บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดต่อผู้ป่วยมะเร็ง


มะเร็ง คืออะไร ?

มะเร็งเป็นเนื้องอกชนิดร้ายที่เนื้อมะเร็งมีการแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อปกติที่อยู่โดยรอบ เป็นเซลล์ร่างกายที่มีการแบ่งตัวไม่เป็นไปตามแบบแผนอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุม สามารถแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นของร่างกายที่ห่างไกลออกไป และไม่ติดต่อกับก้อนมะเร็งเดิมโดยผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือดมะเร็งสามารถเกิดจากเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย ยกเว้น ขน ผม เล็บที่งอกออกมาแล้วเท่านั้น

การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง :

1.โดยทางกระแสเลือด

2.กระแสน้ำเหลือง

3.การฝังตัวของเซลล์มะเร็ง

4.การแพร่กระจายแทรกตัวไปตามพื้นผิวกายในอวัยวะ[i]ที่เป็นมะเร็งและอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียง

อาการบ่งชี้ว่าอาจจะเป็นมะเร็ง :

  1. อุปนิสัยการขับถ่ายที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น ท้องผูกสลับท้องเสีย มีมูกเลือดปนมากับอุจจาระ
  2. เป็นแผลเรื้อรังซึ่งไม่ยอมหายสักที
  3. มีเลือดหรือสารเหลวออกมาจากที่ใดก็ตามที่ผิดปกติ เช่น ตกขาวมากกว่าปกติ โลหิตระดูออกผิดปกติ
  4. เต้านมหรือที่อื่นๆปรากฏมีก้อนหรือตุ่มขึ้นมา
  5. มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยหรือกลืนลำบาก เบื่ออาหาร ผอมลง
  6. ไฝหรือหูดที่ดูเปลี่ยนรูปร่าง สี เช่น มีสีดำขึ้นหรือโตขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด แตกเป็นแผล เป็นต้น
  7. มีเสียงแหบหรือไอเรื้อรัง ที่หาสาเหตุไม่ได้

สาเหตุการเกิดมะเร็ง :

สาเหตุที่แท้จริงของโรคมะเร็งในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้แน่ชัดแต่ร้อยละ 80 เกิดจากวิถีการดำรงชีวิตและสภาพแวดล้อม แต่มีข้อมูลสนับสนุนว่ามาจากสาเหตุหลายๆอย่างร่วมกัน เช่น

  1. สาเหตุภายในร่างกายเอง เช่น เชื้อชาติ พันธุกรรม เพศ(พบได้ใกล้เคียงทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่มะเร็งบางชนิดอาจจะพบได้ในเพศหนึ่งมากกว่าเพศหนึ่งได้) อายุ(พบได้ทุกช่วงวัย ส่วนมากมักพบในวัยกลางคนหรือสูงกว่านั้น) ความเครียด เป็นต้น
  2. สาเหตุจากภายนอกร่างกาย เช่น ทางกายภาพ แสงอาทิตย์ อากาศ อาหาร สารพิษ อาชีพ เป็นต้น
  3. การอักเสบจากการติดเชื้อเรื้อรังนานๆ
  4. ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเป็นมะเร็ง โดยจะพบค่าผิดปกติเมื่อเป็นโรคมะเร็ง

ระดับความรุนแรงของมะเร็ง :

ความรุนแรงแบ่งตามระยะโรค เพราะส่วนใหญ่ทางการแพทย์แบ่งแบบนี้เพื่อกำหนดการรักษาในแต่ละระยะแตกต่างกันไป ความรุนแรงของโรคมะเร็งอาจจะถือเอาอาการลุกลามของก้อนมาเป็นข้อกำหนดดังนี้

ระยะที่ 1 มะเร็งยังจำกัดอยู่ในเฉพาะบริเวณที่เป็น ยังไม่รบกวนเนื้อเยื่อข้างเคียง

ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามถึงเนื้อเยื่อข้างเคียง แต่ยังไม่ลามออกไปไกลเกิดกว่าอวัยวะนั้นๆ

ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

ระยะที่ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆของร่างกาย

อัตราการรอดของผู้ป่วยโรคมะเร็ง :

อัตราการรอดของผู้ป่วยโรคมะเร็งขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งเมื่อตรวจพบ หากพบในระยะแรกการรักษามักได้ผลดี แต่เนื่องจากระยะแรกจะไม่สามารถตรวจพบในส่วนใหญ่ เมื่อพบก็มักจะเป็นระยะลุกลามและกระจายไปยังอวัยวะอื่น ทำให้อัตราการรอดชีวิตน้อยลง

การรักษาทางการแพทย์ :

เคมีบำบัดเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่มีประสิทธิผลมากวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน เป็นวิธีการรักษาที่มุ่งทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ก็ทำให้เซลล์ปกติถูกทำลายไปด้วย จึงเกิดผลข้างเคียงจากการรักษามีสุขภาวะไม่สุขสบายต่างๆได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานจากอาการเหล่านี้ และยังต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นความเครียดในเรื่องต่างๆตั้งแต่การรับรู้ว่าตนเป็นโรคร้ายแรง ตลอดจนการรักษาต้องใช้ระยะเวลานาน เสียค่าใช้จ่ายสูง ทำให้กระทบต่อแบบแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การทำงาน การครองชีวิตคู่ การเข้าสังคม และภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว รวมถึงศักยภาพการดำรงชีวิตของผู้ป่วย

บทบาทการดูแลรักษาทางกิจกรรมบำบัด :

เนื่องจากผลการรักษาทางการแพทย์อาจจะทำให้กระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว การทำงาน ชีวิตคู่ การเข้าสังคม รวมถึงศักยภาพการดำรงชีวิตขงผู้ป่วย ก่อให้เกิดความวิตกกังวล รู้สึกไม่แน่นอนของชีวิต จิตใจไม่สงบ สิ่งเหล่านี้กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์ประกอบด้านต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์จิตวิญญาณ สังคมและสิ่งแวดล้อม หรือความเป็น “องค์รวม”ของผู้ป่วย โดยดูแลครอบคลุมทั้งชีวิต มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลนั้นมากกว่าการเน้นแค่ความเจ็บป่วยหรือการจัดการกับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยมีปัจจัยที่สะท้อนถึงการดูแลสุขภาพ ได้แก่ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของบุคคล รวมทั้งให้ความหมายและเจตคติต่อโรคของผู้ป่วยด้วยการดูแลจึงเป็นไปในรูปแบบของการผสมผสานการแพทย์ระบบต่างๆเพื่อเสริมหรือชดเชยส่วนที่ระบบการแพทย์อื่นขาดไปหรือไม่สมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถดูแลตัวเองได้เพื่อสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ครอบคลุมเพียงพอแล้วก็จะช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นักกิจกรรมบำบัดควรให้ผู้ที่กำลังชีวิตกับโรคมะเร็งได้ทบทวนความสามารถของตนเองในปัจจุบัน ทำความเข้าใจถึงผลกระทบของโรคมะเร็งและแนวทางการจัดการตนเองให้ทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายและมีความสุข เช่น แสวงหาความรู้และเปิดใจยอมรับกระบวนการดูแลตนเอง ตั้งแต่อาหาร สุขภาพ การสงวนพลังงานในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต และฝึกกิจกรรมเพื่อสุขภาพต่างๆ เน้นการฝึกพัฒนาจิตวิญญาณอย่างมุ่งมั่น ได้แก่ การมีสติก่อนทำกิจกรรมใดๆ เข้าใจและช่วยเหลือคนรอบข้าง วางแผนทีมการทำงานโดยเป็นผู้ตามและประสานงานในระยะเวลาและโอกาสที่เหมาะสมย้อนทบทวนความสามารถในปัจจุบัน พร้อมแสวงหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในสถานการณ์โรคมะเร็ง (ผู้บำบัดและผู้ป่วย) ค้นหากิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่น นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่กำลังใช้ชีวิตกับโรคมะเร็งได้พิจารณาประสิทธิผลทางการแพทย์

การดูแลผู้ป่วยในระยะก่อนสุดท้ายในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

- การดูแลทางด้านจิตใจให้กำลังผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยทบทวนเหตุการณ์ต่างๆที่ผ่านมา

-ให้ผู้ป่วยคิดบวก มองโลกในแง่ดี

-แนะนำบุคคลที่เป็นโรคมะเร็งหรือเคยเป็นมาให้กำลังใจ แนะนำการดำเนินชีวิต

-ทำจิตใจให้สงบ ลดความวิตกกังวง ไม่เครียด เพราะความเครียดเป็นอาหารชั้นเยี่ยมของมะเร็งตัวร้าย

-ให้ความรู้ในเรื่องของการดูแลตนเองทางด้านร่างกายพฤติกรรมการกิน การทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้นำออกมาใช้ให้เต็มที่

-ช่วยดูเเลและให้ความรู้ในเรื่องอาหารการกิน

-ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจจะสู้ต่อ

-ดูแลเรื่องเวลาการทำกอจกรรม ควรให้ผู้ป่วยมีเวลาพักผ่อนที่เหมาะสม เนื่องจากการรักษาทางด้านการแพทย์อาจจะทำให้ผู้ป่วย อ่อนเพลียหรือเหนื่อยได้หากมีเวลาพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

-ส่งเสริมการเข้าสังคม พบปะพูดคุยกับลูกๆหลานๆหรือคนอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดสภาวะซึมเศร้า

-ดูแลในเรื่องของพัฒนาการ ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน

-ถ้าหาผู้ป่วยมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เต็มที่ก็หาวิธีการแก้ไขปัญหา ร่วมกับผู้ป่วนเพื่อนตั้งเป้าหมายในการรักษาร่วมกัน

-หาอุปกรณ์เสริมเพื่อช่วยผู้ป่วยให้สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง

การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด

-ช่วยเหลือในทุกๆด้านที่ผู้ป่วยและญาติปรารถนาและต้องการให้ช่วยเหลือ

-ช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่เบิกบาน ลดความทุกข์ทางใจ มองโลกในแง่ดี คิดบวก

-ให้กำลังใจ ลดความวิตกกังวล ลดความเครียด เพื่อให้จิตใจสบายเพื่อต้อนรับวาระสุดท้ายของชีวิต

-ดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยรวมถึงญาติผู้ป่วยด้วย เพื่อเตรียมควาพร้อมก่อนการจากไปของผู้ป่วย





อ้างอิง

ศุภลักษณ์ เข็มทอง. การจัดการตนเองเมื่อเป็นมะเร็ง. นนทบุรี : เทพประทานการพิมพ์, 2553.

สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัมนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยการแพทย์ผสมผสาน.. 2551.

(ISBN978-974-7694-53-5)

พญ.ลลิตาธีระสิริ.มะเร็ง-รักษาด้วนตัวเอง ตามแนวธรรมชาติบำบัด.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์รวมทรรศน์,2539.

(ISBN 974-7718-90-1)

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.รวมเรื่องสุขภาพกับรามาคลินิกดอทคอมเล่ม2.กรุงเทพมหานคร :บริษัทฮาซันพริ้นติ้งจำกัด,2552.

(ISBN 978-974-11-1106-0)

Clare Rushoworth.สร้างสุขสู้มะเร็ง.แปลโดย นายแพทย์สันต์ สิงหภักดี,วารุณี เวชกามา.กรุงเทพมหานคร,2542.

(ISBN 974-8316-91-2)

หมายเลขบันทึก: 625914เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท