ฉบับที่ ๐๔๖ TRC E Learning 4 สร้างเสริมความเข้มแข็งบุคลากรทำงานควบคุมยาสูบ



เมื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ จัดอบรมเข้มวิชาการควบคุมยาสูบ ณ บ้านสวนลิ้นจี่แม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม ในโครงการสัมมนาเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย หลักสูตร ระบบการศึกษาทางไกล รุ่นที่ 4 ให้กับบุคลากรสาธารณสุข นักวิชาการ นักวิจัย ครูนักรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างเสริมองค์ความรู้ด้านวิชาการควบคุมยาสูบเพิ่มเติมจากการเรียนออนไลน์ในระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาความเข้มข้นทางด้านวิชาการและการปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อการควบคุมยาสูบมากยิ่งขึ้น มีจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 40 คน


วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2560 ช่วงพิธีเปิดโดย ดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ และบรรยายในหัวข้อ “การวิเคราะห์บริบทและสถานการณ์การควบคุมยาสูบในประเทศไทย” ข้อมูลประชากรทั่วไปมีปัจจัยเสี่ยงในการบริโภคยาสูบเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เกิดการสูญเสียปีสุขภาวะเป็นอันดับ 2 รองจากปัจจัยเสี่ยงด้านการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 74,884 ล้านบาทหรือ 0.78% ของ GDP บริบทที่เปลี่ยนแปลงมีดังนี้ 1.) พรบ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 ขณะนี้รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2.) ร่างพรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.....ขณะนี้ร่างพรบ.อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 3.) ร่างพรบ.การยาสูบแห่งประเทศไทย พ.ศ......ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของกฤษฎีกา เมื่อสังเคราะห์มาตรการที่ควรเร่งดำเนินการแล้วพบว่า 1.ใช้พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบบุหรี่ใหม่ เป็นกรอบการขับเคลื่อนพหุภาคีมาทำงานเรื่องควบคุมยาสูบ 2. ใช้โอกาสของ พรบ.สรรพสามิต พ.ศ.2560 เตรียมทีมงานร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และนักวิชาการ วาง Road map การขับเคลื่อน ภาษี เพื่อวัตถุประสงค์ในการลดการบริโภคเครื่องดื่มหวาน, สุรา, และยาสูบ


ในการอบรมวิชาการควบคุมยาสุบมีการเรียนการสอน 3 บทเรียนที่สำคัญดังนี้ บทเรียนที่ 31 เรื่อง “เตือนภัยด้วยภาพ ให้ทราบถึงพิษภัยยาสูบ” ซึ่งอาจารย์ผู้สอนในบทนี้คือ ผศ.ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์ และอาจารย์วศิน พิพัฒนฉัตร บทเรียนที่ 26 เรื่อง “อุตสาหกรรม” อาจารย์ผู้สอนในหัวข้อนี้คือ รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า และ อาจารย์ไพศาลย์ ลิ้มสถิตย์ และบทเรียนที่ 36 เรื่อง “ฟิลลิปมอร์ริสโยนระเบิดเปิดทางสู่ APEC”โดยอาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านคือ ทีมอาจารย์ผู้สอนโครงการหลักสูตรทางไกล ศจย.ทั้งนี้การเรียนการสอนบทเรียนอื่นๆนั้นมีเนื้อหาในการเรียนรู้อยู่ในระบบ TRC E Learning Class 4 ทั้งสิ้น


ในการอบรมวิชาการควบคุมยาสูบนั้น ก่อนหน้านี้ได้มีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำ Mini Thesis ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ที่จะนำความรู้ที่ได้ค้นคว้าจากการศึกษาเนื้อหาวิชาการควบคุมยาสูบไปต่อยอด ดังนั้นในการดำเนินการการจัดทำ Mini Thesis มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านเพื่อให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนและในวันอบรมผู้เรียนได้มีการพบปะกับอาจารย์ที่ปรึกษาในแต่ละหัวข้อตามที่ตนเองเลือกไว้ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วผู้เรียนจะดำเนินการปรับแก้ไขงานแล้วเตรียมตัวเพื่อการนำเสนอในวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 ของการอบรมเข้มวิชาการควบคุมยาสูบ

ในช่วงท้ายสุดของวันแรกในการอบรมมีหัวข้อ “กระบวนการกลุ่มในการประเมินการปฏิบัติตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบของประเทศไทย (ข้อ 12 )” โดย ผศ.ดร.สุนิดา ปรีชาวงษ์


วันที่ 2 นายแพทย์หทัย ชิตานนท์ ผู้อำนวยการหลักสูตรทางไกล ศจย. กล่าวรายงานสถานการณ์การทำงานควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยมีแขกรับเชิญพิเศษ คือ คุณสัญชัย ตุลาบดี ร่วมบรรยายถึงปฏิบัติการควบคุมยาสูบในพื้นที่จังหวัดของประเทศไทย

ช่วงท้ายสุดของการอบรมวิชาการควบคุมยาสูบโครงการสัมมนาเพื่อสร้างเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาขีดความสามารถในการควบคุมยาสูบของประเทศไทย หลักสูตร ระบบการศึกษาทางไกล รุ่นที่ 4 นั้นได้มีการฝึกอบรมหัวข้อ “ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารข้อมูลในการนำเสนอด้วย Infographic” โดย นายสุรศักดิ์ สินประกอบ นักวิชาการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ในการฝึกปฏิบัติสื่อสารชุดข้อมูลด้วย Infographic นั้น เพื่อให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลจากงานวิจัยที่ตนเองศึกษาค้นคว้า ซึ่งมีข้อมูลอยู่มากมายสร้างสรรค์ทำให้เป็นภาพกราฟิกที่น่าสนใจ จดจำง่าย และสามารถส่งต่อข้อมูลไปยังโลกออนไลน์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลควบคุมการบริโภคยาสูบอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติที่มีต่อการบริโภคยาสูบต่อไป


สิ่งที่ได้จากการประชุม

ได้องค์ความรู้ด้านวิชาการควบคุมยาสูบจากผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความคิดข้อเสนอแนะที่มีต่อกระบวนการทำงานในแต่ละพื้นที่ของคนทำงานด้านควบคุมยาสูบในแต่จังหวัดและเป็นการสร้างเครือข่ายที่คนทำงานที่เข้มแข็งด้านควบคุมยาสูบเพื่อทำงานด้านบุหรี่ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 625666เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2017 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2017 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท