Occupational Base Practice (แก้ไขโดยนางสาวมาลินี กลิ่นคำหอม)


Occupational Base Practice

Occupational profile

ชื่อ นายเสือ นามสกุล ขู่คำราม (ชื่อและนามสกุลสมมติ)

เพศ ชาย อายุ 48 ปี วันเกิด 2 มกราคม พ.ศ.2510

อาชีพ รับจ้าง ศาสนา พุทธ ข้างที่ถนัด ขวา การศึกษา อนุปริญญา สาขาอิเล็กโทรนิค

การวินิจฉัยโรค C-spine injury Quadriparesis

อาการสำคัญ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อลำตัว แขนและขาทั้งสองข้าง การรับความรู้สึกบกพร่อง มีอาการปวดบริเวณไหล่ซ้าย

ความต้องการของผู้ป่วย กลับไปใช้มือและแขนในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ (อยากกลับไปออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานได้)


การตั้ง Goal และวางแผนการรักษาโดยอิงกิจวัตรประจำวัน

Intervention Plan

Intervention Implement

Intervention Review

เพิ่มความสามารถในการทรงตัวและการควบคุมการเคลื่อนไหวของลำตัว

จากระดับ Fair เป็น Good

1.ให้ผู้รับบริการใช้ Hand skateboard ไถไปทางด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อมีการพัฒนาไถจากซ้ายไปขวา

2.ให้ผู้รับบริการหยิบผ้าใส่ลงตระกร้าจากซ้ายไปขวาและขวาไปซ้ายสลับกันไปมา ข้างละ 10 ชิ้น

-ประเมิน Dynamic and Static balance

-สอบถามความรู้สึกต่อการทำกิจกรรม

และให้ผู้รับบริการ feedback ตนเองออกมา

-เปรียบเทียบระยะเวลาก่อนและหลังทำกิจกรรม

เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อและความคงทนของกล้ามเนื้อมือและข้อมือ

1.ให้ผู้รับบริการบิดผ้าไปมา เป็นเวลา 1-2 นาที ทำครั้งละ 3 เซต ทำทุกวัน

2.ให้ผู้รับบริการใช้มือจับวัตถุทรงกระบอกแล้วขยับมือขึ้นลง เช่น แปรสีฟันเสริมด้าม ช้อนหรือส้อมเสริมด้าม การประยุคใช้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวันเพื่อสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีกำลังใจที่จะทำกิจกรรมบำบัด

-ประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (MMT) และระยะเวลาในการทำกิจกรรม(Endurance)

-เปรียบเทียบระยะเวลาก่อนและหลังทำกิจกรรม

-สอบถามความรู้สึกต่อการทำกิจกรรม ความพึงพอใจ อุปสรรคในการทำกิจกรรม

-ให้อุปกรณ์ช่วยในกรณีที่ผู้รับบริการยังมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ เช่น การเสริมด้าม หรือเพิ่มน้ำหนักที่ข้อใหญ่

เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว กำลังกล้ามเนื้อ และความคงทนของหัวไหล่

1.ให้ผู้รับบริการจับแฮนด์จักรยานแล้วโยกแทนไปทางซ้ายขวา ให้สุดเท่าที่ผู้รับบริการสามารถทำได้ ทำครั้งละ 10 ครั้ง พัก 1-2 นาทีแล้วทำต่อ 3 เซต

-ประเมินจากช่วงการเคลื่อนไหว(ROM) กำลังกล้ามเนื้อ(MMT) และระยะในเวลาที่สามารถทำกิจกรรมได้(Endurance)

-ประเมินความปลอดภัยในการทำกิจกรรม

-เปรียบเทียบระยะเวลาก่อนและหลังทำกิจกรรม

เพิ่มความสามารถ Hand Co-ordination

1.ให้ผู้รับบริการพลิกเมือหงาย คว่ำสลับกัน จำนวน 15 ครั้ง 3 เซต

2.ให้ผู้รับบริการหยิบผ้าเช็ดหน้ามาหนีบกับราวตากผ้าเช็ดหน้า จำนวน 10 ผืน

3.ประเมินความสามารถของผู้รับบริการ หากมีความสามารถขึ้นมาระดับนึง ให้ฝึกการใช้มือของผู้รับบริการโดยการให้ผู้รับบริการหยิบน๊อตลงในรูน๊อต จำนวน 15 ตัว 3 เซต

4.ให้ผู้รับบริการใช้ไขควงขันน๊อต โดยในระยะแรกจะใช้น๊อตตัวใหญ่ และมีการเสริมด้ามให้กับผู้รับบริการ จากนั้นจึงเพิ่มระดับความยากขึ้นตามความสามารถของผู้รบบริการ เช่น ลดขนาดน๊อต

-ประเมินความปลอดภัยในการทำกิจกรรม ในด้านของอุปกรณ์และสถานที่

-ประเมินระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อกิจกรรมการรักษา

-เปรียบเทียบระยะเวลาที่ทำในระยะแรกและเมื่อเวลาผ่านไปแต่ละอาทิตย์

-ให้ผู้รับบริการ feed back ระดับความสามารถของตนเอง เพื่อสร้างกำลังใจให้แก่ผู้รับบริการ

ข้อเสนอแนะ

  • มีการประเมินที่ครบทุกด้านแต่ยังลงรายละเอียดที่ผิดพลาด และไม่มากพอ เช่น การประเมิน sensation ควรที่จะระบุ area ให้ละเอียดมากกว่านี้
  • ยังมีการรักษาที่ไม่สอดคล้องกับกิจวัตรในชีวิตรประจำวัน อยากให้เพิ่มการรักษาที่อิงกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการรักษา และให้กิจกรรมมีความหมายมากยิ่งขึ้น
  • รายละเอียดการแนะนำยังไม่ละเอียดมากพอ ควรระบุให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น การให้ Home program ควรระบุว่าให้ยังไงอย่างไร


ขอขอบคุณ กรณีศึกษา(Case study) ของนางสาววรนิษฐา ชาญพิทยานุกูลกิจ


หากผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้

คำสำคัญ (Tags): #OBP#occupational#OCCUPATIONAL BASE PRACTICE
หมายเลขบันทึก: 625641เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2017 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2017 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท