ค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก


"เป็นวาระโอกาสอันดีที่องค์การนิสิตเปิดรับสมัครกลุ่มนิสิตและชมรม

ร่วมส่งโครงการและสัมภาษณ์โครงการเพื่อจัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มนิสิตและชมรม

สังกัดองค์การนิสิต กรณี เร่งด่วน หรือเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนกรอบนโยบาย

ประเด็นเชิงรุก จำนวน ๒๒,๙๐๐ บาท (สองหมื่นสองพันเก้าร้อยบาทถ้วน)

ถึงแม้จะเป็นเงินจำนวนไม่มากมายแต่กลุ่มนิสิตพรรคชาวดินก็นำมาสร้างสรรค์ด้วยใจศรัทธา"


ไม่รู้ว่าบุพเพหรือโชคชะตาชี้นำประการใด การหาสถานที่ลงโครงการ

ก็ได้เล็งเห็นความสำคัญและพุ่งเป้าไปที่โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดมหาสารคาม

โดยลงพื้นที่โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

ซึ่งได้เจอกับท่านผู้อำนวยการนายสุปชัย โกสีนาม ภูมิหลังท่านเคยเป็น

ศิษย์เก่า มศว.วิทยาเขตมหาสารคาม และพี่ศิษย์เก่าพรรคชาวดิน


ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงประวัติศาสตร์และบริบทความน่าสนใจของชุมชนบ้านหนองเหล็ก

"โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2471 อยู่ในชุมชนบ้านหนองเหล็ก หมู่ที่ 12

( ปัจจุบันได้ขอแยกหมู่บ้านเป็น หมู่ที่ 14 ) ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศใต้ ประมาณ 21 กิโลเมตรอยู่ห่างจากจังหวัดมหาสารคามประมาณ

53 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 23 ตารางวา มีหมู่บ้านในเขตบริการ 2 หมู่บ้าน คือ

บ้านหนองเหล็ก หมู่ที่ 12 และ บ้านหนองเหล็กพัฒนา หมู่ที่ 14 ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกสิกรรม

โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก จัดเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก เปิดทำการสอนเป็น 2 ระดับ

คือระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา มีการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดมาโดยได้รับความร่วมมือ

ช่วยเหลือจากหน่วยงานทางราชการ ที่สำคัญ คือ ประชาชนในชุมชนบ้านหนองเหล็ก ทั้ง 2 หมู่บ้านและผู้นำทางศาสนา

คือ พระเดชพระคุณเจ้าพระสุนทรธรรมภาณี ( หลวงปู่สอน สุนทโร ) ที่ให้การอุปถัมภ์ ตลอดมาจนถึงวาระสุดท้ายก่อนที่ท่านจะมรณภาพ

บริเวณวัดมีเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่สอน ประดิษฐานรูปเหมือนและอัฐิขององค์หลวงปู่"


การทำค่ายครั้งนี้นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่เห็นความร่วมมือกัน

โดยการจัดค่ายระหว่างวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

โดยผู้สำรวจค่าย เตรียมค่าย และจัดค่าย ได้ลงพื้นที่กว่า 3 ครั้ง

ได้ประชุมร่วมกันเจ้าอาวาสวัดบ้านหนองเหล็ก ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการสถานศึกษา คณะครู ตัวแทนชุมชน

โดยเห็นสมควรจัดกิจกรรมในรูปแบบโครงการพ่อฮักแม่ฮัก ที่ย้อนรอยหลังครั้งอดีตเมื่อปี 2526

และทำกิจกรรมทาสีสนามบีบีแอล สนามเด็กเล่น ทำกระบะทราย จัดสวนหย่อมปรับภูมิทัศน์

ปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำ ทาสีผนัง ขนดินใส่ท่อซีเมนต์เพื่อทำแปลงเกษตร

การรับสมัครคนไปค่ายนับว่านิสิตสนใจเป็นจำนนมาก ลงชื่อผ่านระบบออนไลน์ 300 กว่าคน

ทางคณะกรรมการบริหารกลุ่มนิสิตจึงเห็นพ้องว่าให้ผู้ที่สนใจมาลงชื่อ

ยืนยันสิทธิ์การไปค่าย และสั่งจองเสื้อค่าย และแล้วก็เหลือจำนวน 78 คน

แน่นอนเลยว่าจะมีกลุ่มคนเตรียมค่ายได้มอบหมายให้นายสุระชัย ทาระคุณ

นายคุณากร แก้วหานาม เจ้าบ้านคนโกสุมพิสัย นางสาวสุมาลี พันธุ เเละทีมอีก 4 คน

เดินทางล่วงหน้าไปเตรียมค่าย และอำนวยความสะดวก ประสานงานกับคนในพื้นที่

เมื่อมาถึงวันออกเดินทาง 24 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 07.00 น.

ได้เตรียมรถหกล้อรับจ้างจำนวน 2 คัน พี่ๆน้องๆชาวค่ายทยอยกันมาขึ้นรถ มาลงชื่อและรับป้ายชื่อพร้อมสมุดค่าย

และได้ช่วยกันขนสี อุปกรณ์ต่างๆ พร้อมด้วยพืชพันธุ์ไม้ที่เตรียมไว้ ขึ้นรถ อย่างร่วมแรงร่วมใจ

รถออก 07.35 น. ระหว่างทางอาจารย์ที่ปรึกษา อ.เฉลิมพล โลหะมาตย์ ได้ติดตามไปให้กำลังใจ


ถึงโรงเรียนบ้านหนองเหล็กเวลา 08.40 น. ได้พาพี่น้องชาวค่ายเข้าหอประชุม

คณะครูได้พาน้องๆเข้าหอประชุม เด็กๆที่นี้ มีความสามรถกล้าแสดงออก ออกมาร้องเพลงให้พี่ๆและพ่อฮักแม่ฮักฟัง

บรรยากาศเต็มปด้วยร้อยยิ้ม เสียงหัวเรอะ และความสุขพร้อมกับหยอกล้อกันสนุกสนานตามประสาเด็กๆ

09.30 น. พิธีเปิดเริ่มขึ้นโดยท่านผู้อำนวยการเป็นประธานในพิธี กระผมนายณัฐพล ศรีโสภณ

ประธานโครงการค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ประธานในพิธีกล่าวเปิด อาจารย์ที่ปรึกษา

ก็ได้พบปะกับคณะครู ผู้ปกครอง และพี่น้องชาวค่าย ให้กำลังใจในการทำงาน และขอขอบคุณทุกท่าน

หลังจากนั้นมีการจับฉลากพ่อฮักแม่ฮัก โดยการนำชื่อพ่อฮักแม่ฮักที่มาร่วมพิธีเปิดมาให้ลูกๆจับ

ทุกคนต่างตื่นเต้น ได้เปิดโอกาสให้ลูกฮักตามหาพ่อฮักแม่ฮักในหอประชุม บรรยากาศแบบม่วนชื่นตื่นเต้น

อบอุ่นจนเกินจะบรรยายได้ ผ่านรอยยิ้ม เสียงหัวเรอะ โดยมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเป็นสื่อกลางในการประกาศตามหาพ่อฮักแม่ฮัก


หลังจากนั้นก็ได้รูปหมู่ และกิจกรรมบัดดี้บัตเดอร์ของพี่น้องชาวค่าย สันทนาการโดยพี่ติ้ง กับพี่ต้า รับผิดชอบ

และรับประธานอาหารร่วมกัน งานนี้ทีมแม่ครัวรับผิดชอบอาหารทั้งงานก็ได้แก่ นางสาวสรวงสุดา(ฝน) นางสาวปิยพร(แอม)

นางสาวอาทิติยา(สาหร่าย) นางสาวสุมาลี(เก๋) รับผิดชอบอาหาร โดยมีลูกมือจากพี่น้องชาวค่ายบางส่วน

บ่ายคล้อยของวันแรกภาคบ่ายได้แบ่งทีมกัน 2 ฝ่าย ได้แก่ บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมส่งเสริมวิชาการ

โดยบำเพ็ยประโยชน์ได้มีหน้าที่ย่อยอีก 4 จุดได้แก่ เทคานกั้นดินสวนหย่อม เทคานกั้นดินกระบะปูนสนามเด็กเล่น

ทาสีห้องน้ำ ขนดินลงท่อซีเมนต์ทำแปลงเกษตร อากาศวันนี้ร้อนมากๆและก็ต้องชื่นชมพี่น้องชาวค่ายทุกคน

ต่างช่วยเหลือกันอย่างร่วมแรงแข็งขัน อาจมีบ่นบ้าง ร้อนบ้าง พักบ้างแต่ก็ทำด้วยใจ

และขอบคุณพี่จากคณะศึกษาศาสตร์เอกคณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษที่รับผิดชอบกิจกรรมวิชาการภาคบ่าย

เด็กๆที่นี่น่ารัก ให้ความร่วมมือกิจกรรมอย่างมีคามสุขสนุกสนานแบบบันเทิงเริงปัญญา


ตะวันคล้อยต่ำลาลับขอบฟ้าพ่อฮักแม่ฮักมารอรับลูกๆนิสิตเพื่อไปอาบน้ำชำระร่างกาย

ของบ้านแต่ล่ะหลังด้วยความรักและผูกพันธ์ ขนาดไม่ใช่ญาติก็เหมือนญาติมิตรชิดเชื้อเลยทีเดียว

หกโมงเย็นพี่น้องร่วมรับประธานอาหารที่หอประชุม มีการเสวนา เรื่อง ความรักคืออะไรในมุมมองของพวกคุณ

ซึ่งเนื้อหาก็ไม่เกี่ยวกับค่ายนี้เท่าไรนัก แต่ก็เสวนาเรียกร้องตามเสียงหัวใจของติ้งก็เเล้วกัน5555

ค่ายนี้ผู้หญิงมาค่าย 67 คน ผู้ชาย 11 คนนับว่า ผู้หญิงต้องมีคุณสมบัติสวยทึกและบึกบึนเลยทีเดียว

หลังจากนั้นก็สรุปกิจกรรมร่วมกัน และซ้มร้องเพลงมาร์ชชาวดิน นักกิจกรรม กลับมาหาความรัก

ประมาณ 20.35 น. สวดมนต์ร่วมกัน และได้แยกย้ายกันกลับไปนอนพักบ้านพ่อฮักแม่ฮัก โดยมีทีมสตาฟไปส่งบ้านแต่ล่ะหลัง


พระอาทิตย์โผล่ขึ้นขอบฟ้าของวันใหม่ที่ไม่ค่อยเห็นแสงสักเท่าไร เพราะมีสายฝนโปรยปลายลงมา

จนทำให้ผู้จัดค่ายใจหายกลัวจะภารกิจในวันนี้ให้สำเร็จไปได้ แต่เพราะบุญพาวาสนาหรืออย่างไร

วันนี้อากาศร่มเย็นตลอดทั้งวัน ไม่ร้อนมากมาย ก็แบ่งภารกิจหน้าที่ ประจำจุดเป็น 4 จุดได้แก่

ทาสีห้องน้ำส่วนที่ยังไม่เสร็จ ปูพื้นกระเบื้อง ก่อบล็อกทำคันกั้นดินสวนหย่อม และขนดินมาใส่

ปลูกหญ้า จัดสวน ทาสีสนามเด็กเล่น สนามบีบีแอล ก่อบล็อกทำคันกั้นดินกระบะปูนสนามเด็กเล่น

ทุกคนต่างช่วยเหลือกัน ทำตามภาระหน้าที่ ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และสนุกสนานเฮฮาเหมือนกับรู้จักกันมาเป็นสิบปีเลยทีเดียว

ทั้งๆทีทุกคนก็มาจากต่างคณะ ต่างชั้นปี และก็มีน้องๆนักเรียนบ้านหนองเหล็กมาช่วยทำกิจกรรมกับพี่ๆด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเรอะ

จนข้าวเที่ยงของวันนี้ทานเลทไปเวลา 13.00น. เมนูวันนี้ผัดหมี่โคราชฝีมือประธานนุก ส้มตำ หมูทอด นับว่าเป็นมื้อพิเศษเลยทีเดียว

หลังจากทานเสร็จทุกคนก็ประจำจุดต่างๆที่ยังไม่เสร็จ ส่วนไหนเสร็จแล้วก็มาร่วมกันช่วยกันทำส่วนที่ยังไม่เสร็จ

กระผมเองได้ขนดิน และปูกระเบื้อง จัดสวนหย่อมหน้าห้องน้ำ จนเวลาค่ำ มีอาจารย์อภิญญามาเยี่ยมค่ายพวกเรา

ได้ซื้อขนมข้าวเกรียบ และขนมปีบมาฝาก แต่แน่นอนเย็นวันนี้มีกิจกรรมพิเศษคือพิธีบายศรีสู่ขวัญ

แต่เพราะงานที่รับผิดชอบที่ตั้งใจไว้ยังไม่เสร็จจำเป็นต้องทำให้เสร็จก่อน เวลาจึงเลื่อนไปเกือบชั่วโมง

กระผมขอใช้บันทึกส่วนนี้ขออภัยผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน พ่อพราห์ม คณะครู พ่อฮักแม่ฮักที่ต้องให้มานั่งรอ

ขอขอบคุณท่านนายกอบต.หนองเหล็กที่มาให้กำลังใจและพบปะพูดคุย

เมื่อพิธีบายศรีสู่ขวัญเอ่มขึ้นพี่น้อนั่งล้อมวงหันหน้าไปทางทิศใต้ โดยหมอพราหมบอกว่าเป็นทิศมงคล

มีการปะพรมน้ำมนต์ และผูกข้อต่อแขน ซึ่งเป็นบรรยาการที่แดงถึงวิถีชีวิต ความดี ความงาม

ความเชื่อของวิถีบรรพชนคนอีสาน ผู้หลักผู้ใหญ่ พ่อฮักแม่ฮัก ต่างให้พรมงคล ให้ความสำเร็จมากมาย

ซึ่งเป็นผลพลอยให้มีกำลังใจในการหยัดยืนทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป


หลังจากพิธีเสร็จก็ได้ร่วมกันรับประทานอาหาร และกิจกรรมที่ทุกท่านรอคอยก็มาถึงคือกิจกรรมรอบกองไฟ

โดยไม่มีที่ไหนที่อื่นที่ใดทำในรูปแบบของชาวดินโดยเอาสถานการณ์สร้างวิธีการ

เนื่องจากที่โรงเรียนไม่ได้เตรียมฟื้นไว้ ก็เลยใช้เทียนพรรษาของวัดจุดกลางวงล้อมพี่น้องชาวค่าย

เตาไฟ 3 เตา ล้อมเทียนพรรษา และมีเทียนเล่มเล็ก 3 เล่น จุดสว่างไสว

บรรยากาศให้แทน ชาวดิน ฟลุก ทนงศักดิ์ ร้องเพลง โดยให้พี่น้องชาวค่าย

ส่งเทียนต่อไปเรื่อยๆโดยต้องรักษาให้ดีไม่ให้เทียนดับ พอเพลงจบเทียนหยุดที่มือใคร

หรือเทียนดับที่ใครคนนั้นต้องกล่าวควมรู้สึก สลับกับการร้องเพลง ฟังเพลง

และมีการร้องรำทำเพลง เปิดให้พี่น้องคนไหนอยากแสดงความสามารถ ร้อง เล่น เต้น รำ

เด็กๆทีนี่ต่างยืนเต้นท่ามกลางเเสงเทียนและเสียงหัวเรอะ มีการรับผิดชอบทำปาตี้ข้าวจี่ ย่างข้าวจี่แบ่งกันทานรอบวง

บางเตาข้าวจี่อาจจะไหม้ แต่ก็ต้องกิน เพราะ แสดงถึงความรัก ความผูกพันธ์ ไม่ว่าจะสุขทุกข์ก็ต้องอยู่ร่วมกัน

แน่นอนวันนี้ดึกมาก มีการเฉลยบัดดี บัดเดอร์ ต่างพากันตื่นเต้น มีการมอบขนมของฝากของขวัญ

และก็ให้สตาฟไปส่งพักผ่อนที่บ้านพ่อฮักแม่ฮักของแต่ล่ะหลัง เหมือนเป็นบอดีการ์ด รักษาความปลอดภัยเลยทีเดียว


ฟ้าสางอรุนวันใหม่07.30 น. ที่นัดหมายร่วมกันตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งร่วมกับพ่อฮักแม่ฮัก คณะครู

รอบเจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่สอน ภาพนี้เป็นภาพที่อบอุ่น ประทับใจ ได้บุญมหาศาลเลยทีเดียว และได้พาพี่น้องชาวค่าย

เข้ากราบนมัสการอัฐิและรูปเหมือนองค์หลวงปู่ และอำลาพ่อฮักแม่ฮัก มอบของขวัญของฝากของที่ระลึกแทนคำขอบคุณมากมากมาย

พ่อฮักแม่ฮักบางคนดูแลอย่างดีเยี่ยม แม้แต่การงานในบ้านก็ไม่ให้ช่วยหยิบช่วยจับ

แต่บ้านบางหลังก็พาทำเกษตรกรรม บางหลังก็เล่าเรื่องเล่าชวนขนหัวลุก บางหลังก็ทำอาหารให้รับประทานอย่างเอร็ดอร่อยเลยทีเดียว

ได้นัดมารวมกันที่โรงเรียนเวลา 09.00 น. มาทานข้าว และช่วยกันเก็บขยะบริเวณส่วนที่รับผิดชอบต่างๆ

10.00 น.พิธีปิดกิจกรรมโครงการค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก

ได้ยืนล้อมวงคล้องมือกันร้องเพลงนักกิจกรรม มาร์ชชาวดิน กลับมาหาความรัก

"เราชาวดินคล้องมือกันเป็นหนึ่ง

ให้ซาบซึ้งทั้งกายและชีวา

เย้ยชาวฟ้าพลิกแผ่นดินถิ่นทองของเราเผ่าไทย

อย่าให้ใครลุกล้ำย้ำยี

ก้าวเข้าหาปวงประชากว้างใหญ่

ด้วยจิตใจรับใช้มวลชน

ร่วมประสานพัฒนาชาติไทยรุ่งเรืองเกริกไกล

ให้เลื่องลือเราคือชาวดิน"

ร้องเสร็จได้กล่าวความรู้สึกกันคนล่ะ 3 คำสั้นๆ

videoplayback.MP4

แต่ก็มีความหมายมากมายที่กลั่นกรองจากใจจริง เก็บสัมภาระขึ้นรถและเดินทางกลับเวลา

11.30 น. ระหว่างทางพาแวะบึงกุย สะดืออีสาน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

เดินทางถึงกองกิจการนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามเวลา 13.25 น.โดยสวัสดิภาพ

#สรุปกิจกรรมโครงการค่ายก้อนดินอาสาพัฒนนา โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก

"ค่ายนี้เป็นค่ายฐานคิดทีให้การเรียนรู้คู่บริการทางสังคม นิสิตกับการช่วยเหลือสังคมและชุมชน

ผ่านการลงมือปฏิบัติงานจริง โดยการรวมศาสตร์และศิลป์จากสาขาวิชาคณะต่างๆมารวมกัน

และเรียนรูกับภูมิปัญญา รากเหง้า วิถีชีวิตของสังคมอีสานจริง ผ่านการแฝงตัวเป็นลูกฮัก

การศึกษาวิถีชีวิต ตลอดทั้งกระบวนการมีส่วนร่วมของบ้าน วัด โรงเรียน นิสิต การให้ความรู้เเบบบันเทิงเริงปัญญา

เสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษ และเกมส์คณิตศาสตร์ ให้แก่น้องๆนักเรียน การให้โอกาส

แบ่งปันความสุข และสร้างร้อยยิ้ม เสียงหัวเรอะจากนิสิต พ่อฮักแม่ฮัก น้องๆนักเรียน

การบูรณะซ่อมเเซมของเติม สร้างเสริมของใหม่ ต้องอาศัยทักษะและวิธีการเป็นอย่างมาก

และสถานการณ์เฉพาะหน้าเหล่านี้

จะบอกวิธีการของการกระทำเฉพาะหน้าอย่างลงตัว หากจะสร้างสรรค์บัณฑิตที่ดี ต้องใช้การปฏิบัติ

เพราะบางครั้งความรู้ทางทฤษฎีไม่สามารถตอบเนื้อหาสถานการณ์ได้ทั้งหมด

ต้องใช้ประสบการณ์ และต้องใช้ใจในการเปิดรับวิธีการรูปแบบต่างๆ โดยมีวงเวียนการวางแผน การลงมือทำ การตรวจสอบ

การสรุปงานและแก้ไขปัญหา ถอดบทเรียนได้โดยพึงรู้ทุกข์ เห็นทุกข์ หาสาเหตุ หาวิธีการดับทุกข์ และก็หมดทุกข์โดยประการทั้งปวง"


กิจกรรมโครงการค่ายก้อนดินอาสาในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณ

พระอาจารย์ศิริพล วัดโพธิสมพร จ.อุดรธานี 300 บาท

หลวงพี่หมี มอบเงิน 500 บาท

คุณภูริวัฒน์ พรเกษม 500 บาท

คุณศศินา นุ่มนวล 1000 บาท

คุณพี่อรวรรณ เหม่นเเหลม 1000 บาท

คุณอิศรางกุล ณ อยุธยา 1000 บาม

ท่านผอ.นายสุปชัย โกสีนาม 1000 บาท

ผู้ร่วมบริจาคทุกท่านที่ได้สมทบทุนการทำกิจกรรมเป็นจำนวน 5300 บาท (ห้าพันสามร้อยบาทถ้วน)

อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่มนิสิตพรรคชาวดิน

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล็ก

วัดบ้านหนองเหล็ก

โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก

ผู้นำชุมชนพ่อฮักแม่ฮักบ้านหนองเหล็ก

กลุ่มรถโบราณ อำเภอโกสุมพิสัย

กลุ่มรถโบราณ จังหวัดมหาสารคาม

พี่น้องนิสิตนักศึกษาชาวค่ายทุกทุกท่านและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน

"คือก้อนดินอาสาพัฒนา คือหนึ่งแรงศรัทธาที่ยิ่งใหญ่

ปลูกต้นกล้าเขียวชอุ่มผลิพุ่มใบ เป็นพื้นแผ่นไผทเป็นมณฑล

ดุจก้อนดินแผ่ผืนเต็มพื้นโลก ผ่านชุ่มโชกแล้งกันดารผ่านน้ำฝน

จารึกความทรหดความอดทน พิสูจน์ตนผ่านเรื่องราวเป็นชาวดิน

เป็นชาวดินที่ศรัทธาและเชื่อมั่น เชื่อในฝันทุกภาพพจน์ทั้งหมดสิ้น

เป็นดินก้อนที่ซ่อนเก็จเพชรพลอยนิล มีเจตน์จินต์ของนิสิตจิตอาสา"

-พี่สงฆ์ป้า-ประพันธ์-ค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา

-ณัฐพล ศรีโสภณ-บันทึก-ค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา

-วสันต์ ทันพรม-ภาพถ่าย-ค่ายก้อนดินอาสาพัฒนา

#กิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสังคมที่ดีกว่า

#ศรัทธาเชื่อมั่น




หมายเลขบันทึก: 625097เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2017 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2017 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท