กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้อย่างไร?


สวัสดีทุกท่านค่ะ ดิฉันเป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้เข้าเรียนในรายวิชาสัมมนาของหลักสูตรกิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 เป็นห้องเรียนที่มีความน่าสนใจมากค่ะ มีทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกันตลอดเวลา ซึ่งในคาบเรียนสุดท้ายเราจัดโต้วาทีกันด้วย 2 หัวข้อหลักที่เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทยได้อย่างดี คือ

1. Hospital-based rehabilitation VS Community-based rehabilitation

2. Blended learning VS Traditional classroom

ตามวิสัยทัศน์ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คือ "คนไทยมีสุขภาวะยั่งยืน หมายถึง คนไทยมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา" กล่าวคือ การขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทย ควรเดินหน้าไปในทางที่สมบูรณ์ทุกๆทางเชื่อมโยงกัน สะท้อนถึงความเป็นองค์รวมของสุขภาพ ซึ่งความรู้จากห้องเรียนกิจกรรมบำบัดที่สามารถเป็นพลังในการขับเคลื่อนสุขภาวะของคนไทยได้นั้น เป็นเรื่องของการให้บริการทางสุขภาพและการศึกษา

การให้บริการทางสุขภาพ

จากการโต้วาทีกันในห้องเรียนกิจกรรมบำบัดขอสรุปมาเป็นประเด็นสำคัญ คือ ฝ่ายด้านการให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาล เป็นการให้บริการเชิงรับที่มีความปลอดภัยและมีการจัดการระบบอย่างดี มีทีมสหวิชาชีพและเครื่องมือแพทย์ครบครัน ทำหน้าที่ในการตั้งรับผู้รับบริการตั้งแต่ระยะฉุกเฉินจนถึงการเตรียมความพร้อมก่อนออกไปสู่ชุมชน มีการควบคุมโปรแกรมการรักษาได้อย่างดีทั้งด้านการฟื้นฟู ยา และอาหาร รวมทั้งเน้นกิจกรรมการดำเนินชีวิตทางด้านกิจกรรมยามว่างมากกว่า ส่วนทางด้านการให้บริการสุขภาพในชุมชน เป็นการให้บริการเชิงรุกที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญและพัฒนาต่อไป ทำหน้าที่ในการฟื้นฟูผู้รับบริการให้กลับมาทำกิจกรรมของตนเองและมีส่วนร่วมทางสังคมได้ในสถานการณ์จริง สภาพแวดล้อมจริง รวมทั้งเน้นกิจกรรมการดำเนินชีวิตในด้านการเรียนและการทำงาน ทั้งสองแนวทางมีจุดเด่นที่แตกต่างกันในแต่ละบริบท ซึ่งจากความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉัน สรุปได้ว่า กิจกรรมบำบัดจะขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้โดยการทำงานเป็นองค์รวมร่วมกันของทั้งการให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาลและการให้บริการสุขภาพในชุมชน ดังเช่นในบทความเรื่อง Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): influences on return to work in men living with HIV/AIDS ที่แสดงให้เห็นโปรแกรมการรักษาที่ควรร่วมมือกันของทั้งสองบริบทการให้บริการสุขภาพ บทความนี้กล่าวถึง ผู้รับบริการ HIV/AIDS พยายามจะกอบกู้บทบาทชีวิตที่หายไปหลังเริ่มมีอาการของความพิการ ด้วยการเปลี่ยนแปลงสร้างเอกลักษณ์ของการทำกิจกรรม, ความสามารถในการทำกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมในการทำกิจกรรม นำมาซึ่งความเป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจประสบการณ์และเรื่องราวของของตนเองที่มีส่วนช่วยให้เขากลับมาแสดงบทบาทสำคัญในชีวิตของตนเองได้อีกครั้ง

การศึกษา

ในหัวข้อการศึกษาที่ได้โต้วาทีกันในห้องเรียนกิจกรรมบำบัดนั้นมีประเด็นสำคัญ คือ การเรียนรู้แบบผสมผสาน(Blended learning) เป็นการเรียนรูปแบบออนไลน์และเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็น Active Learner โดยมีการเรียนในห้องเรียนเฉพาะคาบปฏิบัติและเพิ่มคาบเรียนสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น นักศึกษาสามารถจัดการเวลาให้เป็นประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้นและเรียนซ้ำได้หลายครั้งหากไม่เข้าใจ รวมทั้งมีความเป็นสากลในการเรียนการสอนที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคม ส่วนทางด้านการเรียนแบบดั้งเดิม(Traditional learning) จะเป็นการเรียนที่เน้นการบรรยาย นักศึกษาพบอาจารย์ทุกคาบและสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข้อคำถามได้ทันทีท้ายคาบเรียน ซึ่งการเรียนทั้งสองแบบมีประโยชน์และข้อดีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการให้คุณค่า ความชอบและเหตุผลส่วนบุคคล จากความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันนั้น การขับเคลื่อนสุขภาวะของนักเรียนนักศึกษาไทย หลักสูตรการเรียนการสอนควรมีทั้งสองระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกหลักสูตรที่เหมาะกับตนเอง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากที่สุด ในทางกิจกรรมบำบัดอาจกล่าวได้ว่า เป็นการคำนึงถึงผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและให้โอกาสผู้เรียนได้ตัดสินใจเลือกและปรับหลักสูตรตามความเหมาะสมของตนเองและสิ่งแวดล้อม จะทำให้ผู้เรียนมีสุขภาวะที่ดีได้ เช่นเนื้อหาในบทความ Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism ที่กล่าวถึงหลักสูตรห้องเรียนสำหรับเด็กออทิสติกที่ส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นมีส่วนสำคัญในการฝึกปฏิบัติ เน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการรับรู้ทางสังคม ซึ่งให้ผลลัพธ์ในทางบวก

เห็นได้ว่า กิจกรรมบำบัดสามารถขับเคลื่อนสุขภาวะคนไทยทั้งในและนอกโรงพยาบาลได้เป็นอย่างดี และการขับเคลื่อนนั้นจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็วหากมีการร่วมมือกันในทุกระดับของสังคม ร่วมมือกันเปลี่ยนแปลงและก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อสุขภาวะที่ดีของคนไทยกันนะคะ


อ้างอิง :

1. Loukas, Kathryn M."Occupational transformation: Parental influence and social cognition of young adults with autism". University of New England, Portland, ME, USA | Port Resources, Portland, ME, USA | Department of Occupational Therapy, University of New England, Portland, ME, USA. 2015

2. Braveman,Brent. "Occupational identity, occupational competence and occupational settings (environment): Influences on return to work in men living with HIV/AIDS". Department of Occupational Therapy, University of Illinois at Chicago, Chicago, IL, USA. 2006

หมายเลขบันทึก: 623196เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท