัฒนาขึ้นโดยลำดับ เข้าใจว่าส่วนหนึ่งเกิดจากทีมงานที่เกี่ยวข้องทำงานไปเรียนรู้ไป ปรับปรุงไป ด้วยท่าทีเปิดกว้าง ทั้งเปิดกว้างต่อการเรียนรู้ และเปิดกว้างต่อผู้เข้ามาร่วมกันทำงานสร้างสรรค์


มีคนบอกว่า ความสำเร็จเกิดจากผมเป็นผู้ออกแบบโครงการในตอนเริ่มต้น แต่ผมชี้ให้เห็นว่าการจัดการโครงการนี้หลายฝ่ายเข้ามาช่วยกัน ตามแบบ chaordic management จึงเกิดการพัฒนาแบบ self-organized development ไม่มีคนคนเดียวที่เป็นผู้บันดาลให้เกิด และต่อไปก็จะพัฒนาต่อเนื่องไปอีก โดยเราตกลงกันว่า ในปีต่อไปขอให้สมาชิกของเครือข่ายผู้ได้รับพระราชทานทุนเข้ามาร่วมกันจัดประชุมเอง


ผมเล่าเรื่อง 5th PMA Youth Program Conference ไว้ ที่นี่


ระหว่างนั่งฟังการประชุม ผมเขียน reflection เป็นช่วงๆ ไว้บนกระดาษ ด้วย keyword ดังต่อไปนี้

  • Emergence / self-organize
  • คิดเชื่อมโยง molecule à population / ระบบสุขภาพ
  • เรียนวิธีคิด คิดตั้งโจทย์ นักตั้งคำถาม ค้นหาคำตอบ หาช่องว่างของความรู้ ทำงานวิจัยที่พรมแดนความรู้
  • lifetime mentoring ต่อจากระบบของจุฬาฯ
  • basic science เชื่อมต่อกับ application / clinical เชื่อมสู่ predictive medicine
  • mentoring + nurturing
  • PMA YP สร้างผลกระทบเชิงระบบ ต่อการสร้างอาจารย์รุ่นใหม่ของโรงเรียนแพทย์
  • โรงเรียนแพทย์พัฒนาระบบส่งเสริม นศพ. ที่มีแรงบันดาลใจ ให้พัฒนาภาวะผู้นำ ที่ต้องการใช้ชีวิตทำงานเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น

เป็นช่วงเวลาเกือบ ๖ ชั่วโมง ที่มีพลังสร้างสรรค์ ทุกคนในห้องสัมผัสได้เอง พลังของการร่วมกันสร้างระบบวิชาการเพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ เป็นเวที transformative learning หลายชั้น



วิจารณ์ พานิช

๒๓ ก.พ. ๖๐






หมายเลขบันทึก: 625949เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท