098---ช่องหนีภัยตอนที่ 7


........ศูนย์ทราบเหตุร้าย ก็รีบแจ้งศูนย์กู้ภัยกองทัพอากาศ ๆ ที่ก็รีบประสาน หน่วยเคลื่อนที่เร็วทางอากาศ ที่ใกล้ที่สุด นำกำลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปสกัดจับร่มเหล่านั้น พร้อมติดต่อประสานตำรวจท้องที่ออกสกัดทางพื้นดินอีกทางหนึ่ง ขณะที่ ผบ. .ค่ายพลร่มหญิง กับ หลวงพ่อฯเรียก ชลลดาฯ และ อัมพะวันฯ กับทีมพลกู้ภัยเข้าหารือกันถึงแนวทางการเข้าช่วยเหลือ ณ ห้องบรรยายอย่างรีบด่วน และเคร่งเครียด หลังขากได้รับแจ้งให้เข้าช่วยว่าจะช่วยอย่างไรจึงจะทันการณ์ ที่สุดตกลงกันว่า ลักษณะเหตุการณ์ คล้ายกับการช่วยร่มบินครั้งที่แล้ว ผิดกันตรงที่การช่วยร่มบินมีส่วนที่เป็นโครงของร่มบินที่สามารถนำกรวยเข้าใช้เป็นที่ยึดด้วยตัวคันล็อกให้ติดกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อนได้ แต่คราวนี้ใต้ท้องเครื่องที่เกิดเหตุเป็นผิวเรียบ ไม่มีส่วนที่จะใช้ตัวล็อกเข้าไปยึดเหนี่ยวกันได้ หากขืนทำเครื่องทั้งสองอาจไถลหลุดห่างจากกันและจะกระแทกกันไปมาได้ทุกขณะอันจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการกระแทกและคนใดคนหนึ่งอาจพลัดตกไปในอากาศระหว่างการปฏิบัติงาน จึงสมควรป้องกันขั้นตอนนี้ให้ดีเสียก่อน ได้เห็นพ้องกันว่า ต้องทำกรงสี่เหลี่ยมรูปกล่องไม้ขีดข้างในกลวง มีขั้นบันใดเหยียบขึ้นลง ขนาดกว้างยาวพอเสียบเข้าไปในช่องหนีภัยฉุกเฉินได้พอดี บนส่วนบนของกล่องกลวงนี้ มีคานหนายาวที่หมุนขวางตัวได้ 2อันติดอยู่อย่างแข็งแรง ขั้นตอนก็คือ เมื่อนักบินนำกล่องกลวงนี้สอดเข้าช่องหนีภัยได้แล้ว ให้นักบินดันกล่องขึ้นจนส่วนที่เป็นคาน ลอยพ้นพื้นในห้องเครื่องบิน จากนั้นให้พลกู้ภัยตามขึ้นไปหมุนคานสองตัวนี้นี้ขัดไว้บนพื้นเครื่องบิน กันการหลุดไหล หรือกระแทกกัน การปฏิบัติงานก็น่าจะทำ.......( โปรดรออ่านต่อในตอนหน้า

หมายเลขบันทึก: 625656เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2017 05:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2017 05:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท