ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

​เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง


เทคนิคการพูดภาษาอังกฤษคือ ฟัง ฟัง ฟัง

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

การที่จะพูดภาษาอังกฤษให้เก่ง เราต้องเริ่มต้นที่ การฟัง ฟัง ฟัง เราลองนึกภาพ เด็กทารกอเมริกัน เราจะฝึกให้เด็กทารก พูดภาษาอังกฤษได้ เราต้องทำอย่างไร เราจะซื้อหนังสือภาษาอังกฤษให้อ่านหรือ เปล่าเลย สิ่งแรกที่พ่อแม่ชาวอเมริกาต้องทำก็คือ พูดให้เด็กทารกฟัง บ่อยๆ มากๆ เช่นฝึกให้เรียกพ่อ แม่ ซึ่ง พ่อ แม่ ต้องพูดให้เด็กทารกฟัง เป็นจำนวนหลายร้อยครั้ง กว่าเด็กจะจำได้ แล้วเริ่มพูดคำว่า “ พ่อ ” “ แม่ ” หรือคำอื่นๆ กิน , นอน , นั่ง ฯลฯ ต่อจากนั้นเด็กทารกอเมริกา จึงสามารถพูดเป็นประโยคได้ เด็กสามารถพูดเป็นประโยคได้ เมื่อฟังภาษาอังกฤษมากพอ บางคนกว่าจะพูดได้ต้องฟังภาษาอังกฤษเป็นเวลานานถึง 1-2 ปี แล้วจึงเริ่มพูดได้ (ทั้งนี้แล้วแต่พัฒนาการของเด็กทารกแต่ละคนมีไม่เท่ากัน)

แล้ว เราจะฟัง อย่างไร ถึงจะทำให้พูดได้ เราจะเริ่มจากการฟังข่าวภาษาอังกฤษดีไหม เราจะเริ่มจากการดูหนังฝรั่งดีไหม(soundtrack)เราจะเริ่มจากการฟังเพลงดีไหม คำตอบคือได้ครับ แต่เราจะใช้เวลานานมาก กว่าเราจะฟังรู้เรื่อง(เพราะศัพท์บางคำยากที่จะเข้าใจ) อีกทั้งบางคนอาจเบื่อไปเสียก่อน เนื่องจากฟังไม่รู้เรื่อง

เทคนิคในการฟังภาษาอังกฤษที่ดีคือ เราต้องเริ่มจากการฟังที่ง่ายๆก่อน แล้วไปยากขึ้น ยากขึ้น เช่น เราต้องฟังนิทานสำหรับเด็กทารกหรือนิทานสำหรับเด็กเล็ก เมื่อเราฟังนิทานเหล่านี้ เราจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น กล่าวคือ นิทานบางเรื่องเราจะเข้าใจถึง 80-90 % เมื่อเราฟังนิทานสำหรับเด็กเล็กไปมากๆแล้ว จะทำให้ทักษะการฟังของเราดีขึ้น เราจึงค่อยเริ่มฟัง เรื่องราวนิทานสำหรับเด็กวัยรุ่น ซึ่งวัยรุ่นในที่นี้ตั้งแต่อายุ 12-19 ปี ซึ่งเรื่องราวนิทานสำหรับวัยรุ่นนี้ จะเริ่มมีศัพท์ภาษาอังกฤษที่ยากขึ้น และเมื่อเราฟังรู้เรื่องมากขึ้น เขาจะเข้าใจถึง 80-90 % แล้วเราค่อยไปดูหนังฝรั่ง ฟังข่าว(BBC VOA) เป็นต้น

ทำไมผมถึงไม่แนะนำให้ดูหนังฝรั่ง(soundtrack) หรือฟังข่าวภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่ฝึกใหม่ๆ หรือไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะในหนังฝรั่งหรือข่าวภาษาอังกฤษ จะใช้คำศัพท์ที่ยาก เมื่อเราฟังไม่รู้เรื่องเราจะเริ่มเบื่อหน่าย อีกทั้งเทคนิคการฟังภาษาอังกฤษที่ดี เราไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ไม่ว่าทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

เพราะถ้าเราเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ความสนใจของเราจะไม่มุ่งไปที่การฟัง แต่เราจะมุ่งสนใจไปกับการอ่าน แต่ถ้าใครอยากจะฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ก็สามารถเปิดคำบรรยาย (Subtitle) ภาษาอังกฤษไปด้วยก็ได้ ก็จะทำให้เพิ่มทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่ควรเปิดคำบรรยาย (Subtitle) เป็นภาษาไทย เพราะจะทำให้การฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ ได้ผลน้อยลง

ทำไมผมถึงให้ฝึกฟังในสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการยกน้ำหนัก ถ้าเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราไม่ควรเริ่มยกน้ำหนักที่มากๆ เพราะเราไม่สามารถยกได้ ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน เราไม่ควรฝึกฟังในสิ่งที่ยากๆ เช่น เรื่องราว ข่าว หนัง ที่มีคำศัพท์ที่ยากๆ เมื่อเราฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ก็จะทำให้เราท้อแท้ เบื่อหน่ายในการฝึกภาษาอังกฤษ

ฉะนั้น เมื่อเราฝึกยกน้ำหนักใหม่ๆ เราควรเริ่มจากน้ำหนักที่น้อยๆ แล้วจึงเพิ่มน้ำหนักมากขึ้น มากขึ้น สรุปก็คือ เราควรฝึกฟังเรื่องราว ข้อมูลภาษาอังกฤษจากสิ่งที่ง่ายๆ ไปก่อน แล้วจึง ฝึกฟังภาษาอังกฤษในเรื่องราวที่ยากขึ้น เป็นลำดับไป

ที่นี่ เราลองสังเกตดูว่า ทำไมคนไทยเรียนภาษาอังกฤษตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย แล้วทำไมถึงพูดภาษาอังกฤษกันไม่ได้ เพราะในชั้นเรียนเราเรียนเรื่องของการอ่าน การเขียน เรียนหลักภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับไวยากรณ์ แต่ไม่เน้นการฟังภาษาอังกฤษ ครูที่สอนส่วนใหญ่ก็เป็นคุณครูคนไทย พอสอนวิชาภาษาอังกฤษก็มักจะพูดภาษาไทยในการสอนภาษาอังกฤษ ก็เลยทำให้เด็กๆ ขาดทักษะการฟังที่มากพอนั่นเอง


หมายเลขบันทึก: 623190เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2017 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท