บรรณารักษ์คิดนอกกรอบ.......


สมัยนี้อะไรๆ ก็เปลี่ยนแปลงจนเราตามไม่ทัน................

ขอความเห็นเกี่ยวกับห้องสมุดสมัยใหม่หน่อยครับ อยากรู้ว่าเพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดในอนาคตเป็นแบบไหน มีบริการอะไรใหม่ๆ หรือว่าห้องสมุดต้องมีอะไร เพราะว่าปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงห้องสมุดจึงต้องเปลี่ยนไป ขอความกรุณาด้วยนะครับ ยินดีที่ได้รับความเห็นจากทุกๆ ท่าน เพื่อการพัฒนาห้องสมุดในประเทศไทยของเรา .............

concept to future library.........

 ขอบคุณล่วงหน้าครับ

 

หมายเลขบันทึก: 62425เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
สวัสดีค่ะ คุณเมฆินทร์ ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลคะ ประเด็นที่คุณเมฆินทร์สอบถามมา จะคล้ายกับบล็อกที่ดิฉันสร้างไว้ "บริการใหม่ๆ" "ในห้องสมุด" "ในใจคุณ" มีหลายท่านให้ไอเดียดีๆ ไว้หลายข้อค่ะ ลองเข้าไปแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะคะ สำหรับดิฉันแล้วอยากเห็น และฝันไว้มานานแล้วว่า อยากเห็นห้องสมุดในฝันของตนเองจัง อยากให้เกิดขึ้นจริงในบ้านเรา นั่นคือ อยากเห็นบริการใหม่ๆ ของห้องสมุด นอกจากบริการพื้นฐานทั่วไป อะไรก็ตามที่ทำให้ผู้ใช้อยากเข้ามาใช้ห้องสมุด สถานที่ที่จะเอื้อให้เขาเหล่านั้นได้ในสิ่งที่เขาต้องการ ทั้งยังได้รับรู้สิ่งรอบข้างที่"กระตุ้น" "เชิญชวน" ให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วย เช่นเดียวกับห้างสรรสินค้างัยคะ ผู้คนทุกอาชีพ ทุกเพศทุกวัย ล้วนเคยไปห้างสรรพสินค้ากันทุกคน ในนั้นมีทุกสิ่งให้พวกเขาเลือกสรร อยากให้ผู้ใช้รู้สึกเช่นนั้นจริงๆ "ทุกครั้งที่เดินเข้าห้องสมุด แล้วเหมือนเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า" นั่นคือความคิดของดิฉัน ในทางปฏิบัติที่พอจะเกิดขึ้นจริงได้ และเห็นได้ชัดเจน คือ มี collection ที่ทันสมัยสอดคล้องกับสาขาวิชาที่เปิดสอน และรองรับชุมชน เช่น collection ทางด้านดนตรี มีห้องซ้อมดนตรี) collection ทางด้านการกีฬา อาหาร สุขภาพ เป็นต้น โดยพัฒนาให้เป็น collection ครบวงจร มีทั้งสื่อที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศ บุคคล คอยให้คำแนะนำ ดูแล้วคงจะเป็นได้ยากใช่ไหมคะ ลำพังห้องสมุดคงดำเนินการไม่บรรลุผลแน่นอน งานนี้ต้องประสานความร่วมมือไปยังภาควิชา คณะ หรือชุมชน แบบค่อยเป็นค่อยไป สักระยะก็คงจะเข้าที่เข้าทาง สิ่งสำคัญคือ ห้องสมุดจะต้องเตรียมโครงสร้างพิ้นฐานให้พร้อม เพื่อรองรับความคิดนอกกรอบให้ได้นี่สิค่ะ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ ห้องสมุดหลายๆ แห่งยังก้าวไปไม่เต็มกำลังสักที กับอีกความคิดหนึ่งที่ว่า การพัฒนาห้องสมุดไปสู่ห้องสมุดดิจิทัลก็เป็นสิ่งที่ดีมากทีเดียวนะค่ะ แต่ด้วยช่องว่างระหว่าง"คนมีจะกิน" กับ "คนไม่มีจะกิน" ซึ่งยังมีมากในสังคมไทยนั้น อาจทำให้หลายคนเข้าถึงความรู้ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ ดังนั้นการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นเช่นห้างสรรพสินค้าเล็กๆ ที่เปิดประตูรับผู้ใช้ทุกระดับ ทุกประเภทได้นั้น คือห้องสมุดในใจของดิฉันค่ะ ดูเหมือนจะเล่าความฝันยืดยาวไปหน่อย รอบแรกนี้คงเป็นการเกริ่นนำความฝันแล้วกันนะคะ เดี๋ยวจะกลับมาใหม่พร้อมตัวอย่างบริการใหม่ๆ ที่ฝ่ายหอสมุด มอ. ปัตตานี ได้ดำเนินการไปบ้างแล้วนะคะ วิรงค์รอง
รอบสองมาแล้วค่ะ บริการใหม่ๆ ของห้องสมุด มอ.ปัตตานี มีดังนี้ค่ะ 1. DD.JFK คือบริการนำส่งทรัพยากรสารสนเทศถึงมืออาจารย์ โดยอาจารย์ร้องขอผ่าน อีเมล โทรศัพท์ หรือแจ้งด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่จะนำส่งและรับคืนทรัพยากรฯ ในวันเวลาที่กำหนดไว้ ณ งานเลขาฯของคณะค่ะ 2. Selective Dissimination Electronic Information บริการคัดเลือกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะสาขาวิชาตามความต้องการของอาจารย์ผู้สอน นักวิจัย (ในระยะเริ่มแรกจะเน้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์- E-Book) และบริการจัดส่งบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ถึงผู้ใช้ที่แจ้งความจำนงค์ผ่านทาง E-Mail 3. going out to the user บริการใหม่แกะกล่องค่ะ เป็นบริการตอบคำถามดีๆ นี่เอง แต่บรรณารักษ์จะเดินเข้าไปพบผู้ใช้บริการที่คาดว่าน่าจะมีปัญหาในการใช้ห้องสมุด หรือช่วยแนะนำการสืบค้นข้อมูล การติดตามตัวเล่ม เป็นต้น โดยกำหนดช่วงเวลาการให้บริการที่แน่นอนไว้ สำหรับบริการอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นบริการพื้นฐานทั่วไปค่ะ เช่น - บริการห้องศึกษากลุ่มย่อย รายบุคคล - บริการ wireless - บริการ internet cafe รองรับบุคคลภายนอกด้วย - บริการบริการแนะนำและสาธิตการสืบค้นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ - บริการที่นั่งอ่าน 24 ชั่วโมง (บริเวรลานหน้าห้องสมุด) เป็นต้น หวังว่าพอจะเป็นข้อมูลสนับสนุนการสร้างสรรค์งานบริการใหม่ๆ ในห้องสมุดได้บ้างนะคะ แล้วที่ศูนย์วิทยบริการละคะ มีอะไรดีๆ ร่วมแลกเปลี่ยนบ้างค่ะ อยากทราบบ้างจัง.....

ขอขอบคุณ ห้องสมุด มอ. ปัตตานีที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชฯเกี่ยวกับการให้บริการนะครับ ผมเองก็เคยเรียนที่ มอ. ปัตตานี เหมือนกัน ในส่วนตัวผมผมชอบบริเวรชั้น 1 ที่มี โทรทัศน์ฉายสารคดีต่างประเทศ จำพวกเคเบิลทีวี มาก ที่นั่งอ่านเป็นโซฟา สบายดีนะครับ อีกโซนที่ผมชอบคือ ชั้น 3 ที่เล่นคอม กับ มุมอเมริกันซึ่งมุมนี้ผมคิดว่าดีมากครับที่มีเนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะภาษาต่างประเทศ คิดถึงขึ้นมาก้อยากกลับไปที่นั้นจัง เข้าเรื่องดีกว่า ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเป็นวิทยาลัยที่เพิ่งเปิดใหม่ครับเลยมีข้อจำกัดด้านต่างๆ มากมายอาทิ งบประมาณ เนื่องจากเพิ่งเปิดดังนั้นจึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารก็จะคอยบอกว่า อย่างไหนสำคัญก้เอาอย่างนั้นก่อน อย่างระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เหมือนกัน ตอนนี้ที่นี่ยังใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติซึ่งพัฒนาขึ้นเองแบบง่ายๆ จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากมาย แต่คงก้ใช้ไปก่อนสักระยะ ไม่อยากเอาไปเทียบกับที่นั่น เพราะว่าที่นั่นดีกว่าเยอะ แต่ผมก็จะพยายามทำงานต่อไปเพื่อจะพัฒนาห้องสมุดที่นี่ให้ได้ เพราะว่าผมอยากเป็นบรรณารักษ์

สุดท้ายนี้ขอบคุณสำหรับทัศนคตินะครับ พี่ซี

อนาคตไม่รู้เหมือนกันแต่ตอนนี้ อยากทำให้คนได้รับความรู้เยอะเหมือนจะง่าย แต่ทำยากจริงๆน่ะค่ะ

 

  • ที่ ม.น. กำลังจะย้ายไปตึกใหม่ค่ะ
  • จะมีมุมกาแฟ ให้บริการที่ชั้น 1
  • รอบตึกเป็นกระจกเกือบทั้งหมด ถ้าจัดดีๆ คนใช้บริการก็จะเห็นวิวข้างนอก หลอกสายตาว่าห้องสมุดกว้างขึ้น
  • มีมุมบริการ Internet ให้บริการ 2 ชั้นค่ะ
  • คาดว่าจะมีโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กให้บริการค่ะ (ที่คาดว่าเพราะเห็นมีห้องหนึ่งทึบๆ ไม่มีหน้าต่าง)
  • อื่นๆ ก็คงดูก่อนว่า สถานที่จะเอื้ออำนวยแค่ไหนค่ะ

ที่ ม.น. ดีจังเลยครับ

มีมุมกาแฟ

ที่นี่ก็เคยเสนอโครงการไป แต่กลับไม่ผ่าน มีห้องฉายภาพยนตร์แต่ก็ไม่ให้ฉาย

แล้วยังงี้จะไปไหนได้ไกลหล่ะเนี้ย

ขอแจมด้วยคนนะคะ...แต่ใช้ยังไม่เก่งเท่าไหร่...ไม่ว่ากันนะคะ...

ห้องสมุดสมัยใหม่เหรอคะ..ในความคิดคงเป็นห้องสมุดที่ไม่เป็นห้องสมุด เอ๊ะพูดเอง งง เอง อาจจะเป็นแบบ มีแต่อิเล็กทรอนิกส์ ไม่มี Hard Copy แต่สำหรับเมืองไทยคงเป็นไปได้ยาก  ที่เห็น ๆ ในปัจจุบันก็มีทั้งสองแบบอยู่ในที่เดียว เช่นที่ มมส. ปัจจุบันก็เน้นอิเล็กทรอนิสก์กัน  แต่ Hard ก็ทิ้งไม่ได้ ผู้ใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็ยังไม่อยากให้เป็นอิเล็กทรอนิสก์กันหมด ยังติด Hard copy อยู่ค่ะ...แต่เราก็ต้องปลูกฝังไปเรื่อย ๆ สารสนเทศใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อไหร่ที่ห้องสมุดแคบลง ก็ต้องมองหาตึกใหม่ อาคารใหม่ไปเรื่อย ๆ ก็อาจจะยากในบางคราว  ดังนั้น การพัฒนาเป็นอิเล็กทรอนิกส์  ก็เป็นการไม่เสียหลายและโลกของสารสนเทศอาจจะเป็นอย่างงั้นในอนาคต เราจะได้ไม่ตกยุค...ว่ามั๊ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท