ปลุกศรัทธา เพิ่มปัญญา พลเมืองสภานักเรียนเมืองพลพิทยาคม


โดยเฉพาะพลังเล่นที่ระเบิดออกมาในการเล่นละคร ซึ่งพลังเหล่านี้ ครูจะต้องเจียรนัยให้ออกมาเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนสภานักเรียน เชื่อมั่นว่า พลังประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลังพลเมืองที่ตอบโจทย์ การพัฒนาโรงเรียนในอนาคต… </p>

<p “=””>
</p> <p “=””>> ผู้เขียนลงเครื่องบินที่สนามบินบุรีรัมย์ เพื่อจะเดินทางไปยังมหาวิชาลัยอิสาน อำเภอสตึกโทรหาผู้อาสามารับ ก็ติดต่อไม่ได้ ผู้คนเริ่มทยอยย้ายกันไป นั่งนึกตรึกตรองจะทำอย่างไรดี ก็นึกขึ้นได้ จึงเข้าไปในเฟส พ่อครู พ่อครูตอบรับการสื่อสารให้เบอร์โทรมา พร้อมทั้งส่งรถมารับเข้าสู่ สวนป่า เวลาเย็นมากมากแล้ว ณ.สวนป่า ที่ใฝ่ฝันมานานนักวันนี้ได้ประจักษ์ สัมผัสแจ่มชัดเป็นจริง ณ.ที่นี้ กรมราฎรส่งเสริม ……
</p>

.โชคดีที่ท่านเจ้ากรมฯไม่มีแขกอื่น จึงคุยสนทนากันหลายชั่วโมง หลังอาหารค่ำผ่านไป ด้วยผักพืชสมุนไพรจากในสวน ก็ขอตัวแยกไปพักผ่อน


<p “=””>น้ำผักปั่นเพื่อสุขภาพ คุณแม่หวี จัดให้
</p> <p “=””>
</p>

ตื่นเช้าเดินสำรวจสวนป่าท่ามกลางอากาศที่ค่อนข้างหนาว แวะชมดงผักชยาหรือ มะละกอกินใบ ในแปลงนี้มี มะเขือพวง ต้นโตเท่าน่อง สูง 2 เมตรกว่า ติดลูกทุกช่อใบ อัศจรรย์ยิ่งนัก ผ่านคง ผักชยาก็มาถึงลานเข้าค่ายของนักศึกษา มีบ่อปลา ร้างเป็นร่องรอย เส้นทางสายนี้ เดินออกไปสู่ ดงมันสำปะหลัง จึงย้อนรอยถอยหลังมาตั้งหลักหน้า สำนักงานกรม เลี้ยวขวา มีบ่อปลาอีกบ่อ ข้างๆพื้นที่สันทนาการ ในการทำกิจกรรม มีแปลงผักอีกชุดหนึ่งมีผักหลากหลาย เดินเลี้ยวซ้ายไปสู่ คอกหมู คอกแพะ วนกลับมาสู่เตาเผ่าถ่านไบโอชาร์ ใช้เวลาชั่วโมงกว่าๆ ก็กลับมาเข้ากรม พ่อครูกำลังให้อาหารปลา จึงแวะสนทนากับแขกผู้มาเยือนเช้านี้


มะเขือพวงยักษ์

ตกบ่ายคณะครูนักเรียนจากเมืองพลพิทยาก็เดินทางมาถึง จึงเข้าสู่การปลุกศรัทธา โดยท่านเจ้ากรม พ่อครูได้ชวนย้อนรอยถอยหลัง กลับคืนสู่รากเหง้าของชาวอิสานในอดีต การทำเกษตรพออยู่พอกิน มาสู่เกษตรเพื่อส่งออก ต้องการผลผลิตสูงจึงต้องใช้เคมีมาบำรุง ทำลายดินจนไม่สามารถปลูกอะไร จนกระทั่งต้องมาคิดมาทำเรื่องปลูกป่า จนเป็นสวนป่าณวันนี้ เป็นการทักทายในเบื้องต้นก่อนอาหารค่ำ


หลังอาหารค่ำ อาจารย์แผ่นดินก็ทำการเพิ่มปัญญา โดยไม่ต้องมีสันทนาการ แต่ใช้การเรียนรู้เป็นการสันทนาการ ด้วยลีลา กระตุ้น กระตุก เติมเต็มความคิดของเยาวชน โดยการมีส่วนร่วมในกระบวนการทุกขั้นตอน ทั้งการใช้ตารางสี่ช่อง ไปจนถึงการเล่นละคร ทุกขั้นตอนเป็นการชวนเรียนรู้ ซึ่งในการแสดงละคร ผู้เขียน มองเห็น และถอดระหัส การเล่นละครออกว่า เยาวชนกลุ่มนี้ มีพลัง มีศักยภาพ

โดยเฉพาะพลังเล่นที่ระเบิดออกมาในการเล่นละคร ซึ่งพลังเหล่านี้ ครูจะต้องเจียรนัยให้ออกมาเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนสภานักเรียน เชื่อมั่นว่า พลังประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลังพลเมืองที่ตอบโจทย์ การพัฒนาโรงเรียนในอนาคต… </p>


หมายเลขบันทึก: 623303เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2017 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ต้องชื่นชมที่เวทีมาจากนักปฎิบัติตัวจริง คือการสร้างจิตสำนึกพลเมืองต้องมาจากการจัดกระบวนการของผู้มีสภาวะพลเมือง ไม่ใช้เอาเนื้อหาทางทฤษฎีที่ผู้บอกกล่าวเองยังไม่ทำ เช่นฟังคำบรรยายธรรมจากผู้จบเปรียญเก้าที่ไม่รักษาศิล

-สวัสดีครับอาจารย์

-ขอบคุณสำหรับเรื่องเล่านี้นะครับ

-ได้ชมภาพผ่านตัวหนังสือ..อบอุ่นใจยิ่งนักขอรับ

-ฝากความระลึกถึงทีมงานทุกท่านด้วยจิตคารวะขอรับ

-ขอบคุณครับ


เรียน อาจารย์ จำรัส สภานักเรียน เป็นการจัดการเวที ประชาธิปไตยในโรงเรียน เกิดความเป็นพลเมือง มีสำนึกพลเมืองร่วม เมื่อออกมาทำงานการเมืองก็จะพัฒนาการประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วม

ขอบพระคุณมากๆ นะครับที่มาร่วมด้วยช่วยกัน -รุก รับ-อย่างลงตัว
ภายใต้เวลาอันจำกัด การใช้กระบวนการปลุกเร้า และเน้นให้เขาคิดเองทำเอง คือทางออกของการระเบิดพลังในตัวช่วยพวกเขา

ขอบพระคุณอีกครั้งครับที่เติมเต็มกระบวนการได้อย่างดีเยี่ยม

คราวหน้า ว่าด้วยการถอดรหัส เป็นวาระสำคัญที่ต้องบ่มให้ลึกแก่นักเรียน ครับ



ขอบคุณอาจารย์ แผ่นดิน เช่นกัน ได้เรียนรู้การจัดกระบวนการ ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องเวลา

กระเทาะเปลือก เลือกแก่น เห็นแววผู้นำ ความเป็นพลเมือง นักเรียนเมืองพล โรงเรียน ขื่อดีมีความหมายในการสร้างประชาธิปไตย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท