สระในภาษาไทย


สระ

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งตามอัตราเสียงเป็น ๒ แบบ ดังนี้

๑.สระเสียงสั้น ได้แก่ สระที่ออกเสียงสั้น คือ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ

๒.สระเสียงยาว ได้แก่ สระที่ออกเสียงยาว คือ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว

เสียงสระในภาษาไทยแบ่งตามฐานการออกเสียงเป็น ๓ แบบ ดังนี้

๑.สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือ สระที่เกิดจากฐานเสียงเพียงฐานเดียว ได้แก่ อะ อา อิ อี อึ อื อุ อู เอะ เอ แอะ แอ เออะ เออ โอะ โอ เอาะ ออ

๒.สระประสม หรือ สระเลื่อน คือ สระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงประสมกัน ได้แก่

เอีย เกิดจากสระ อี กับ อา เอียะ เกิดจากสระ อี กับ อะ

เอือ เกิดจากสระ อือ กับ อา เอือะ ปรเกิดจากสระ อือ กับ อะ

อัว เกิดจากสระ อู กับ อา อัวะ เกิดจากสระ อู กับ อะ

๓.สระเกิน คือ สระที่มีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย ได้แก่

อำ เกิดจากเสียงสระ อะ สะกดด้วย ม อ่านว่า อัม

ใอ เกิดจากเสียงสระ อะ สะกดด้วย ย อ่านว่า อัย

ไอ เกิดจากเสียงสระ อะ สะกดด้วย ย อ่านว่า อัย

เอา เกิดจากเสียงสระ อะ สะกดด้วย ว อ่านว่า เอา

ฤ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อึ อ่านว่า รึ

ฤๅ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร และสระ อือ อ่านว่า รือ

ฦ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อึ อ่านว่า ลึ

ฦๅ เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล และสระ อือ อ่านว่า ลือ

หมายเลขบันทึก: 625001เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2017 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2017 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท