​ลักษณะสำคัญของคำในภาษาไทย


ลักษณะสำคัญของคำในภาษาไทย

คำในภาษาไทยมีลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้

๑. คำในภาษาไทยมีระดับเสียงสูง – ต่ำ

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ คือ มีเสียงสูงต่ำเพื่อบอกความหมายของคำ เช่น นา น่า น้า ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า กลอง กล่องกล้อง เป็นต้น

๒. มีตัวสะกดตรงตามมาตรา

ตัวสะกดที่ตรงตามมาตรามี ๘ มาตรา ได้แก่ แม่กก แม่กด แม่กบ แม่กง แม่กน แม่กม แม่เกย แม่เกอว เช่น นก กัด กลับ กวาง แก่น กลม ลอย แก้ว เป็นต้น

๓. เรียงคำเพื่อบอกความหมายและหน้าที่ของคำ

คำบางคำสะกดเหมือนกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เช่น คำว่า ขัน มัน ฟัน เป็นต้น จึงต้องพิจารณาตามตำแหน่งถึงจะทราบความหมายนั้นๆ ดังตัวอย่างคำว่า “ฟัน”

- ฟันหัก คำว่า “ฟัน” หมายถึง กระดูกเป็นซี่ๆ อยู่ในปากใช้สำหรับเคี้ยวอาหาร

- ฟาดฟัน คำว่า “ฟัน” หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟาดลงไป

๔. ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามไวยากรณ์

ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลคำโดด คำกริยาจึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำไปตามเวลาเหมือนกับภาษาอังกฤษ ดังตัวอย่างคำว่า “ไป”

- ฉันไปโรงเรียนวันนี้ (ปัจจุบัน)

- ฉันไปโรงเรียนเมื่อวานนี้ (อดีต)

- ฉันจะไปโรงเรียนพรุ่งนี้ (อนาคต)

*** หมายเหตุ ไม่เปลี่ยนรูปตามเวลา ใช้คำว่า “ไป”คำเดียว แม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป

๕. เสียงบางเสียงในภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความหมาย

เสียงบางเสียงในภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความหมาย เช่น คำที่ประสมด้วยเสียงสระ /เอ/ มักมีความหมายไม่ตรง เช่น เก เข เซ

๖. ใช้คำลักษณะนาม

คำลักษนาม คือ คำที่บอกรูปร่างต่างๆ เช่น กรรไกร(เล่ม) คอมพิวเตอร์(เครื่อง) ปากกา(แท่ง) ดาว(ดาว) เทวดา(องค์) ไพ่(สำรับ) ไม้กวาด(อัน) ว่าว(ตัว)

๗. มีการหลากคำ

การหลากคำ คือ คำที่มีความหมายหลักเหมือนกัน แต่ความหมายรองต่างกัน เช่น คำว่า “มาก” เป็นความหมายหลัก และมีความหมายรองต่างกัน เช่น ชุกชุม ท่วมท้น ล้นหลาม หนาแน่น อุดม เยอะแยะ เป็นต้น

๘. มีระดับภาษา

ภาษาไทยมีระดับภาษาใช้สำหรับบุคคลที่สถานภาพต่างกัน เช่น คำที่มีความหมายว่า “ตาย”

- ตาย (สัตว์ทั่วไป)

- สวรรคต (พระมหากษัตริย์)

- สิ้นพระชนม์ (พระราชวงศ์ชั้นสูง)

- มรณภาพ (พระสงฆ์)

- ล้ม (สัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า)

หมายเลขบันทึก: 625008เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท