ถอดบทความ เรียนรู้ BPSD


Behavioral and psychological symptoms of dementia (BPSD) เป็นปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ในกลุ่ม Cognitive Disorder ในผู้ป่วยสมองเสื่อม(Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติในการรับรู้ ความคิดความเข้าใจโดยตรง อาการที่เกิดขึ้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสมองเสื่อมและผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอย่างมาก

สมาคมจิตเวชผู้สูงอายุนานาชาติ ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่มอาการคือ

  1. กลุ่มอาการด้านอารมณ์ (ซึมเศร้า วิตกกังวล ขาดความกระตือรือร้น ไม่แสดงออกทางอารมณ์ )
  2. กลุ่มอาการโรคจิต (หลงผิด หูแว่ว เห็นภาพหลอน)
  3. กลุ่มอาการvegetation (พลุ่งพล่าน กระวนกระวาย เดินไปเดินมาไร้จุดหมาย ปัญหาการนอน)
  4. กลุ่มอาการอื่นๆ (อาการก้าวร้าว ขาดความยับยั้งชั่งใจ ควบคุมอารมณ์ทางเพศไม่ได้)

ความชุกของ BPSD จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีอาการ BPSD มากกว่าร้อยละ 90 และความชุกจะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95 ในผู้ป่วยสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ขั้นรุนแรง โดยอาการ BPSD ที่พบบ่อยสุด คือ ความเฉยเมย ขาดความกระตือรือร้น ไม่แสดงออกอารมณ์ พลุ่งพล่าน กระวนกระวายใจ และอารมณ์ซึมเศร้า สำหรับในประเทศไทย พบอาการ BPSD ในผู้ป่วย Mild Cognitive impairment ประมาณร้อยละ 75 โดยพบอาการวุ่นวายช่วงกลางคืน (might-time behaviors)บ่อยที่สุด

คำถามคือ มีวิธีการใดบ้างที่สามารถนำมาใช้ทางกิจกรรมบำบัด ในผู้ป่วย BPSD ได้?

  • จึงทำการค้นหาใน google scholar โดยค้นหาคำว่า Behavioral and psychological symptoms of dementia และ Occupational therapy for BPSD

จากการค้นหางานวิจัย พบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาผลของวิธีรักษาแบบ Combination of nonpharmacological interventions ในผู้ป่วย BPSD มีรายละเอียดการศึกษาดังต่อไปนี้

Non-pharmacological treatment reducing not only behavioral symptoms, but also psychotic symptoms of older adults with dementia: A prospective cohort study in Taiwan.

ศึกษาผลการรักษาแบบไม่ใช้ยา ในผู้ป่วย Behavioral and psychological symptoms of dementia (BPSD) หรือ อาการทางพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

การดำเนินการ

การคัดเลือกกลุ่มผู้รับการรักษา คัดเลือกจากรูปแบบของการดูแลและลักษณะทางกายภาพ สภาพแวดล้อมที่มีความคล้ายคลึงกัน ให้การรักษา สัปดาห์ละ 2 ครั้งเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการประเมินโดยนักกิจกรรมบำบัด

โปรแกรมการรักษา Combination therapy approach โดยมีนัก OT เป็นผู้ฝึก

ผู้เข้าร่วม เป็นผู้สูงอายุเพศชาย ชาวไต้หวัน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม อายุ 65 ปี จำนวน 53 คน และกลุ่มอ้างอิง 54 คน

  • ใช้วิธีการรักษาแบบ Music therapy 1 ครั้ง/สัปดาห์ มีผู้เข้าร่วม 10-15 คน ในแต่ละ session โดยการกระตุ้นให้ร้องเพลงเคลื่อนไหวแขนตามจังหวะ
  • Physical exercise และกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ
  • กิจกรรมศิลปะส่งเสริมทักษะความคิดความเข้าใจ (Cognitive activities) ร่วมกับ Orientation training
  • ให้ความรู้กับผู้ดูแลผู้ป่วย

การประเมินอาการทางพฤติกรรมและจิตใจ โดยใช้ NPI เปรียบเทียบกลุ่มที่ให้การรักษาและกลุ่มอ้างอิง

โดยการให้คะแนนของ NPI ประเมินจาก 12 พฤติกรรมหลักๆ ได้แก่ อาการหูแว่ว , ประสาทหลอน , หงุดหงิดพลุ่งพล่าน , กระวนกระวายใจ , วิตกกังวล , ขาดการยับยั้งชั่งใจ , พฤติกรรมการกิน , พฤติกรรมการนอน , ไม่สบายตัว , การเคลื่อนไหวผิดปกติ , อาการเฉื่อยชา , ไม่แสดงออกทางอารมณ์

รวมถึงแบบประเมิน Barthel index , ประเมิน IADL , MMSE , ประเมินภาวะซึมเศร้า และสัมภาษณ์ผู้ดูแล

จากการประเมิน NPI พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอาการ Hallucination , Agitation และDelusion เป็นไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอ้างอิง (P<0.05) ดังตาราง

ผลการศึกษาพบว่า การรักษาแบบไม่ใช้ยา ในผู้ที่มีอาการ BPSD ให้ผลการรักษาในทางที่ดียิ่งขึ้นทั้งปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจ ไม่เพียงแต่จัดการอาการแสดงภายนอกเท่านั้น แต่สามารถรักษาสภาพจิตใจภายในได้ เช่น อาการหูแว่วประสาทหลอน เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 624866เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2017 06:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท