บทบาทนักกิจกรรมบำบัด กับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง


มะเร็ง โรคร้ายที่คนส่วนใหญ่คิดว่ารักษาไม่หาย
แล้วเพราะอะไรถึงคิดว่า รักษาไม่หาย??

เพราะขบวนการเกิดโรคมะเร็งนั้นจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควร
ก่อนที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีอาการแสดงทางคลินิก
(นายแพทย์อาคม เชียรศิลป์, 2531 : คำนำ)

ทำให้คนส่วนใหญ่มาหาหมอและรู้ว่าเป็นก็ตอนที่เป็นระยะท้ายๆแล้ว""
ซึ่งมีโอกาศหายน้อยกว่า ระยะแรกๆมากนัก
มะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังคำขวัญองค์การอนามัยโลกที่ว่า
"มะเร็งรักษาได้ พบเร็วเท่าใด ชีวิตปลอดภัย"

แล้วมะเร็งนั้นมาจากไหนกันล่ะ ?

คนไข้โรคมะเร็งส่วนใหญ่แม้พอจะรู้ถึงสาเหตุของโรคมะเร็งว่าเกี่ยวข้องกับอาหาร แต่ถ้าหากถามคนไข้โรคนี้คนใดก็ตามว่าเขาคิดถึงเรื่องอะไรเป็นอย่างแรกหลักจากได้รับรู้คำวินิจฉัยของหมอ คำตอบคล้ายๆกันที่จะได้รับก็คือ
ความฉงนสงสัยว่า"ทำไมต้องเป็นฉัน ? ทำไมต้องเกิดกับฉัน ? นี่ฉันเป็นโรคนี้เข้าแล้วหรือนี่?"
ในการทำความเข้าใจถึงสาเหตุต่างๆของโรคมะเร็ง เราจะต้องสำรวจตรวจองค์ประกอบต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นมนุษย์

ซึ่งได้แก่องค์ประกอบทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และจิตวิญญาณ
มะเร็งนั้นมีทั้งสิ้นด้วยกัน 4 ระยะ ซึ่งจะเรียงลำดับความรุนแรงจากมากไปน้อย ดังนี้

ระยะที่ 1: มะเร็งยังจำกัดอยู่เฉพาะบริเวณที่เป็นยังไม่รบกวนเนื้อเยื่อข้างเคียง

ระยะที่ 2: มะเร็งลุกลามเข้าเนื้อเยื่อข้างเคียงแต่ยังไม่ลามไปไกลเกินกว่าอวัยวะนั้นๆ

ระยะที่ 3: มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

ระยะที่ 4: มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย

ซึ่งระยะที่จะเลือกมาพูดถึงเกี่ยวกับบทบาทของโอทีคือ มะเร็งระยะสุดท้าย

กล่าวคือ
"มะเร็งระยะสุดท้ายที่หมอสามารถกำหนดระยะเวลามีชีวิตอยู่ได้
จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายอย่างมีความสุขที่สุด"
(ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง, 2553 : 35)

จากหนักสือ การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง ของ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ได้กล่าวไว้ว่า

ที่ ออสเตรเลีย นักกิจกรรมบำบัดจะทำการประเมินดังนี้ เช่น

1. "ผู้ป่วยต้องการอะไร

2. ผู้ป่วยเข้าใจสภาพร่างกายและจิตใจของตนเองมากน้อยแค่ไหนอย่างไร

3. ผู้ป่วยอยากสื่อสารและเชื่อมโยงความรักและความเห็นอกเห็นใจจากคนที่รักอย่างไร

4. ผู้ป่วยปรับความคิดและวางแผนทำกิจกรรมที่มีคุณค่าแก่ชีวิตที่เหลืออยู่ไม่มากนักอย่างไร"

เพื่่อให้ผู้ป่วยเองได้บอกถึงความต้องการสุดท้าย เช่นการสะสางเรื่องส่วนตัว เพื่อให้หมดกังวลเรื่องในอนาคต
เพื่อยอมรับสภาพร่างกาย และพร้อมที่จะวางแผนทำสิ่งที่มีคุณค่า และสุขภาวะที่ดีต่อชีวิตในเวลาที่เหลืออยู่

จากนั้นจึงให้คำแนะนำแก่คนที่ผู้ป่วยรักในรูปแบบกิจกรรมเชิงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า
จะจัดกิจกรรมใดให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายกายสบายใจและวางแผนความต้องการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาสุดท้าย

ข้อเสนอแนะนำให้ญาติหรือคนใกล้ชิดของผู้ป่วยได้ปฏิบัติ ดังนี้<br>
  • เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างคุณหมอและผู้ป่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจและ
  • ยอมรับสภาวะของร่างกายที่อาจมีข้อจำกัดในการฟื้นคืนสภาพ
  • ให้กำลังใจและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยในการวางแผนทำกิจกรรมต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่เหลืออยู่
  • ให้กำลังใจและความรักผ่านการกระทำที่เสริมแรงบันดาลใจต่อการใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่าง
    มีเป้าหมายและมีความหมายร่วมกับคนที่รัก มิใช่ญาติมาเยี่ยมที่เตียงแล้วกลับไปหรือจ้างคนดูแลเฝ้า
    การกระทำดังกล่าวข้างต้น เช่น ญาติอาบน้ำเช็ดตัวผู้ป่วย
  • ผู้ป่วยและญาติคุยในสิ่งที่ประทับใจที่ผ่านมา หรือฟัง เทปชวนชมภาพที่ประทับใจร่วมกัน
  • ญาติจัดหาของทำบุญสังฆทานโดยให้ผู้ป่วยไหว้จบอนุโมทนาแล้วญาตินำไปถวายแทน หรือจะนิมนต์พระมาให้ผู้ป่วยได้ทำบุญโดยตรง เพื่อให้ผู้ป่วยมีกำลังใจหรือมีความสุขก่อนสิ้นชีวิต ดังคำโบราณที่ว่า ก่อนสิ้นใจขอให้ได้เห็นชายผ้าเหลือ
  • จัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้กิน
    (ปรึกษาแพทย์และนักโภชนาการบำบัดในการปรับสภาพอาหารที่ชอบ หรืออาหารให้ทางสาย ที่ได้ตั้งแสดงให้เห็นด้วยพร้อมกัน)

  • ญาติชวนผู้ป่วยจัดกิจกรรมยามว่างในห้อง รพ. เพื่อเบี่ยงเบนความคิดหมกมุ่นแต่ เรื่องมะเร็งกับวันที่สิ้นใจ


อ้างอิง

  1. ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง. การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี: เทพประทานการพิมพ์, 2553
  2. Ian Gawler. เปลี่ยนชีวิตพิชิตมะเร็ง . แปลจากเรื่อง You can conquer cancer โดย เอกพล วัฒณ์์. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์, 2531
  3. น.พ.อาคม เชียรศิลป์. มะเร็งก้าวใหม่ของการรักษา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: แอคก้าอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, 2531





หมายเลขบันทึก: 625948เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2017 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท