โรคจิตเภท (Schizophrenia) กับกิจกรรมบำบัด


โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นความผิดปกติของสมองอย่างหนึ่ง อาการที่สำคัญ คือ มีความผิดปกติในการคิด (Thinking) มีความผิดปกติในการรับรู้ และมีอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม

จากการศึกษาบทความ จะเป็นการเปรียบเทียบการรักษาระหว่าง IOT+GOT และการรักษาแบบ GOT (IOT = การรักษาแบบเดี่ยว, GOT = การรักษาแบบกลุ่ม) ในผู้ป่วย Schizophrenia โดยมีการวัดผลก่อนและหลังให้โปรแกรมการรักษา จะใช้แบบประเมิน The Brief Assessment of Cognition in Schizophrenia—Japanese version (BACS-J) , Positive and Negative Syndrome Scale (PANSS) และ Global Assessment of Functioning scale (GAF) กิจกรรมการรักษาจะพัฒนา Neurocognition, Symptoms และ Social Functioning ในสถานที่คือโรงพยาบาลและในสังคมจริง โดยโปรแกรมการรักษา มีดังนี้

IOT program

ประกอบด้วย 6 โปรแกรม คือ

1.Motivational interviewing จะประกอบด้วยกิจกรรมที่กระตุ้นแรงจูงใจในการบำบัด, กิจกรรมส่งเริมการแก้ปัญหาและการเข้าร่มในสังคม, กิจกรรมที่ช่วยลดแรงจูงใจภายในที่มีผลกระทบต่อ cognitive and social functioning, ส่งเสริมการจัดการปัญหาที่ท้าทายตัวผู้รับบริการภายในโรงพยาบาลและหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว

2.Self-monitoring จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริม self-body, subjective experience deficits and metacognition, กิจกรรมส่งเสริม physical exercise เช่น stretching เป็นต้น , การให้ positive feedback ในการทำกิจกรรม เพื่อส่งเสริม confidence, self-efficacy and subjective experience deficits, โปรแกรม Metacognitive training

3.Individualized visits เป็นกิจกรรมที่ support การทำกิจวัตรประจำวันในห้องของโรงพยาบาล, ส่งเสริมการทำกิจกรรมได้ด้วยตัวเอง, ส่งเสริมการทำกิจกรรมใน community setting เพื่อเตรียมพร้อมในการ discharge

4.Handicraft activities เป็นการใช้กิจกรรม handicraft ในการรักษาทางกิจกรรมบำบัด โดยกิจกรรมจะมีขั้นตอนที่ชัดเจนและผู้รับบริการสามารถทำได้ เช่น Japanese paper collages , plastic models , jigsaw puzzles เป็นต้น เพื่อส่งเสริม cognitive เช่น ในด้าน attention , executive function , matching function เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมนี้จะช่วยในประยุกต์ในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการและส่งเสริมทักษะทางสังคมเพื่อการกลับเข้าสู่สังคม

5. Individualized psychoeducation เป็นกิจกรรมที่จัดการกับความเจ็บป่วยและป้องกันการ relapse , เรียนรู้สัญญาณเตือนของการ relapse และวิธีการจัดการกับอาการ relapse , การพัฒนาและเผยแพร่แผนในการรับมือกับภาวะวิกฤตกับคนในครอบครัวและ คนดูแล

6. Discharge planning เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการเวลาในชีวิตประจำวันใน community setting เพื่อนำไปสู่ community living, การ discharge planning จะมีผลในการส่งเสริมทักษะทางสังคมและป้องกันการ relapse, กิจกรรม skill training จะเน้นไปที่ living skills เช่น การจัดการกับกิจวัตรประจำวัน,เงิน,และการเตรียมอาหาร , กิจกรรม interpersonal skills training เช่น วิธีการทักทายคนอื่น,การขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น , ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น IADL การศึกษา การทำงาน เป็นต้น

GOT program

เป็น activity-oriented group treatment ประกอบด้วย

- กลุ่ม physical fitness program เช่น stretching exercise, relaxation, breathing เป็นต้น

- กลุ่ม handicraft activities

- กลุ่ม cooking

- กลุ่ม music

โดยผู้รับบริการสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกลุ่มได้ด้วยตัวเอง

สรุปผลก็คือ โปรแกรม IOT+GOT จะส่งเสริมในด้าน improving illness management skills, deficits in metacognition in self-monitoring and individualized psychoeducation program ทีจะทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้นเพื่อนำไปสู่การทำให้อาการดีขึ้น มากกว่าโปรแกรม GOT

การประยุกต์ในบริบทคนไทยสามารถทำได้ เพราะกิจกรรมคล้ายคลึงกันกับกิจกรรมของบริบทคนไทยแต่มีบางกิจกรรมที่มีความเฉพาะหรือยากเกินไป อาจปรับเปลี่ยนกิจกรรมและความยากของกิจกรรมได้

หมายเลขบันทึก: 624867เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 07:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 07:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท