หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาค 2/2559


เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ได้เชิญศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์บรรยายวิชา IPA 9504 ทฤษฎีองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ณ ห้อง A319 อาคารสิรินธร วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

หมายเลขบันทึก: 622967เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บรรยายวิชา IPA 9504 ทฤษฎีองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

ณ ห้อง A319 อาคารสิรินธร วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ช่วงเช้า ก่อนเบรค

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ชอบมหาวิทยาลัยนี้ คนมาเรียนมาพบอาจารย์ดีจะมีแรงบันดาลใจ

ประเด็นบรรยาย

1.จะเชื่อมแมคโครและไมโคร

2.การปลูก พัฒนาคน

3.เก็บเกี่ยว บริหารคนให้เป็นเลิศ

4.เอาชนะอุปสรรค

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ยินดีที่ได้มาแบ่งปันประสบการณ์ต่อยอดความรู้อาจารย์จีระ

แรกสุดต้องตีโจทย์แตก 2R’s

Reality ความจริง คือ ตีโจทย์

เน้นนวัตกรรม เป็นเรื่องสมัยใหม่

ทรัพยากรมนุษย์เป็นคำดั้งเดิม

ทุนมนุษย์เป็นนวัตกรรม

ดร.จีระสอนเศรษฐศาสตร์ทุนมนุษย์ แต่ทรัพยากรมนุษย์เก่าไปแล้ว

ดร.จีระเน้นเรื่องคน

องค์การประกอบด้วยคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จะสร้างนักศึกษาให้มีประสบการณ์ที่ดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

องค์การประกอบด้วยโครงสร้างที่มองเห็น แต่ต้องขับเคลื่อนด้วยคน ขับเคลื่อนคนให้เกิดมูลค่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มนุษย์คือทุนหนึ่ง

ทุนอื่นคือ เงิน เทคโนโลยี ที่ดิน

ถ้ามีเศรษฐกิจ 4.0 ไม่มีคนไม่ได้

มีที่ดินต้องมี Smart Farmer

ตั้งวัตถุประสงค์ร่วมกันรับฟังข้อคิดเห็น นำข้อสรุปไปทำต่อ

การเรียนวันนี้แปลก แต่ดร.จีระก็ทำอย่างนี้ทุกวัน

เรียนนวัตกรรมต้องเข้าใจ รัฐ เอกชน ภาคประชาชน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรียนกับดร.จีระ ต้องรู้จักเก็บเกี่ยว

โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ต้องเลือกทำหรือเรียนอะไร

ดร.จีระเป็นคนแรกพูดเรื่องทรัพยากรมนุษย์ แต่เปลี่ยนมาพัฒนาทุนมนุษย์

เรียนแล้วจะได้เห็นภาพในระดับโลก และชาติ การนำไปใช้กับองค์กร

สิ่งที่จะได้

1.จะได้ทฤษฎีดร.จีระ สามารถนำไปอ้างอิงในวิทยานิพนธ์

2.กระบวนการ Learn-share-care

Learn ให้ความรู้

share ดึงศักยภาพแลกเปลี่ยนกัน

3.Workshop เป็นการสร้างผู้นำเชิงความคิด

นางสาวศุจิมน มังคลรังสี

ทำงาน Educational Business

เคยทำ PacRim, สถาบัน Wall street

เคยทำที่แสตมฟอร์ด

วิทยานิพนธ์ กำลังดูบทบาทสถาบันกวดวิชากับสถานศึกษาไทย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กำลังทำเว็บใหม่

เรียนปริญญาเอกต้องสนใจคนมีคุณภาพด้วย

นายกิตติศักดิ์ ปัญจชัย

เคยอยู่เอแบคโพล

คาดหวังที่จะได้ทิศทางการพัฒนาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องค่อยๆปรับพฤติกรรมการเรียน

นางสาวฐาปวี หนองหารพิทักษ์

เป็นครูประถม

คาดหวังจะนำความรู้ไปพัฒนาให้คนและตนมีความรู้ แล้วเด็กจะได้ความรู้

วิทยานิพนธ์เน้นเรื่องเด็ก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากการแนะนำตัว ก็ควรเก็บข้อมูลมาไว้

อย่าแค่เรียน แต่ความเชื่อมโยงกัน แต่ละคนมีความหลากหลาย

ในโลกนี้มีกลุ่มทำร่วมกันคือภาครัฐ

ครู มีจริยธรรมสูงมาก มีความพยายามสูงและทำวิทยานิพนธ์เรื่องเด็ก

เอกชนต้องทำ CSR

นางสาวฐิรญา หนองหารพิทักษ์

เป็นครูประถม

คาดหวังประสบการณ์อาจารย์มาปรับใช้ในการทำงานและดำรงชีวิต

วิทยานิพนธ์ ทำเรื่องนวัตกรรมพัฒนาครูและโรงเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้เน้นนวัตกรรมมากหน่อย

1.มีความรู้ ความคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์

2.นำไปทำจริง

3.และทำให้สำเร็จ

นายพงษ์นรินทร์ ว่องวิทย์

พัฒนาสาขาธนาคาร แต่ก่อนทำ HRM ก่อน

คาดหวังที่จะทราบ Talent Management System

เคยศึกษาของข้าราชการ ยังมีช่องโหว่อคติเจ้านาย

เรายังมีการวัดผลไม่ชัด

หัวข้อวิจัยที่สนใจ การบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงฟุตบอลราชบุรี (Football Tourism)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์มีหน้าที่กระตุ้น แต่นักเรียนต้องเรียนกันเอง

นางสาวนฤมล พุ่มฉัตร์

อยากได้แนวคิดและประสบการณ์อาจารย์

สนใจทำวิทยานิพนธ์ Learning Organization

นายศกร แสนนิล

วิทยานิพนธ์พลังงานทดแทน

จะนำมุมมองอาจารย์ไปปรับใช้กับองค์กร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าเรียนแบบใหม่ ต้องมีการปะทะกันทางปัญญา

อยากได้ความรู้จากลูกศิษย์ด้วย

โลกในอนาคตมาจากความคิดต่างๆที่เกิดขึ้น

นายพชรพล สร้อยทอง

เคยฟังบรรยายของอาจารย์จีระเมื่อ 3 ปีที่แล้วในโครงการฝึกอบรม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีหลายท่านพูดถึงองค์การ

ฝั่งปริญญาเอก แนะนำตัว ทำให้ทราบองค์กรและเรื่องคน ทำให้ต้องมาเรียนเรื่องนี้

ท่านหนึ่งอยากเรียน Talent Management บริหารดาวเด่น

อีกท่านเน้น Learning organization บริหารจัดการองค์กร

นายประยุทธ เทียมสุข

จบปรัชญาและศาสนาที่อินเดีย

ฝั่งปริญญาโท

ร.ต.ท.อาทิตย์ บือซา

เป็นตำรวจที่ดี

นายเสกสรร ตันติวนิช

เป็นพนักงานอบต.

นายวิโรจน์ เนียมแสง

ทำงานกองคลัง

นางสาวฉันท์สมุน ไทยทวี

เพิ่งเรียนจบ กำลังค้นหาตัวเอง

ที่บ้านทำสวนส้มโอ

นางสาวสริญญา ไววิ่งรบ

ทำงานมทร.รัตนโกสินทร์

นางสาวศรีประภา สุ่มอุดม

ช่วยที่บ้านทำสวน

นางสาวณัชรีย์ ภระมรทัต

ทำธุรกิจประกันภัย

ดีใจที่อาจารย์พูดเรื่องมนุษย์และการทำงานต่อยอดขององค์กร

ตัวแทนขายต้องรู้เรื่องความเป้นคนก่อน

นางวิมลพรรณ เพชรดีศรีสมบัติ

อยากได้ความรู้แปลกใหม่

นางสาวจิณณ์พัชร์ ภูมิชัยศรี

อยากให้เน้นความผูกพันในองค์กร

สาธารณสุขมีคนทำงานน้อยลง

นางสาวกันยา ไพรวัลย์

อยากนำความรู้ไปพัฒนาคนในกลุ่มงาน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปริญญาโทดูมีประสบการณ์น้อยกว่าปริญญาเอก

สิ่งที่ต้องทำวันนี้

1.ค้นหาตัวเอง อยู่ตรงไหนในเรื่องทุนมนุษย์ มีช่องว่างไหม

2.ต้องทำงานเป็นทีม อย่าเก่งคนเดียว จะได้ทำ workshop สิ่งสำคัญในอนาคตคือ teamwork

3.วิธีการเรียน หน้าที่คือกระตุ้นให้คิดวิเคราะห์ ปรับพฤติกรรมของตนเองที่เป็นอุปสรรคการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการเรียนในห้องก็ต้องใฝ่รู้ ก่อนมาเรียนต้องหาข้อมูลก่อน

ปัญหาคือ เรียนแบบไม่เน้นความจริง Reality อย่าลอกแบบฝรั่ง

งานสำคัญสุดของ HR คือการสร้างมูลค่าเพิ่ม นำคนไปสร้างประโยชน์ เป็น Entrepreneur, Talent Management

งานประจำแทนที่ด้วย Software แล้ว

ในอนาคต HR เป็นงานยุทธศาสตร์

ทำเรื่องคน ต้องรู้สภาพแวดล้อม ถ้าไม่รู้ก็จะล้มเหลว

ตอนนี้ดิจิตอลเข้ามา ทำให้เรียนที่ไหนก็ได้

เรากำลังอยู่ในการเปลี่ยนแปลงที่มากมาย รวดเร็วและทายไม่ออก

Donald Trump ปิดประเทศ

ความสามารถทางเศรษฐกิจขึ้นกับคุณภาพทุนมนุษย์

ความพยายามอยู่ที่ความสามารถและแรงบันดาลใจเพื่อสร้างความเป็นเลิศ

ไม่ควรเรียนแบบเดิมที่เน้นการลอก

คุณภาพคนต่างจากการบริหารจัดการ ถ้าทุนมนุษย์ไม่มี Network และความสุขก็อยู่ไม่รอด

ความสามารถการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับผลผลิต เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ไทยอยากมีแรงงานราคาถูก ตอนนี้ไม่ได้วัดที่ราคาแล้ว

ถ้าทำเรื่องคน ต้องนำปรัชญาคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยามาคือ คนเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร

ต้องระวัง Artificial Intelligence ซึ่งเข้ามาแทนคนแล้วเก่งกว่าคน

ก่อนเริ่มเรื่องคน ต้องเข้าใจว่า คนเป็นปรัชญา

สิงคโปร์ไม่มีทรัพยากร แต่มีรายได้สูงกว่าไทย 11 เท่าเพราะคนมีคุณภาพดี

รัชกาลที่ 9 ทรงสอนให้ระเบิดจากข้างใน

คนมีศักยภาพไม่จำกัด อย่าเรียนแบบลอก ต้องรู้จักสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนมนุษย์ที่มี

หลังเรียน ควรมีไลน์กลุ่ม โดยดร.จีระจะส่งไลน์เป็นภาษาอังกฤษ

CEO ไมโครซอฟต์กล่าวว่า เรียนต้องอยากรู้อยากเห็น และหิวการเรียนรู้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระ เน้นการปลูก พัฒนาตนเอง แล้วนำประสบการณ์ไปปลูกคนนอกองค์กร

ต้องค้นหาตัวเอง

ต้องทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรียนรู้วิธีการเรียน เป็นการกระตุ้นให้เกิดการคิด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันนี้ต้องบริหารคน ต้องทราบว่าแต่ละคนคือใครก่อน

ครูเมืองไทยไม่เคยบริหารความหลากหลาย ต้องให้เด็กเรียนอ่อนกับเด็กเรียนเก่งมาเรียนร่วมกันช่วยเหลือกัน ครูควรจะเรียนรู้การบริหารความหลากหลายของนักเรียน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ปลูกคือการพัฒนาคนตลอดเวลาเพื่อให้เป็นทุนมนุษย์ทำให้เกิดมูลค่าและคุณค่า

การเก็บเกี่ยวคือการบริหารจัดการให้เกิดมูลค่าและคุณค่า ต้องเริ่มที่ตนเองก่อน

การเก็บเกี่ยวคือการฝึกให้วางแผนยุทธศาสตร์เป็น

จะทำให้สำเร็จต้องมีแผนงานและยุทธวิธี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เวลาเรียนไปต้องนำไปประยุกต์กับความจริง ต้องเอาชนะอุปสรรค

เรียนจบแล้วไม่ควรหยุดคิด แต่การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆต้องใช้เวลาเหมือนสุภาษิตจีน

ปลูกพืชล้มลุก.. 3-4 เดือน

ปลูกพืชยืนต้น.. 3-4 ปี

พัฒนาคน ทั้งชีวิต

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ถ้าวางแผนดี อุปสรรคจะน้อย ต้องมีจิตใจเข้มแข็งก้าวข้ามอุปสรรค

ปลูกคนต้องใช้ทั้งชีวิต ระยะยาว แต่ก็ดีเพราะเติมได้ตลอด

ต้องเรียนเรื่องการเชื่อมโยงให้ได้ก่อน

ต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ

ต้องมีคนมาฝึกวิเคราะห์ให้จะได้เป็นประโยชน์ต่อวิทยานิพนธ์

บรรยายวิชา IPA 9504 ทฤษฎีองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

ณ ห้อง A319 อาคารสิรินธร วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ช่วงเช้า หลังเบรก

ชมเทปพารณคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยาแล้วทำ Workshop จากบทสัมภาษณ์คุณพารณ

ปริญญาโท

กลุ่ม 1

แนวคิดของคุณพารณเรื่องคน ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร 3 เรื่อง

แนวคิดของคุณพารณเรื่องคน

เห็นด้วย/

ไม่เห็นด้วย

คำอธิบาย

1.ความเชื่อและศรัทธา

เห็นด้วย

โยงไปสู่การสร้างองค์กร ให้มีความเชื่อและศรัทธา มีวัฒนธรรมองค์กร เมื่อคนเข้ามา ก็ทำให้องค์กรขับเคลื่อนองค์กร

2.วัฒนธรรมองค์กร

เห็นด้วย

คงอยู่ได้เพราะมีการสืบทอดเป็นจริยธรรม การเจริญเติบโตขององค์กรต้องมีการกระจายอำนาจ

3.ความผูกพันในองค์กร

เห็นด้วย

ข้อเสนอแนะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย ที่นำแนวคุณพารณมาใช้ มีการสอดแทรกวัฒนธรรมเข้าไป

วัฒนธรรมเกิดขึ้นในการปฏิบัติขององค์กร

ประเด็นแรก ควรให้ผู้นำองค์กรชมเทปพารณ

ประเทศไทย CEO ให้ความสนใจเรื่องคนไม่ถึง 30% แต่สิงคโปร์สนใจมากกว่า

ปูนซิเมนต์ไทยมีทั้งคนดีและเก่ง

ความเชื่อ การกระจายอำนาจ

เรื่องคุณธรรม จริยธรรมต้องมาก่อน

นวัตกรรมก็โกงได้

มีคุณธรรมและความเชื่อว่า คนสำคัญ ก่อนแล้วอย่างอื่นก็ไปได้

กลุ่ม 3

นำมาใช้ในภาคราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้หรือไม่อย่างไร

แนวคิดของคุณพารณเรื่องคน

ใช้ได้/

ใช้ไม่ได้

เหตุผล/วิธีการนำมาใช้

1.สร้างคุณธรรม

ใช้ได้

นำแนวคิดคุณพารณมากำจัดระบบอุปถัมภ์ ทำให้มีปัญหาในการพิจารณาความดีความชอบ

2.สร้างแรงจูงใจ

ใช้ได้

ปัญหาคือราชการมองผลประโยชน์เป็นหลัก ควรเปลี่ยนความคิดนักการเมือง ผู้บริหารให้มองคนเป็นทรัพยากรที่มีค่า ทำให้คนในองค์กรมีความผูกพัน

ข้อเสนอแนะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปูนซิเมนต์ได้เปรียบเพราะโปร่งใส

มหาวิทยาลัยนี้ก็โปร่งใส

ประเด็นดีมาก

ปริญญาเอก

กลุ่ม 2

จะเพิ่มประเด็นอย่างไรบ้างในยุคปัจจุบัน 2017 ยกตัวอย่าง 3 เรื่อง

เพิ่มประเด็น

ตัวอย่าง

1.ท่านพารณเข้า 2R’s: Reality and Relevance

คุณพารณมี 3R’s

Recruit

Retain รักษาคนเก่งให้อยู่นาน

Retire

2.จาก 3R’s คุณพารณ

ต้อง update แนวคิดใหม่

-ในองค์กรมีความแตกต่างระหว่าง generation

Baby boomer ทำงานก่อน

Gen Y เน้น work/life balance

ต้องทำ ให้ทุก Gen connect กันได้ สร้าง core value และวัฒนธรรมที่เป็นหนึ่งเดียวได้

-การสร้าง Career path ต้องทำ Km, IDP, rotate เพื่อทำให้เกิด Motivation

-ใช้เทคโนโลยีลดขั้นตอน ทำ M-learning ให้พนักงานเปิดโทรศัพท์ศึกษาสร้างทักษะ

3.เดิม two-way communication

ควรมีสายตรงพนักงานรายงาน MD ได้ทันที

ข้อเสนอแนะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จับประเด็นได้เร็วมาก

สิ่งสำคัญคือ Realistic “แมวสีอะไรก็ขอให้จับหนูได้” จีนมี 1 ประเทศ 2 ระบบ

ควรนำ 3R’s ไปพูดบ่อยๆ

มีการเปลี่ยนแปลงด้านประชากร แต่ไม่ควรให้เกิดความขัดแย้ง

กำลังทำ IDP ให้ที่การเคหะ

IDP บางคนไม่อยากพัฒนา

เคยเขียนบทความการบริหารคน 2 ยุค เปรียบเทียบ Peter Drucker และดร.จีระ

ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยน แต่แก่นของคุณพารณอยู่

อาจเชิญรุ่นนี้มาออกรายการทีวี

ที่นำเสนอมาทั้งหมด ดีมาก

นี่คือการสร้างพื้นฐานการเรียนที่นี่ สามารถกระเด้งไปอย่างอื่นได้

กลุ่ม 4

จะใช้ใน Thailand 4.0 ได้หรือไม่อย่างไร

แนวคิดของคุณพารณ

ใช้ได้/

ใช้ไม่ได้

คำอธิบาย

1.การเป็นคนดีช่วยให้ประเทศน่าอยู่

ใช้ได้

คนสร้าง Value สร้างนวัตกรรม ต้องเน้นคุณธรรมด้วย Thailand 4.0 ไม่ใช่เรื่องเศรษฐกิจเรื่องเดียวเท่านั้น

2.การสร้างคนดีคนเก่ง มีการทำคู่มือให้ปฏิบัติ

ใช้ได้

หลายองค์กรติดป้ายสร้างคนดี แต่ไม่ได้ทำตาม การสร้างคนดีต้องเริ่มตั้งแต่ผู้นำและถึงระดับวัฒนธรรม

3.Engagement

ใช้ได้

4.SCG ขายนวัตกรรมเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากปูน

ใช้ได้

นวัตกรรมเกิดมาจาก Value ที่ส่งเสริมให้สร้างนวัตกรรม

ข้อเสนอแนะ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Thailand 4.0 มีรายได้แล้วสังคมต้องอยู่ยั่งยืน คนต้องมีคุณธรรมจริยธรรม

Engagement คือการเก็บเกี่ยว รวมถึงการให้เกียรติซึ่งกันและกัน

Thailand 4.0 ต้องไม่ใช่ปลูกบุคลากรแต่ต้องบริหารเป็น

การเก็บคนเก่งไว้เป็นเรื่องสำคัญ

การที่ SCG คิดนวัตกรรมได้เพราะเป็นองค์กรการเรียนรู้

KM เป็นแค่เทคนิคเก็บข้อมูลไว้ในองค์กร

LO มาจาก KM มาบวกกับความใฝ่รู้

ควรอ่านบทความ KM ไม่ใช่ LO

ครูจากพิษณุโลก

การปลูกฝังคุณธรรมเด็กแต่เล็ก โตมาจะเป็นคนดี คิดเรื่องที่ดี สร้างสรรค์พัฒนาประเทศไทย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นี่คือคำตอบกระบวนการดร.จีระ

อาจารย์สอนกระตุ้นให้คิด แลกเปลี่ยนกัน

เวลานำเสนอ พบว่า เรื่องที่นำเสนอมาจากทักษะประสบการณ์ และประเด็นที่แต่ละกลุ่มเลือก

กลุ่ม 1 สนใจบริหารจัดการองค์กร คุณพารณพูดเรื่องการพัฒนาคน

การนำเสนอทำให้ได้เรียนรู้

กลุ่ม 1 เน้น Engagement ซึ่งเป็น 1.0, 2.0 และ 3.0

กลุ่ม 2 เก่งมาก หาประเด็นได้ดี เรื่องที่น่าตื่นเต้นคือเรื่อง Baby boomer และ Gen Y

การบริหารจัดการก็เป็นนวัตกรรม Happy Workplace ทำองค์กรให้น่าทำงาน แต่ Gen Y จะสนใจ Happy at Work คืออยู่ที่ไหนก็ทำงานได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Happy at Work คือ ตัวบุคคลมีความสุขในการทำงาน มี Passion

ขอให้ครูนำความรู้ที่ได้ไปใส่ให้เด็ก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 2 เน้นการบริหารคนรุ่นใหม่ เชื่อมโยง 4.0 สร้างนวัตกรรมไม่ใช่แค่ความคิด ก็ไปด้วยกันได้

กลุ่ม 3 ยังไม่มีความหลากหลาย

ควรมีการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา และต้องมีการตั้งคำถาม

Value Diversity ต้องใช้คนที่ความหลากหลายมาทำงานร่วมกันเพื่อนำจุดแข็งมาเสริมกัน

กลุ่ม 3 เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกร เป็นกลุ่มที่น่าประทับใจที่มาร่วมเรียนด้วย แต่สิ่งแวดล้อมจำกัดให้มีความคิดแบบเดิม

กลุ่ม 4 ฉีกแนว โดยเริ่มอธิบาย Thailand 4.0 เด่นมากที่มีคำถามที่หาคำตอบเรื่องสังคม เศรษฐกิจพอเพียงคือคำตอบ ตอบโจทย์ Thailand 4.0 ด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรศึกษารัชกาลที่ 9 เรื่องภาวะผู้นำและการพัฒนาคน ท่านเก่งทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์

ชอบที่นำเสนอว่า นวัตกรรมต้องมีคุณธรรมจริยธรรมกำกับด้วย

ต้องสร้างสมดุลให้คนมีทั้งความดีและเก่ง

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่ม 4 นำเสนอเรื่องใหม่ เป็นการบริหารนวัตกรรม นำเสนอเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ กลับมาเน้น team management และกล่าวถึงทำไมมีการสร้างนวัตกรรม

ช่วงเช้าได้ลำดับคำถาม Workshop ลำดับวิวัฒนาการคนรุ่นใหม่ 1.0-4.0

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีแนวคำถามนำ Relevance แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความจริง

เวลานำเสนอต้องคม เจาะประเด็น

มหาวิทยาลัยนี้ต้องขอบคุณปริญญาโทและเอกรุ่นนี้เพราะเก่งมาก ในยุค 4.0 คนเก่งต้องมาสร้างชื่อเสียงให้สถาบันไม่ใช่คนเก่งไปเรียนสถาบันที่มีชื่อเสียง

ควรหา Pilot Project กันทำงาน ร่วมมือกัน ในอนาคตอาจจะต้องพึ่งพากัน

บรรยายวิชา IPA 9504 ทฤษฎีองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

ณ ห้อง A319 อาคารสิรินธร วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

ช่วงบ่าย ก่อนเบรค

HR Architecture แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาทุนมนุษย์ให้สำเร็จต้องลงทุนก่อนในด้านการศึกษา สุขภาพ โภชนาการและครอบครัว แล้วจะได้คนที่คิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีจิตสาธารณะแล้วไปทำงานภาคต่างๆ

ทฤษฎีทุนมนุษย์ต้องมองแมคโครไปหาไมโคร

Thailand 4.0 ปัญหาเพราะคุณภาพทุนมนุษย์อ่อน

ต้องมีการปลูกอย่างต่อเนื่องคือ Life-long learning

ประเทศไทยเป็นสังคมสูงอายุ ต้องหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

มีปัจจัยภายนอกต่างๆมากระทบทุนมนุษย์ เหตุการณ์ในโลกมีผลกระทบเรื่องคนมาก

ประเด็นสำคัญในการพัฒนาและบริหารทุนมนุษย์

1.ปลูก พัฒนาคน

2.เก็บเกี่ยว บริหารคน

3.Execution เอาชนะอุปสรรค

+ Macro – Micro คือ ดูสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งที่เป็นอุปสรรคและโอกาส

ตอนนี้โครงสร้างประชากรเป็นอุปสรรค คนแก่มาก มีแรงงานต่างด้าว

ระนอง มีพม่ามาก ในอนาคต พม่าอาจมีบทบาทมากขึ้น

Donald Trump ยังเป็นห่วงแรงงานอพยพ

วิธีการเรียน

4L’s

Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R’s

Reality - มองความจริง

Relevance - ตรงประเด็น

2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination - สร้างแรงบันดาลใจ

3V’s

Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation สร้างคุณค่าใหม่

Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

Value Creation ต้องมีคุณธรรม จริยธรรมกำกับด้วย

3L’s

Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C & E

Connecting

Engaging

C – U – V

Copy

Understanding

Value Creation/Value added

3 ต ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง

3 ต(ใหม่) แตกต่าง ติดตาม ต่อเนื่อง

Learn – Share – Care

ทฤษฎี HRDS

Happiness

Respect

Dignity

Sustainability

ทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่มองทุกอย่างเป็นยุทธศาสตร์ การลงทุน คำนึงถึงความเปลี่ยนแปลง ก็จะมีมูลค่าเพิ่ม

สิ่งที่น่าสงสัยเกี่ยวกับหนังสือ 8K’s+5K’s

1.มีชื่ออาจารย์และผู้เรียบเรียง

2.ทุนตัวใหญ่

เฉลย Capital ใช้ K เพราะเป็นภาษาเยอรมัน

ทุนคือสิ่งที่ต้องเสียแล้วถึงได้ คือจะไม่ได้มาง่าย ๆ หรือที่เราเรียกว่า Investment คือ ต้องลงทุนก่อน และหวัง

ว่าผลตอบแทนจะคุ้มกับที่ลงทุนไป

ทุนมนุษย์ต่างจากทุนอื่นเพราะควบคุมลำบาก ทำนายยาก ไม่สนใจเรื่องคนเพราะคิดว่าเป็นปัญหา

ต้องศึกษาเซลล์ของมนุษย์อย่างแท้จริง

ทุนมนุษย์จำเป็นสำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น ภาคเกษตรต้องมี Smart farmer มีจริยธรรม ไม่ใช้สารเคมี ต้องจับมือกับปัจจัยการผลิตอื่นเสมอ

Adam Smith ริเริ่มทุนมนุษย์ สงสัยว่า ค่าจ้างของแรงงาน 2 คน ไม่เท่ากัน และก็ถามว่าทำไม? ส่วนหนึ่งก็มาจากบุคคลหนึ่งอาจจะมีความรู้ ทักษะมากกว่าอีกคนหนึ่ง คนหนึ่งมีทุนมนุษย์มากกว่าอีกคนหนึ่ง

Prof. Gary Becker ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าแรงงานมีการลงทุนด้านการศึกษาไม่เท่ากัน แค่วัดจากปีที่เรียนก็พอว่ารายได้ก็ไม่เท่ากัน จึงเป็นการค้นพบว่า การศึกษา คือ การลงทุนที่สำคัญของทุนมนุษย์ ใครมีการศึกษามากกว่าคนนั้นก็จะมีรายได้มากกว่า หรือมีทุนมนุษย์มากกว่า

ปัจจุบันปี 2556 การวิเคราะห์ทุนมนุษย์ก็ได้เปลี่ยนไปมาก ซึ่งก็คือประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้

Hypothesis แรกก็คือ ปริมาณหรือการมองการศึกษาแบบเป็นทางการว่าจบอะไร ปริญญาตรีต้องดีกว่า ม.6 ก็ยังสำคัญอยู่ แต่จะสำคัญน้อยลง เพราะพบว่าคนเรียนน้อยก็อาจจะมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้หรือที่มีคำว่า“ปัญญาอาจจะไม่ใช่ปริญญา” บุคคลที่เป็นตัวอย่างในเรื่องนี้คือ “Bill Gates”

ทุนมนุษย์เป็นทุนแม่ ทุนอื่นๆใน 8K’s เป็นลูก

8K’s เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ

ทุนแห่งความสุขสำคัญ ต้องมี Happy at Work มีความพึงพอใจในการทำงานแม้ที่ทำงานจะรกหรือไม่น่าอยู่ก็ตาม ต้องถามตนเองว่าชอบงานที่ตนเองทำหรือไม่ ถ้าชอบก็จะใส่ความบ้าคลั่งงานโดยไม่คิดว่าเป็นภาระของตน

ต้องมีเครือข่ายมากขึ้น เวลาทำอะไรต้องคิดว่าระยะสั้นไม่ทำลายระยะยาว เช่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันเป็น Internet of Things มี Artificial Intelligence

8K’s มาก่อน 5K’s จริยธรรมมาก่อนนวัตกรรม 5K’s เป็น Thailand 4.0 ถ้ามี 5K’s แต่ขาด 8K’s ก็ไม่รอด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระเริ่มจากภาพใหญ่ HR Architecture นำไปปรับใช้ได้ ทั่วโลกใช้เหมือนกันหมด

ทุนมนุษย์มาจากจำนวนปีที่เรียน แต่ยังไม่พอ

P. Schultz จาก University of Chicago ก็ทำวิจัยใช้หลักของ Becker พบว่า ชาวนาในสหรัฐ ถ้าคนไหนมีความรู้หรือปัญญามาก ผลผลิตของสินค้าเกษตรหรือ Labor Productivity ของเขาก็เพิ่มขึ้น

คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบ Creativity Innovation สังคมการเรียนรู้ จิตสาธารณะก็คือ 8K’s และ 5K’s

แล้วเข้าสู่การทำงานและพบกับปัจจัยภายนอกต่างๆที่เป็นอุปสรรค ต้องก้าวข้ามเพื่อไปสู่ความยั่งยืนสะท้อนต่อไปเรื่อยๆเหมือนคนเล่นเปียโนดี

ดร.จีระบอกว่า วิธีการเรียนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ สอนให้นักเรียนมีอิสระในการคิด

บิล เกตส์เรียนไม่จบแต่เป็นมหาเศรษฐีเป็นกรณีศึกษาพิสูจน์ว่า คนเรียนน้อยก็อาจจะมีคุณภาพดีเท่ากับหรือมากกว่าคนเรียนมากก็ได้

8K’s เป็นพื้นฐานการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุกคนต้องผ่านระบบการศึกษา ต้องมีทุนทางปัญญา คิดเป็น วิเคราะห์เป็นไปสู่เรื่องใหม่ๆ เก่งแล้วต้องดี คิดเป็นวิเคราะห์เป็นจะเข้าใจว่าอะไรถูกต้องตามหลักคุณธรรม

Happy at Work สำคัญ ทำงานที่ไหนก็ได้ เป็นเกษตรกรปลุกแล้วไปขายที่ไหนก็ได้

ทุนทางสังคมคือโครงสร้างทางสังคมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม อาจจะร่วมมือกับคนอื่นๆที่มีความเก่งในเรื่องที่เราขาด มี network ทำให้ทำงานง่าย จับมือกันเป็นทีม แบ่งปันผลประโยชน์จะทำให้ทำงานง่ายขึ้น

Thailand 4.0 ต้องใช้ดิจิตอล ต้องไปจับมือกับคนที่ทำเป็น

ทุนทางทักษะและทัศนคติจะนำไปสู่นวัตกรรม

8K’s ช่วยให้อยู่ในโลกปัจจุบันได้ แต่ถ้าไปสู้ในโลกในอนาคตต้องมี 5K’s ต้องมีความรู้ใหม่ มีนวัตกรรม มีทุนทางอารมณ์ดีทำให้คนชนะ

ทุนทางวัฒนธรรม Thainess เป็นจุดแข็งที่ดึงดูดคนมาเที่ยว

การปลูกคือ 8K’s และ 5K’s

ต้องนำกลับมาใช้

คำถามจากนักศึกษา

มีการวัดจริยธรรมอย่างไร

คำตอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจจะวัดจากตัวอย่างคน แต่ต้องวัดจากคนอื่น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ต้องมีมาตรฐานในการชี้วัด จริยธรรมเป็นการกระทำออกมา ก็วัดได้ มีคุณธรรมก็กำกับให้เกิดจริยธรรม

การทำงานต้องเป็นมืออาชีพมีมาตรฐาน

Learn-share-care ช่วยให้แสดงความคิดเห็น

2R’s นำความจริงมาเป็นตัวตั้งทำให้สำเร็จเร็ว

3L’s ทำให้เรียนรู้ได้ดี

คำถาม

ถ้าไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยจะไปสู่ความยั่งยืนได้ไหม

คำตอบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์ดีช่วยให้บริหารจัดการได้ดี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ประชาธิปไตยเป็นวาทกรรม ประชาธิปไตยมีหลายแบบ

คุณจักรกฤช เปี่ยมแสงจันทร์

วัฒนธรรมที่ดี การปฏิบัติตามกฎหมายก็คือจริยธรรม

เวลาวางระบบ ต้องเก็บข้อมูลดึงคนเข้ามา คนมีความหลากหลายมาก

การแก้ปัญหาบ้านเมือง ควรสร้าง Moral System

ทุกคนต้องช่วยกันแล้วบ้านเมืองจะเดินไปได้

นวัตกรรมมีความใหม่ในตัวเอง

นวัตกรรมมา 4 แบบ

1. Radical Innovation ใหม่มาก เปลี่ยนเทคโนโลยี

2. Modular Innovation นำของใหม่มาต่อ

3. Incremental Innovation มีเสริมเข้ามา

4. Architectural Innovation

นวัตกรรมมี 3 ประเภท

1.Product

2.Service

3.Process

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ต้องมี Social innovation ทำให้สังคมดีขึ้น พัฒนาชุมชน

คุณจักรกฤช เปี่ยมแสงจันทร์

การประดิษฐ์ก่อให้เกิดประโยชน์ก็เป็นนวัตกรรม

การทำนวัตกรรมมาจาก Product life cycle ต้องทำ S-curve

บุคลากรมีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรมคือ คน เก่ง ดีและมีประโยชน์ต่อองค์กรด้วย

บรรยายวิชา IPA 9504 ทฤษฎีองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2559

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560

ณ ห้อง A319 อาคารสิรินธร วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

Workshop

ปริญญาเอก

กลุ่ม 1

Gary Becker กับ 8K’s+5K’s มีความแตกต่างกันอย่างไรและเหมือนกันอย่างไร

ความเหมือน

ความแตกต่าง

คำอธิบาย

ต้องการพัฒนาให้คนเป็นคนเก่ง

8K’s+5K’s เน้นให้เป็นคนดีก่อนเก่ง

Gary Becker เน้นพัฒนางานเป็นหลัก

ปัจจัยที่คนอื่นมาช่วยปลูกฝัง

สิ่งรอบตัว บ้าน วัด โรงเรียน

-สังคม

ต้องมองคนที่พฤติกรรม ไม่ใช่ภายนอก

-สื่อ

ข้อมูลล้น ไม่ใช้วิจารณญาณในการเสพข่าว คนได้รับผลกระทบก็ลำบาก

-Role model

มีบุคคลต้นแบบ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Gary Becker อยู่คนละยุคกับดร.จีระ

การลงทุนทุนมนุษย์ คนที่มีความเหลื่อมล้ำ เสียเปรียบ

ความดีต้องมาก่อนความเก่ง คนเก่งแต่โกงก็สร้างปัญหา

วิเคราะห์ได้ดีมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่เหมือนคือ ดร.จีระ Gary Becker วัดทุนมนุษย์คือจำนวนปีการศึกษาในระบบ

สิ่งที่แตกต่างมาจากความต่างจากยุค คือ ดร.จีระข้ามยุคสมัย พบว่า บางคนที่เรียนไม่จบแต่มีทุนทางสังคมมาช่วยทำงาน เช่น Bill Gates, Steve Jobs

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปตลอด ควรจะมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ใหม่ๆ เป็นนวัตกรรมใหม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การศึกษานอกระบบคือ Lifelong learning อ่านหนังสือเอง ระดับบุคคล

จะให้ดีต้องมีการปะทะกันทางปัญญา ถกเถียงกันเป็นชุมชนการเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรกลับไปทบทวนว่า มีประเด็นอะไรที่เปลี่ยนชีวิต

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เวลาพูดเรื่องคน ต้องมีกรอบแนวคิด อาจจะอ้างอิงจากดร.จีระได้

กลุ่ม 4

ยกหัวข้อวิทยานิพนธ์ของท่าน 3 เรื่องที่ใช้ 8K’s+5K’s

1.การพัฒนาบุคลากรโดยใช้ยุทธวิธี 4.0 นำ 8K’s+5K’s

ทุนมนุษย์ ต้องเลือกคนมีคุณภาพดีและเก่ง เมื่อเข้ามาแล้ว ต้องพัฒนา และให้อยู่กับองค์กร

ทุนทางปัญญา การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มีการใช้ ทำให้คิดเป็น

ทุนทางจริยธรรม ต้องสร้างการปฏิบัติที่ชอบ

ทุนแห่งความสุข สร้างความผูกพัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงเคยทำแล้ว ต้องผ่านจากความสุขไปสู่ความผูกพัน เรื่องนี้ก็น่าทำ

ควรไปทำโดยเน้นภาคบริการ คิดค่าเฉลี่ยได้ เก็บตัวเลขความสุขของคน

กลุ่ม 4

ทุนแห่งความสุข รวมถึงความสุขในที่ทำงาน พนักงานที่ลาออกมาจากสาเหตุของงาน

ทุนทางไอที ต้องพัฒนาไอทีให้พนักงาน มีปัญหาการทำงานต่าง Generation พวกเบบี้บูมมีปัญหาไอที

ทุนทางทัศนคติ ส่งเสริมการคิดบวก มองส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว

ทุนแห่งความยั่งยืน เกิดจากการทำทุนทุกอย่างสำเร็จแล้ว สร้างให้พนักงานอยากเรียนรู้ตลอดเวลา พนักงานต้องสุขภาพดี

5K’s

ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ มอบรางวัลส่งเสริมให้คิดนวัตกรรมเพื่อขายสู้คู่แข่ง

ทุนทางอารมณ์ ต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง ต้องสร้าง EQ มากกว่า IQ

ทุนทางวัฒนธรรม เป็นปัจจัยความสำเร็จขององค์กร แล้วพนักงานทั้งองค์กรต้องรู้

2.วิทยานิพนธ์ การนำ 8K’s ไปใช้ในโรงเรียน

ทุนมนุษย์

ทุนทางปัญญา ครูเปิดเทอมต้องไปเข้าอบรมพัฒนาความรู้

ทุนแห่งความสุข มีการแลกเปลี่ยนปัญหาเพื่อแก้ไขให้มีความสุข

ทุนทางสังคม เครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้

ทุนทางไอที โรงเรียนมีให้ใช้ ให้ครูอายุมากเข้าอบรมไอที

ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ พัฒนาทักษะ กระบวนการให้ดำรงชีวิตได้ดี

ทุนทางจริยธรรม เป็นคนดีแล้วจะคิดแต่สิ่งดีพัฒนาสังคมให้ดี

3.วิทยานิพนธ์ การบริหารจัดการทุนมนุษย์แนวพุทธศาสตร์เน้นวิเคราะห์ตามพระไตรปิฏก

วิธีการบริหารของพระพุทธเจ้า ก่อนท่านโปรดใคร มักศึกษาว่าคนนั้นเป็นอย่างไร แล้วสอนให้สอดคล้อง ประสบความสำเร็จ

ท่านทรงใช้คนเหมาะตามบุคลิก ทักษะ

เป็นการศึกษากึ่งเปรียบเทียบทุนมนุษย์ตะวันตก ตะวันออกเป็นอย่างไร

สิ่งที่คาดว่าจะได้คือองค์ความรู้ตะวันออก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ท่านแรกเสนอได้ชัด เป็นเรื่องที่ท่านมีประสบการณ์ นำ Recruit, retain และ retire

นำ HRDS เข้าไปเสริมได้

ควรปรับให้เหมาะกับแต่ละ Generation

ยุคนี้เป็นสังคมสูงอายุ ต้องเปลี่ยนให้เป็นคลังสมอง อาจจะเป็น Happiness at Work ได้

หัวข้อที่สอง เป็นการมองเห็นโอกาสในการนำไปพัฒนาครู

หัวข้อที่สาม เป็นหัวข้อเปิดกว้างมาก

พระพุทธเจ้าปลูกก่อนคือคิดจะสอนคน

Management คือวิธีการ

ถ้านำศาสนาไปปลูกจะปลูกแบบใด

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บางครั้งมีข้อมูลขัดแย้งกันมาก ต้องมีความระมัดระวังในการวิเคราะห์

ควรจับคู่แต่ละทุนให้ดี

ควรผสมผสานระหว่างแนวตะวันตกและตะวันออกให้ดี โลกในอนาคตจะ Mix กัน

8K’s+5K’s มีความสมดุลทั้งแนวตะวันตกและตะวันออก

ข้อนี้เป็นประโยชน์

ปริญญาโท

กลุ่ม 2

8K’s+5K’s มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร อธิบายอย่างละ 3 เรื่อง

จุดแข็ง

จุดอ่อน

เป็นพื้นฐานของชีวิต สามารถทำให้วิเคราะห์คนว่าผ่านประสบการณ์อะไรบ้าง

มีความเหลื่อมล้ำบางทุน คือ

ทุนมนุษย์ มีพื้นฐานครอบครัวต่างกัน สภาพแวดล้อม

ทุนทางปัญญา บางคนเรียนไม่จบแต่มีงานที่ดีกว่า

ทุนแห่งความสุข ทำอะไรก็ได้ให้มีความสุขไม่จำเป็นต้องมาจากการทำงานอย่างเดียว บางคนมีความสุขเรื่องกายภาพ บางคนอาจไม่จำเป็น

สามารถนำภูมิปัญญาไปต่อยอดได้ เช่นโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ตอนนี้มีการนำสินค้าไปพัฒนาต่อยอด

ต้องเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาต่อยอดเป็น 5K’s ได้

ทางแก้ไข

1.อาศัยเทคโนโลยี

2.การเรียนรู้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Workshop วันนี้ค่อนข้างใหม่

ถ้านำ 8K’s+5K’s เป็นตัวอย่างของคนไทยอาจไม่ถูก

แต่ความเหลื่อมล้ำก็ยังมี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มนี้ระดมความคิดได้คมมาก แต่ต้องสรุปเป็น

ตอนที่ระดมความคิด เขาบอกว่า เป็นกระบวนการพัฒนาคน นำไปต่อยอดได้

เขามองว่า มีจุดอ่อนการเรียนรู้ทุนมนุษย์มีความเหลื่อมล้ำ

ในความเป็นจริง คนรวยกับคนจนก็มีทุนทางจริยธรรมเหมือนกันได้

ทุนทางสังคมและทุนทางความสุขก็เหลื่อมล้ำ

ควรเสริมจุดอ่อน

ชื่นชมว่านำเสนอจุดอ่อนในแง่มุมที่บางทุนปฏิบัติไม่ได้ เช่น ทุนทางไอที

ต้องใช้กระบวนการทางสังคมช่วยกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรฝึกการนำเสนอ จะดีขึ้น

มีประเด็นแล้วต้องพูดให้ชัด

ทุกคนในกลุ่มควรจะมีโอกาสได้ออกความเห็น

ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา

ต้นทุนชีวิตต่างกันเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างกัน ควรทำให้ต้นทุนชีวิตดีขึ้น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จริยธรรมน่าจะสูสีกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มนี้สามารถมองรายละเอียดในจุดที่ผู้สอนไม่เห็น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

8K’s+5K’s ตรงประเด็น

ทุนทางจริยธรรมและทุนทางอารมณ์สำคัญ

กลุ่ม 3

Happiness at Work แตกต่างจาก Happy Workplace อย่างไร

Happiness at Work

Happy Workplace

ทำงานด้วยความสุข

ขึ้นกับปัจจัยบุคคลมีทักษะ ความรู้ ทัศนคติที่ดีนโยบายองค์กรต้องสนับสนุนให้คนทำงานด้วยความสุข

ทำงานที่ใดก็ได้แล้วส่งผลงานไป

ขึ้นกับปัจจัยใน

เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน สถานที่เดินทางสะดวก

และภายนอก

เช่นกฎหมาย ลูกค้า

ความแตกต่างคือ สถานที่ทำงาน Happiness at Work ทำที่ใดก็ได้ แต่ Happy Workplace ทำองค์กรเพื่อส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข

ความเหมือนคือมุ่งให้พนักงานมีความสุข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะทำวิจัยเรื่องนี้ มันมีหน่วยในการวิเคราะห์ต่างกัน Happy Workplace ระดับองค์กร ส่วน Happiness at Work วิเคราะห์ระดับบุคคล

เรื่องนี้เป็นเทรนด์ที่ HR ต้องสนใจ

การเรียนรู้ ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

เรื่องนี้เป็นประโยชน์ที่จะทำวิทยานิพนธ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

Happy Workplace ภายนอก เห็นชัด

Happiness at Work เห็นไม่ชัด

แต่ต้องสร้าง Happiness at Work โดยใช้ไอทีสนับสนุน ต้องมีทัศนคติที่รับผิดชอบต่องาน

ความเห็นนักศึกษา

Happiness at Work ขึ้นอยู่กับชนิดของงาน บางงานต้องทำงานที่สำนักงานอยู่ จะละทิ้งอย่างใดไปไม่ได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

บางครั้งทั้งสองเรื่องแยกจากกันไม่ได้

เก่งมากที่แยกกระบวนการวิเคราะห์ได้

ถ้าเป็นงาน 4.0 เช่นงานที่ใช้การคิดสร้างสรรค์ ก็เป็น Happiness at Work ได้

ทฤษฎี 3 วงกลม ใช้ประเมินการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ

Context องค์กรน่าอยู่

Competencies พัฒนาให้บุคลากรมีสมรรถนะด้านต่างๆ

Happiness at Work เป็น Motivation

ถ้าทั้ง 3 วงซ้อนกัน จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพ

ควรนำไปเป็นหลักวิเคราะห์วิทยานิพนธ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท